วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันคีมูน : การกระทำที่ทำลายกระบวนการประชาธิปไตยและขัดขวางสิทธิประชาธิปไตยของคนไทยไม่สามารถให้อภัยได้"

 

บันคีมูน : การกระทำที่ทำลายกระบวนการประชาธิปไตยและขัดขวางสิทธิประชาธิปไตยของคนไทยไม่สามารถให้อภัยได้"


บันคีมูน เลขาธการสหประชาชาติเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่จะแก้ปัญหาความแตกต่างโดยผ่านการเจรจาหารือกันและได้เน้นย้ำว่าการกระทำใด ๆ ที่ส่งผลเสียต่อกระบวนการประชาธิปไตยไม่สามารถให้อภัยได้.

"การกระทำที่ทำลายกระบวนการประชาธิปไตยและขัดขวางสิทธิประชาธิปไตยของคนไทยไม่สามารถให้อภัยได้"

Paul Siu

Thailand: amid ‘complex’ elections, Ban calls for dialogue to bridge political differences

Secretary-General Ban Ki-moon. UN Photo

4 February 2014 – Concerned that some Thai people were unable to vote after national elections were reportedly disrupted by protests over the weekend, United Nations Secretary-General Ban Ki-moon called on all parties to resolve their differences through dialogue, and underscored that any actions that undermine democratic processes cannot be condoned.
“While he recognizes the complexity of the situation and that some chose not to participate in the election, the Secretary-General is concerned that a number of Thai people were not able to exercise their right to vote,” said a note to correspondents issued by Mr. Ban’s spokesperson last evening.
Noting that the UN chief is closely following the developments in Thailand, the note reiterated Mr. Ban’s call for political differences to be solved through dialogue and in the best interest of the Thai people.

“Any action that undermines democratic processes and hinder the democratic right of the Thai people cannot be condoned,” said the note, adding that the Secretary-General encourages all Thais and political leaders in particular to move towards a political solution based on dialogue, compromise and respect for democratic principles.


'เจอร์นัล' เตือนศาลไทย ใช้ตุลาการภิวัตน์ เจอโค่นล้ม


ที่มา Voice TV

วอลสตรีทเจอร์นัลชี้ศาลรัฐธรรมนูญไทยมีประวัติเล่นเล่ห์ เตือนหากประกาศการเลือกตั้งเป็นโมฆะอีกรอบ เท่ากับเอาใจเด็กนิสัยเสียอย่างพรรคประชาธิปัตย์ ประชาชนจะมองเป็นเครื่องมือเผด็จการที่ต้องโค่นล้ม


หนังสือพิมพ์วอลสตรีท เจอร์นัล ตีพิมพ์บทบรรณาการในฉบับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ เรื่อง "Thailand votes for democracy : A judicial coup would reward the Democrats for bad behavior" มีใจความสดุดีประชาชนชาวไทยที่กล้าออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง พร้อมกับเตือนศาลไทย ระวังถูกประชาชนโค่นล้ม หากทำรัฐประหารโดยตุลาการ


"นับเป็นภาพน่าประทับใจ เพราะคนเหล่านั้นไม่รู้ว่าตัวเองจะถูกทำร้ายร่างกายหรือไม่ แม้แต่คนที่ไม่สนับสนุนรัฐบาลก็ไม่สนใจวาทะต่อต้านประชาธิปไตยของพรรคฝ่ายค้าน และออกไปกาบัตรในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน เพื่อแสดงจุดยืนสนับสนุนประชาธิปไตยของตน" เดอะ เจอร์นัล กล่าวยกย่องผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์

บทบรรณาธิการ เรื่อง "ประเทศไทยออกเสียงเลือกตั้งเพื่อประชาธิปไตย : รัฐประหารโดยตุลาการเป็นการตกรางวัลแก่พรรคประชาธิปัตย์ที่ทำพฤติกรรมเลว"  ชิ้นนี้ บอกว่า แม้ยังไม่มีการประกาศคะแนน แต่ผลการเลือกตั้งก็แทบไม่ต้องสงสัยว่าพรรคไหนจะชนะ ไม่เคยมีข้อแคลงใจในเรื่องนี้ เหล่าแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ยอมรับว่า ไม่มีโอกาสชนะ นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่พวกเขาบอยคอตการเลือกตั้ง

พรรคประชาธิปัตย์ประกาศที่จะต่อสู้นอกหนทางประชาธิปไตย วิธีการใช้ฝูงชนได้ล้มเหลวไปแล้ว ผู้ร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาลลดจำนวนลง กว่าสภาจะเปิดได้ต้องรอการเลือกตั้งเพิ่มเติม ประชาธิปัตย์จึงหันไปใช้ช่องทางกฎหมายที่จะโค่นนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และผู้สนับสนุนพี่ชายของเธอ อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร

"ศาลรัฐธรรมนูญมีประวัติอันยาวนาน ใช้หัวแม่โป้งกดตาชั่งทางการเมือง เคยประกาศการเลือกตั้งเมื่อปี 2549 ซึ่งพรรคฝ่ายค้านพรรคนี้บอยคอต ให้กลายเป็นโมฆะมาแล้ว ด้วยเหตุผลว่า หันคูหาผิดทิศทาง" บทบรรณาธิการระบุ

เดอะ เจอร์นัล บอกว่า คำว่า "รัฐประหารโดยตุลาการ" เริ่มเกิดขึ้นในเมืองไทยเมื่อปี 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้ล้มรัฐบาลที่สนับสนุนทักษิณ 2 ชุด สั่งยุบพรรค และตัดสิทธิ์ทางการเมืองของส.ส. จากนั้น ประชาธิปัตย์ก็ปกครองประเทศอยู่นาน 3 ปี ก่อนที่การเลือกตั้งในปี 2554 จะส่งพรรคที่สนับสนุนทักษิณกลับเข้าครองอำนาจอีก

"กองทัพกับชนชั้นนำอภิสิทธิ์ชน ได้เพิ่มอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอย่างล้นหลามในรัฐธรรมนูญปี 2550 ฉบับหลังรัฐประหาร เวลานี้ ศาลรัฐธรรมนูญ, คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ, และสถาบันอื่นๆซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ทำหน้าที่เป็นฝ่ายต่อต้านทักษิณ เพราะเหตุที่ศาลรัฐธรรมนูญสามารถฉีกทิ้งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ ส่งผลให้ศาลแห่งนี้มีอำนาจเกือบถึงขั้นสัมบูรณ์"

@  ประชาชนที่ไม่สามารถออกเสียงเลือกตั้งได้ เพราะถูกผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลขัดขวาง พากันชูบัตรประชาชน เรียกร้องที่จะลงคะแนน ในกรุงเทพ เมื่อวันอาทิตย์
อย่างไรก็ดี วอลสตรีท เจอร์นัล เตือนว่า หากศาลรัฐธรรมนูญกับป.ป.ช.ใช้อำนาจโค่นนางสาวยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทย ความล่มสลายของสถาบันเหล่านี้จักมาถึงแน่นอน การรัฐประหารโดยตุลาการในปี 2557 จะตอกย้ำทัศนะของประชาชนที่ว่า สถาบันเหล่านี้ไม่ใช่กลไกตรวจสอบฝ่ายบริหารอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นเครื่องมือของเผด็จการ

"ชาวชนบทไทย ซึ่งมีมากมายในประเทศ กำลังใกล้หมดความอดทนกับการเดินแต้มคู มุ่งล้มอำนาจของพวกเขาที่จะเลือกพรรคที่ประชาชนนิยม"

บทบรรณาธิการ กล่าวว่า ความเชื่อของพรรคประชาธิปัตย์ที่ว่า เส้นทางสู่อำนาจของตนอยู่บนหนทางของฝูงชนบนท้องถนน และพวกหัวหมอทางกฎหมาย ไม่ใช่หีบเลือกตั้ง นับเป็นสาเหตุรากเหง้าของปัญหาของประเทศไทย สังคมจะคืนสู่ภาวะปกติก็ต่อเมื่อทั้งสองฝ่ายแก้ปัญหากันด้วยกฎกติกาประชาธิปไตยเท่านั้น รัฐประหารโดยตุลาการจะเป็นการให้รางวัลตอบแทนแก่พรรคประชาธิปัตย์ที่ประพฤติเลว

ช็อตเด็ดวันนี้ : ปฏิเลิฟคร่ะ


ปฏิวัติ หรือ ปฏิรูป 


เราปฏิเลิฟคร่ะ 



ยี่สิบกว่าล้านเสียงนั้นมีนัยยะ


ยี่สิบกว่าล้านเสียงนั้นมีนัยยะ

คือผู้ที่ไม่ลดละทิ้งขว้างสิทธิ์

แม้ตนเองถูกคุกคามถึงชีวิต

ไปสะท้อนความถูกผิดเต็มภาคภูมิ 

เลือกตั้งหรือคือการสู้ตามระบอบ

ไม่ใช่การเข้าลักลอบปล้นอำนาจ

ฉีกกฎเกณฑ์บ้านเมืองไปอย่างอนาถ 

และปรามาสคนอื่นว่าชั่วเลวทราม

หากทำผลการเลือกตั้งเป็นโมฆะ

ผู้คนรู้สึกถูกผละทิ้งขว้างเสียง

ความเสียหายเพียงเท่านั้นไม่พอเพียง

ยังถือเป็นการหยิบเขวี้ยงรัฐธรรมนูญ


VS

National Picnic ดู ดารา


http://www.youtube.com/watch?v=-y4x1PCsInU 

มหาวิทยาลัยไม่ใช่คำตอบ !


ที่มา




ในยุโรปคนที่เรียนหมอ เรียนวิศวะ เรียนทนายความ ส่วนใหญ่จะเป็นชนชั้นกลางที่ห่วงใยเรื่องทำมาหากิน เพราะว่าเป็นอาชีพที่ได้เงินเยอะ 

ทีนี้ชนชั้น สูงเขาเรียนอะไร อย่างเจ้าชายวิลเลี่ยมก็เรียนประวัติศาสตร์ศิลปะ ก็คือคนที่ไม่มีปัญหาเรื่องการทำมาหากินก็จะไปเรียนวรรณคดี ศิลปะ 

ในประเทศญี่ปุ่นก็เป็นเช่นนั้น คือชนชั้นสูงของญี่ปุ่นชอบเรียนรู้วิธีการที่จะอยู่กับเวลาว่างเพื่อให้เกิด ความสุข เช่น การเรียนชงชา เรียนจัดดอกไม้ เรียนเขียนกลอนเขียนกวี เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นวิชาของคนที่ไม่ต้องเดือนร้อนเรื่องการทำมาหากิน 

แต่สำหรับคนไทยนั้นกลับกัน เพราะบางทีสอบเข้าอะไรไม่ได้แต่ดันไปติดวรรณคดี ก็ไม่รู้หรอกว่าตัวเองนี้อยากเรียนวรรณคดีหรือเปล่า ไม่ได้ตั้งคำถามว่าจบวรรณคดีแล้วจะไปทำงานอะไร 

ในสังคมไทยเราจะรู้สึกว่าคนเรียนหมอเป็นคนที่มีอันจะกิน ไม่ใช่เรื่องของชนชั้นกลาง แต่เป็นอาชีพของชนชั้นสูงด้วยซ้ำไป 

แต่สำหรับคนญี่ปุ่น ไม่จำเป็นเลยที่ทุกคนจะต้องเข้ามหาวิทยาลัย 

เด็กนักเรียนไทยเมื่อจบ ม.3 จะขึ้นชั้น ม.ปลายก็จะมีวิธีคิดเรื่องของเกรดเฉลี่ย คือโรงเรียนก็จะมีการคัดเด็กเข้า ม.4 โดยคัดจากเกรดเฉลี่ยว่าถึงเกณฑ์หรือเปล่า แล้วเด็กที่เกรดไม่ถึงก็จะต้องไปเรียนสายอาชีวะ สายอาชีพ 

จึงเท่ากับว่า เป็นการแบ่งเด็กออกเป็น 2 เกรด เด็กที่เรียนสายอาชีวะคือเด็กที่เรียนไม่เก่ง เป็นเด็กที่มีทักษะน้อยกว่าเด็กที่เรียนสายสามัญ 

แต่มันเป็นอย่างนั้นจริงหรือเปล่า เพราะเหตุนี้หรือเปล่าเป็นสาเหตุที่ทำให้การเรียนระดับอาชีวะ หรือเรียนสายอาชีพของไทยมันดูไม่มีเกียรติ ไม่มีศักดิ์ศรีเท่ากับการเรียนสายสามัญเพื่อที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัย 

ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่มีอะไรมาประกันได้ว่าเด็กสายสามัญทุกคนจะสอบเข้า มหาวิทยาลัยได้ หรือถ้าคุณสอบเข้ามหาวิทยาลัยระดับต้น ๆ ไม่ได้คุณก็จะมาเข้ามหาวิทยาลัยรอง ๆ ลงมา และก็ไม่ได้ประกันด้วยว่าคุณจะได้เข้าเรียนในคณะที่คุณชอบจริง ๆหรือเปล่า คุณจะได้เรียนในสิ่งที่คุณจะเอาไปประกอบอาชีพจริง ๆ หรืออาจเป็นการเรียนเพื่อให้ได้แค่...ใบปริญญา 

มโนทัศน์อย่างหนึ่งของคนไทยที่ปลูกฝังมากันตั้งแต่เด็ก ๆ ในเรื่องการเรียนการศึกษาคือ เรียนเพื่อให้ได้เป็นเจ้าคนนายคน เพื่อที่จะเติบใหญ่ เพื่อที่จะได้ประกอบอาชีพ เรียนให้ถึงมหาวิทยาลัยเพื่อมาเป็นเจ้าคนนายคน 

เพราะฉะนั้น คนไทยไม่ได้ตั้งความหวังไว้กับการศึกษาของลูกว่า เรียนเพื่อไปเป็นช่างประปาเก่ง ๆ เรียนเพื่อไปเป็นช่างไฟฟ้าเก่ง ๆ เรียนเพื่อไปเป็นช่างเทคนิคเก่ง ๆ เรียนเพื่อไปทำสีรถให้สวย ๆ ได้ยังไง 

ทำให้ดินแดนที่ชื่อว่าประเทศไทยต้องตั้งคำถามว่า ทำไมประเทศนี้จึงหาช่างเก่ง ๆได้ยากเหลือเกิน 
หาคนทาสีบ้านได้ยาก 
หาช่างประปาก็ยาก 
หาช่างไฟดีดีก็ยิ่งกว่าหาเข็มในมหาสมุทร 

แล้วถ้ามีช่างไฟเก่ง ๆ ก็ต้องง้องอนเขามากเลย ถ้าคุณเจอปัญหาท่อน้ำแตก รั่ว คด งอ หรือระเบิดในผนังบ้านคุณ คุณจะรู้เลยว่าทำไมประเทศนี้หาช่างที่มีทักษะแล้วดูดีมีความภาคภูมิใจใน อาชีพของตนได้ยากเหลือเกิน 

เพราะคนไทยไม่ได้ปลูกฝังมโนทัศน์ที่ว่าให้ทุกคนพึงพอใจหรือภาคภูมิใจในอาชีพ ของตน และทัศนะคติของคนไทยยังไม่เห็นว่าทุกอาชีพมีเกียรติเท่ากันหมด ลัทธิคลั่งปริญญาของสังคมไทย ทำให้สังคมไทยลืมให้ความสำคัญกับการเรียนสายอาชีพ 

ปัญหาของสังคมไทยคือเราสามารถผลิตนักเรียนที่จบมัธยมปลายได้ และก็สามารถที่จะผลักดันให้นักเรียนนั้นได้เข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำ และชั้นรอง ชั้นย่อยออกไปได้ แต่เพื่อที่จะถามว่าเรียนอะไรนั้นยังพบว่ามีปัญหา 

เพราะเด็กของเราส่วนใหญ่ “ไม่รู้” หรอกว่าอยากเรียนอะไร คิดแต่ว่าทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้ได้เข้าไปอยู่ในมหาวิทยาลัย คณะอะไรก็ได้ บางคนไปเรียนบรรณารักษ์ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้รักการอ่าน ไม่ได้สนใจเลยว่าห้องสมุดที่น่าสนใจมันเป็นยังไง ทั้ง ๆ ที่จริงแล้วบรรณารักษ์ไม่ใช่เป็นแค่ยายแก่เฝ้าหนังสือ บรรษรักษ์ก็เหมือน curator ของ museum คือคุณสามารถทำกิจกรรมอะไรในห้องสมุดได้หลากหลายมาก หรือบางคนเรียนภาษาไทยเป็นเพราะคณะรับคะแนนไม่สูง แต่พอจบออกมาแล้วหางานทำไม่ได้ แล้วก็เข้าสู่ระบบตลาดที่รับเงินเดือน 7,000 - 9,000 บาท 

ถามว่าพอกินไหม...ไม่พอกิน ! 
ขณะเดียวกันถ้าคุณรู้ตั้งแต่แรกว่าคุณไม่เหมาะที่จะเรียนในระบบมหาวิทยาลัย 

คุณไม่ต้องแคร์ใบปริญญาได้ไหม คุณไปเข้าโรงเรียนการสอนทำแพตเทิร์น ไปเรียนเย็บผ้า ไปเรียนทำผมอย่างนี้ไปเลย เรียนแล้วคุณก็อาจเป็นช่างทำผมที่เก่งมาก เป็นช่างนวดหน้าที่ดีมาก อย่างนี้ไม่ดีกว่าหรือ แล้วเราจะทำอย่างไรให้สังคมไทยคิดอย่างนี้ ? 

เราต้องให้ประเทศนี้ให้ความสำคัญกับการเปิดโรงเรียนสอนช่างประปา ช่างไฟฟ้า ช่างทำผม อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งมันทำให้เราเห็นโอกาสทางการศึกษา แล้วก็เกิดการพัฒนาตัวเอง คนก็จะขวนขวาย แล้วเมื่อทุกอาชีพได้รับเกียรติอย่างเท่าเทียมกัน คนก็จะบอกว่า ใบปริญญาไม่ใช่สิ่งสำคัญ สิ่งสำคัญก็คือความภาคภูมิใจในหน้าที่การงานของตน เพราะฉะนั้น 

ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่เจริญแล้ว เขาไม่บ้าเอาปริญญามาใส่กรอบติดฝาบ้านเหมือนคนไทย เพราะเขามีการนับถือกันและกันในการเป็นมนุษย์ร่วมสังคมเดียวกัน เขาให้เกียรติทุกอาชีพอย่างเท่าเทียม แล้วเงินเดือนแต่ละอาชีพไม่ได้แตกต่างกันมากด้วย อย่างกรรมกรก่อสร้างกับพนักงานบริษัทก็เงินเดือนพอ ๆ กัน เพราะถือว่าฝึกฝนมาอย่างหนักไม่แพ้กัน และคุณต้องหาความรู้เพื่อสอบเลื่อนระดับขึ้นไปอยู่เรื่อย ๆ เหล่านี้คือความแตกต่างระหว่างบ้านเรากับญี่ปุ่น เพราะฉะนั้น

เรื่องทัศนะคติทางการศึกษานี้จะต้องเปลี่ยนที่ค่านิยมของพ่อแม่ ด้วย เปลี่ยนค่านิยมของตัวเด็กเองด้วย ความสำเร็จของชีวิตไม่ใช่ใบปริญญาที่ติดอยู่กับฝาบ้าน ไม่ใช่งานฉลองรับปริญญา แต่คือ

การที่เราได้ประกอบอาชีพที่เรารัก อาชีพที่เรามีความถนัด 

ถ้าเราเปลี่ยนค่านิยมของพ่อแม่ได้ 

เปลี่ยนจินตนาการของเด็กนักเรียนได้ว่า 
มหาวิทยาลัยไม่ใช่คำตอบ 
ใบปริญญาไม่ใช่ตัวตัดสินอนาคต 
ศักดิ์ศรีอาชีพที่เท่าเทียมก็จะปรากฏให้เห็นเด่นชัดในสังคมไทย

แล้วจะรู้ซึ้งถึงแก่นแท้ว่า จริง ๆแล้ว "มหาวิทยาลัยไม่ใช่คำตอบ" 

เพิ่มเติมจากแม่สัน:


เจตนาของผู้เขียนบทความนี้ เข้าใจว่า ไม่อยากให้วิ่งตามกระแส ว่าต้องต้องได้ใบปริญญา จะได้เป็นเจ้าคนนายคน เพราะได้ใบปริญญาแล้ว มีอาชีพเตะฝุ่นก็ถมไป ผู้เขียนคงอยากให้เราได้ทำมาหาเลี้ยงชีพกับงานที่เหมาะกับเรามากที่สุดค่ะ
เพราะผู้เขียนได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า 

“ทัศนะคติทางการศึกษา คือการที่เราได้ประกอบอาชีพที่เรารัก อาชีพที่เรามีความถนัด”

ค่านิยมอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งแม่สันเห็นว่าพ่อแม่ในไทยเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์เป็นเหมือนกันคือ พอจบม.3 จะต้องอยากให้ลูกได้เรียนต่อสายสามัญมากกว่าสายอาชีพ ผลการศึกษาล่าสุด เด็กที่อยู่ชั้น ม.3 มีไม่ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ที่จะเรียนต่อสายอาชีพ เพราะค่านิยมที่คิดว่าเรียน ม.4 จะดีกว่าเรียนสายอาชีพ จะมีโอกาสที่ดีกว่าสายอาชีพ

ความจริง การเรียนต่อสายอาชีพ เมื่อเรียนจบและได้ทำงานแล้ว ถ้าอยากจะได้ใบปริญญา เพื่อต่อยอดในอาชีพ ก็สามารถกลับมาเรียนต่อในมหาวิทยาลัยเมื่อต้องการได้ทุกเมื่อ อย่างเช่นสายอาชีวะ ที่เข้าไปเรียนต่อเป็นวิศวะกร พวกเขาเหล่านี้จะมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เรียนดีกว่าเพื่อนที่ไม่เคยทำงานมาก่อนค่ะ 

และค่านิยมที่เรียนต่อ ม.4 ถ้าคะแนนถึงพอที่จะเรียนสายวิทย์ได้ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ก็จะใส่ข้อมูลให้เด็กว่า ให้เลือกเรียนสายวิทย์ไว้ก่อน เรียนไม่ไหว่ค่อยย้าย เพราะมีทางเลือกที่จะเรียนต่อ ได้มากกว่าที่จะเรียนสายศิลป์ 

ทำไมล่ะคะ? ถ้าเด็กคนหนึ่ง เขารู้แน่นอนว่า เขาไม่ชอบวิศวะ ไม่ชอบหมอ ไม่ชอบวิทยาศาสตร์ เขาจะเป็นนักการตลาด เป็นนักธุรกิจ การธนาคาร หรือนักบัญชี ทำไมจะต้องไปเรียนสายวิทย์ให้เปลืองสมอง? เอาสมองส่วนที่เหลือ ไปหาความรู้ในสิ่งที่เขาสนใจและชอบทำไม่ดีกว่าหรือคะ

แม่สันอยากจะบอกว่า ขอให้เด็ก ๆ ที่กำลังจะเป็นอนาคตของชาติทุกคน “ค้นหาตัวเองให้เจอ”ค่ะ ว่าชอบอะไร อยากทำงานอะไร ถ้าได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ ก็จะมีความสุขกับการทำงานค่ะ และอาชีพที่คิดว่าตัวเองชอบนั้น ให้หาโอกาสไปคุยกับคนที่ได้ทำงานอยู่ในอาชีพนั้นเลย ว่าเป็นอย่างไร เพื่อจะได้เช็คกับคำตอบของตัวเองว่า ใช่หรือไม่? ตรงกับที่เราคิดไว้หรือที่เข้าใจหรือไม่ค่ะ 

โดยส่วนตัวแล้ว แม่สันจะบอกลูกเลยว่า แม่ไม่มีเงิน ไม่มีสมบัติอะไรที่จะให้ แม่จะให้เฉพาะการศึกษา ลูกต้องการเรียนมากแค่ไหน เรียนไหวแค่ไหน แม่ก็จะส่งเสียให้ได้เรียน ถ้าอยากได้ อยากมีอะไร ก็ต้องรอให้เรียนจบ ทำงาน มีรายได้แล้ว ค่อยเก็บเงินซื้อเอง 

ลูกแม่สันคนโต ที่คิดว่าตนเองอยากจะเรียนหมอ เขาก็ยังต้องใช้เวลาค้นหาตัวเองให้เจอ ว่าใช่สิ่งที่เขาชอบจริงหรือไม่ เขาใช้เวลาตัดสินใจตั้งแต่ตอนอายุ 15 ปี ว่าจะใช่สิ่งที่เขาชอบจริงหรือไม่ เพราะเขาจะต้องอยู่กับอาชีพนั้นไปตลอดชีวิตการทำงาน ซึ่งเขาก็ต้องเช็คความสนใจ ความต้องการ ความสามารถของตัวเอง และได้ให้เขามีโอกาสพูดคุยกับแพทย์ประจำบ้านที่โรงพยาลเมื่อตอนเรียนมัธยมปลาย เพื่อสอบถาม หรือถามสิ่งที่เขายังอยากรู้ จากผู้มีประสบการณ์ตรง เมื่อได้พูดคุยและเช็คความต้องการของตนเองจนแน่ใจแล้ว จึงเดินหน้าต่อ เพื่อไปตามทางเดินที่ตัวเองอยากไปค่ะ

ส่วนเพื่อนลูกชาย เป็นคนต่างชาติ เรียนเก่งเหมือนกัน ได้คะแนนสอบสูงเท่ากัน ซึ่งหมายความว่าจะสอบเข้าเรียนต่อหมอได้เช่นกัน แต่ชาวต่างชาตินั้น ถ้าเขาไม่แน่ใจว่าตัวเองชอบเป็นหมอจริงหรือไม่ เขาจะไม่เรียนต่อในมหาวิทยาลัยทันทีที่เรียนจบ เขาจะพักการเรียนไปก่อน 1 ปี ที่ฝรั่งเขาเรียกว่า “gap year” เพื่อไปทำการค้นหาตัวเองให้เจอ ไปฝึกงานดู ว่าสิ่งที่คิดว่าตัวเองชอบนั้น มันใช่หรือไม่ หรือไปหาสิ่งที่ตัวเองอยากเป็นให้เจอก่อน เพื่อนคนนี้ ไปฝึกงานอยู่ 1 ปี เข้าใจว่าไปช่วยงานในโรงพยาบาล อาจจะไปเป็นผู้ช่วยบุรุษพยาบาล อาจจะเข็นรถเข็น เข็นเตียง ฯลฯ จนคิดว่าตนเองชอบทำงานในโรงพยาบาล อยากเป็นหมอ จึงได้กลับเข้ามาเรียนหมอในปีถัดไป โดยไม่รู้สึกว่าเสียดายเวลาที่ช้าไป 1 ปีแม้แต่น้อย

เพื่อนอีกคน เป็นลูกครึ่ง หน้าตาหล่อเหลาเป็นพระเอกหนังได้เลย เวลาไปซื้อของแบกะดิน คนขายมักจะบอกราคาของเป็นภาษาอังกฤษ คิดว่าขายของให้ฝรั่ง เมื่อเพื่อนพูดตอบเป็นภาษาไทย คนขายเลยบอกราคาขายเป็นราคาคนไทย เพื่อนคนนี้ก็ใช้เวลาหาอาชีพที่จะทำในอนาคต 1 ปี (gab year) ที่กองถ่ายภาพยนต์ หลังจากหนังจึงกลับไปเรียนเกี่ยวกับภาพยนต์/การแสดง

แม่สันอยากจะฝากไว้เป็นข้อคิดสำหรับคุณพ่อคุณแม่ หรือเด็ก ๆ ที่กำลังอยู่ในวัยมัธยมปลาย หรือกำลังจะเป็นบัญฑิตด้วยนะคะ ว่ามหาลัยนั้นเป็นสถานที่ ๆ ทำให้เราได้เรียนรู้ในสาขาวิชาที่จะนำไปประกอบอาชีพในอนาคต อยากเป็นอะไร เอาให้รู้แน่ ๆ ว่า “ใช่” แล้วค่อยเรียนเถอะค่ะ ไม่อย่างนั้นเสียเวลาเรียนจนจบ 4 ปี ได้ใบปริญญาแล้ว มันไม่ใช่สิ่งที่ตัวเองอยากจะเป็น อยากจะทำ หรืออาจจะไม่ใช่สิ่งที่ตัวเองถนัด ก็จะทำให้มีความยากลำบากในการประกอบอาชีพตามที่ได้เรียนมา หรือได้ทำงานก็จะไม่มีความสุขกับงานที่ทำค่ะ

ขอยกตัวอย่างที่เพิ่งเกิดขึ้นมาเมื่อไม่นานนี้ มีเด็กสาววัยใส หน้าตาน่ารัก อารมณ์ดี พ่ออยากให้ยายหนูเรียนวิทยาศาสตร์ เด็กก็เรียนไบโอเคมีตามใจพ่อ เรียนจนจบปริญญาตรี เพิ่งรับปริญญาไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ เมื่อถามเด็กว่าทำงานอยู่ที่ไหน เด็กตอบว่า ไม่ไปทำงานค่ะ ตอนนี้กลับไปเรียนปี 1 ใหม่ เรียนในสาขาวิชาที่ตัวเองชอบ ที่เขาอยากจะทำงานค่ะ เด็กให้เหตุผลว่าปริญญาใบแรกเรียนให้พ่อ แต่ใบใหม่นี้ เรียนให้ตัวเองค่ะ

น่าคิดนะคะ เด็กกตัญญูมาก ยอมเรียนเพื่อพ่อ เพื่อให้พ่อได้สมหวัง เพื่อความสุขของพ่อ แต่ยังไม่ละทิ้งความฝัน ความต้องการของตนเองค่ะ

ด้วยความปรารถนาดี
แม่สัน

ม็อบเลอะเทอะ ! เลิกคิดหานายกคนกลางซะที - ดร วีรพงษ์ 2014 02 04

 

Published on Feb 4, 2014
https://www.youtube.com/watch?v=SJSLW... ตอน 1
ทิศทางประเทศไทย : มุมมองการเมืองหลังเลือกตั้งของ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ตอน 2

สำนักข่าวไทย 3 ก.พ.-มุมมองการเมืองหลังเลือกตั้งของ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี ระบุการเมืองไทยไม่มีทางตัน และยังมองไม่เห็นหนทางการมาของนายกฯ คนกลาง พร้อมบอกคนกรุงเทพฯ ยังสับสนด้านการเมืองเพราะวิถีชีวิตนั้นไม­่ค่อยได้พึ่งพาภาคการเมืองเท่าคนต่างจังหว­ัด ชี้คนจนเสียภาษีเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้ส­ูงกว่าคนรวย และย้ำทหารอย่าปฏิวัติรัฐประหาร ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติแล้วจะมีการพัฒน­าขึ้นเอง.-สำนักข่าวไทย

เรื่องเกี่ยเนื่อง  

ม้อบค้าง ! ผิดคิวไม่มาปฏิวัติซะที ดร วีรพงษ์ 2014 02 03


วาสนา นาน่วม : อ่าน ความในใจ บิ๊กตู่ กับ แรงกดดัน ให้รัฐประหาร

“พล.อ.ประยุทธ์” ยัน “ไม่มีใครมากดดัน หรือสั่งผมได้” ให้ปฏิวัติ ยันต้องเป็นตัวของตัวเอง โตมาจนป่านนี้ไม่มีใครมาบังคับผมได้ ยันยึดระบอบกติกา ไม่ฟังคนนอกกองทัพบก หรือเหนือกติกาทบ. ยอมรับอดีตบิ๊กทหารส่งจดหมาย ขอให้ทหารทำนั่นทำนี่ เคารพทุกความคิด แต่มอง อดีตบิ๊กๆทหารแก่ วิจารณ์การเมือง-กองทัพ แค่มากินกาแฟ แสดงความเห็น แต่คงสั่งใครไม่ได้ วอนอย่าด่าทหาร หยาบคาย เผนทำงานเพื่อกองทัพ รบมา ต้องให้เกียรติกันบ้าง อย่าด่าเป็นหมูเป็นหมา เผยทหารทำดี เลือกตั้งไม่นองเลือด ก็ต้องชมกันบ้าง ชมดังๆให้คนด่าทหารได้ยิน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. กล่าวถึงกระแสข่าวที่ว่า มีผู้ใหญ่หลายฝ่ายกดดันให้กองทัพทำรัฐประหารเพื่อแก้ปัญหาชาติบ้านเมืองนั้น ว่า ใครจะมากดดันผม ผู้ใหญ่ที่ไหนไม่มี อย่าพูดให้ท่านเสียหาย สื่อเขียนไปเรื่อยเปื่อย ทำให้คนเหล่านั้นเสียหาย และเป็นอันตราย

“ผมโตมาถึงบัดนี้คงไม่มีใครมาบังคับ ผมทำงานด้วยระบบและกติกา ผมคงไม่ฟังอะไรที่นอกเหนือจากกติกาของกองทัพบก ดังนั้นไม่มีใครชักจูงผมได้” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

พล.อ.ประยุทธ์ เล่าด้วยว่า บางวันตื่นนอนขึ้นมา ยังต้องมาถามตัวเองเลยว่า เราเป็นใคร เราเป็นตัวของตัวเองหรือไม่ ถ้าใครไม่เคยอยู่ในสภาพแบบผมนี่จะไม่รู้หรอก

เมื่อถามว่า มีผู้ใหญ่และอดีตบิ๊กทหารเขียนจดหมายมาถึงผบ.ทบ. เรียกร้องให้ทหารทำนั่นทำนี่ นั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า มีคนส่งจดหมายเรียกร้องมาที่กองทัพบกเยอะ ผมจึงให้สำนักงานเลขานุการกองทัพบกชี้แจงกลับไป

“ขอบคุณทุกความคิดเห็นที่เป็นห่วงกองทัพ กองทัพเป็นของประชาชนทุกคน” ผบ.ทบ. กล่าว

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า อยากให้ทุกคนรักทหารบ้าง หรือถ้าจะเกลียดทหาร หรือไม่ชอบทหารบ้างก็ไม่เป็นไร แต่อย่าหยาบคายกับทหาร เพราะถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติกัน

“ผมรับราชการทหารมา 30 กว่าปี ดูแลประเทศชาติมาเยอะ ผ่านศึกสงครามชายแดนมาพอสมควร แต่จะมาด่าผมหรือทหารเป็นหมูเป็นหมา มันไม่ใช่ กรุณาให้เกียรติกัน เมื่อท่านไม่ให้เกียรติผม ผมก็ไม่ให้เกียรติท่าน ดังนั้นช่วยกันรักษากฎหมายเท่าที่สามารถทำได้ให้มากที่สุด และให้ความเป็นธรรมกับทุกส่วน ฝากให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ทหาร และอย่าขาดความเชื่อมั่นในเจ้าหน้าที่”พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

กรณีที่พล.อ.สายหยุด เกิดผล อดีต ผบ.สส. พล.อ.วิมล วงศ์วานิช อดีต ผบ.ทบ. และอดีตนายทหารระดับสูงจัดตั้งกลุ่ม “รัฐบุคคล” เพื่อหาทางออกให้กับประเทศ โดยมีการพูดผ่านคลิปวิดีโอ ให้ทหารรัฐประหาร ด้วยนั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว ท่านเกษียณอายุไปแล้ว ท่านคงนัดเจอกันบ้าง เพราะมีห่วงใยชาติบ้านเมือง แต่ท่านไม่ได้มายุ่งเกี่ยวอะไรกับพวกผม ไม่ได้มาสั่งอะไร มีแต่ให้กำลังใจ

“ท่านก็แค่นั่งกินกาแฟ และแสดงความคิดเห็น อาจไม่รู้จะคุยอะไรกันจึงคุยเรื่องบ้านเมือง เรื่องกองทัพบ้าง ส่วนท่านจะพูดอะไร เป็นความคิดเห็นของท่าน ท่านหมดหน้าที่จากกองทัพไปแล้ว คิดว่า ท่านคงไม่มาสั่งอะไรใคร แต่ความคิดของคนห้ามกันไม่ได้ ตราบใดที่บ้านเมืองยังไม่สงบ ทุกคนมีสิทธิ์คิด แต่ปัญหาคือ จะทำอย่างไรให้ถูกต้องเหมือนกองทัพบกที่พยายามทำให้ถูกต้อง” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

เมื่อถามถึงการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ.ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า การจัดการเลือกตั้งไม่ใช่หน้าที่ของผม หน้าที่ของผม คือ ดูแลความสงบเรียบร้อยให้กับประชาชน ซึ่งวันเลือกตั้งถือว่า มีความเรียบร้อยน่าพอใจอยู่ในระดับหนึ่ง และถือว่า ดีที่สถานการณ์ไม่เป็นไปอย่างที่ประเมินไว้ ไม่มีการสูญเสียหรือมีคนตาย แต่จะให้เห็นด้วย หรือไม่กับการเลือกตั้ง ผมคงไม่ตอบในเรื่องนี้ เพราะไม่ได้มอบหน้าที่ให้ผมจัดการเลือกตั้ง

“แต่ที่ไม่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น เพราะเจ้าหน้าที่ออกมาปฏิบัติหน้าที่ ดูแลดี ทีอย่างนี้ควรจะชมทหารบ้าง ให้กำลังใจทหารบ้าง ไม่ใช่ด่าอย่างเดียว ต้องชมทหารดังๆ ชมให้คนที่ด่าทหาร ให้ได้ยินด้วย” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

...
คุณวาสนาให้ข้อมูลเพิ่มเติม...

"Man of the State"...บิ๊กตู่ ผบ.ทบ. บอก แค่คนแก่ กินกาแฟ กัน.....ไม่รู้จะคุยอะไรกัน แต่หมดหน้าที่จากกองทัพไปแล้ว มาสั่งอะไรใครไม่ได้

"ท่านเกษียณอายุไปแล้ว ท่านคงนัดเจอกันบ้าง เพราะมีห่วงใยชาติบ้านเมือง แต่ท่านไม่ได้มายุ่งเกี่ยวอะไรกับพวกผม ไม่ได้มาสั่งอะไร มีแต่ให้กำลังใจ
ท่านก็แค่นั่งกินกาแฟ และแสดงความคิดเห็น อาจไม่รู้จะคุยอะไรกันจึงคุยเรื่องบ้านเมือง เรื่องกองทัพบ้าง ส่วนท่านจะพูดอะไร เป็นความคิดเห็นของท่าน ท่านหมดหน้าที่จากกองทัพไปแล้ว คิดว่า ท่านคงไม่มาสั่งอะไรใคร แต่ความคิดของคนห้ามกันไม่ได้ ตราบใดที่บ้านเมืองยังไม่สงบ ทุกคนมีสิทธิ์คิด แต่ปัญหาคือ จะทำอย่างไรให้ถูกต้องเหมือนกองทัพบกที่พยายามทำให้ถูกต้อง” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.

28มค.2557 อดีต บิ๊กทหาร ประชุมถกปัญหาบ้านเมือง บทบาททหาร การรัฐประหาร ตั้งกลุ่ม รัฐบุคคล. Man of the State พล.อ.อ.กันต์ พิมานทิพย์ อดีตผบ.ทอ. พล,อ.วิมล วงศ์วานิช อดีต ผบ.ทบ. พล.ร.อ.วิเชษฐ์ การุณยวนิช อดีต ผบ.ทร. พล.อ.อ.เทอดศักดิ์ สัจจารักษ์ อดีต รองผบ.ทอ. และ นาย ชัยอนันต์ สมุทรวานิช


คลิป 5 ตอนใน "การประชุมและประกาศจัดตั้งกลุ่ม รัฐบุคคล"



Wake Up Thailand : รัฐบุคคล แถลงข่าวรัฐประหาร

 http://www.youtube.com/watch?v=0LlqgIfdFO0

Published on Feb 3, 2014
รายการ Wake Up Thailand ประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2557 ตอนที่ 1

"รัฐบุคคล" เริ่มนาทีที่ 38:35

เรื่องเกี่ยวเนื่อง 

คลิป 5 ตอนใน "การประชุมและประกาศจัดตั้งกลุ่ม รัฐบุคคล"


อ.พิชิต ลิขิตสมบูรณ์ มีความเห็นเพิ่มเติมจาก คลิป 5 ตอนใน "การประชุมและประกาศจัดตั้งกลุ่ม รัฐบุคคล" ว่า...

คลิป "วางแผนอุบาทว์" โดยไดโนเสาร์ชรา ห้าตอนจบ เป็นการตั้งใจถ่ายทำเพื่อเผยแพร่ เลือกสถานที่อย่างดี มีการนัดแนะมากันพร้อมหน้า มีกล้องและไมค์หลายตัว แพนและเปลี่ยนมุมกล้องตามคนพูดไปเรื่อย ๆ รวมทั้งจงใจเผยแพร่จากสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ออกสู่โลกออนไลน์ โดยหวังผลทางการเมืองโดยตรง

เป็นกลุ่มคนเดียวกันกับที่เคยถูกม็อบสวนลุมอ้างมาครั้งหนึ่งในปี 56 แต่ตอนนั้น แต่ละคนรีบปฏิเสธว่า ถูกอ้างชื่อ แต่คราวนี้ ไม่เป็น "อีแอบ" อีกต่อไป เปิดหน้ากันทุกคนแล้วตั้งกล้องถ่ายทำกันเลย! หวังใช้คลิปนี้มาหนุนกระแสม็อบเทือก สร้างกำลังใจให้สาวกม็อบ และต้านผลการเลือกตั้ง 2 ก.พ. (คลิปนี้ถ่ายทำก่อนเลือกตั้งเพียงไม่กี่วัน)

ตลอดทั้งคลิป แต่ละคนวนเวียนอยู่แต่ประเด็นกองทัพ ชี้ตรงกันว่า รัฐประหารโดยศาลจะไม่สะเด็ดน้ำและไม่รวดเร็วทันใจ ต้องเป็นรัฐประหารโดยทหารเท่านั้น แล้ว "ปฏิรูป (คือปิดประเทศ)" 3-5 ปีเป็นอย่างน้อย การเผยแพร่คลิปจึงเป็นการสร้างแรงกดดันไปที่กองทัพให้ต้อง "แอ็กชั่น" โดยจะมีการสร้าง "เงื่อนไขรองรับ" ตามที่ทหารต้องการเพื่อความชอบธรรมโดยเร็ว

ที่น่าเศร้าคือ ประเด็นและแนวคิดในคลิปทั้งหมดไม่ใช่เป็นเฉพาะไดโนเสาร์ชรากลุ่มนี้ แต่เป็นแนวคิดของฝ่ายเผด็จการทั้งหมด ตั้งแต่ประธานและรองประธานกปปส. คณะที่ปรึกษาของประธาน จนถึงเลขาฯกปปส.

แต่มีคำถามข้อหนึ่งที่คนพวกนี้ไม่ใครยอมตอบ และก็คงคิดคำตอบไม่ออก ก็คือคำถามที่ผู้ร่วมประชุมท่านหนึ่งถามว่า "จะยอมให้คนไทยตายอีกเท่าไรเพื่อให้แผนนี้สำเร็จ?" เพราะคนพวกนี้พอจะรู้ว่า หากมีคนต้องตายจำนวนมากจากแผนการนี้ อย่าว่าแต่เลขาฯกปปส.เลย แม้แต่ประธาน รองประธาน ไปจนถึงไอ้โม่งที่อยู่ข้างหลังประธานอีกทอดหนึ่ง ก็จะประสบความ "เสื่อม" อย่างถึงที่สุดจนไม่อาจคาดเดาผลกระทบที่ติดตามมาได้!!!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น