วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วิทยานิพนธ์ "ก้าวข้ามความขัดแย้งฯ"

 

 


 

LAST UPDATE : JUNE 07, 2014  06:00 P.M.   ATLANTIC TIME

 

 

 

 

 

 

 


 


 

 

 

 

ก้าวข้ามความขัดแย้ง !

 

วิทยานิพนธ์ของว่าที่ ดร.เจ๊หน่อย

 

 

ระบุชัด "สื่อนอกระบบ-ตัวการทำลาย" ประชาธิปไตย อยากให้มีประชาธิปไตยสมบูรณ์ต้อง "ควบคุมสื่อ" ซึ่งปรากฏว่า ตรงกับนโยบาย ของ คสช. และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ราวกับว่าคนเขียนนโยบายของ คสช. และคนทำวิทยานิพนธ์ของเจ๊หน่อยเป็นคนเดียวกัน แหมอะไรจะขนาดนั้น เหมือนกันได้ไง ในเมื่อเจ๊ลงทะเบียนเรียน ป.เอก มจร. มาสองปีแล้ว ส่วน คสช. เพิ่งจะปฏิวัติได้ไม่ถึงเดือนเอง ไม่เกรงคนครหาว่าเป็น "วิทยานิพนธ์เฉพาะกิจ-วิทยานิพนธ์ฉบับเพื่อชาติ  หรือฉบับ คสช." (คืนความสุขให้ประชาชน) ดอกหรือเจ๊  วิทยานิพนธ์เล่มนี้ถือว่ามีปัญหา แรกนั้นอ้างว่า "เป็นวิทยานิพนธ์ทางธรรม" แต่ลงท้ายกลายเป็น"วิทยานิพนธ์ทางการเมือง"  ขนาด "ดร.วิษณุ เครืองาม" กรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ ก็ยังหักหน้าว่า "เน้นการเมืองมากกว่าธรรมะ" ก็เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณากันต่อไป ถ้าหากว่าทาง สภามหาวิทยาลัย มจร. พิจารณาให้ผ่าน ก็คงต้องมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตให้แก่ พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. อีกใบหนึ่งด้วย ในฐานะที่นำเอาเนื้อหาในวิทยานิพนธ์เล่มนี้ไปปฏิบัติอย่างเป็นมรรคเป็นผล ตั้งแต่เจ๊หน่อยยังเรียนไม่จบ

 

 

 

 

 

เจ๊หน่อย สุดารัตน์ เกยุราพันธ์

ทำวิทยานิพนธ์ส่งมหาวิทยาลัยสงฆ์ มจร.

แต่เนื้อในเป็นเรื่องการเมืองล้วนๆ

 

 




 

 

 

เจ๊หน่อยเสนอวิทยานิพนธ์ "ก้าวข้ามความขัดแย้งฯ" แนะตั้ง "สภาธรรมาธิปไตย" วิษณุเป็นกก.สอบด้วย

 

วันที่ 7 มิ.ย. คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานสถาบันสร้างอนาคตไทย กล่าวในการเสวนาวิชาการ เรื่อง "ก้าวข้ามความขัดแย้งด้วยธรรม ด้วยหลักคุณธรรม 4 ประการ" โดยเป็นการนำเสนอวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ตามหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ตอนหนึ่งว่า วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีเนื้อหาถึงช่วงมีปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา โดยได้นำหลักธรรมคุณธรรม 4 ประการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระราชทานในวโรกาสที่เสด็จออกพระสีหบัญชร ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2549  ประกอบด้วย

 

1.ให้ทุกคนคิดพูดทำด้วยความเมตตา มุ่งดี มุ่งเจริญ ต่อกายต่อใจต่อกัน

 

2. การที่แต่ละคนช่วยเหลือเกื้อกูลกันประสานงาน ประสานประโยชน์กัน ให้งานที่ทำสำเร็จผล ทั้งแก่ตน แก่ผู้อื่น และแก่ประเทศชาติ  

 

3. ทุกคนประพฤติปฏิบัติตนสุจริตในกฎกติกา และในระเบียบแบบแผนโดยเท่าเทียมกันเสมอกัน

 

4.การที่ต่างคนต่างพยายามทำคามคิดความเห็นของตนให้ถูกต้องเที่ยงตรงและมั่นคงอยู่ในเหตุในผล หากความคิดจิตใจ และการประพฤติปฏิบัติที่ลงรอยเดียวกันในทางที่ดี ที่เจริญนี้ ยังพร้อมมูลในกายในใจคนไทย ก็มั่นใจว่าประเทศชาติจะดำรงอยู่ต่อไปได้  

 

ซึ่งหลักดังกล่าวไม่มีองค์กรใดนำมาปฏิบัติ จึงใช้โอกาสนี้มาศึกษาวิจัย เพื่อนำคุณธรรมทั้ง 4 ประการ มาปรับใช้กับการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองให้เป็นรูปธรรมในเชิงปฏิบัติ วิกฤตปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองจึงได้ยืดเยื้อและขยายตัวเพิ่มมากขึ้น สืบเนื่องมาปัจจุบัน

 

คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวว่า 82 ปี ของประชาธิปไตยไทย มีการรัฐประหาร 11 ครั้ง สำเร็จ 10 ครั้ง มีนองเลือด 4 ครั้ง เปลี่ยนรัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ ทั้งนี้ในระยะ 9 ปี ที่ผ่านมามีทั้งวิกฤตเศรษฐกิจและวิกฤตทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันสังคมไทยเกิดความแตกแยกส่วนหนึ่งมาจากสื่อมวลชน ที่ไม่ใช่สื่อหลัก นั่นคือสื่อออนไลน์ที่มีการเผยแพร่อย่างรวดเร็วและบางบริบทนำเสนอความเท็จ ถือเป็นวจีทุจริต สร้างความขัดแย้งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้โครงสร้างของสังคมไทยเปลี่ยนไปแบบหยั่งรากลึกถึงเรื่องปัญหาของคุณธรรมศีลธรรมของสังคมไทย อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

 

คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวว่า ความขัดแย้งทางการเมือง 9  ปีที่ผ่านมา เป็นความขัดแย้งของสองฝ่าย ทั้งฝ่ายแดงที่คิดว่าไม่ได้รับความเป็นจากการรัฐประหาร สองมาตรฐาน ฉีกรัฐธรรมนูญ อำนาจนอกระบบ มองเห็นเป็นวงจรอุบาศทางการเมือง ซึ่งฝ่ายนี้ต้องการสื่อให้มีประชาธิปไตยอย่างมีคุณภาพ ขณะที่ฝ่ายเหลืองมองว่าได้นักการเมืองที่ไม่มีคุณภาพ สะสมทุน ซื้อเสียงเลือกตั้ง ประชาธิปไตยไทยไม่เป็นธรรมาธิปไตย และเกิดความบกพร่องในโครงสร้างประชาธิปไตยไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายมองวงจรอุบาศกันคนละได้  อย่างไรก็ตามในตามแนวของพระพุทธเจ้าได้ใช้หลักธรรมาธิปไตยเรียกประชุมทุกฝ่าย ใช้เสียงข้างมากในการตัดสินเรื่องต่างๆ จึงไม่เกิดการทะเลาะกัน แต่การตัดสินใจต่างๆ ต้องเป็นผู้ที่มีปัญญาดี ซึ่งหากดูแล้วในทางการเมืองผู้ที่ตัดสินใจ จะประกอบด้วยนักการเมืองและประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ทั้งสองส่วนนี้ต้องใช้ปัญญาในการตัดสินใจ

 

คุณหญิงสุดารัตน์กล่าวว่า ประชาธิปไตยหากยึดแค่หลักสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค แต่ไม่ได้เอาโครงสร้างส่วนลึกของครอบครัวที่หล่อหลอมให้มีจริยธรรม การกล่อมเกลาทางจิตใจ จึงก่อให้เกิดประชาธิปไตยแยกส่วน เพราะต่างคนต่างคิดถึงสิทธิของตัวเอง ไม่ได้คำนึงถึงผู้อื่น จึงก่อให้เกิดปัญหาในประชาธิปไตยไทย

 

คุณหญิงสุดารัตน์กล่าวว่า หากใช้หลักธรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเรื่องของความเมตตา มุ่งดี และเจริญต่อกัน จะช่วยสร้างบรรยากาศสมานฉันท์ โดยการยุติการเผชิญหน้าของสองฝ่าย และยุติการใช้สื่อเทียมในการยุยง ซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  (คสช.) ได้ดำเนินการแล้ว ที่สำคัญต้องดำเนินการตามหลักกฎหมายอย่างเสมอภาค ขณะเดียวกันหากทำให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากันพูดคุยกัน หรือสร้างกระบวนการที่เห็นต่าง ให้เป็นผู้ร่วมพัฒนาประชาธิปไตยไทย โดยสงวนจุดต่างเอาจุดร่วมมาพูดคุยกันแล้วให้เกิดมีสภาประชาชนที่จะให้ฟังความคิดเห็นต่างสองฝ่ายมาหล่อหลอมกันให้เป็น"สภาธรรมาธิปไตย" เอาธรรมะเป็นตัวตั้ง ให้ผู้เห็นต่างคิดร่วมกัน น่าจะเป็นหนทางก้าวสมานฉันท์ได้ จึงขอเสนอแนวทางดังกล่าวเป็นโรดแมป แก้ปัญหาความขัดแย้ง เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้ง  และสภาธรรมาธิปไตย ต้องอยู่ต่อเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ต่อไปในอนาคต โดยมีองค์กรไม่แสวงหาประโยขน์เข้ามาดูแล

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นได้เปิดโอกาสให้ผู้ทรงคุณวุฒิได้วิพากษ์วิทยานิพนธ์ โดยนายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย คสช. ในฐานะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ กล่าวว่า  วิทยานิพนธ์ที่ดำเนินการเป็นเรื่องของพระพุทธศาสนา ไม่ใช่รัฐศาสตร์ การเดินเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบควรยึดกรอบพระพุทธศาสนา  จึงขอให้อิงหลักทางศาสนามากกว่าทางการเมือง ดังนั้นเนื้อหาจึงยังไม่ชัดตามเค้าโครงเรื่อง 

 

 

 

 

ข่าว :  มติชน
8 มิถุนายน 2557

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น