วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

คลิป กปปส.เป่านกหวีดไล่ ′คุณหญิงพจมาน′ กลางห้างฯดัง เจอคุณป้าปาของสวนจนนกหวีดกระเด็นออกจากปาก

 

วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 27, 2557

คลิป กปปส.เป่านกหวีดไล่ ′คุณหญิงพจมาน′ กลางห้างฯดัง เจอคุณป้าปาของสวนจนนกหวีดกระเด็นออกจากปาก

 

เป็นคลิปที่โพสต์ไว้บนยูทูปเมื่อ26 ก.พ. กรณีกลุ่มผู้ชุมนุม กปปส. นำโดย ′ทยา - ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ′ บุกเป่านกหวีดใส่คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร (ชินวิตร) อดีตภรรยาของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลางห้างสรรพสินค้าชื่อดังย่านสุขุมวิท  อย่างไรก็ตามตอนท้ายคลิปมีคุณป้าคนหนึ่งไม่ค่อยพอใจพฤติกรรมดังกล่าวจึงขว้างสิ่งของบางอย่างเข้าใส่ทยา ทีปสุวรรณ จนนกหวีดกระเด็นหลุดออกจากปาก


อย่าลืมวันลงคะแนนใหม่ในพื้นที่ 5 จังหวัด 2 มีนาคมนี้!


ร่วมกัน SHARE ข้อความนี้ออกไป อย่าลืมวันลงคะแนนใหม่ในพื้นที่ 5 จังหวัด 2 มีนาคมนี้!

เพชรบุรี ระยอง = ลงคะแนนทดแทนการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ.

สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบูรณ์ = ลงคะแนนทดแทนการเลือกตั้งล่วงหน้า ณ ที่เลือกตั้งกลาง 26 มกราคม




---
(ข่าวที่เกี่ยวข้อง: มติ กกต.สั่งผู้ว่าฯ-เหล่าทัพหนุนเลือกตั้ง 2 มี.ค.http://news.voicetv.co.th/democracycrisis/98179.html)

มติ กกต.สั่งผู้ว่าฯ-เหล่าทัพหนุนเลือกตั้ง 2 มี.ค.

กกต.มีมติออกคำสั่งให้ผู้ว่าฯ-เหล่าทัพ หนุนจัดการเลือกตั้ง 5 จังหวัด 2 มี.ค.นี้ พร้อมชง ครม.ขอไฟเขียว งบฯ2,800 ล้านบาทจัดเลือกตั้ง ส.ว. รวมทั้งมีหนังสือเชิญเลขาธิการนายกฯเข้าให้ข้อมูลเรื่องร้องนายกฯปฏิบัติหน้าที่ในภาคเหนือ-อีสาน หลังยุบสภา

วันนี้ (24 ก.พ.) นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง แถลงผลการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ว่า ที่ประชุม กกต. มีคำสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เหล่าทัพ ช่วยปฏิบัติหน้าที่ตามที่ กกต.ร้องขอในการจัดการเลือกตั้งซึ่งเป็นอำนาจตามรัฐธรรมนูญ และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย กกต. เพื่อจัดการลงคะแนนใหม่ในวันที่ 2 มีนาคมนี้ ใน5 จังหวัดที่มีความพร้อม ประกอบด้วย  เพชรบุรี ระยอง ที่เป็นการลงคะแนนทดแทนเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ส่วน  สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบูรณ์ ที่เป็นเป็นการลงคะแนนทดแทนการเลือกตั้ง ณ ที่เลือกตั้งกลาง เมื่อวันที่ 26 มกราคม 

นอกจากนี้ กกต.ได้มีมติให้เสนอเรื่องไปยังคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในการขอรับสนับสนุนงบประมาณจัดการเลือกตั้ง ส.ว.ทั่วไปกรณีครบวาระ วงเงิน 2,800 ล้านบาท โดยทางสำนักงานกกต.ประจำจังหวัด และสำนักงาน กกต.ประจำกรุงเทพมหานครได้ประมวลค่าใช้จ่ายดังกล่าว เพื่อใช้ในการจัดเลือกตั้งส.ว. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 30 มีนาคมนี้ 

นายภุชงค์ ระบุว่า กรณีร้องเรียนนายกรัฐมนตรีภายหลังยุลสภาผู้แทนราษฎรไปปฏิบัติภารกิจภาคเหนือและภาคอีสาน มีการใช้ทรัพยากรของรัฐ โดย กกต.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ทั้งนี้  กกต.ได้มีหนังสือเชิญเลขาธิการนายกรัฐมนตรี หรือผู้แทน เข้าชี้แจงถึงกำหนดการเดินทางของนายกรัฐมนตรีเพื่อให้กรรมการไต่สวนได้ตรวจสอบ ในวันที่26 ก.พ.เวลา 10.00 น. ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

สมัชชาฯสัมภาษณ์สดเปิดใจ ด.ต.สาโรช มาพิมพ์ เพื่อนสนิทของ พ.ต.ต.เพียรชัย ภารวัตร ผู้วายชนม์

 

Published on Feb 25, 2014
สมัชชาปกป้องศักดิ์ศรีตำรวจไทย

สมัชชาฯสัมภาษณ์สดเปิดใจ ด.ต.สาโรช มาพิมพ์ ผบ.ป.สภ.ห้วยโป่ง จ.ระยอง เพื่อนสนิทของ พ.ต.ต.เพียรชัย ภารวัตร ผู้วายชนม์ ถึงเหตุการณ์เมื่อวันที่เกิดเหตุ โดยกล่าวตอนหนึ่งว่า...."มีชุดแรกมันล่อให­้เราถลำลึกเข้าไป จากนั้นชุดที่ซุ่มอยู่ก็กระหน่ำยิงเข้ามาโ­ล่ผมยังมีเสียงกระสุนกระทบอยู่เลย"

จากนั้นยังย้ำเราไม่เคยกลัว ขวัญกำลังใจดีและพร้อมสู้ต่อแต่วอนขอผู้บั­งคับบัญชาเห็นใจปรับแผนอย่าปล่อยให้ตำรวจต­้องสู้ด้วยยุทธวิธีเดิมครับ

คลิป : 26-2-57 ข่าวค่ำDNN รท.ญ.สุณิสา ยัน ม็อบทำร้ายร่างกาย

 

Published on Feb 26, 2014
....

ที่มา Voice TV

ร้อยโทหญิงสุณิสา เปิดเผยเหตุการณ์ ถูกการ์ดผู้ชุมนุมควบคุมตัว ระหว่างทำธุระที่สยาม เมื่อวานนี้ (25 ก.พ.57) เผยโชคดีที่มีนักข่าวมาพบและเผยแพร่เหตุการณ์ จึงรอดออกมาได้

ร้อยโทหญิงสุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกศูนย์รักษาความสงบ หรือ ศรส. แถลงชี้แจงข้อเท็จจริง กรณีถูกการ์ดผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล ควบคุมตัวจากบริเวณศูนย์การค้าสยาม ไปไว้ที่เวทีปทุมวัน ก่อนปล่อยตัวออกมา

โดยร้อยโทหญิงสุณิสา เล่าว่า ไปทำธุระส่วนตัวที่พรเกษมคลินิค สาขาสยาม เมื่อวานนี้ (25 ก.พ.57) ตามที่นัดหมายกับแพทย์ ระหว่างเดินออกมาจากคลีนิค ได้ถูกจิกกระชากดึงผมจากข้างหลัง เมื่อหันกลับไป พบชายฉกรรจ์ซึ่งเป็นการ์ดผู้ชุมนุมกว่า 20 คน เข้ามารุมล้อม และควบคุมตัวไปที่หอศิลปะวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร เวทีปทุมวัน โดยได้ยึดโทรศัพท์มือถือ และข่มขู่ให้เปิดเผยรหัสโทรศัพท์ บอกจุดที่จอดรถ ตลอดจนมีความพยายามนำผ้าคลุมหัว เพื่อพาขึ้นรถตู้ไปยังสถานที่ ที่ไม่รู้จุดหมาย และไม่รู้วัตถุประสงค์

แต่โชคดี ที่ช่างภาพข่าวบริเวณนั้น สังเกตเห็น และบันทึกภาพเอาไว้ได้ แม้ช่างภาพคนดังกล่าว จะถูกข่มขู่ บังคับให้ลบภาพทิ้ง แต่ก็ทำให้ข่าวถูกแพร่กระจายออกไป จนสื่อมวลชนได้รับทราบกันโดยทั่ว เป็นเหตุให้กลุ่มการ์ด ต้องโทรไปปรึกษาบุคคลปริศนา จนมีคำสั่งให้ปล่อยตัว แต่ระหว่างถูกควบคุมตัว การ์ดผู้ชุมนุมบางคน เข้ามาพูดจาข่มขู่ ในเชิงต้องการล่วงละเมิดทางเพศ

ร้อยโทหญิงสุณิสา ขอร้องไปยังแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุม ให้ควบคุมพฤติกรรมของการ์ดและมวลชน ให้อยู่ในกรอบกฎหมาย ไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น และหวังว่าเหตุการณ์เช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นอีก

26 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 17:45 น.


เสวนา "ความเป็นธรรมในสังคมไทย" ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 25-02-2014

 

Published on Feb 25, 2014
mp3 http://www.mediafire.com/listen/qaocq...
เสวนา "ความเป็นธรรมในสังคมไทย"
พบกับ เกษม เพ็ญพินันท์ เกษียร เตชะพีระ
วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อนุสรณ์ อุณโณ
ดำเนินรายการโดย จุฬารัต ผดุงชีวิต
จัดโดย ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 13.30 - 16.30 น.
ณ ห้องบรรยาย 103 ชั้น 1 อาคารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ท่าพระจันทร์
thaivoice.org ถ่ายทอดสดโดยไอ้หนูแดง

อย่าให้(ลูก)คนโกงมีที่ยืนในสังคม



โดย ณัฐเมธี สัยเวช

ที่มา THAIPUBLICA

เมื่อประมาณอาทิตย์หรือสองอาทิตย์ก่อน มีโอกาสได้ดูโฆษณาชิ้นหนึ่ง ทราบว่าเป็นภาพยนตร์โฆษณาขององค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT (Anti-Corruption Organization of Thailand) โดยเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ"อย่าให้คนโกงมีที่ยืนในสังคม" และที่ผมได้ชมนั้นเป็นตอนที่ชื่อว่า "ลูกคนโกง" ซึ่งโพสต์ในเว็บไซต์ยูทูบโดยผู้ที่ใช้ชื่อว่า "ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน"

เนื้อหาในโฆษณาดังกล่าว เป็นเรื่องราวของเด็กนักเรียนคนหนึ่งนั่งหน้าเศร้าอยู่บนชิงช้า เมื่อแม่ของเด็กน้อยถามว่าทำไมไม่ไปเล่นกับเพื่อนๆ คำตอบที่ได้รับก็คือ เพื่อนๆ บอกว่าไม่อยากเล่นกับ "ลูกคนโกง" แล้วเด็กคนนี้ก็ถามแม่ตัวเองว่าบ้านเรานั้นโกงจริงหรือ จากนั้น ก็เป็นภาพของคุณแม่ที่มีตัวอักษรเป็นวลีว่า "รวยเพราะโกง" ปั๊มอยู่บนหน้าผาก พร้อมด้วยแม่ๆ ของเด็กคนอื่นๆ ที่ยืนชี้หน้าตะโกนคำว่าขี้โกงใส่ และมีแม่คนหนึ่งที่ยิงคำถามว่า "สงสารลูกบ้างมั้ย"

สะใจ…

หลายคนดูแล้วต้องรู้สึกสะใจแน่ๆ ก็แหม วิธีการจัดการกับ "คนโกง" แบบในโฆษณานี้ดูจะเป็นอะไรที่ทำได้โดยง่าย และโครงสร้างทางวัฒนธรรมแบบไทยๆ ของเรานั้นก็เอื้ออวยกันในเชิงความรู้สึกว่ามันเป็นวิธีที่ได้ผล ซึ่งไม่ว่าได้ผลที่ว่านั้นจะยืนยาวหรือไม่ แต่ในทางเฉพาะหน้าแล้ว "การลงทัณฑ์ทางสังคม" หรือ social sanction แบบในโฆษณานี้มันทั้งสะอกสะใจและทันอกทันใจ ยิ่งเลือกคนแสดงเป็น "แม่ผู้ถูกตีตราว่าโกง" มาเสียหน้าตาเหมือนรักษาการนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (บางคนก็บอกว่าเด็กในโฆษณานั้นหน้าเหมือนน้องไปป์ ลูกชายนายกฯ) มีหรือครับ ที่ผู้มีจิตใจชิงชังรังเกียจเคียดแค้นคนขี้โกง ซึ่งตอนนี้มีสองพี่ชายน้องสาวอดีตนายกฯ แห่งตระกูลชินวัตรและพรรคพวกเป็นหุ่นฟางให้ใครต่อใครตอกตะปูสาปแช่งไปแล้ว จะไม่รู้สึกสะใจเมื่อได้เห็นภาพที่ปรากฏในโฆษณาดังกล่าว

แต่โดยส่วนตัวนี่ เมื่อมาพินิจดีๆ แล้ว แหม ผมขอบอกตรงๆ ว่านี่เป็นโฆษณาที่น่ารังเกียจมากอยู่นะครับ

คุณฟังไม่ผิด และอ่านไม่พลาด ผมกำลังบอกว่าโฆษณาชิ้นนี้น่ารังเกียจ และผมรู้สึกสิ้นหวังอย่างมากที่องค์กรที่เรียกตัวเองว่าเป็นองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันนั้นเลือกที่จะใช้วิธีการลงทัณฑ์ทางสังคมในรูปแบบที่น่ารังเกียจแบบนี้มาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน

ต้องออกตัวก่อนนะครับว่า ไม่ใช่ว่าผมจะชิงชังการต่อต้านคอร์รัปชัน ผมชอบครับ การต่อต้านคอร์รัปชันนี่ผมชอบเลย อยากให้มี อยากให้แก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้ แต่สิ่งที่ผมสนใจมากกว่าการต่อต้านคอร์รัปชันก็คือ คุณจะต่อต้านมันด้วยวิธีไหน และการต่อต้านคอร์รัปชันด้วยการสร้างค่านิยมว่ามันเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ไม่ควรเกี่ยวข้องด้วย แบบนั้นผมก็เห็นว่าก็น่าจะได้ผลอยู่บ้างนะครับ เพราะก็เป็นการเพิ่มต้นทุนทางสังคมแก่ผู้ที่คิดจะทำการคอร์รัปชัน ในทางหนึ่งแล้วก็นับว่าเป็นการเพิ่มต้นทุนในการทำคอร์รัปชัน (พอจะทำอะไร ถ้าต้นทุนเพิ่มคนเราก็มักหยุดคิดใช่ไหมครับ) แต่ก็นั่นแหละครับ ที่ยากจะทำใจรับได้ หรือพูดให้เฉพาะเจาะจงกว่านั้นคือยอมรับไม่ได้ และเอาแต่ใจถึงขั้นไม่อยากให้ใครยอมรับ ก็คือลักษณะการใช้มาตรการควบคุมทางสังคมแบบในโฆษณาต่อต้านคอร์รัปชันชิ้นนี้

เพราะอะไรนะหรือ เพราะสำหรับผมแล้วนั้น คนผิดย่อมต้องได้รับโทษครับ แต่โทษมันก็ควรจะลงอยู่แต่กับตัวคนที่กระทำผิดเท่านั้น ส่วนคนที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน โดยไม่ได้ร่วมกระทำความผิด ก็ไม่สมควรต้องรับโทษทัณฑ์อันใดไปด้วย ไม่ว่าจะทางกระบวนการยุติธรรมหรือทางสังคมก็ตาม ผมว่าเราน่าจะข้ามพ้นยุคของการประหารเจ็ดชั่วโคตรมาแล้วนะครับ อะไรแบบนั้นนี่เก็บไว้สะใจในฐานะของสิ่งโบราณที่ช่วยเติมเต็มหัวใจที่แหว่งเว้าเพราะความไร้ประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมในโลกปัจจุบันดีกว่า เหมือนเสพละครหลังข่าวน่ะครับ แต่อย่าไปรื้อฟื้นวิธีคิดในลักษณะทำคนเดียวชั่วทั้งโคตรแบบนั้นขึ้นมาใช้เลย มันอาจจะเด็ดขาด สะใจ แต่ไม่อารยะ

ทีนี้ พอมาดูกันเป็นส่วนๆ ไป ผมว่าแคมเปญนี้ไม่น่ารักตั้งแต่ชื่อแล้วครับ "อย่าให้คนโกงมีที่ยืนในสังคม" โอ้โฮ ในขณะที่โลกเข้าสู่แนวคิดในการนำตัวผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม การลงโทษลงทัณฑ์ก็เป็นไปพร้อมกระบวนการบำบัดเยียวยาทัศนะและพฤติกรรมให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตอยู่ในกฎเกณฑ์ทางสังคมได้เฉกเช่นคนอื่น มุ่งเน้นการให้โอกาสในการคืนสู่สังคม แต่แคมเปญนี้กลับสนับสนุนการกีดกันผู้กระทำผิด ปิดกั้นพื้นที่ ไม่ให้สามารถใช้สังคมร่วมกับคนอื่นได้ แบบนี้มันคือความล้าหลังนี่ครับ พูดตรงไปตรงมาอย่างไม่ไว้หน้าก็ต้องบอกว่า วิธีคิดแบบนี้เป็นการปลูกฝังความเกลียดชังลงไปในสังคมเสียมากกว่าจะหาทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน เป็นการแก้ปัญหาบนพื้นฐานของความเกลียดชังมากกว่าอย่างอื่น


เพื่อนนักเรียนเด็กๆ พากันมองมาและซุบซิบนินทา ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=U2IlCGSS1Uo

และเมื่อมาดูในเนื้อหาของโฆษณาชิ้นนี้ ความรุนแรงที่ถ้าไม่สังเกตให้ดีก็คงมองไม่เห็น ก็คือเรื่องของการ "จับเด็กเป็นตัวประกันทางศีลธรรม"แถมระหว่างที่จับตัวไว้นั้น ก็ทำการ "ข่มขืนทางศีลธรรม" ไปพลางๆ ด้วย ดูจากในโฆษณาก็เรียกได้ว่า "ทำแม่ไม่ได้ก็ใส่กับลูก" นั่นแหละครับ แม่ๆ ของเด็กอื่นในโฆษณาให้ลูกๆ ของตัวเองใช้ความโดดเดี่ยวข่มขืนหัวใจเด็กชายลูกคนโกง โดยหวังให้กระทบชิ่งไปสะท้านสะเทือนหัวใจคนเป็นแม่ และทั้งหมดทำลงไปในนามศีลธรรม

ศีลธรรมไม่ใช่ไม่ดีนะครับ…แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับวิธีใช้ด้วย

อย่าได้ลืมทีเดียวว่า ลูกนี่เป็นสิ่งมีชีวิตที่เลือกพ่อแม่ไม่ได้นะครับ และไม่ต้องไปพูดถึงเรื่องเลือกว่าจะมีพ่อแม่เป็นคนโกงหรือไม่เลย

แล้วถ้าให้พูดกันจริงๆ นี่ ลองมองดูรอบๆ ตัวในสังคมไทยเราดีๆ สิครับ แน่ใจหรือครับว่าด้วยโครงสร้างทางวัฒนธรรมที่โดยปรกติแล้วจะให้อำนาจพ่อแม่เหนือลูกอย่างเด็ดขาด คิดว่าคำถามอย่างในโฆษณาที่เด็กถามแม่ตัวเองว่า "บ้านเรานั้นโกงจริงหรือ" จะมีผลให้คนเป็นพ่อแม่บังเกิดสำนึกตรึกตรองจนกลับอกกลับใจไม่กระทำผิดไหม ผมตอบเลยว่าไม่ เต็มที่ก็ไม่ทำให้ลูกรู้ ประนีประนอมหน่อยก็อาจจะให้ความหมายใหม่ของการโกงของตัวเองแก่ลูก แต่ถ้าหนักข้อเข้า ขี้คร้านลูกจะโดนสวนกลับมาด้วยซ้ำ อาจสวนแรงถึงขั้นทำนองว่า ที่มีกินมีใช้อยู่นี่ก็เพราะโกงนี่แหละ

ทำแบบนี้นี่เด็กโดนทั้งขึ้นทั้งล่องครับ ดูโฆษณาชิ้นนี้แล้วผมก็เลยไม่แน่ใจว่าตกลงเด็กอยู่ในสถานะที่ควรจะได้รับการปกป้อง หรือต้องทำร้ายเสียก่อนเพื่อจะได้ปกป้องกันแน่ ซึ่งดูไปก็คล้ายการบูชายัญแพะสักตัวให้เทพเจ้าแห่งความดีพึงพอใจแล้วสังคมจะได้สงบสุข

กล่าวโดยสรุปแล้ว ผมเห็นว่านี่เป็นโฆษณาที่เต็มไปด้วยความรุนแรงนะครับ แม้จะไม่มีใครลุกขึ้นมาลงไม้ลงมือทำร้ายร่างกายกัน แต่มันก็ยังรุนแรง เป็น "ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม" ซึ่งเป็นความรุนแรงในระดับลึกที่สุดที่มักเป็นกำลังในการให้ความชอบธรรมในการทำความรุนแรงระดับอื่นๆ โฆษณาชิ้นนี้นั้นดำเนินเรื่องไปบนฐานวิธีคิดที่ว่าเราจะทำอย่างไรกับ "คนไม่ดี" ก็ได้ ใช้วิธีการแบบใดก็ได้ ดังที่เราจะเห็นว่าโฆษณาชิ้นนี้เลือกจะเสนอภาพของการจัดการการคอร์รัปชันด้วยการให้สังคมไปกดดันลูกของคนที่สังคมเชื่อว่าเป็นคนโกง

นี่คือความรุนแรง เป็นความรุนแรงที่กระทำต่อเด็ก ยิ่งกว่านั้นคือเป็นกระทำความรุนแรงต่อผู้บริสุทธิ์จากความผิดในเรื่องนี้

แต่ที่ว่ากันมาขนาดนี้นี่ก็ไม่ได้หมายความว่าโฆษณาชิ้นนี้ไม่มีอะไรดีเลยนะครับ มีครับ เพียงแต่อาจจะไม่ได้สื่อออกมาเท่านั้น

เรื่องดีที่ว่าก็คือ อย่างน้อย ผมคิดว่าโฆษณาชิ้นนี้สะท้อนถึงความบ้อท่าของกฎหมายบ้านเมืองครับ การที่แม่ในโฆษณานั้นไม่ได้เป็นคนโกงเพราะกฎหมายชี้ชัดว่าโกง แต่โกงเพราะใครๆ ก็รู้ว่าโกง เป็นคนโกงเพราะสังคมเชื่อและ "ตีตรา" ว่าโกง (ซึ่งต่อให้โกงจริงๆ มันก็คนละเรื่องกับโกงตามคำพิพากษาทางกฎหมายนะครับ การพิพากษาทางสังคมแบบนี้มันคือศาลเตี้ย) สภาพแบบนี้สะท้อนถึงความไร้ประสิทธิภาพจนไม่อาจก่อประสิทธิผลของกฎหมายครับ ที่ทำให้ไม่สามารถลงโทษเอาผิดผู้ใหญ่ได้ และสุดท้าย เมื่อกฎหมายทำอะไรไม่ได้ สังคมก็ต้องมาจัดการกันเอง ก็ต้องมาลงกับเด็กด้วยหวังจะลงโทษผู้ใหญ่ไปในที อย่างที่บอกไปแล้วครับ สภาพอย่าง "ทำแม่ไม่ได้ก็ใส่กับลูก"


ภาพที่แสดงออกอย่างตรงไปตรงมาถึงการ "ตีตรา" บุคคลด้วยความเชื่อทางสังคม ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=U2IlCGSS1Uo

แต่ว่า การที่พอกฎหมายใช้การไม่ได้ เลยต้องหันไปใช้ลีลาอันบ้านป่าเมืองเถื่อนอย่างการประจาน การกีดกัน ลงโทษคนที่ไม่ได้ร่วมกระทำผิดด้วย แถมยังเป็นเด็กอีกต่างหาก เหล่านี้ก็สะท้อนความมักง่ายของสมาชิกในสังคมนะครับ

เมื่อกฎหมายที่มีอยู่มันใช้ไม่ได้ สิ่งที่สังคมควรจะต้องทำก็คือการพยายามหาทางแก้ไขปรับปรุงให้มันใช้การให้ได้ ซึ่งแน่นอนครับว่ามันเป็นเรื่องที่ยาก ใช้เวลา แต่ในระยะยาวแล้วมันแก้ปัญหาได้ยั่งยืนกว่าใช้มาตรการทางสังคมที่กำกับโดยศีลธรรม เพราะแม้ศีลธรรมจะมีอำนาจในการควบคุมสังคมราวกับกฎหมาย แต่มันถูกตีความได้หลากหลายจนสุดท้ายแล้วยากจะทำให้เกิดการพิสูจน์จนสิ้นสงสัยน่ะครับ

ซึ่งถ้าคุณเลือกจะใช้วิธีการจัดการคนโกงแบบในโฆษณาชิ้นนี้ วันหนึ่งคนโกงอาจจะหมดไปจากสังคมจริงๆ ก็ได้ครับ แต่สิ่งที่จะเหลือไว้ก็คือ ลูกของคนโกงที่โตมากับการถูกสังคมทำร้าย ทั้งที่ตัวเขาไม่ได้ทำผิดอะไร หรืออาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอะไรคือการโกงที่ใครต่อใครพูดถึงบ้านตัวเอง


"หญิงคนโกง" เดินจากไปพร้อมกับลูกที่เดินคอตกทั้งที่ตัวเองไม่ได้รู้เรื่องอะไรด้วยเลย ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=U2IlCGSS1Uo

เราไม่ควรสร้างปัญหาเพื่อแก้ปัญหาใช่ไหมครับ…

พระราชินี (a sequel) ทรงเหวยสวัสดิการ




"เท่ากับว่าพระองค์ทรงจ่ายภาษีในอัตราต่ำมากเสียยิ่งว่าคนรับจ้างซักผ้า"

สมัชชา (องค์การบริหารท้องถิ่น) สาดเงินไปให้แก่ราชวงศ์เป็นค่าเช่าอยู่อาศัยของคนยากไร้ ที่ต้องการเงินสวัสดิการเพื่อได้มีที่คุ้มหัวนอน

ครอบครัวยากจนที่ต้องต่อสู้กับความลำบากเพราะค่าครองชีพสูงขึ้น ต่างโกรธขึ้งที่พวกเจ้าของที่ดินโกยเอาเงินสวัสดิการเคหะไปเป็นพันๆ ปอนด์ สเตอร์ลิง

จะมีอีกจำนวนมากต้องเกลียดชังคั่งแค้นเมื่อรู้ว่าเจ้าฟ้าชายชาร์ลและสมเด็จพระราชินีทรงมีรายได้จากคนยากไร้ผู้อยู่อาศัยที่ต้องพึ่งพาเงินสวัสดิการเพียงแค่ให้ตนมีที่ซุกหัวนอนเหล่านั้น

ทั้งสองพระองค์ทรงได้รับเงินสวัสดิการเคหะสถานที่ทางการท้องถิ่น (ในอังกฤษ) จ่ายแก่ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ปีละเป็นจำนวนหมื่นแสนปอนด์

สำนักงานทรัพย์สินดัชชี่แห่งคอร์นวอลของเจ้าฟ้าชายชาร์ลซึ่งมีอสังหาริมทรัพย์แผ่กระจายไปทั่วย่านเซ้าท์เวสต์ได้รับเงินช่วยเหลือนี้ไม่น้อยว่า ๑๑๑,๐๐๐ ปอนด์ จากเครือข่ายหน่วยงานสมัชชาหลายแห่งที่อำนวยสวัสดิการเป็นตัวเงินแก่ครอบครัวผู้อยู่อาศัย

เมื่อปีกลาย สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งถวาย ๑๕ เปอร์เซ็นต์ของรายได้ให้แก่พระราชินีนั้น แค่เพียงท้องที่นครหนึ่งแห่งเดียวก็ได้รับเงินค่าสวัสดิการที่อยู่อาศัยถึง ๓๘,๕๓๙ ปอนด์แล้ว

จำนวนตัวเลขแท้จริงของเงินสวัสดิการที่จ่ายให้กับดัชชี่น่าจะมากมากกว่านั้น เนื่องจากสมัชชาหลายแห่งบอกว่าสามารถให้ตัวเลขได้เฉพาะเงินที่จ่ายไปทางเจ้าของที่ดินเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงเงินสวัสดิการที่จ่ายถึงมือผู้อยู่อาศัยล่วงหน้าไปก่อน

สำนักงานทรัพย์สินฯ ซึ่งมีมูลค่าความมั่งคั่งอยู่ที่ ๘๔๗ ล้านปอนด์ แล้วยังไม่ต้องเสียภาษี จ่ายเงินให้กับเจ้าฟ้าชายชาร์ล ๑๙ ล้านปอนด์เมื่อปีที่แล้ว ขณะที่พระราชินีทรงมีมูลค่าความมั่งคั่งอยู่ที่ ๓๒๐ ล้านปอนด์

การเปิดเผยของเรานี้ตามมาหนึ่งวันหลังจากที่เราเปิดโปงว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอังกฤษที่ร่ำรวยที่สุดจากพรรคทอรี่ ริชาร์ด เบ็นเนี่ยน ได้รับเงินสวัสดิการเคหะสถานหลายพันปอนด์เมื่อปีที่แล้ว นั่นทั้งๆ ที่เขาโจมตีระบบสวัสดิการว่าเป็น "รายจ่ายเสียเปล่า"

เลขาธิการใหญ่สหภาพแรงงานจีเอ็มบีของอังกฤษ พอล เค็นนี่ กล่าวในคืนนี้ว่า "เรื่องมันก็แดงขึ้นมาแล้วละ แม้แต่พระราชวงศ์ก็ยังทำตนเป็นนายหน้ารับเงินสวัสดิการแทนผู้อยู่อาศัย"

"ทำไมพวกเขาถึงไม่มอบที่อยู่อาศัยเหล่านั้นให้แก่สมาคมเคหะสถานไปเสีย"

กลุ่มรณรงค์ปกป้องสมัชชาเคหะกระโดดเข้ามาร่วมเรียกร้องให้มีการลดอัตราเงินสวัสดิการเคหะสถานที่จ่ายแก่ผู้เป็นเจ้าของที่ดินลง

ไอลีน ช้อร์ต โฆษกของกลุ่มรณรงค์บอกว่า "เจ้าฟ้าชายชาร์ลทรงเจริญพระชนม์ขึ้นมาในเคหะสถานสมัชชาใหญ่ที่สุดในจักรภพอังกฤษ คือพระราชวังบั๊คกิ้งแฮม"

"เราควรที่จะควบคุมอัตราค่าเช่าที่เราจ่ายแก่เจ้าของที่ดินอย่างพระองค์ แล้วถ้าดัชชี่แห่งคอร์นวอลจ่ายค่าภาษีอย่างสมน้ำสมเนื้อ เราสามารถใช้เงินที่ได้รับจากภาษีนำไปสร้างเคหะสถานสมัชชาชั้นดี เป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ประเทศชาติ"

"บิลค่าสวัสดิการเคหะสถานสูงขึ้นมหาศาล ในปีนี้มากกว่า ๙ พันล้านปอนด์จะต้องจ่ายให้แก่เอกชนเจ้าของทรัพย์สิน เงินภาษีของราษฎรถูกนำไปใช้เติมพกเติมห่อของมหาเศรษฐีเจ้าของอสังหาฯ และพวกนักเก็งกำไรนายหน้าค้าที่ดิน"

สมาชิกสภาผู้แทนพรรคแรงงาน เทเรซ่า เพี๊ยร์ช กล่าวว่าพวกเศรษฐีเจ้าของที่ดินเดี๋ยวนี้ "มองระบบสวัสดิการเป็นการตลาดไปเสียแล้ว โดยมีจุดหมายที่จะนำเงินงบประมาณสาธารณะมาเข้ากระเป๋าเอกชน"

เธอชื่นชมรายงานของเราที่เปิดโปงกรณีสมาชิกสภาฯ เบ็นเนี่ยน แล้วเสริมว่า "จากนี้เราได้เห็นความจริงกันว่ามันไม่ใช่สวัสดิการผู้อยู่อาศัย แต่มันเป็นผลประโยชน์แก่เจ้าของที่ดิน" เพื่อ ส.ส. พรรคแรงงานของเธอ ชีล่า กิลมอร์ บอกว่าการเปิดโปงของเรา "แสดงให้เห็นจริงว่ามันเกิดอะไรขึ้น"

"ในปี ค.ศ. ๑๙๘๐ ทุกๆ ๒๐ ปอนด์ที่เราจ่ายแก่ผู้อยู่อาศัย ๑๖ ปอนด์ถูกนำไปใช้ก่อสร้างอาคารบ้านเรือน อีก ๔ ปอนด์ไปช่วยผู้อาศัยจ่ายค่าเช่า เดี๋ยวนี้ ๑๙ ปอนด์ไปเป็นค่าเช่า เหลือเพียงปอนด์เดียวมาใช้ในการก่อสร้าง"

"เราเปลี่ยนจากการอุดหนุนสมัชชาท้องถิ่นในการสร้างบ้านเรือน ไปเป็นอุดหนุนเจ้าที่ดินเอกชนขยายอาณาจักรอสังหาริมทรัพย์ของพวกเขา"

สำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นเจ้าของย่านถนนรีเจ๊นท์อันหรูหราในเขตเวสต์เอ็นด์ของกรุงลอนดอน มหาอุทยานวินเซอร์ พื้นที่เกษตรกรรมขนาดยักษ์ และศูนย์การค้าตามท้องถิ่นต่างๆ รวมทั้งเวสต์เกตช็อปปิ้งเซ็นเตอร์ในอ็อกฟอร์ด และสวนค้าปลีกเดอะโคลิเซี่ยมในเชสเชียร์
การแสดงรถโบราณบนถนนรีเจ๊นท์

รายงานวิจัยของสหภาพแรงงานพบว่ามีการจ่ายเงินค่าสวัสดิการเคหะสถานแก่ผู้อยู่อาศัยในเวสต์ซอมเมอร์เซ็ทเมื่อปีที่แล้วด้วย

ในคืนนี้สำนักงานทรัพย์สินฯ ไม่สามารถยืนยันได้แน่นอนว่าได้รับเงินสวัสดิการเป็นจำนวนเท่าไรแน่

แต่โฆษกสำนักงานแจ้งว่า "ทรัพย์สินของเราให้เช่าแก่ผู้อาศัยหลากหลาย ซึ่งอาจรวมถึงผู้อยู่อาศัยที่ได้รับสวัสดิการ เช่นเดียวกับเจ้าของอสังหาฯ อื่นทั้งหลายที่มีผู้อยู่อาศัยได้รับเงินสวัสดิการช่วยเหลือ แล้วมีการจ่ายค่าเช่ามาให้โดยตรงจากเงินสวัสดิการโดยทางการท้องที่สู่เจ้าของที่ดิน"

"ผลประโยชน์ของสำนักงานทรัพย์สินฯ ทั้งหมด ส่งคืนให้แก่คลังทุกปีเพื่อประโยชน์ของระบบการงินสาธารณะ"

รายได้จากทรัพย์สินของราชวงศ์เพิ่มขึ้น ๕ เปอร์เซ็นต์เมื่อปีที่แล้วไปเป็น ๒๕๓ ล้านปอนด์ ภายใต้ระเบียบใหม่ที่ผลักดันสำเร็จโดยรัฐมนตรี จ๊อร์จ ออสบอร์น พระราชินีทรงได้รับ ๑๕ เปอร์เซ็นต์ของผลประโยชน์รายได้ เจ้าฟ้าชายชาร์ลซึ่งเป็นองค์ประธานของทรัพย์สินดัชชี่แห่งคอร์นวอล จึงทรงเป็นเจ้าของที่ดินใหญ่อันดับสามของอังกฤษ

เงินที่จ่ายเป็นค่าสวัสดิการเคหะสถานของทรัพย์สินฯ เมื่อปีที่แล้ว รวมถึงจำนวน ๑๔,๓๐๑ ปอนด์ให้กับอสังหาฯ สามแห่งในคอร์นวอล อีก ๒๕,๑๐๔ ปอนด์สำหรับหกแห่งในซอมเมอร์เซ็ท และ จำนวน ๔,๖๘๔.๗๒ ปอนด์สำหรับแห่งหนึ่งในสเวล เดวอน

สมัชชามลฑลเฮียฟอร์ดเชียร์จ่ายตรงให้กับดัชชี่ ๑๑,๓๘๖ ปอนด์เมื่อปีที่แล้วแต่ไม่ยอมบอกว่าในวงเงินนี้สำหรับผู้อยู่อาศัยกี่ราย สมัชชาท้องที่เวสต์ดอร์เส็ทจ่าย ๕๒,๒๕๗ ปอนด์เป็นค่าสวัสดิการเคหะแก่ผู้อยู่อาศัย ๑๒ รายในพาวด์เบอรี่ เมืองตัวอย่างของเจ้าฟ้าชายชาร์ลในดอร์เส็ท ทรัพย์สินนี้ให้เช่าผ่านทางกินเนสทรัสต์

แต่โฆษกของดัชชี่แห่งคอร์นวอลบอกว่า "เราจำหน่ายออกทรัพย์สินเหล่านั้นไปแล้ว" ทรัพย์สินฯ ยังได้รับค่าสวัสดิการเคหะอีก ๓๒,๐๒๖ ปอนด์สำหรับผู้อยู่อาศัย ๖ รายในบ้าธและซอมเมอร์เส็ทตะวันออกเฉียงเหนือ

สำนักดัชชี่ไม่ต้องจ่ายภาษีบรรษัทธุรกิจจากกำไรและรายได้มูลค่าเพิ่มเมื่อขายที่ดินหรืออสังหาฯ แต่ว่าตามข้อตกลงพิเศษเจ้าฟ้าชายชาร์ลทรงจ่ายภาษีเงินได้ของพระองค์เองโดยสมัครใจจากส่วนหนึ่งของรายได้ ๑๙ ล้านปอนด์ของพระองค์ที่มาจากทรัพย์สินฯ

เท่ากับว่าพระองค์ทรงจ่ายภาษีในอัตราต่ำมากเสียยิ่งว่าคนรับจ้างซักผ้า และพนักงานรายได้ต่ำอื่นๆ

ในสภาสามัญ (ผู้แทนราษฎร) รัฐมนตรีงานและบำนาญ เอียน ดันแคน สมิธ เผชิญกับข้อเรียกร้องให้มีการจำกัดอัตราจ่ายค่าสวัสดิการเคหะแก่เจ้าของที่ดิน แต่ท่านปัดส่งข้อเสนอนั้นไปโดยกล่าวว่า "ผมห่วงว่าจะทำให้เจ้าของที่ดินเปิดทรัพย์สินให้เช่าใช้กันน้อยลง"

การเปิดโปงของเรา (เดลี่มิเรอร์) ต่อนายเบ็นเนี่ยนและเศรษฐีเจ้าของที่ดินคนอื่นๆ เรื่องได้รับเงินจากสมัชชาการเคหะมีคนนำไปขยายผลทางโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมากถึง ๒ หมื่นราย
เกาะเซนต์แมริสในชิลลี่ไอส์ล

ตัวเลขต่างๆ ของความอื้อฉาวในหมู่ผู้ดีและเศรษฐีได้เศษได้เลยกับสวัสดิการเคหะ

๘,๖๐๐ ล้านปอนด์ มูลค่าทั้งหมดของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นเจ้าของย่านถนนรีเจ๊นต์ ในเขตเวสต์เอ็นด์ของกรุงลอนดอน (ภาพ) ที่ดินเกษตรกรรมมหาศาล ช็อปปิ้งเซ็นเตอร์ขนาดยักษ์ และทรัพย์สินอื่นๆ พระราชินีทรงได้รับผลประโยชน์ ๑๕ เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด

๑๖๓,๐๐๐ ปอนด์ เป็นจำนวนเงินที่จ่ายค่าสวัสดิการเคหะแก่ดัชชี่แห่งคอร์นวอลโดยเครือข่ายสมัชชาท้องที่ต่างๆ ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ รวมถึงชิลลี่ไอส์ล เจ้าฟ้าชายชาร์ลได้รับเงินจากดัชชี่ ๑๙ ล้านปอนด์เมื่อปีที่แล้ว

๕๒,๒๕๗ ปอนด์ เป็นจำนวนเงินที่จ่ายโดยสมัชชาท้องที่เวสต์ดอร์เส็ทเป็นค่าสวัสดิการเคหะแก่ผู้อยู่อาศัย ๑๒ รายในพาวด์เบอรี่ เมืองตัวอย่างของเจ้าฟ้าชายชาร์ล บ้านให้เช่าโดยกินเนสทรัสต์


เศรษฐีอื่นๆ ที่ได้รับสวัสดิการเคหะ

ดุ๊คแห่งเวสต์มินเตอร์ กรอสเวเนอร์เอสเตทเบลกราเวีย อันเป็นส่วนหนึ่งของกรอสเวเนอร์กรุ๊ป ได้รับ ๒๔๒,๗๖๒ ปอนด์ จากสมัชชาเวสต์มินเตอร์ ท่านดุ๊คเองมีมูลค่าความมั่งคั่งส่วนตัว ๗,๘๐๐ ล้านปอนด์

เอิร์ลแห่งสตร๊าตมอร์ พระญาติของราชินีซึ่งเป็นเจ้าของปราสาทแกลมิส ได้รับ ๑๑,๕๐๐ ปอนด์จากสมัชชาแองกัสผ่านบริษัทสตร๊าตมอร์เอสเตทโฮลดิ้ง

วิสเค้าท์คาวเดรย์ ได้รับเงินสวัสดิการเคหะ ๓๒,๙๑๔ ปอนด์เมื่อปีที่แล้วจากสมัชชาชิเชสเตอร์ ขณะที่ทรัพย์สินคาวเดรย์ของเขาได้รับอีก ๕๔,๕๐๙ ปอนด์ ตัวท่านวิสเค้าท์คาวเดรย์เองมีมูลค่าความมั่งคั่ง ๔๐๐ ล้านปอนด์

หมายเหตุ นี่เป็นเพียงเรื่องต่อเนื่อง (a sequel) เกี่ยวกับ พระราชินีอังกฤษและองค์มกุฏราชกุมาร กรณีทั้งสองพระองค์ได้รับเงินช่วยเหลือสวัสดิการเคหะสถานเป็นค่าเช่าอยู่อาศัยของคนยากไร้จากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ปรากฏในรายงายสืบสวนของหนังสือพิมพ์ เดลี่มิเรอร์ เรื่อง "The Queen and Prince Charles cash in on tens of thousands of pounds' worth of benefits every year." โดย นิค ซอมเมอร์แล้ด (ถอดความโดยระยิบ เผ่ามโน)

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สังคมไทย One-night Stand

 

สังคมไทย One-night Stand


One-night Stand ผมได้ยินวัยรุ่นพูดกันบ่อยๆที่ส่อไปในทางเพศ แต่ไม่เคยรู้คำแปลและความหมายแท้จริง เพิ่งจะรู้ว่าหมายถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งเดียว หรือความสัมพันธ์ชั่วคราว จากข้อเขียนในหนังสือชื่อ 

คู่รัก เมืองใหญ่ และความเร้าใจ Urban “One-night Stand” ของ ยรรยง บุญ-หลง (สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2557 หน้า 51-61) 

ที่ผมอ่านอย่างเร้าใจ แล้วอยากให้ใครหลายๆ คนอ่าน จะคัดตอนสำคัญมา ดังนี้

“ตั้งแต่ช่วงยุค 1960 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมาจากหลักคิดของปรัชญา ‘One-night Stand’ ไม่ว่าจะเป็นระบบการคมนาคม ไฟฟ้า ประปา หรือที่อยู่อาศัย

ประเทศไทยได้ชูธุรกิจการ ‘ท่องเที่ยว’ เป็นธุรกิจแม่บทในการพัฒนาประเทศ ซึ่งฟังดูเผินๆ ก็ไม่แปลกอะไรสำหรับประเทศที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามจำนวนมาก-ไม่ต่างอะไรกับยุโรป

แต่หากมองลึกลงไปแล้วเราจะเห็นว่าประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปนั้นได้พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญๆไปพร้อมกับการพัฒนาอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมทั้งการพัฒนาปรัชญาศิลปะแขนงต่างๆ อย่างมากมาย

ระบบโครงสร้างพื้นฐานของยุโรปได้เสร็จสิ้นลงเป็นเวลานานแล้ว ก่อนที่ประเทศเหล่านี้จะกลายเป็น ‘เมืองท่องเที่ยว’ อย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ระบบคมนาคมแบบรางของยุโรปไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองการท่องเที่ยว แต่มันได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำธุรกิจระหว่างประเทศต่างๆในยุโรป

แต่สำหรับประเทศไทยนั้น ระบบโครงสร้างพื้นฐานได้ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้เพื่อปรนเปรอธุรกิจการท่องเที่ยวในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา

ประเทศไทยในช่วงสงครามเย็น (ปี ค.ศ. 1950-1960) เป็นจุดยุทธศาสตร์และฐานทัพ One-night Stand ขนาดใหญ่ที่เร้าใจที่สุดสำหรับทหารอเมริกัน ก่อนที่พวกเขาจะต้องออกไปรบที่อินโดจีนใน ‘สงครามเวียดนาม’ (หลายท่านที่ไป ก็ไม่ได้กลับมาประเทศไทยอีก) 

ดังนั้น ระบบเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานที่ผุดกำเนิดขึ้นมารองรับทหารกองหน้าเหล่านี้ จะต้องเป็นธุรกิจแบบ ‘เสร็จครั้งเดียว’ ไม่มีเยื่อใย

ใครจะกลับมาโวยวายล่ะครับ ว่าถูกแท็กซี่คิดค่าโดยสารแพงกว่าปกติถึง 5 เท่า หรือถูกหญิงร้าย ‘ยืม’ กระเป๋าสตางค์ไปกลางดึกก่อนที่เขาจะขึ้นเครื่องบินทิ้งระเบิด

ใครจะกลับมาโวยวายเรื่องระบบรถเมล์หรือระบบรถไฟล่ะครับ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่กลับชอบเสียด้วยซ้ำที่ได้เห็นของแปลกๆ สักครั้งหนึ่งในชีวิต 

‘นั่นพิพิธภัณฑ์รถไฟใช่ไหม’ นักท่องเที่ยวชาวจีนกล่าว

‘ผมอยากไปดูจังครับ...’ 

และหลังจากที่ผมได้บอกเพื่อนชาวจีนรายนี้ไปว่ามันไม่ใช่พิพิธภัณฑ์รถไฟ แต่เป็นสถานีรถไฟที่ยังใช้การได้อยู่ มีชื่อว่า ‘หัวลำโพง’ เขาก็ดีใจจนแทบขาดสติ

‘ผมจะรีบไปจองตั๋วรถไฟเลย! ที่เมืองจีนไม่มีรถแบบนี้แล้ว...ไม่มีอีกแล้ว’ เขาวิ่งฝ่าคิวแท็กซี่เข้าไปในสถานีอย่างรวดเร็ว ทำให้หมาหลายตัวที่กำลังนอนอยู่บนชานชาลาแตกตื่นไปด้วย

‘ฝรั่งมาเที่ยวครั้งเดียวก็ไปแล้ว’ เสี่ยใหญ่หัวเราะ ‘เขาชอบมันดิบๆ แบบนี้แหละ’ 

นี่แหละครับคือเกม One-night Stand ที่ ‘ผู้ใหญ่’ ของเราคุ้นเคย (และการกระทำกันบ่อยครั้งกว่าวัยรุ่นยุคนี้เสียอีก)

ในยุคเดียวกันกับที่ประเทศไทยสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานมาเพื่อรองรับการท่องเที่ยว (ยุค 1960) สิงคโปร์ก็กำลังฟื้นฟูคลองน้ำเน่าของเขา ฟื้นฟูสลัม (เกือบ 70%ของบ้านในสิงคโปร์มีลักษณะที่เรียกได้ว่า ‘สลัม’) ให้กลายเป็นอาคารที่สะอาด ตั้งอยู่ใกล้แหล่งโรงงาน โรงเรียน และระบบขนส่งมวลชน มีการให้ประชาชนถือหุ้นในระบบรถเมล์ เพื่อสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของให้แก่ชาวบ้าน

‘ผมต้องการให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางของธุรกิจในเอเชีย’ นายลีกวนยู นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์กล่าวไว้ในหนังสือของเขา ‘From Third World to First’ 

‘ผมต้องวางระบบโครงสร้างพื้นฐานไว้ให้ดี เพื่อดึงดูดการลงทุนมาลงที่นี่ ผมต้องการให้บริษัทระดับโลกมาตั้งสาขาใหญ่ที่นี่’ ”


ผมอ่านแล้วเพิ่งรู้ว่าสังคมไทย One-night Stand เป็นแบบนี้เอง ของดีมีอยู่ในไทยถึงฉิบหายวายวอด ด้วยหวังรวยเฉพาะหน้าของไทยเองนั่นแหละ


ถลกหนังรัชตะ ประธานที่ประชุมอธิการบดีฯ: ขี้ข้าเผด็จการจารีตตัวเอ้

 

วันพุธ, กุมภาพันธ์ 26, 2557

ถลกหนังรัชตะ ประธานที่ประชุมอธิการบดีฯ: ขี้ข้าเผด็จการจารีตตัวเอ้

หากวันนี้ พรุ่งนี้ สงครามกลางเมืองเกิดขึ้นในประเทศไทย หนึ่งในองค์กรอิสระที่ต้องรับผิดชอบคือ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)  ภายใต้การนำของประธาน ทปอ. คนล่าสุด คือ ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และศิษย์รักของ ศ. นพ. อรรถสิทธ์ เวชชาชีวะ พ่อของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

โดย ที่สุมหัวอธิการบ่ดี

หากวันนี้ พรุ่งนี้ สงครามกลางเมืองเกิดขึ้นในประเทศไทย หนึ่งในองค์กรอิสระที่ต้องรับผิดชอบในฐานะสมรู้ร่วมคิดกันปล้นอำนาจอธิปไตยไปจากประชาชน คือ "ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) 

ภายใต้การนำของประธาน ทปอ. คนล่าสุด คือ ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และศิษย์รักของ ศ. นพ. อรรถสิทธ์ เวชชาชีวะ พ่อของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้ต้องหาบงการสังหารหมู่ประชาชนจากการชุมนุมทางการเมือง ในปี พ.ศ. 2553

ดูเหมือนว่าตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลอันกว้างใหญ่มีมากมายหลายวิทยาเขต ยังไม่สามารถตอบสนองตัณหา และความกระสันลาภยศ สรรเสริญของ นพ.รัชตะ ได้เพียงพอ 

หรืออาจจะเป็นเพราะต้องตอบแทนอาจารย์ผู้มีพระคุณ อย่าง นพ. อรรถสิทธิ์ที่ผู้สนับสนุนให้ได้ตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมาครอง หรืออาจจะเป็น "มือที่มอง (ไม่) เห็นชัดเจนแล้วในปัจจุบัน" ที่ส่งตัวแทนมาเยี่ยมเยือนมหาวิทยาลัยบ่อยๆ ทั้งอย่างเปิดเผย และไม่เปิดเผย ฯลฯ ที่ทำให้ นพ.รัชตะ พยายามอย่างเต็มที่ในการรับใช้เผด็จการอำมาตย์ 

ตลอดจนใช้อำนาจในฐานะผู้บริหารสูงสุดของสถาบันวิชาการ ออกมาแสดงจุดยืนตรงข้ามฝ่ายประชาธิปไตย อย่าง ไร้ซึ่งหิริโอตตัปปะ (Conscience) และทำทุกอย่างทั้งในที่ลับและที่แจ้งเพื่อโค่นล้มอำนาจของประชาชนส่วนใหญ่ที่มอบให้รัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ผ่านการเลือกตั้งอย่างถูกต้องในระบอบประชาธิปไตย และเป็นรัฐบาลรักษาการในปัจจุบัน หลังประกาศยุบสภาเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2556

อันที่จริง จุดยืนของ นพ. รัชตะ ก็ไม่ต่างไปจากผู้บริหารส่วนหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ และนิด้า ในปัจจุบัน ที่ถูกครอบงำโดยเผด็จการจารีต ที่มีบทบาทร่วมด้วยช่วยกันโค่นล้มอำนาจของประชาชน 

ถ้าจะว่าไปแล้ว มหาวิทยาลัยเหล่านี้ ทำหน้าที่เป็น "นอมินี" ของเผด็จการจารีต โดยเฉพาะมหิดล ที่นับวันจะหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ 

ในยุคปัจจุบันที่ นพ.รัชตะเป็นอธิการบดี งบประมาณที่ได้รับจากการจัดสรรให้โดยรัฐบาล ส่วนใหญ่ (80-90%) ทุ่มไปให้คณะแพทย์และสาขาด้านสาธารณสุขในสังกัด และผ่านไปสนับสนุนบางสถาบันนอกมหาวิทยาลัยที่เป็นของเผด็จการจารีต 

ดังนั้น การที่ นพ.รัตชะ ออกมาร้องโหยหวนผ่านสื่อเป็นระยะๆ ว่าถูกรัฐบาลตัดงบประมาณมากเกินไป ไม่ถือเป็นเรื่องที่ประชาชนต้องให้ความเห็นใจแต่อย่างใด เพราะงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรจากภาษีประชาชนให้ไปนั้น นอกเหนือจากเงินเดือนอาจารย์และเจ้าหน้าที่แล้ว ผู้บริหารทีมปัจจุบันของมหิดลได้นำไปใช้เพื่อผลประโยชน์ของคณะที่ตนสังกัด พวกพ้อง 

ตลอดจนช่วยเหลือเกื้อกูลเหล่าเผด็จการจารีต ให้มาโค่นรัฐบาลของประชาชน อาจารย์/นักวิชาการ/นักวิจัยทีสังกัดคณะอื่นๆ ที่ไม่ใช่ทางการแพทย์และสาธารณสุข เช่น ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ถูกจัดความสำคัญให้อยู่ในอันดับท้ายๆ ในการสนับสนุนงบประมาณในการทำวิจัย ต้องรอคอยเศษเงินงบประมาณอันน้อยนิด (ไม่ถึง 10%) 

ที่เหลือจากการปันส่วนให้คณะแพทย์/สาธารณสุข ไม่ว่างบฯ นั้นจะมาจากรัฐบาลโดยตรง หรือจากหน่วยงานให้ทุนของภาครัฐที่จัดสรรให้กับมหาวิทยาลัยต่างหากในแต่ละปี

จึงเป็นเรื่องตลกร้ายเมื่อ นพ.รัชตะ ในฐานะประธาน ทปอ. ได้กล่าวในตอนหนึ่งของการแถลงข่าวออกสื่อกดดันซ้ำชากให้รัฐบาลรักษาการณ์ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ลาออก เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมา ว่า ทปอ.จะขออาสาเป็น "จ้าภาพในการปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษาและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

เพราะในความเป็นจริง สาขาดังกล่าวนี้ที่มหิดลภายใต้การบริหารของ นพ. รัชตะ มีสภาพไม่ต่างจากลูกที่เกิดกับคนขับรถข้างบ้าน (ย่ำแย่กว่าลูกเมียน้อย) ขณะที่เหตุผลของ ทปอ. ในการขอให้รัฐบาลรักษาการณ์ฯ ลาออก ยิ่งน่าขยะแขยงมากกว่า 

โดยสรุปใจความว่า "เนื่องจากมีความรุนแรงเกิดขึ้น มีประชาชนบาดเจ็บล้มตาย ดังนั้นรัฐบาลรักษาการฯ จึงควรรับผิดชอบด้วยการลาออก (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในกรอบที่เกี่ยวข้องด้านบน) โดย ทปอ. หลีกเลี่ยงไม่แตะต้องม็อบ กปปส.ที่ประชาชนค่อนประเทศ รับรู้ได้ว่า การชุมนุมไม่เลิก พร้อมอาวุธสงครามครบครันของการ์ด กปปส. เป็นต้นเหตุของความรุนแรง และการบาดเจ็บล้มตาย นับตั้งแต่วันที่ 3 ก.พ. 2557 เป็นต้นมา

นอกจากการบริหารมหิดลด้วยความอยุติธรรมแล้ว นพ.รัชตะยังใช้ตำแหน่งหน้าที่ และอำนาจในฐานะผู้บริหารสูงสุดของมหาวิยาลัยในทางการเมืองทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย เพื่อโค่นล้มรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย 

หรือถ้าจะพูดอีกนัยหนึ่งให้ชัดเจนก็คือ นายแพทย์มือถือสาก ปากถือศีลคนนี้ รับงานเผด็จการจารีตมาทำ โดยหวังลาภยศ สรรเสริญที่มากกว่าการเป็นอธิการบดี 

จึงไม่แปลกที่ที่ทำงานส่วนหนึ่งในมหาวิทยาลัยมหิดล ในบางวิทยาเขต ถูกใช้เป็นวอร์รูมวางแผนโค่นล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มานานแล้ว และมีการประชุมกันหนักขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมา (ช่วงที่มีข่าวลือว่า นายกยิ่งลักษณ์จะถูกอุ้ม) จนถึงปัจจุบัน 

ในบางครั้ง นั่งประชุมกันข้ามวันข้ามคืน ไม่ได้หลับได้นอนทั้งหัวหงอก หัวดำ คณบดีบางคณะฯ ที่มีสภาพเหมือนลูกที่เกิดกับคนขับรถข้างบ้านก็ไปร่วมสุมหัวทำเรื่องชั่วกับเขาด้วย จนเมียที่บ้านระแวงคิดว่าไปมีกิ๊ก (หรือแอบไปมีจริงๆ ก็ไม่ทราบ) ฯลฯ

นี่คือสภาพที่น่าอดสูของมหิดลภายใต้การบริหารของ นพ. รัชตะ ที่ไม่เหลือสภาพความเป็นสถาบันวิชาการให้เป็นที่พึ่งของประชาชน และสังคมอีกต่อไป เพราะเลือกข้างเผด็จการจารีตที่ยืนอยู่ฝั่งตรงข้ามประชาชน 

แต่ขณะเดียวกันก็ทำมาหากินบนหลังประชาชนมาหลายทศวรรษ แต่นักศึกษาและครูบาอาจารย์ส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากการใช้อำนาจ (โดยไม่ชอบ?) ของ นพ. รัชตะ ไม่มากก็น้อย 

ตัวอย่างเช่น การประกาศงดการเรียนการสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2556 ระหว่างเวลา 8.30 – 10.30 น. เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษา อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ไปร่วมกันยืนประท้วง/ต้าน พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ในเวลาราชการ (ดูรายละเอียดในประกาศของมหาวิทยาลัยเพิ่มเติม) 

เป็นผลให้อาจารย์และนักศึกษาส่วนหนึ่งที่มีการเรียน-การสอนในช่วงเช้าของวันดังกล่าว ต้องงดการเรียน-การสอนไป และต้องหาเวลานอกมาเรียน มาสอนเอาเองภายหลัง โดยที่ นพ.รัชตะไม่ได้รับผิดชอบแต่อย่างใด หรืออาจไม่ได้ให้ความสำคัญเท่ากับกิจกรรมโค่นล้มรัฐบาล ก็เป็นได้



ก็จริงอยู่ที่ทุกคนมีสิทธิ์เสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง แต่ในฐานะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ไม่ควรใช้อำนาจมาประกาศหยุดการเรียน-การสอนเพื่อระดมมวลชนไปทำกิจกรรมดังกล่าวในเวลาราชการ 

ถือเป็นการคอรัปชั่นเวลา และเงินภาษีของประชาชนที่ส่วนหนึ่งนำมาใช้เป็นเงินเดือนสูงๆ ของผู้บริหารมหาวิทยาลัย และรายได้ของมหาวิทยาลัยที่ส่วนหนึ่งมาจากเงินของประชาชนที่จ่ายเป็นค่าเทอมส่งลูกหลานมาเรียน 

ปากบอกว่ารับไม่ได้กับคนชั่ว คนโกง แต่เคยส่องกระจกชะโงกดูเงาตัวเองบ้างไหม นพ. รัชตะ และผู้บริหาร อาจารย์ ตลอดจนเจ้าหน้าที่มหิดลส่วนหนึ่งที่เห็นดีเห็นงามไปกับม็อบกบฏล้มล้างประชาธิปไตย เห็นเรียกร้องอยากปฏิรูปโน่น ปฏิรูปนี่ ปฏิรูปตัวเองให้มีหิริโอตตัปปะกันก่อนดีกว่าไหม 

แต่ก็ช่างเถอะเพราะประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้โง่ หรือเคลิบเคลิ้มไปด้วยก ก็รู้ๆ กันอยู่ ว่า ทั้งอาจารย์ (นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ) และลูกศิษย์ (นพ.รัชตะ) และสมุนบริวารเผด็จการจารีต กำลังทำทุกอย่างเพื่อแต่งตั้งรัฐบาลคนดี คนกลาง (ใจพวกเดียวกัน) และถ้าจะได้ดีเลิศประเสริฐศรีต้องมีพรรคประชาธิปัตย์ที่อุตส่าห์ Boycott การเลือกตั้งครั้งล่าสุด เป็นรัฐบาลด้วยนะ โดยใช้ทุกองคาพยพและองค์กรอิสระแต่งตั้งโดยอำมาตย์ โค่นล้มรัฐบาลปัจจุบันที่เป็นตัวแทนอำนาจของประชาชน อย่างโจ๋งครึ่ม หน้าด้านๆ ฉาวโฉ่ไปทั่วโลกตอนนี้

อีกเรื่องหนึ่งคือการเอา "ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)" มาหากินทางการเมือง ด้วยการบิดเบือนเจตนารมณ์ที่แท้จริงขององค์กรอิสระนี้ ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อจุดประสงค์หลักในการช่วยเหลือกันเองระหว่างมหาวิทยาลัย โดยมีจุดยืนที่ชัดเจนว่า

"ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรอิสระไม่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมือง เป็นศูนย์กลางการประสานความร่วมมือ ความคิด การสร้างสรรค์ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกี่ยวกับกิจการอุดมศึกษาของประเทศที่เป็นความสนใจร่วมกัน การดำเนินงานจะมุ่งที่ความคล่องตัวและยึดหลักความเป็นอิสระของแต่ละสถาบัน หลีกเลี่ยงไม่ให้มีการดำเนินงานซ้ำซ้อนกับทบวงมหาวิทยาลัย แต่จะเสริมและสนับสนุนกัน เพื่อประโยชน์โดยส่วนรวมของการอุดมศึกษาของประเทศ บทบาทของที่ประชุมอธิการบดีฯ นั้นจึงขึ้นอยู่กับบทบาทของมหาวิทยาลัย/สถาบันสมาชิกเป็นหลักสำคัญ"

ข้อความข้างต้นนี้คัดลอกมาจากเว็บไซต์ของ ทปอ. (อ่านรายละเอียดได้เพิ่มเติมจากกรอบข้างล่าง หรือที่ลิงค์http://www.cupt-thailand.net/history.php ถ้าไม่ถูกลบไปเสียก่อน) ที่ นพ.รัชตะ และสมาชิก ทปอ. ควรอ่านทบทวนหลายๆ รอบหน่อย จะได้เข้าใจจุดประสงค์ บทบาทและภารกิจของ ทปอ. ได้ดีขึ้น 

หรือถ้าไม่สอดคล้องกับสิ่งที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน ก็ควรแก้ไขให้ตรงกับความเป็นจริง อย่าปล่อยให้สังคมเข้าใจผิด หรือประจานพฤตกรรมของตัวเองและเหล่าสมาชิกอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 

อันที่จริง สังคมไทยก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับ ทปอ. หรอก ถ้าไม่ออกมาตีกลองร้องปล่าวโฆษณากลุ่มของตัวเองผ่านหน้าสื่อพร้อมๆ กับพฤติกรรมทุเรศๆ อย่างที่ปรากฎ เพราะ ทปอ. มีสมาชิกอยู่ไม่กี่คน (คาดกว่าไม่น่าจะเกิน 50 คน) ที่เป็นตัวแทนจากมหาวิทยาลัยส่วนหนึ่ง ไม่ใช่ทั้งหมด ให้มาทำภารกิจตามที่ระบุไว้ในกรอบข้างล่าง ไม่ใช่ให้มาเล่นการเมือง 

ดังนั้น ด้วยกลุ่มคนจำนวนนี้ เมื่อเทียบกับคนไทยทั้งประเทศ ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่ 1 คน 1 เสียงเท่ากัน จึงถือเปกลุ่มเรียกร้องทางการเมืองอื่นๆ กลุ่มขอทานตามวัดบางแห่งตอนมีงานเทศกาล ยังมีจำนวนมากกว่าด้วยซ้ำ 

ดังนั้น ขอร้องเถอะ ท่านประธาน ทปอ. และสมาชิก กรุณาอย่ามาทำเสียงดังคับประเทศ ชี้หน้าว่าคนนั้นเลว คนนี้ชั่ว ต้องออกไป เพราะ พวกท่านเองก็ชั่วไม่น้อยหน้าใครในประเทศนี้ แค่การร่วมมือกับเผด็จการจารีตโค่นล้มประชาธิปไตย พยายามจะยึดอำนาจของคนส่วนใหญ่ไปปกครองกันเอง ก็จัดว่าเลวทรามต่ำช้าที่สุดแล้ว

ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ ไม่ได้คาดหวังจะเตือนสติ นพ.รัชตะ และพรรคพวกที่ฝักไฝ่เผด็จการ และลาภยศ สรรเสริญต่างๆ ซึ่งคาดว่าจะได้รับการตอบแทนถ้าทำงานสำเร็จ เนื่องจากดูท่าจะกู่ไม่กลับเสียแล้ว 

เพียงแค่อยากจะย้ำอีกครั้งว่า "หากวันนี้ พรุ่งนี้ สงครามกลางเมืองเกิดขึ้นในประเทศไทย หนึ่งในองค์กรอิสระที่ต้องรับผิดชอบในฐานะสมรู้ร่วมคิดกันปล้นอำนาจประชาชน จนเป็นเหตุแห่งสงครามนี้ คือ "ทปอ.และในฐานะที่ นพ.รัชตะเป็นประธาน ทปอ. ก็ต้องรับผิดชอบมากกว่าสมาชิก ต่อการถูกเช็คบิลในอันดับต้นๆ คงไม่มีใครไปทำอะไรตัวมหาวิทยาลัยที่มีลูกหลานของประชาชนเล่าเรียนอยู่มากกว่าลูกหลานอำมาตย์ แต่ที่ทำงาน และที่อยู่อาศัยของเหล่าเผด็จการและสมุนทั้งหลาย ไม่ใช่ข้อยกเว้น นี่ไม่ใช่แค่คำขู่คุกคามแบบที่กบฏสุเทพ และแกนนำม็อบ กปปส. กำลังทำอยู่รายวัน 

แต่เป็นข้อเท็จจริงที่ยากจะหลีกเลี่ยงในภาวะสงครามกลางเมืองที่เคยเกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศบนโลกใบนี้

ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
ประวัติความเป็นมา
ตามประวัติความเป็นมาของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยนั้น ปรากฏว่าก่อนที่จะมีการก่อตั้งที่ประชุมแห่งนี้ขึ้นอาจกล่าวได้ว่า มหาวิทยาลัยกำลังอยู่ในช่วงวิกฤต คือ รัฐบาลในขณะนั้นกำลังดำเนินการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน ต้องการให้มีการจัดรูปงานและองค์การของราชการเสียใหม่ให้มีหน่วยงานเท่าที่จำเป็นเท่านั้น คณะที่ปรึกษาระเบียบบริหารของคณะรัฐบาลได้เสนอให้โอนมหาวิทยาลัยทั้งหมดไปสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ประจวบกับขณะนั้นได้มีกิจการแข่งขันกีฬาระหว่างมหาวิทยาลัยต่างๆ ขึ้น และมีปัญหาอยู่ไม่น้อย เหตุดังกล่าวจึงกลายเป็นประเด็นสำคัญที่มีส่วนทำให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ หันมาให้ความร่วมมือแก่กันมากขึ้น  ในการจัดตั้งที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยนั้น  มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้มอบหมายให้ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ  ณ นครศาสตราจารย์ นพ.สวัสดิ์  สกุลไทย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ยกร่างข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เป็นข้อตกลงว่าด้วยการประชุมอธิการบดี พ.ศ. 2515 ขึ้น เมื่อร่างเสร็จจึงมีการจัดประชุมขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 29 มกราคม 2515 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้ตกลงเลือกให้ ศาสตราจารย์ ดร.อรุณ  ศรเทศน์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธาน และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร  ศรีสะอ้าน เป็นเลขานุการฯ  สมาชิกสถาบันที่เริ่มต้นลงนามในข้อตกลงครั้งแรกมี 12 สถาบัน ในภายหลังได้ขยายเพิ่มเป็น 16สถาบัน และปัจจุบันที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยมีสมาชิกทั้งสิ้น 27 สถาบัน ที่ประชุมอธิการบดีมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่าRectors Conference  ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น Council of University Presidents of Thailand เป็นองค์กรอิสระ  ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของอธิการบดีมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ  ซึ่งมีความเห็นร่วมกันว่าน่าจะมีการประชุม พบปะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น  เพื่อประโยชน์ในการประสานงานกันระหว่างมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ เป็นศูนย์กลางที่เปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็น  เสนอความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการอุดมศึกษาของประเทศ และผลักดันความคิดสร้างสรรค์เหล่านั้นให้เกิดผล

บทบาทและกิจกรรมของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
ตามที่ระบุไว้ในข้อตกลงว่าด้วยการประชุมอธิการบดีฯ พ.ศ. 2515ข้อความในข้อ ระบุว่า ที่ประชุมอธิการบดีทำหน้าที่เป็น ศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และติดต่อประสานงาน ที่อยู่ในขอบข่ายความสนใจร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย/สถาบัน ต่างๆ ที่เข้าร่วมในข้อตกลงที่ประชุมนี้ไม่เป็นองค์กรทางการเมือง เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2522 (ในการประชุมครั้งที่ 6/2522) ที่ประชุมได้พิจารณาทบทวนและกำหนดบทบาทของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ดังนี้

1. ที่ประชุมอธิการบดีฯ ควรเป็นแหล่งประสานงานส่งเสริมความช่วยเหลือ และการพัฒนามหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น การพัฒนาบุคลากร การร่วมมือพัฒนาคุณภาพ และคุณวุฒิอาจารย์มหาวิทยาลัย โดยไม่ดำเนินการซ้ำซ้อนกับงานของทบวงมหาวิทยาลัย (ทบวงมหาวิทยาลัย ปัจจุบันคือ สกอ.)

2. ที่ประชุมอธิการบดีฯ ควรเป็นองค์กรกลางระหว่างมหาวิทยาลัยของรัฐบาล ช่วยแนะนำให้คำปรึกษาแก่ทบวงมหาวิทยาลัย และรัฐบาลหรือแสดงท่าทีในด้านต่างๆ ให้รัฐบาลได้รับทราบ

3. ที่ประชุมอธิการบดีฯ ควรเป็นองค์กรกำหนดนโยบายในลักษณะการกำหนดท่าที หรือความคิดเห็นกว้างๆ เกี่ยวกับเรื่องที่เป็นผลประโยชน์หรือปัญหาร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย และเสนอความคิดเห็นต่อรัฐบาล ส่วนเรื่องใดทำได้เองก็ร่วมมือร่วมใจให้

ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรอิสระไม่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมือง เป็นศูนย์กลางการประสานความร่วมมือ ความคิด การสร้างสรรค์ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกี่ยวกับกิจการอุดมศึกษาของประเทศที่เป็นความสนใจร่วมกัน การดำเนินงานจะมุ่งที่ความคล่องตัวและยึดหลักความเป็นอิสระของแต่ละสถาบัน หลีกเลี่ยงไม่ให้มีการดำเนินงานซ้ำซ้อนกับทบวงมหาวิทยาลัย แต่จะเสริมและสนับสนุนกัน เพื่อประโยชน์โดยส่วนรวมของการอุดมศึกษาของประเทศ บทบาทของที่ประชุมอธิการบดีฯ นั้นจึงขึ้นอยู่กับบทบาทของมหาวิทยาลัย/สถาบันสมาชิกเป็นหลักสำคัญ

ปฏิญญาว่าด้วยพันธกิจและสถานภาพของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ในศตวรรษใหม่
ประกาศเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2542
ในการประชุมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5/2542 ณ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
-------------------------------------------
ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย จึงร่วมกันกำหนดพันธกิจและสถานภาพขององค์กรดังต่อไปนี้
พันธกิจ
1. ทปอ. จะเพิ่มบทบาทการชี้แนะเชิงนโยบายแก่รัฐบาล และชี้นำชุมชนและสังคมในการแก้ไขปัญหาพัฒนาและ สร้างภูมิคุ้มกันแก่ชุมชนและสังคมเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนด้วยองค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยเพื่อมุ่งสู่การพึ่งพาตนเองบนฐานวัฒนธรรม ไทยและด้วยสัมพันธภาพที่ดีกับนานาประเทศอย่างมีศักดิ์ศรี

2. ทปอ. จะเร่งสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการของแต่ละมหาวิทยาลัย/สถาบันและดำรงอุดมการณ์ของมหาวิทยาลัย โดย
2.1 สร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการ ที่มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ มีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ ทั้งด้านการเงินการคลัง วิชาการ และบุคลากร
2.2 ส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในด้านการวิจัย การบริการวิชาการ การประกันคุณภาพการศึกษา การเรียนการสอน การเทียบโอนหน่วยกิตระหว่างสถาบัน การแลกเปลี่ยนบุคลากรและนิสิตนักศึกษา และความร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศ  เป็นต้น
2.3 ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรทางวิชาการร่วมกันเพื่อความประหยัด และการเพิ่มประสิทธิภาพ

3. ทปอ. จะดำเนินกิจกรรมร่วมกันในโครงการพิเศษอื่นๆ เพื่อส่งเสริมบทบาทของมหาวิทยาลัย ในด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม การอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย และการส่งเสริมการกีฬา รวมทั้งกิจกรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทสตรี สันติภาพ และสิ่งแวดล้อม ทั้งภายในชาติและในประชาคมโลกด้วย

4. ทปอ. จะสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีกับรัฐบาล สังคมและชุมชน เพื่อปฏิบัติภารกิจในด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัยร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างสังคมยุคใหม่ ให้เป็นสังคมความรู้และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว องค์กร และชุมชน