วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ช็อตเด็ดวันนี้ : พวงหรีดหน้าศาลแพ่ง

 

วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 21, 2557

"พุทธะอิสระ" นับค่าเสียหาย 1.2 ล้านบาท จากโรงแรมเอสซีปาร์ค




ใครมาเปนเจ้าเข้าครอง คงจะต้องบังคับขับไส
เคี่ยวเข็ญเย็นค่ำกรำไป ตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย
เขาจะเห็นแก่หน้าค่าชื่อ จะนับถือพงศ์พันธุ์นั้นอย่าหมาย
ไหนจะต้องเหนื่อยยากลำบากกาย ไหนจะอายทั่วทั้งโลกา

พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกูฎเกล้าเจ้าอยู่หัว




ooo

"คืนเงินเราก็ต้องใช้ค่าเสียหาย" เมื่อพระต่อ

รองค่าโรงแรมได้แสนสอง


http://www.youtube.com/watch?v=neW8jzzD2BI
Published on Feb 20, 2014
"เรามาแล้ว ใครจะจ่ายค่าน้ำมันให้เราละ บอกงี้ได้ไง เอาตังส์ไปแล้ว จะคืนเงินเราก็ต้องใช้ค่าเสียหายให้เราด้ว­ย ค่าน้ำมันค่าเสียเวลา ไปคิดมาแล้วเดี๋ยวมาเจรจากัน"

สภาวะแตกแยกของรัฐไทยกับเส้นรอยเลื่อน "ภูมิประวัติศาสตร์" : วิเคราะห์เปรียบเทียบกับโปแลนด์ ยูเครน เวียดนามและพม่า


ภาพการแตกร้าวเคลื่อนกระจายของบรรดาหน่วยการเมืองไทยในแบบที่ว่า "พื้นที่ภาคเหนือและอีสาน คือฐานอำนาจของพรรคเพื่อไทยและมวลชนคนเสื้อแดง ส่วนพื้นที่ภาคใต้และกรุงเทพมหานครนั้น คือฐานอำนาจของพรรคประชาธิปัตย์กับมวลมหาประชาชน" แม้จะเป็นเพียงแค่วลีที่มิอาจจะอธิบายมูลเหตุที่อยู่เบื้องหลังความขัดแย้งทางการเมืองได้อย่างครบเครื่องถ้วนทั่ว 

แต่ก็ทำให้เราอดคะนึงคิดมิได้ที่จะมองหาปมปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลต่อการแบ่งขั้วทางการเมือง (Political Polarization) จนทำให้สังคมไทยอาจหนีไม่พ้นที่จะต้องดำรงสภาพเป็นเพียงแค่รัฐชาติแบบหลวมๆ ที่เกิดจากการรวมตัวปะติดปะต่อกันของหน่วยการเมืองภายใต้สภาะขัดฝืนพะอืดพะอมของผู้คนที่มีความคิดแตกต่างกันทางการเมือง

แต่กระนั้น ในบริบททางประวัติศาสตร์และการเมืองเปรียบเทียบ สภาวะการณ์เช่นนี้ อาจเกิดจากผุดตัวขึ้นมาของ "แผ่นรอยเลื่อนทางภูมิประวัติศาสตร์/Geo-Historical Fault Line" ซึ่งมีรูปลักษณ์เป็นเส้นแบ่งร่างกายทางภูมิศาสตร์ของรัฐชาติอันเกิดจากข้อตกลงแบ่งสรรอิทธิพลระหว่างรัฐมหาอำนาจ (ทั้งในยุคอาณานิคม สงครามโลกครั้งที่สองและสงครามเย็น) หรืออาจนับย้อนไปไกลถึงเส้นประเพณีที่เกิดจากการแบ่งปริมณฑลทางการเมืองของอาณาจักรจารีตโบราณ โดยมีตัวอย่างที่น่าสนใจ อย่างกรณีของประเทศโปแลนด์ ยูเครน เวียดนามและพม่า

สำหรับการแตกแยกทางการเมืองในรัฐโปแลนด์นั้น ผลการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อช่วงปลายปี ค.ศ. 2007 ได้ช่วยผลักดันให้เกิดภูมิทัศน์การเมืองอันน่าอัศจรรย์ที่ผ่ารัฐโปแลนด์ออกเป็นสองส่วนหลักๆ ได้แก่ 

1.อัสดงค์บริเวณ ซึ่งตั้งอยู่ทางฟากตะวันตกของประเทศ และเป็นโซนที่เป็นฐานคะแนนนิยมของพรรค "Civic Platform" หรือ "Platforma Obywatelska" (PO) และ 

2. บูรพบริเวณ ที่ตั้งอยู่ทางฟากตะวันออกของประเทศและเป็นฐานคะแนนหลักของพรรค "Law and Justice" หรือ Prawo i Sprawiedliwość (PiS) 

โดยแนวนโยบายของพรรคแรกมักจะเน้นการสนับสนุนลัทธิทุนนิยมเสรี ขณะที่แนวทางของพรรคการเมืองหลังมันเน้นการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นและการผดุงความยุติธรรมในสังคม 

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่า คือ เส้นแบ่งของทั้งสองพื้นที่ทางการเมือง (ที่ลากผ่านภูมิสัณฐานทางตอนกลางของประเทศ) กลับเป็นเส้นรอยเลื่อนที่ขีดคร่อมซ้อนทับกันพอดีกับเส้นพรมแดนตามประเพณีของโปแลนด์ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งได้แบ่งรัฐในโปแลนด์ออกเป็นเขตตะวันตกที่ตกอยู่ใต้อาณัติของจักรวรรดิเยอรมันและเขตตะวันออกที่ตกเป็นของจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี 

โดยเขตปริมณฑลแรกล้วนได้รับอิทธิพลจากลัทธิเศรษฐกิจเสรีนิยมจากเยอรมัน ขณะที่ เขตปริมณฑลหลังมักได้รับแนวการปกครองที่ให้ความสำคัญกับกฏระเบียบตามสไตล์ของจักรวรรดิสลาฟและยุโรปตะวันออก ผลที่ตามมาจากมรดกทางประวัติศาสตร์ คือ การตัดแบ่งฐานคะแนนของรัฐโปแลนด์ปัจจุบันออกตามฐานอำนาจของพรรค "Civic Platform" และพรรค "Law and Justice" ซึ่งได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากแบบแผนลีลาการบริหารของจักรวรรดิยุโรปในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

สำหรับกรณีของรัฐยูเครนนั้น เราอาจพบเห็นลักษณะที่คล้ายคลึงกันกับโปแลนด์ในบางมิติ โดยการประท้วงต่อต้านรัฐบาลวิคเตอร์ ยานูโควิช (Viktor Yanukovych) ล้วนเป็นไปในแบบที่ว่า พื้นที่ฟากตะวันตกของประเทศ มักเต็มไปด้วยฐานอำนาจของมวลมหาประชาชนที่พยายามเคลื่อนขบวนโค่นล้มรัฐบาลชุดปัจจุบันที่เต็มไปด้วยการทุจริตคอร์รัปชั่นและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัสเซีย จนทำให้ยูเครนต้องพลาดโอกาสในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ส่วนพื้นที่ทางฟากตะวันออกนั้น ก็ล้วนเต็มไปด้วยฐานอำนาจของรัฐบาลยานูโควิชพร้อมตกอยู่ใต้อิทธิพลจากมอสโคร์ 

แต่กระนั้นก็ตาม จุดที่น่าสนใจและทรงเสน่ห์ที่สุด ก็คงหนีไม่พ้น เส้นแบ่งโซนการเมืองที่ดันไปทับซ้อนแนบสนิทกับเส้นพรมแดนในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 19 ที่แบ่งสะบั้นให้เขตตะวันตกของยูเครนถูกดึงโยกเข้าไปอยู่กับโปแลนด์ ขณะที่เขตตะวันออกได้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต 

จากกรณีดังกล่าว เราอาจจะกล่าวได้ว่า แผ่นรอยเลื่อนทางภูมิประวัติศาสตร์ ล้วนมีผลต่อการก่อรูปของภูมิทัศน์การเมืองยูเครนในปัจจุบัน (ไม่มากก็น้อย) เพียงแต่ว่า สภาะแตกแยกตัดสะบั้นเช่นนี้ อาจมิได้เกิดขึ้นภายใต้การแข่งขันทางอำนาจในช่วงสงครามโลกหรือสงครามเย็นเพียงอย่างเดียว หากแต่อาจกินความไปถึงความแตกต่างทางชาติพันธุ์ ภาษา และวัฒนธรรมของทั้งสองพื้นที่ซึ่งอาจจะเป็นผลพวงจากมรดกทางประวัติศาสตร์ที่ลากย้อนกลับไปไกลถึงยุคจารีต โดยเฉพาะเมื่อครั้งที่ดินแดนยูเครนได้ถูกผนวกรวมเข้ากับอาณาจักรโบราณอย่าง ลิทัวเนีย โปแลนด์ ออสเตรีย-ฮังการี และจักรวรรดิรัสเซีย

สำหรับกรณีของรัฐเอเชียอาคเนย์อย่างเวียดนามและพม่านั้น แม้เส้นรอยเลื่อนทางภูมิประวัติศาสตร์ จะมิมีผลมากนักต่อกระบวนการเลือกตั้งและการบ่มเพาะฐานคะแนนนิยมที่เด่นชัดเหมือนดั่งรัฐยุโรปอย่างโปแลนด์หรือยูเครน แต่กระนั้น เส้นตัดแบ่งทางประวัติศาสตร์ ก็ได้ช่วยบ่งชี้อะไรบางอย่างที่ซุกซ่อนอยู่ในภูมิทัศน์การเมืองเวียดนาม-พม่า

ในส่วนของเวียดนาม ความพยายามของฝรั่งเศสที่มีผลต่อการสถาปนาเขตปลอดทหาร ณ เส้นขนานที่ 17 ซึ่งมีแม่น้ำเบนไห่เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ ได้ทำให้ระบบภูมิศาสตร์การเมืองของรัฐในเวียดนามถูกตัดแบ่งออกเป็นสองประเทศอธิปไตยหลักซึ่งเต็มไปด้วยความแตกต่างของระบบการปกครอง วิถีเศรษฐกิจและแนวนโยบายต่างประเทศ ซึ่งแม้เวียดนามจะหันมารวมชาติก่อสร้างรัฐใหม่เป็นผลสำเร็จ หากแต่ความแตกต่างบางประการระหว่างภาคเหนือกับภาคใต้ กลับยังคงส่งผลต่อการผลิตสูตรการเมืองของบรรดาชนชั้นนำเพื่อตบให้ยุทธศาสตร์การพัฒนารัฐมีเอกภาพและกระชับมากขึ้น 

ขณะเดียวกัน เราอาจพบเห็นความพยายามของรัฐบาลประจำรัฐเวียดนามใหม่ (ในช่วงทศวรรษ 1990) ที่พยายามจะปฏิรูประบบกระจายอำนาจท้องถิ่นด้วยการปรับโครงสร้าง "Commune" (หน่วยปกครองระดับท้องถิ่นในชนบท) ผ่านการลากเส้นแบ่งคอมมูนแต่ละแห่งโดยใช้เกณฑ์ทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ซึ่งบางแห่งได้ลากไปไกลถึงยุคราชาธิปไตยเวียดนาม พร้อมมีการจำแนกตีเส้นอาณาเขตใหม่ออกเป็น กลุ่มคอมมูนซึ่งตั้งขึ้นตามเกณฑ์ทางศาสนา-ชาติพันธุ์ 

หรือ กลุ่มคอมมูนที่ตั้งขึ้นตามเขตภูมิประวัติศาสตร์ อย่างเช่นคอมมูนแถบปากนำ้โขง คอมมูนแถบชายแดนจีน-ลาว-กัมพูชา หรือคอมมูนเลียบแนวชายหาด ซึ่งก็ถือเป็นนวัตกรรมทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่น่าทึ่งสำหรับการปรับโครงสร้างการปกครองของรัฐเวียดนามใหม่

ส่วนกรณีของรัฐพม่านั้น เราอาจพบเห็นการลากเส้นของเจ้าอาณานิคมอังกฤษเพื่อแบ่งระหว่างพม่าตอนบน "Upper Burma" กับพม่าตอนล่าง "Lower Burma" (จุดแบ่งอยู่แถวๆเมืองตองอูและไม่ไกลจากเนปิดอว์) ซึ่งถือเป็นสองหน่วยภูมิศาสตร์การเมืองที่แตกต่างกันในหลายมิติ 

โดยขณะที่พม่าตอนบนถือเป็นเขตพื้นที่ที่ยังคงฟูมฟักอิทธิพลของราชสำนักมัณฑะเลย์เอาไว้อย่างเหนียวแน่น พร้อมเป็นแหล่งก่อหวอดสำคัญของกบฎชาวนาหรือกบฎผู้มีบุญของซายาซาน พม่าตอนล่างกลับเป็นศูนย์อำนาจของอังกฤษหรือพลังอาณานิคมต่างชาติ รวมถึงเป็นแหล่งบ่มเพาะการประท้วงการเมืองสมัยใหม่ที่ค่อนข้างทรงกำลังและพร้อมต่อกรกับคณะผู้ปกครองต่างชาติหรือผู้ปกครองพื้นถิ่นที่กระทำการกดขี่ชาวพม่า 

โดยสภาวะแยกโซนทางภูมิประวัติศาสตร์เช่นนี้ ล้วนมีผลต่อพัฒนาการของรัฐพม่าตลอดช่วงสมัยอาณานิคมหรือหลังอาณานิคม ซึ่งอย่างน้อย การตั้งเมืองหลวงแห่งใหม่ ณ กรุงเนปิดอว์ ซึ่งอยู่ตรงกึ่งกลางระหว่างย่างกุ้งกับมัณฑะเลย์ หรือ Upper Burma กับ Lower Burma ก็คงบ่งชี้นัยสำคัญบางอย่างเกี่ยวกับนโยบายการสร้างรัฐสร้างชาติหรือการเมืองว่าด้วยการย้ายเมืองหลวงของรัฐพม่าในสหัสวรรษใหม่ (ซึ่งแม้จะไม่ใช่เหตุผลทั้งหมดของการตั้งราชธานีใหม่ก็ตามที)

ส่วนกรณีของรัฐไทยนั้น เส้นแบ่งทางภูมิประวัติศาสตร์อาจลากกลับไปไกลได้ถึงยุคจารีตโบราณ โดยในอดีตนั้น ดินแดนที่เป็นประเทศไทยแท้ (Proper Thai) ซึ่งถือเป็นแดนแกน (Core) ของอารยธรรมทางการเมืองไทย อาจมีขอบข่ายอยู่เพียงแค่แถบลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่เคลื่อนแตะไปทางหัวเมืองภาคกลางตอนบนอย่างพิจิตร พิษณุโลก หรือ หัวเมืองปักษ์ใต้อย่างนครศรีธรรมราช ในขณะที่ พื้นที่ภาคเหนือกลับเป็นเขตอิทธิพลของอาณาจักรล้านนา ส่วนภาคอีสานโดยเฉพาะส่วนที่พ้นขึ้นไปจากนครราชสีมา ก็ล้วนตกอยู่ภายใต้เขตอิทธิพลของล้านช้าง 

สภาวะแดนแกน-แดนนอกเช่นนี้ ล้วนเห็นได้ชัดแจ้งอีกครั้งผ่านการปรากฏตัวของรัฐบาลธรรมชาติในแบบการเมืองห้าชุมนุมหลังการล่มของพระนครศรีอยุธยา ซึ่งพื้นที่อิทธิพลของแต่ละก๊กการเมือง ล้วนแล้วแต่แตะคุมหัวเมืองยุทธศาสตร์ไม่ไกลเกิน พิษณุโลก อุตรดิตถ์ นครราชสีมา หรือ นครศรีธรรมราช สงขลา ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ารัฐล้านนา รัฐล้านช้างและรัฐมาลัย/รัฐมลายู มักจะถูกตบให้อยู่ในเขตแกนนอกในฐานะกลุ่มรัฐประเทศราช มากกว่าจะเป็นหน่วยการเมืองที่ถูกผนึกเข้ามาอยู่ในแดนแกนอย่างแนบแน่น (ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากระยะทางที่ห่างไกลหากใช้มุมอธิบายแบบการเมืองมณฑล/Mandala) 

ในอีกแง่มุมหนึ่ง แนวมองที่ผ่าเขตภูมิประวัติศาสตร์เช่นนี้ อาจสามารถพบเห็นได้อีกในยุคอาณานิคมหรือสงครามโลกครั้งที่สอง เช่น แถลงการณ์ว่าด้วยเรื่องสยาม ที่ปรากฏอยู่ในความตกลงฉันทไมตรีระหว่างจักรวรรดิอังกฤษกับฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ. 1904 ซึ่งมีการลากเส้นแบ่งเพื่อสร้างให้ประเทศไทยแท้ทางแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยามีสถานะเป็นเขตกันชน เพื่อให้อังกฤษต้องยอมรับเขตอิทธิพลของฝรั่งเศสทางด้านตะวันออกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และเพื่อให้ฝรั่งเศสทำการยอมรับเขตอิทธิพลอังกฤษทางฟากตะวันตกของลุ่มน้ำเจ้าพระยาเช่นกัน

ขณะเดียวกัน นอกจากการมองหาเส้นแบ่งรัฐสยาม/ไทย ผ่านแกนนอนจากตะวันตกไปทางตะวันออกแล้ว (คล้ายคลึงบางส่วนกับโปแลนด์-ยูเครน) เราอาจตามหาเส้นแนวดิ่งจากเหนือลงใต้ที่ผ่าภูมิสัณฐานของรัฐไทยให้คล้ายคลึงกับรัฐพม่าหรือรัฐเวียดนามได้เช่นกัน ซึ่งกรณีดังกล่าว ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ได้ยกหลักฐานของการประชุมสัมพันธมิตรที่เมืองควิเบกเมื่อปี ค.ศ. 1943ซึ่งตกลงแบ่งโซนให้ดินแดนไทยและอินโดจีนเหนือเส้นขนานที่ 16 หรือประมาณจังหวัดพิจิตรขึ้นไป เป็นเขตยุทธภูมิหรือเขตปฏิบัติการของทหารจีนเจียงไคเช็ค และให้ใต้เส้นขนานที่ 16 ลงมาเป็นเขตอิทธิพลของอังกฤษ 

ซึ่งนั่นก็หมายความว่า หากประเทศไทยแพ้สงครามมหาเอเชียบูรพา ดินแดนรัฐไทยอาจะจถูกยึดครองหรือตัดแบ่งไปให้กับอังกฤษและจีนคณะชาติ โดยอังกฤษจะทำการคลุมแดนแกนทางลุ่มเจ้าพระยาลงมาถึงภาคใต้ ส่วนจีนจะคุมพื้นที่ภาคเหนือของไทยเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงลุ่มเจ้าพระยาตอนบน 

จากเหตุการณ์ที่ได้อธิบายไปเบื้องต้น ผู้เขียนจึงอยากจะชี้ชวนให้ผู้อ่านเห็นว่า การสร้างเส้นรอยเลื่อนทางประวัติศาสตร์ที่ก่อตัวมายาวนานตามพัฒนาการของรัฐไทย ได้ทำให้เราเริ่มมองเห็นความซับซ้อนบางอย่างที่อยู่เบื้องหลังการแตกแยกของหน่วยการเมืองที่ถูกผนวกรวมร่างขึ้นมาเป็นรัฐไทย โดยถึงแม้ว่าบางเส้นอาจจะเป็นเพียงแค่เส้นจินตนาการที่ถูกขีดเขียนขึ้นมาเพื่อรองรับดุลกำลังของเหล่ามหาอำนาจที่แผ่ศักดาเหนือรัฐไทย 

ในขณะที่บางเส้นนั้น อาจเกิดจากการผนึกควบแน่นกันอย่างลงตัวระหว่างจารีตทางประวัติศาสตร์กับเขตภูมิศาสตร์ทางธรรมชาติ (อย่างแนวดงพญาเย็นที่ยกให้ที่ราบสูงโคราชอยู่เหนือจากเขตที่ลุ่มต่ำภาคกลางอย่างเห็นได้ชัด) 

แต่กระนั้น การผุดตัวขึ้นมาของเส้นภูมิประวัติศาสตร์ต่างๆที่ทับถมซ้อนทับกันมาหลายช่วงชั้น (ซึ่งก็มีทั้งการแบ่งตั้งแต่ยุคจารีต ยุคอาณานิคม หรือยุคหลังอาณานิคม หรือ การแบ่งแบบแนวดิ่ง-แนวระนาบ) ก็ได้ช่วยตอกย้ำให้เห็นว่าภูมิทัศน์การเมืองไทยล้วนเต็มไปด้วยความซับซ้อนล้ำลึกของระบบภูมิศาสตร์การเมือง จนทำให้ความขัดแย้งแยกขั้วระหว่างภูมิภาคต่างๆกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของรัฐไทยไปเสียแล้ว 

เพียงแต่ว่า เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับรัฐอื่นๆแล้ว การแบ่งแยกฐานคะแนนออกเป็นสองส่วนอย่างชัดเจน เช่น โปแลนด์ หรือ ยูเครน ก็ยังทำให้รัฐเหล่านี้ดำรงสภาพเป็นประเทศเอกราชอยู่ได้ แม้ผู้คนจะมีความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกันหรือโครงสร้างรัฐจะมีความระส่ำระส่ายอยู่บ้างในหลายห้วงเวลา 

ส่วนพม่าหรือเวียดนามนั้น แม้จะเคยถูกเส้นภูมิประวัติศาสตร์แบ่งแยกอย่างชัดแจ้งมาแล้วในอดีต หากแต่รัฐเหล่านั้นกลับกระทำการสร้างรัฐสร้างชาติจนประสบความสำเร็จอย่างน่าทึ่งอย่างกรณีของเวียดนามหรือได้ค่อยๆแก้ไขจนมีความก้าวหน้าขึ้นมาเป็นลำดับอย่างกรณีของพม่า 

ฉะนั้นแล้ว หากเปรียบเทียบกับทั้งสี่รัฐที่กล่าวมาเบื้อง ประเทศไทยของเรา คงอาจจะมีโอกาสหลายๆอย่างที่ทำให้กระบวนการสร้างสันติภาพสามารถเดินหน้าเคียงคู่ไปกับการสร้างเอกภาพหรือการสร้างรัฐสร้างชาติได้อย่างเหมาะสมลงตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากนักปกครองประจำรัฐรู้จักที่จะหันมาลองอ่านเส้นภูมิประวัติศาสตร์กันอย่างจริงจัง (ซึ่งมีผลต่อการเติบโต/เสื่อมถอยของรัฐไทย ไม่มากก็น้อย) 

ดุลยภาค ปรีชารัชช
สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา, ธรรมศาสตร์


แหล่งอ้างอิง

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. "ภารกิจเพื่อชาติเพื่อ Humanity ของจำกัด พลางกูร" ประชาไท 20 สิงหาคม 2556.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ: มติชน, 2545.

Anderson, Benedict. Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of
Nationalism. 2nd ed. London : Verso, 1991.

Ekiert, Grzegorz. Public Seminars, "Understanding the Great Transition in Central and Eastern Europe - 25 years after 1989", 11 February 2014, 16.30 – 18.00, Department of Politics and Public Administration, the University of Hong Kong, Hong Kong. 

Taylor, Robert. The State in Myanmar. Singapore: NUS Press, 2009.

Turner, Mark (ed). Central-Local Relations in Asia-Pacific: Convergence or Divergence? London: Macmillan, 1999.

Winichakul, T. Siam Mapped: A History of the Geo-Body of A Nation. Honolulu: University of Hawaii Press, 1994.

ภาพแรก: แผนที่แสดงชายผู้ร่ำไห้ซึ่งสะท้อนความบอบช้ำของรัฐไทย อันเกิดจากการถูกตรึงขาด้วยความล้มเหลวของโครงการ southern seaboard หรือ ความเจ็บปวดที่ถูกตอกลิ่มที่เท้าอันเป็นผลจากการแยกดินแดนทางสามจังหวัดภาคใต้ 
(ผู้วาด paretas จาก tambon.blogspot.hk/2011_07_01_archive.html)

ภาพสอง แผนที่โปแลนด์ซึ่งถูกผ่าด้วยความแตกต่างทางการเมือง จาก mypolitikal.com

ภาพสาม แผนที่ยูเครนซึ่งถูกผ่าด้วยความแตกต่างทางการเมือง จากwww.washingtonpost.com

ภาพสี่ แผนที่แสดงการแบ่งเขตในพม่าสมัยอาณานิคมอังกฤษ จาก Scottish Geographical Magazine and edited by Hugh A. Webster and Arthur Silva White


ภาพห้า แผนที่แสดงการแบ่งประเทศเวียดนาม จาก vietnam.lohudblogs.com

Duncan Mccargo : The Thai Malaise


น่าสนใจมากๆครัช นานๆทีจะมีบทความที่วิเคราะห์การเมืองไทยไปถึงรากของความเชื่อแบบพุทธด้วย

บทความของ Professor Duncan Mccargo ผู้สอนวิชาการเมืองไทยใน University of Leeds ประเทศอังกฤษ ใน foreignpolicy หนังสือพิมพ์การเมืองต่างประเทศของสหรัฐ อธิบาย ระบบวรรณะ ที่ผูกโยงกับความเชื่อแบบพุทธ ซึ่งซุกซ่อนอยู่ในบริบทปัญหาการเมืองไทยในปัจจุบัน 

"ประเทศไทย มี ระบบวรรณะที่ซ่อนอยู่ ซึ่งไปเกี่ยวโยงกับความเชื่อแบบพุทธ ที่เชื่อว่าคนจนสมควรจะมีชีวิตที่แย่กว่า เพราะการทำชั่ว หรือการเก็บสะสมบุญที่ไม่มากพอในชาติที่แล้ว ...

กปปส พูดถูกอยู่อย่างหนึ่ง คือ ประเทศไทยต้องได้รับการปฏิรูปอย่างเร่งด่วน เพื่อลดอิทธิพลของระบบอุปถัมภ์ และหยุดการประท้วงบนท้องถนนที่เกิดขึ้นตลอดเวลาจากทุกเสื้อสี ... แต่การที่ กปปส นำเสนอ สภาประชาชนซึ่ง เป็นรูปแบบการปฏิรูปเดียวกับฮ่องกงหลังจากกลับคืนมาเป็นของจีน คือให้เลือกตั้งโดย based on อาชีพ จะทำให้ความตึงเครียดระหว่างชนชั้นแย่ลงไปอีก (ฮ่องกงหลังกลับไปเป็นของจีน ถูก freedom house ลดอันดับจากประเทศเสรี เป็น กึ่งเสรี และมีปัญหาความแตกต่างระหว่างชนชั้นมากขึ้น จนนำไปสู่การประท้วงใหญ่เมื่อปีที่แล้ว) 

การปฏิรูปที่แท้จริง คือ การถอดรื้อระบบวรรณะที่ซ่อนอยู่นั้น และลดการเอาทุกอย่างไปผูกกับสถาบันกษัตริย์ เห็นคุณค่าของเสียงในชนบทที่มีส่วนร่วมในประชาธิปไตยมากขึ้น..."


ooo


DUNCAN MCCARGO  February 18, 2014

The current political standoff in Thailand is a symptom of deeper problems that can't be solved by watering down democratic process.


On Feb. 2, the day of Thailand's general election, untouched ballot boxes were laid out like rows of gravestones in Bangkok's Rajathewi district office, while more than 100 self-proclaimed pro-democracy protestors, many of them middle-aged women from southern provinces hundreds of miles away, blew whistles and cheered. They were celebrating their success in preventing the voting from taking place. Shortly after 8:30 a.m., they rose up en masse and left the government compound, padlocking the gates on their way out. Outside they held a party on the main street, which they had closed for the occasion. The Royal Thai Police were nowhere to be seen, and a small group of soldiers stood passively by, snapping the padlocking ritual on their iPhones.

Back in November, the opposition Democrat Party demanded the dissolution of parliament and fresh elections, but once Prime Minister Yingluck Shinawatra -- who still had 18 months of her term left -- called a snap election for Feb. 2, it soon became clear that the Democrats were refusing to play ball.

The Democrats, Thailand's oldest political party, have transformed themselves into the kind of protest movement their leaders had always professed to despise. Not only did the party boycott the election, but it also backed moves to disrupt the polls by the People's Democratic Reform Committee (PDRC) (an anti-government protest movement led by former Democrat Secretary-General and Deputy Premier Suthep Thueksuban), which announced plans to shut down Bangkok from Jan. 13 on, blocking key intersections across the city. Protesters continue to hold the city hostage. Most recently, on the morning on Feb. 18, three protesters were shot and 64 injured as police attempted to break up the demonstration.

After preventing advance polling across much of Bangkok and the south on Jan. 26 -- during which one protest leader was shot dead -- protestors followed a prominent Buddhist monk into aviolent altercation with pro-government groups in the Bangkok district of Lak Si on Feb. 1. Soon after the election, the Democrats announced that they were bringing legal action against the Yingluck government for pressing ahead with an "illegitimate" election. For the Democrats, any election won by parties linked to the demonized former premier Thaksin Shinawatra was inherently illegitimate, however convincing the margin of victory.

Meanwhile, media outlets sympathetic to the opposition, including the respected Bangkok Post, ran articles suggesting, without any apparent irony, that the relatively low turnout and the high number of "no" votes (in Thai elections, voters can tick a box saying they reject all the candidates on the ballot) proved that the ruling party had performed poorly.  The opposition's approach was: "Let's do everything we can to sabotage the election, including using violence, and then blame the ruling party for making a hash of it."

Voter turnout for the Feb. 2 general election was just under 48 percent overall (compared to 75 percent in the 2011 election), not bad considering that voting was virtually impossible in several southern provinces where the opposition was able to shut down the electoral process. The controversial military-backed referendum to approve the 2007 constitution secured a comparable turnout of just under 57 percent. Overall, nearly 75 percent of those who voted in 2014 supported the government. Split ballots and "no" votes were up compared to the most recent elections.

As Thailand's leading political blogger, Bangkok Pundit, noted, a more useful comparison might be to the 2006 snap election called under similar circumstances by Yingluck's brother, Thaksin Shinawatra, during his time as prime minister. Democrats boycotted the 2006 poll as well, but actively campaigned for a "no" vote. As a result, nearly a third voted "no" -- compared to the mere 17 percent that did in 2014. There is no solid basis for assuming that most of those who failed to vote, or who cast "no" votes, in a boycotted and violently disrupted general election, were people who would otherwise have voted for the Democrat Party -- though some were certainly disappointed by lackluster local members of parliament from the ruling party.

What the Feb. 2 elections most clearly illustrate is the growing political chasm that separates greater Bangkok and the country's south from its less affluent but more populous regions in the north and northeast. The latter have long been strongholds of support for Yingluck and Thaksin, who was elected largely because of his appeals to urbanized villagers, Thais with rural origins who dream of making it to middle-class standards of living. Because of Thailand's hidden "caste system" -- which is linked to popular Buddhist notions that the poor deserve their lower status because of accumulated demerits from previous lives -- Bangkokians typically have a profoundly paternalistic view of the masses. Thaksin's populist, can-do message, the stuff of self-help books, resonated deeply with many voters in the north and northeast. The leaders of the current anti-government protests -- many of whom come from Bangkok -- constantly deride these voters as ignorant and susceptible to electoral manipulation and vote-buying. Worse still, these anti-government protesters accuse pro-Thaksin voters of disloyalty to the Thai nation and the monarchy. On Jan. 26, I heard one rally speaker declare that those who had taken part in advance voting did not really love Thailand, and were probably in fact Cambodians casting fake ballots.

How did Thailand reach this sorry state of affairs? Pro-Thaksin parties have won six successive general elections since 2001, while the opposition Democrats have failed to win a convincing election victory in almost 30 years. The conservative establishment, comprising the Democrats, the military, the network monarchy, and the judiciary, have made numerous failed attempts to drive a stake through the heart of this controversial politician: a military coup, election annulment, party dissolution (twice), and criminal conviction on corruption-related charges. Because he faces a two-year jail term, Thaksin has not set foot in Thailand for nearly six years, yet he remains the single most important non-royal Thai by far. If you just listen to the vitriolic, nauseating rhetoric at the nightly anti-government rallies at multiple locations around Bangkok, you would think Thaksin and his sister were the country's biggest political problems. In fact, Thailand faces two huge parallel challenges, neither of which is of Thaksin's making:

The first challenge is national anxiety about the country's future. Rama 9, King Bhumibol, the world's longest serving monarch, is now 86 years old. Who will succeed him, and what will happen as a result, is the focus of endless gossip among Thais. A lot of the protestors' anti-Thaksin sentiment reflects their view that the influential former premier must not have any hand in managing the delicate succession process.

The second challenge, seen in attempts to disrupt voting in Bangkok and elsewhere, concerns the logic of electoral politics. Now that voters in the north and northeast have been mobilized to vote as a bloc, the Bangkok middle classes and their southern allies face the real prospect that they will never again choose a government to their liking. Thailand has moved into a phase of majoritarianism, in which pro-Thaksin governments will be able to run the country with virtual impunity for the foreseeable future.  Affluent Bangkokians have finally grasped the logic of electoral democracy: they are permanently outnumbered by the rural masses.

The PDRC is right about one thing: reform is urgently needed in Thailand to reduce political partisanship and break the constant cycle of mass protests. But any reform process that moves away from popular voting -- towards some Hong Kong-style electoral system based on occupational groups, for example, as is apparently implied by the PDRC's loose talk of a "people's assembly" -- will only exacerbate the country's class tensions. Reform means dismantling the informal caste system, reducing psychological dependence on the monarchy, and growing an appreciation for the capacity of the rural population to contribute to their democracy. The latest general election, though a partial boost for the Yingluck administration, has also failed to deflate the protests. Thailand already has liberty in abundance, and a fair bit of fraternity. Creating more equality is the next step.

Rufus Cox/Getty Images

Wake up Thailand ตอนที่1 20-2-57

http://www.youtube.com/watch?v=_CdLUpuI6t0

Published on Feb 19, 2014

Wake up Thailand ตอนที่1 20-2-57" "



Published on Feb 19, 2014

ขบวนชาวนา 20 กพ. 57




ข้อสังเกตต่อ "ม็อบชาวนา" (1) มากันแบบ "อลังการงานสร้าง" มีแกนนำเป็นสส. (ชาดา ไทยเศรษฐ์) ที่มีลูกขับรถปาดหน้าคนอื่นแล้วยิงกันตาย คนที่ทำงานกับม็อบคนจน คนชายขอบ เขาไม่ถูกต้มง่าย ๆ หรอกครับ ไม่ได้ดูถูกชาวนา แต่มันไม่อลังการแบบนี้

และ (2) รถไถ Kubota ใหม่ ๆ ทั้งนั้น ข่าวว่าได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากสยามคูโบต้า แล้วใครถือหุ้นใหญ่สยามคูโบต้า (โปรดดูhttp://www.siamkubota.co.th/about) แล้วใครถือหุ้นใหญ่ของบริษัทที่ถือหุ้นใหญ่ในสยามคูโบต้า? กรุณาอย่างง และหาข้อมูลกันเอาเองนะครับจะได้รู้ว่า powerful backing ที่โจนาทาน เฮดพูดถึงอาจหมายถึงใคร?


"นพดล" กางเงื่อนไข เพื่อไทย-ทักษิณ ปิดตายนายกฯคนกลาง ห้ามฉีกรัฐธรรมนูญ


ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

สัมภาษณ์พิเศษ

ในวังวนการเมืองที่ยังไม่พบทางออก กลับมีผู้เสนอผ่าทางตัน เปิดโต๊ะเจรจาระหว่างรัฐบาลพรรคเพื่อไทย กับคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่ สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) 

ความเป็นไปได้ โอกาสใกล้เคียงที่สุด มาจากกลุ่มคน "โลกสวย" ของทั้ง 2 ฝ่าย เปิดวงเจรจาวงลับ ต่อสายถึงระดับแกนนำของรัฐบาลและ กปปส.มาเจรจาหย่าศึก ทั้งนี้ เกิดขึ้นพร้อม ๆ การเปิดตัวของคนเบื้องหลังพลิกมาแสดงบทเบื้องหน้า ของคนหลายคนที่ยอมเป็นคนกลางเจรจา จนถูกตีความว่าใฝ่ฝันนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีคนกลางในอนาคต

"ประชาชาติธุรกิจ" สนทนากับ "นพดล ปัทมะ" ทนายความส่วนตัวของ"พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" และกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย ถึงเงื่อนไข + ข้อจำกัดฝ่ายเพื่อไทย-รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร บนโต๊ะเจรจารัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีข้อจำกัดอย่างไร- "พ.ต.ท.ทักษิณ" ยังหวังอะไร แม้ "นพดล"ตอบแทนไม่ได้ทั้งหมด แต่เขาเดาได้

วันนี้คิดว่าพรรคเพื่อไทยเดินมาถึงทางตันบนกระดานการเมืองหรือยัง หรือยังมีทางออกช่องไหนอีก

พวก เราไม่ได้อยู่ทางตัน คิดว่าเรายังสามารถไปได้อยู่ ถ้าเราเป็นชาวพุทธก็จะรู้ว่าชีวิตมันไม่เที่ยงแท้ จริงไหม มันมีวันหัวเราะ วันร้องไห้ วันฝนตก วันแดดออก เพราะฉะนั้นเราต้องเผชิญมันไป แก้ไขปัญหาไป รับสิ่งที่เราทำ เพราะเราไปเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมซึ่งสังคมไม่ตอบรับ และเป็นประเด็นที่ทำให้มีการคัดค้านรัฐบาลค่อนข้างมาก ดังนั้นเราต้องชี้แจงให้สังคมรับทราบและฝ่าฟันไปให้ได้ รักษาระบอบประชาธิปไตย รักษากติกาไม่ให้ฉีกรัฐธรรมนูญ

เราไม่ได้สนใจ ว่าจะแพ้หรือชนะเลือกตั้งคราวหน้า แต่ระบอบมันต้องอยู่ ทำไมฟุตบอลพรีเมียร์ลีกหรือเวิลด์คัพมีคนดู 5,000 ล้านคน เพราะกติกามันชัดเจน กรรมการชัดเจน จึงได้รับความนิยม เพราะฉะนั้นเราต้องเดินหน้าไป ฝ่าฟันไปให้ได้

สิ่งกีดขวางเฉพาะหน้าที่เราต้องฝ่าไปให้ได้คืออะไร

จริง ๆ ไม่ใช่งานของพรรคเพื่อไทย แต่เป็นงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คือ การเลือกตั้งควรทำให้สมบูรณ์ เพราะทันทีที่มีรัฐบาลใหม่ รัฐบาลใหม่ก็จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เบิกเงินงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ แก้ไขปัญหาจำนำข้าว และถ้าพรรคเพื่อไทยมีโอกาสตั้งรัฐบาล ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างหนึ่งคือช่วยชาวนา เอาเงินมาจ่ายชาวนา ซึ่งคิดว่าอีกไม่เกิน 1 เดือนจะหาแหล่งเงินกู้ช่วยชาวนาได้

การเปิดโต๊ะเจรจาระหว่าง กปปส. รัฐบาล และคุณทักษิณ ถือว่าเป็นทางออกที่ดี

ผม ว่าทุกอย่างทางการเมืองมันก็เป็นไปได้ทั้งนั้น แต่ ณ นาทีนี้ยังไม่เห็นมีใครเป็นคนกลางในการเจรจา แต่ขนาดผู้ก่อความไม่สงบในภาคใต้เรายังไปคุยกับเขาได้เลย นี่คนไทยด้วยกันก็น่าจะคุยกันได้

การคุยกันผมคิดว่าเป็นการคุยกันบน พื้นฐานที่ว่าประเทศไทยต้องมีหลักการมีกติกา ไม่ใช่คุยกันเสร็จแล้วบอกว่าต้องมีสภาประชาชน แล้วสภาประชาชนมาจากคุณสุเทพ (เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.) เป็นคนเลือกมันก็ไปไม่ได้

ข้อเสนอเบื้องต้นของพรรคเพื่อไทยบนโต๊ะเจรจาคืออะไร

1.รัฐ ธรรมนูญต้องไม่ถูกฉีก ควรต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น 2.เคารพผลการเลือกตั้ง การตัดสินใจของประชาชน 3.องค์กรอิสระทั้งหลายควรตัดสินบนตัวบทกฎหมาย ไม่มีสองมาตรฐาน 4.ผลักดันการปฏิรูปประเทศร่วมกัน เช่น การกระจายอำนาจ กติกาการเข้าสู่การเป็นนักการเมือง แก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น เศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเรื่องระยะยาว

ทั้งหมดเป็นข้อเสนอที่เคยถูก กปปส.ปฏิเสธไปแล้ว

นั่น น่ะสิ มันก็ยากไง พูดคุยกันลำบาก เราถึงไม่ยอมให้มีสภาประชาชนตามที่คุณสุเทพขอไง มันถึงพูดคุยกันไม่ได้ เพราะคุณสุเทพจะให้นายกฯลาออก ซึ่งฉีกรัฐธรรมนูญ จะต้องไม่มีการฉีกรัฐธรรมนูญเป็นเงื่อนไขแรก ไม่เช่นนั้นฉีกรัฐธรรมนูญก็ไม่รู้คุยกันยังไง

ที่ยังไม่เห็นใครเป็นคนกลาง เพราะยังไม่เจอคนกลางที่มีคุณสมบัติพอ

หมาย ถึงยังไม่มีใครเสนอตัว และอาจเป็นไปได้ว่าสถานการณ์ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยังคิดว่าจะชนะอยู่ แต่ไม่ใช่หมายความว่าฝ่ายรัฐบาลคิดว่าตัวเองจะชนะไม่เจรจานะเพราะทุกคนนายกฯ พร้อมพูดคุย พรรคเพื่อไทยและรัฐบาลพร้อมพูดคุยกับทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อหาทางออกกับประเทศ

แต่ คุณสุเทพบอกไม่คุย ยกเว้นนายกฯลาออก เพื่อมีนายกฯคนกลาง เพราะฉะนั้นมันก็ไม่รู้จะพูดยังไง คล้าย ๆ กับกำหนดเงื่อนไขล่วงหน้าในการพูดคุย มันก็ไม่ต้องพูดคุยกัน เพราะเมื่อกำหนดแบบนี้มันก็ไม่มีประโยชน์ที่จะพูดคุย การจะมาพูดคุยกันก็ไม่ควรกำหนดเงื่อนไขไว้ล่วงหน้า มามือเปล่า ๆ มาใจว่าง ๆ มาคุยกัน ถ้าเอาเงื่อนไขมาพูดคุยกันมันก็ไม่จบ อย่างถอยคนละก้าวโอเค แต่มันก้าวไหน รัฐบาลจะถอยในก้าวอะไร แล้ว กปปส.จะถอยก้าวไหน ยังไม่รู้ถอยในประเด็นไหน เราต้องลงในรายละเอียด พูดหลักการกว้าง ๆ ไม่ได้ 

ถ้ารัฐบาลจะถอย จะถอยในเงื่อนไขอะไรได้บ้าง

ผม ก็ไม่รู้ เพราะผมยังไม่รู้เลยว่าเขาต้องการให้รัฐบาลทำอะไร สภาประชาชน สภาปฏิรูปเราก็ยินดีให้มี แต่บทบาทมันจะทำยังไง เช่น การคัดคนเหมือนสภาสนามม้าหรือไม่ ภารกิจจะทำยังไง รัฐบาลรักษาการปัจจุบันมันไม่มีกฎหมายให้ลาออกได้ จริง ๆ ผมไม่สามารถพูดแทนทั้งพรรคและรัฐบาลได้ แต่เดาว่าถ้าเขาให้มีสภาปฏิรูปเรายินดีสนับสนุน ต้องดูที่มา มีภารกิจทำอะไรบ้าง แต่ถ้าเอาสุเทพโมเดลคงรับไม่ได้ ที่ให้คุณสุเทพเป็นคนแต่งตั้ง และนายกฯคนกลางเราก็คงรับไม่ได้

แต่การที่มีคนอาสาตัวมาเป็นคนกลางเจรจาถือว่ารับได้

คุยได้นะ คุยกันได้ แต่ 1.ต้องมีความเป็นกลางในระดับหนึ่ง คนกลางร้อยเปอร์เซ็นต์มันไม่มีอยู่แล้วนะสังคมไทย มันต้องเลือกข้างหนึ่งข้างใดอยู่แล้ว แต่มันมีความเป็นกลางทางการเมืองในระดับที่ทำงานได้ทั้งสองฝ่าย มีใจเป็นธรรม และได้รับความเชื่อถือทั้งสองฝ่าย และมีแนวโน้มพูดคุยนำไปสู่ข้อยุติที่นำไปปฏิบัติได้ ไม่ใช่พูดคุยกันไปฆ่าเวลา ไม่ควรเป็นการแสดง

คนที่เปิดหน้ามาอย่างอาจารย์วิษณุ เครืองาม และคุณอานันท์ ปันยารชุน 2 คนนี้พอรับได้ไหม

อาจารย์วิษณุเคยทำงานทั้งสองฝ่าย ผมว่าท่านก็...พอได้นะ ถ้าท่านจะพูดคุย แต่คุณอานันท์ผมไม่แน่ใจ

2 คนนี้พูดตรงกันว่ากฎหมายแก้ได้ เพราะคนเขียน จึงไม่ควรยึดกฎหมายมากเกินไป

ผม ว่าต้องพูดให้ชัดเจนนะ วันนี้บอกว่าข่มขืนกันเสรีนะ ข้อกฎหมายไม่ต้องเป๊ะ ใครอยากได้ทองโอโรร่าไปหยิบได้ตามอัธยาศัยมันก็คงไม่ใช่ มันต้องมาดูว่าข้อกฎหมายเรื่องอะไร ถ้าเราเขียนกฎหมายเพื่อไปละเมิดมันแล้วหลักนิติธรรมมันอยู่ตรงไหน

แล้ว สิ่งที่ฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณโดนกระทำย่ำยีโดยข้อกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมหลายเรื่อง อันนี้ใช้กฎหมายทำลายฝ่ายตรงข้ามทั้งสิ้น และยึดอำนาจเพื่อฉีกรัฐธรรมนูญเก่า ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และมีที่มาไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะฉะนั้นผมยังไม่ค่อยเข้าใจว่าท่านหมายความว่าอย่างไรที่กฎหมายยกเว้นได้

เช่น ให้นายกฯลาออก มีนายกฯคนกลางขึ้นมารักษาการแทน

ที่ มีนายกฯคนกลางเพื่ออะไร ต้องถามก่อน เพื่อไปเขียนกติกาเลือกตั้งให้มันเป็นธรรมเพื่อไม่ให้นักการเมืองที่ไม่ดี เข้าสู่ระบบจริงหรือเปล่า หรือเพื่อความเท่ให้นายกฯมาจากชาติเป็นกลางเหมือนสวิตเซอร์แลนด์ ถ้าเขาต้องการไปปฏิรูปกฎกติกาในการเข้าสู่อำนาจ ฝ่ายเราไม่เคยเขียนกติกาเลย ปี 2550 ฝ่ายยึดอำนาจเขียน กฎหมายเลือกตั้ง ทุกอย่างเขาก็เป็นคนเขียน คนที่เขียนรัฐธรรมนูญก็คือ อาจารย์สมคิด (เลิศไพฑูรย์) อาจารย์สุรพล (นิติไกรพจน์) เราไม่ได้เป็นคนเขียนเลย เพราะฉะนั้นคนเหล่านี้ปฏิรูปยังไม่พออีกเหรอ เป็นคนเขียนกติกา แล้วมาเป็นศาลรัฐธรรมนูญเสียเอง เช่น อาจารย์จรัญ ภักดีธนากุล แล้วก็มาเป็นผู้ชี้ขาดรัฐธรรมนูญด้วย ท่านเป็นคนปฏิรูปมาหมดแล้วจะมาปฏิรูปกลไกอะไรอีก แล้วคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็เป็นองค์กรที่เป็นกลาง ให้ใบแดงพรรคประชาธิปัตย์ ให้ใบแดงพรรคเพื่อไทย เราก็มีกลไกกฎหมายที่ค่อนข้างครบถ้วนแล้ว

ตอนนี้เราเหมือนกับวิ่ง อยู่บนถนน แต่อยู่ ๆ บอกให้เราไปวิ่งลงคลอง วิ่งเหยียบหนาม เพื่ออะไรก็ไม่รู้ ทำไมคุณไม่คำนึงถึงการเลือกตั้งที่ให้ประชาชนส่วนใหญ่พิจารณา ถามว่า กปปส.ทั้งหลายเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศไหม คนตรัง คนสงขลา ฟังคนขอนแก่น ฟังคนร้อยเอ็ดบ้างหรือเปล่า ต้องฟังความเห็นทั้งประเทศ เพราะประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย มันรวมทุกฝ่ายไม่เฉพาะคนใต้หรือคน กทม.เท่านั้น มันมีคนเหนือ อีสาน กลาง ทำไมเราไม่ยุติข้อขัดแย้ง ด้วยการเลือกตั้งซึ่งมีวิธีการนับได้เชิงวิทยาศาสตร์ว่าเสียงข้างมากเป็น อย่างไร เราสามารถกำหนดได้ ทุกประเทศเขาใช้การเลือกตั้งยุติข้อขัดแย้งหมด

คุณทักษิณเองพร้อมเปิดโต๊ะเจรจากับฝ่ายตรงข้ามหรือไม่

เอา งี้ดีกว่า การพูดคุยกันในประเทศไทยเป็นเรื่องดีทั้งนั้น เพราะท่านพูดเสมอว่า แม้สงครามโลกครั้งที่สองตายไป 25 ล้านคน ก็ยังมาจบที่โต๊ะเจรจา ประเทศไทย คนไทยทำไมจะพูดคุยกันไม่ได้ การพูดคุยเพื่อไม่ให้สูญเสียเฉพาะหน้าคือทางเศรษฐกิจที่นักท่องเที่ยวน้อยลง การลงทุนน้อยลง ฝรั่งหนีเอาเงินกลับประเทศมันก็จะช่วยได้ไม่รู้จะจบได้ยังไงจริงไหม ไม่งั้นต้องรบกัน มีสงครามกลางเมือง คนไทยต้องตาย มันไม่ควรเกิดขึ้น

เคยตอบแทนคุณทักษิณว่า ถ้ากลับมาเข้าคลองเปรมจะมาทำไม ยังยืนยันต้องเคลียร์คดีก่อนถึงจะกลับได้

มัน ก็..ค่อนข้างชัดเจน ประเด็นท่านคิดว่าคดีความของท่านมันเกิดขึ้นหลังการรัฐประหาร มันเหมือนเป็นผลไม้พิษที่เกิดจากรัฐประหาร เมื่อรัฐประหารไปตั้งคนเป็นคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสีย หายแก่รัฐ (คตส.) เช่น คุณแก้วสรร (อติโพธิ) กล้านรงค์ (จันทิก) ซึ่งเหมือนคนที่เป็นปฏิปักษ์ทางการเมือง มันก็ไม่เป็นธรรมสำหรับท่าน

และ นอกจากนั้น คดีที่ดินรัชดาที่ตัดสินลงโทษท่าน ผู้พิพากษา 9 คน 5 คนเห็นว่าคุณทักษิณผิด 4 คนเห็นว่าคุณทักษิณบริสุทธิ์ มัน 5 ต่อ 4 ใกล้เคียงกันมาก และท่านทักษิณก็ไม่มีการทุจริต เพราะเป็นการประมูลซื้อขายกันซึ่ง ๆ หน้าตรงไปตรงมา ท่านทักษิณไม่ได้ใช้หน้าที่โดยมิชอบ ไม่ได้ใช้ตำแหน่งหน้าที่นายกฯไปช่วยภรรยาให้ได้ที่ดินแปลงนี้ ถ้าแฟร์ ๆ แล้วเจตนาของครอบครัวนี้ที่ต้องการช่วยให้รัฐมีรายได้จากการขายทรัพย์สิน เน่า แล้วยังถูกลงโทษ 2 ปีอีก แล้วถ้าเทียบกับบางคดีที่คนไปบุกรุก อุทยานแห่งชาติเพื่อไปสร้างบ้านแล้วบอกขาดเจตนา คิดว่าสองมาตรฐานไหมล่ะ อยากให้สังคมให้ความเป็นธรรมกับคุณทักษิณ มีเมตตาธรรมอย่างเท่าเทียมด้วย

แฟร์ ๆ ให้กลับมาสู้คดีใหม่

ท่านก็ยินดีถ้าให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมปกติ ไม่ใช่มีวิธีแบบด่วน

แต่ล้มเหลวในการเดินหน้า พ.ร.บ.นิรโทษกรรม

อะไร ที่จะทำให้คุณทักษิณรอดไปง่าย ๆฝ่ายตรงข้ามก็ไม่ยอม ก็อย่างที่เห็น กปปส.จำนวนลดลง แต่เขาก็ทำเสมือนเป็นคู่เจรจารัฐบาลที่มาจากคนสิบ ๆ ล้านคน เสื้อแดงก็ไม่อยากออกมาเพราะเดี๋ยวไปปะทะกัน มือที่สามฆ่าอีก ถ้าปะทะกันเกิดจลาจลก็เป็นเงื่อนไขให้ทหารออกมาอีก เราระมัดระวัง ยุคนี้เป็นยุคที่คนถูกกฎหมายไปเดินลงถนน เสี่ยงต่อรถชนตาย ส่วนนักเลงกลับเดินบนฟุตปาท


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น