วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557

ศาลฎีกา ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ และกระทรวงไอซีที เรื่อง ขอให้ชำระเงินชดเชยค่าก่อสร้างเพิ่มเติมรวม 1,034 ล้านบาทเศษ เมื่อวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมานี้

คนดีฉาวอีก!ตามทวงหนี้ศาลพันล้าน ตลก.ส่อเบี้ยว


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
30 เมษายน 2557

บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) ได้จัดประชุมสามัญประจำปีขึ้นเมื่อวานนี้(29เม.ย.) และมีเอกสารฉบับหนึ่ง"หลุด"ออกมาจากที่ประชุม โดยเป็นเอกสารแจ้งหนังสือถึง 4 หน่วยงานคือ ศาลฎีกา ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ และกระทรวงไอซีที เรื่อง ขอให้ชำระเงินชดเชยค่าก่อสร้างเพิ่มเติมรวม 1,034 ล้านบาทเศษ เมื่อวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมานี้

โดยศาลฎีกาให้จ่าย641 ล้านบาทเศษ
ศาลปกครอง 352 ล้านบาทเศษ
ศาลรัฐธรรมนูญ 25 ล้านบาทเศษ
กระทรวงไอซีที 15 ล้านบาทเศษ

ทั้งนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีหนี้ค่าก่อสร้างทั้งหมด 54.8 ล้านบาทเศษ และ ธพส.ได้มีการประสานงานเรื่องเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการตกแต่งเพิ่มเติมตามความต้องการของศาลรัฐธรรมนูญ โดยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญให้ ธพส.เรียกเก็บเงินเฉพาะค่างานก่อสร้างที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบเรียบร้อยแล้วจำนวนเงิน 22.8 ล้านบาทเศษ

ส่วนอีกราว 30 ล้านบาทนั้นยังตรวจสอบไม่เรียบร้อย

เจ้าหน้าที่ของธพส.เปิดเผยว่า กรณีศาลรัฐธรรมนูญนั้น ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ตกแต่งห้องทำงานเพิ่มเติมในงบประมาณ 50 ล้านบาทเศษ

ทั้งนี้เอกสารรายงานประจำปีของ ธพส.ให้รายละเอียดว่า ทั้ง4หน่วยงานค้างจ่ายมาต่อเนื่อง และได้ลงบันทึกค้างรับไว้ทั้งงบปี 2555 และ 2556 ล่าสุดจึงได้บวกดอกเบี้ยเข้าไปด้วย และมีความจำเป็นต้องส่งหนังสือทวงหนี้ก่อนจะมีการประชุมสามัญประจำปีของธพส.


เกี่ยวกับ ธพส.

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2547 อนุมัติให้กระทรวงการคลัง (โดยกรมธนารักษ์) ดำเนินการโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้กระทรวงการคลังได้จัดตั้งบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์จำกัด (ธพส.) ซึ่งมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวิธีการงบประมาณ พ . ศ . 2502 โดยกระทรวงการคลังถือหุ้น ร้อยละ 99.99 (เก้าสิบเก้าจุดเก้าสิบเก้า) ของทุนจดทะเบียนของ ธพส . และให้กรมธนารักษ์เป็นหน่วยงานกำกับดูแล ธพส . ซึ่ง ธพส . ทำหน้าที่ลงทุนก่อสร้างอาคาร และบริหารโครงการศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร และบริหารจัดการทรัพย์สินอื่นของรัฐตามนโยบายรัฐบาล

วันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2557

รัฐธรรมนูญถาวรฉบับวันที่10 ธันวาคม 2475 ลบข้อความที่ว่า อำนาจสูงสุดนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย แล้วใช้ข้อความใหม่ว่า อำนาจอธิปไตยย่อมมาจากปวงชนชาวสยาม พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้น...

 

วันเสาร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2557

เจ้าของคอกม้า ตอน ขอฝันใฝ่ในฝันอันแสนชุ่ย ( Stubborn Monarchy )


ไฟล์เสียง :  http://www.4shared.com/mp3/D6CcISfcba/Stubborn_Monarchy__.html
http://www.mediafire.com/listen/na54p6c233chgff/Stubborn+Monarchy++.mp3

https://www.youtube.com/watch?v=-CY5gkCXdHs&feature=youtu.be


เจ้าของคอกม้า 
ตอน ขอฝันใฝ่ในฝันอันแสนชุ่ย 

( Stubborn Monarchy )


รัชกาลที่ นักต่อต้านประชาธิปไตยตัวสำคัญ


ฟรานซิส บี แซร์ Francis B Sayre 
รัชกาลที่ ได้มีบันทึกหรือพระราชหัตถเลขาถึงนายฟรานซิสบีแซร์ ( Francis B. Sayre )ที่ปรึกษาชาวอเมริกันเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม2469 ว่า 

Is this country ready to have  some sort of representative government ?....
My personally opinion is an emphatic NO.


แปลเป็นภาษาไทยว่า...ประเทศนี้พร้อมหรือยังที่จะมีการปกครองแบบมีผู้แทน.. ตามความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าขอย้ำว่าไม่...

สี่ทหารเสือที่เข้ายึดอำนาจการปกครอง 24 มิย.2475
ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจที่รัชกาลที่ 
ไม่พอใจเป็นอย่างมากต่อการปฏิวัติของคณะราษฎรซึ่งทำให้อำนาจหลุดจากมือของพระองค์แทนที่จะรวมศูนย์กลับมาตามพระราชประสงค์ พระองค์ได้เคยให้ความหมายของการปฏิวัติว่าหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสมัยรัชกาลที่ ที่รวบอำนาจจากขุนนางและจัดตั้งระบบราชการเพื่อระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มั่นคง โดยพระองค์ได้เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่หลวง หรือพลิกแผ่นดินที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Revolution  ที่แปลว่าการปฏิวัติ

ดังนั้นการปฏิวัติของรัชกาลที่ 
7 ที่ทรงเตรียมไว้ก่อนการปฏิวัติของคณะราษฎรก็คือการรวมศูนย์อำนาจจากขุนนางให้กลับมาอยู่ที่พระองค์อีกครั้งด้วยการใช้กฎหมาย แต่พวกนิยมกษัตริย์มักอ้างว่าคณะราษฎรเป็นพวกชิงสุกก่อนห่ามเพราะรัชกาลที่ 7  กำลังจะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ประชาชนอยู่แล้ว  แต่ที่จริงมันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งได้เตรียมไว้ ฉบับโดยในปี 2469ได้โปรดเกล้าฯให้พระยากัลยาณไมตรีหรือนายฟรานซิส บีแซร์ ( Francis B. Sayre ) ร่างกฎหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปการปกครอง โดยให้มีอภิรัฐมนตรีสภาทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่กษัตริย์ ให้มีนายกรัฐมนตรีที่กษัตริย์สามารถแต่งตั้งและถอดถอนได้ตลอดเวลา ไม่มีสภานิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน มีแต่เพียงองคมนตรีที่มาจากการแต่งตั้งของกษัตริย์ 



Raymond Bartlett Stevens
ส่วนกฎหมายอีกฉบับหนึ่งนั้นได้โปรดเกล้าฯให้นายเรย์มอนด์ บี. สตีเวนส์ ( Raymond B. Stevens ) ที่ปรึกษากระทรวงต่างประเทศชาวอเมริกันและพระยาศรีวิสารวาจาปลัดทูลฉลองหรือปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ร่างขึ้นในปี 2474 เป็นเค้าโครงร่างการเปลี่ยนรูปแบบรัฐบาลให้กษัตริย์มีอำนาจสูงสุดในการแต่งตั้งและถอดถอนฝ่ายบริหาร สภานิติบัญญัติและสภาอภิรัฐมนตรี หลักฐานเหล่านี้เป็นเครื่องยืนยันว่ารัชกาลที่ ได้เตรียมพระราชทานกฎหมายเกี่ยวกับการปกครองแก่ราษฎรจริง แต่เป็นกฎหมายในระบอบสมบูรณา ญาสิทธิราชย์อันมีรัฐธรรมนูญรับรองความชอบธรรมของพระราชอำนาจ แต่พวกนิยมระบอบกษัตริย์กลับบิดเบือนประวัติศาสตร์ด้วยการทำให้รัชกาลที่ 7 กษัตริย์ผู้ต่อต้านการปฏิวัติมากที่สุดพระองค์หนึ่งกลายเป็นบิดาประชาธิปไตยไทย ผู้มีพระราชประสงค์มุ่งสร้างประชาธิปไตยแท้จริงมากยิ่งกว่าการปฏิวัติของคณะราษฎรเสียอีก  
โดยเนื้อแท้แล้ว รัฐธรรมนูญเป็นข้อเสนอหรือผลรวมของผลประโยชน์ทางการเมืองที่ถูกผลักดันออกมาจากองค์กร กลุ่มการเมืองหรือแม้แต่ปัจเจกบุคคล รัฐธรรมนูญและกฎหมายจึงมิใช่สิ่งที่ปลอดจากการเมืองหรือมีความเป็นกลาง แต่มันขึ้นอยู่กับการเมืองและการต่อสู้ทางสังคม



พระราชพิธีสถลมารคของรัชกาลที่ 6
ในระบอบสมบูรณา ญาสิทธิราชย์ก็จะอ้างว่ากษัตริย์เป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความชอบธรรมที่สุด เพราะมีความเป็นมายาวนานและเป็นแหล่งสะสมความรู้ทางวัฒนธรรม ในสมัยโบราณก็อ้างว่าเป็นสมมติเทพ พอต่อมาก็อ้างว่าได้รับความเห็นชอบโดยพร้อมใจกันจากปวงชนชาวไทยที่เรียกว่าอเนกชนนิกรสโมสรสมมติเป็นธรรมราชาหรือกษัตริย์ผู้ทรงธรรม ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475ราษฎรทั้งหลายไม่มีส่วนในการปกครองประเทศเลย เพราะอำนาจสูงสุดเป็นของกษัตริย์แต่เพียงคนเดียวเท่านั้น จึงต้องมีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงเพื่อจำกัดอำนาจของกษัตริย์ซึ่งมีมากมายจนสร้างความเสียหายแก่ราษฎร


จนเมื่อมีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองโดยคณะราษฎรเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 จึงได้มีรัฐธรรมนูญฉบับแรกสุดของประเทศที่ประกาศใช้เมื่อ 27 มิถุนายน 2475โดยมีบทบัญญัติที่สำคัญและชัดเจนหลายมาตรา คือ
มาตรา 
อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลาย
มาตร 
 4 ผู้เป็นกษัตริย์ของประเทศคือพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว การสืบทอดราชสมบัติให้เป็นไปตามกฎมณเทียรบาล 2467และด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร 
มาตรา 
ถ้ากษัตริย์มีเหตุจำเป็นชั่วคราวที่จะทำหน้าที่ไม่ได้ หรือไม่อยู่ในพระนคร ให้คณะกรรมการราษฎรเป็นผู้ใช้สิทธิ์แทน
มาตรา 
กษัตริย์จะถูกฟ้องร้องคดีอาญายังโรงศาลไม่ได้ เป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรจะวินิจฉัย

มาตรา การกระทำใดๆของกษัตริย์ต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดลงนามด้วยโดยได้รับความยินยอมของคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ

ขบวนรถแจกใบปลิวประกาศคณะราษฎร
โดยสรุป คือ รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยได้ประกาศว่า นับแต่นี้ไปอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนแล้ว ดังนั้นสถาบันกษัตริย์จะดำเนินพฤติกรรมทางการเมืองโดยพลการไม่ได้ หากสถาบันกษัตริย์ทำหน้าที่ไม่ได้ คณะกรรมการราษฎรหรือรัฐบาลจะเป็นผู้ใช้สิทธิ์นั้นแทน และหากกษัตริย์มีพฤติกรรมกระทำผิดย่อมต้องถูกสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัย
คณะราษฎรได้มุ่งสถาปนารัฐชาติที่หมายถึงประชาชนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันประกอบกันขึ้นมาเป็นรัฐ และให้สถาบันกษัตริย์มีอำนาจที่จำกัดให้เป็นเพียงประมุขของประเทศในเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น

รัชกาลที่ 7 เสด็จจากวังไกลกังวลหลังถูกปฏิวัติ
รัชกาลที่ 
7ได้บันทึกไว้ว่าพระองค์ไม่ได้เห็นด้วยกับธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามฉบับแรกเลย แต่เป็นเรื่องฉุกเฉินที่พระองค์จำเป็นต้องยอมรับไปก่อนโดยที่พระองค์ไม่พอใจเป็นอย่างมากที่รัฐธรรมนูญของคณะราษฎรไม่ยกย่องพระเกียรติยศคือเรียกพระองค์สั้นๆว่ากษัตริย์ และบัญญัติให้สถาบันกษัตริย์มีสถานะเท่ากับสถาบันการเมืองอื่น ไม่ถวายอำนาจให้มากเท่าที่พระองค์ต้องการ
แต่รัชกาลที่ 
ไม่ยอมสูญเสียอำนาจโดยทรงเติมคำว่าชั่วคราวลงไป

รัชกาลที่ 7 พระราชทานรัฐธรรมนูญ 10 ธค. 2475
แล้วให้มีกรรมการผู้ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ซึ่งคณะกรรมการร่างเกือบทั้งหมดมาจากขุนนางในระบอบเก่า ได้รัฐธรรมนูญถาวรฉบับวันที่10 ธันวาคม2475 ลบข้อความที่ว่า อำนาจสูงสุดนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย แล้วใช้ข้อความใหม่ว่า อำนาจอธิปไตยย่อมมาจากปวงชนชาวสยาม พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้น... ใช้คำว่าพระมหากษัตริย์แทนคำว่ากษัตริย์ เปลี่ยนกรรมการราษฎรและประธานคณะกรรมการราษฎรเป็นรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี ให้พระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ยกเลิกอำนาจของสภาผู้แทนราษฎรในการพิจารณาคดีของกษัตริย์ มีการเพิ่มพระราชอำนาจและยกฐานะของสถาบันกษัตริย์ให้อยู่เหนือสถาบันการเมืองอื่น จึงเป็นรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นภายใต้อิทธิพลของกษัตริย์โดยคณะราษฎรต้องยอมตาม

ม.จ.จิรศักดิ์สุประภาต
รัชกาลที่ 7ได้มีจดหมายหรือพระราชหัตเลขาถึงหม่อมเจ้าจิรศักดิ์สุประภาตพระราชโอรสบุญธรรมเมื่อวันที่ มีนาคม 2476ระบายความรู้สึกของกษัตริย์เก่าในระบอบใหม่หลังการปฏิวัติ 2475 เป็นภาษาไทยปนอังกฤษมีใจความว่า.... พวกเขารักชาติ ก็หาอำนาจใส่ตัว หาเงินเข้ากระเป๋า ส่วนฉันนั้น ถ้ารักชาติ ต้องปล่อยอำนาจให้หมด ต้องยอมเป็นทาส ต้องยอมลดรายได้ มีเงินเท่าไรก็ต้องให้เขาหมด... ฉันฉุนเหลือเกิน อยากเล่นบ้าอะไรต่างๆจัง  แต่ยังกลัวนิดหน่อยว่าพวกเจ้าจะถูกเชือดคอหมดเท่านั้นเอง แต่การที่คนจะทนเสียสละอะไรต่างๆนั้นมันมีขีดจำกัด ถ้าข่มขี่กันนัก ก็เห็นจะต้องเล่นบ้าเอาจริงสักที เราอยู่ที่วังไกลกังวลหัวหินนี่ ก็หาทางคิดแผนการต่างๆจนหัวยุ่งเสมอ แต่จะไม่เล่าแผนการเหล่านี้เพราะกลัวมีคนมาแอบอ่านจดหมาย แต่เราจะพยายามจะโต้ตอบให้สาสม ก่อนยอมให้ถูกจับง่ายๆ


ความดื้อด้านดิ้นรนของรัชกาลที่ 
7


สภาวะหวาดระแวงระหว่างรัชกาลที่ 7 กับคณะราษฎรได้ดำรงอยู่ตลอดมา มีการจัดตั้งสมาคมการเมืองของคณะราษฎรโดยเปิดรับสมาชิกและคัดเลือกคนส่วนหนึ่งทำหน้าที่เป็นกองนักสืบคอยสอดส่องความเคลื่อนไหวของคนสำคัญในระบอบเก่า ซึ่งต่อมาได้ยกเลิกไปเมื่อมีการปรับปรุงกรมตำรวจโดยมีกองสันติบาลทำหน้าที่สืบข่าวการเมืองแทน 

เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (มรว.เย็น อิศรเสนา)
เจ้าของบ้านพระอาทิตย์ที่ขายให้นายสนธิ ลิ้มทองกุล
ขณะที่ทางด้านรัชกาลที่ก็ดำเนินการจัดตั้งหน่วยสายลับตามพระราชประสงค์เช่นกัน สายลับส่วนพระองค์คนหนึ่งภายใต้การดูแลของเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ ผู้สำเร็จราชการพระราชวัง ในนาม รหัส พ. 27 หรือพโยม โรจนวิภาตเป็นผู้มีความใกล้ชิดกับวงการหนังสือพิมพ์ เห็นว่าผู้ก่อการปฏิวัติ แม้จะไม่ถูกตราหน้าว่าเป็นกบฏเนื่องจากทำการสำเร็จ แต่ก็ยังถือว่าเป็นโจรปล้นราชบัลลังก์ 


ม.จ.นักขัตรมงคล กิติยากร
พวกเชื้อพระองค์ต่างก็แสดงความไม่พอใจคณะราษฎรว่าช่วงชิงทำการเปลี่ยนแปลงและโจมตีเจ้านายให้เสียหายม.จ.นักขัตรมงคลพ่อของมรว.สิริกิติ์ถึงกับพูดว่าวงศ์จักรีจะแก้แค้นคณะก่อการฯตัดหัวเอาเลือดล้างตีนวงศ์จักรี บรรดาเชื้อพระวงศ์และพวกนิยมกษัตริย์ยังได้เข้าไปแทรกซึมและจัดตั้งเครือข่ายนักหนังสือพิมพ์เพื่อใช้เป็นกระบอกเสียงต่อต้านการปฏิวัติ 2475
ตามมาด้วยการดิ้นรนต่อสู้ของพวกต่อต้านการเปลี่ยนแปลง หรือพวกปฏิปักษ์ปฏิวัติ ในปี 
2476 จากพระบรมราชวินิจฉัยคัดค้านเค้าโครงการณ์เศรษฐกิจของนายปรีดีที่ต้องการสร้างความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ
  

แผนเค้าโครงการเศรษฐกิจของนายปรีดี
จากการที่นายปรีดีผู้เป็นมันสมองของคณะผู้ก่อการปฏิวัติ 2475 ได้ย้ำเสมอว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็เพื่อจะทำการปฏิรูปเศรษฐกิจของชาติ นำความสุขสมบูรณ์มาสู่ราษฎรและประเทศ มิใช่ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรมอย่างที่เป็นอยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ 
นายปรีดีได้เสนอการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจที่มุ่งเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือครองที่ดินและกำหนดให้รัฐเข้าประกอบการทางเศรษฐกิจ โดยประชาชนมีฐานะเป็นข้าราชการและรัฐมีหน้าที่สร้างสวัสดิการให้แก่ประชาชนตามแนวทางสหกรณ์ครบรูป 

พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
( ก้อน หุตะสิงห์ )
ที่ประชุมคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็เห็นพ้องและสนับสนุนความคิดของนายปรีดี พระยามโนปกรณ์ประธานคณะกรรมการราษฎรได้มอบหมายให้นายปรีดีเป็นผู้เขียนเค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาตินำขึ้นถวายรัชกาลที่ ซึ่งพระองค์ก็ทรงเห็นชอบด้วย สมาชิกคณะราษฎรส่วนมากก็เห็นชอบด้วย แต่ก็มีผู้คัดค้านรุนแรงคือพระยาทรงสุรเดชและพวกทหารบางส่วน พระยามโนปกรณ์ได้กราบทูลชี้แจงแก่รัชกาลที่ จนพระองค์ทรงลังเล พอมีการพิมพ์เค้าโครงเศรษฐกิจแจกจ่าย พระยามโนปกรณ์ไม่เห็นด้วยโดยอ้างว่าได้ไปเข้าเฝ้ารัชกาลที่ มาแล้ว พระองค์ก็ไม่เห็นด้วย นายปรีดีได้นำเสนอคำชี้แจงเค้าโครงการณ์เศรษฐกิจต่อคณะรัฐมนตรีในวันที่ 9มีนาคม 2476 และชี้แจงต่อกรรมาธิการในวันที่ 12 มีนาคมโดยอธิบายว่าโครงการที่ตนเสนอนั้นไม่ใช่คอมมิวนิสม์ แต่ใช้หลักสังคมนิยมและทุนนิยมผสมผสานกัน

พ.อ.พระยาทรงสุรเดช หนึ่งสี่ทหารเสือ
เสียงส่วนใหญ่ก็สนับสนุน แต่พระยามโนปกรณ์และพระยาทรงสุรเดชคัดค้านตลอดการประชุม ต่อมาที่ประชุมผู้ก่อการมีมติสนับสนุน แต่พระยาทรงสุรเดชได้ประชุมนายทหารกล่าวหาว่านายปรีดีเป็นคอมมิวนิสต์ พระยามโนปกรณ์ก็ได้แพร่ข่าวไปในหมู่พ่อค้าและราษฎรว่าเค้าโครงการณ์ฯ ของนายปรีดีเป็นคอมมิวนิสม์ และคณะราษฎรจะนำโครงการคอมมิวนิสม์มาใช้ดำเนินการเศรษฐกิจของประเทศ พระยามโนปกรณ์ได้ส่งพระบรมราชวินิจฉัยให้นายปรีดีอ่านในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มีนาคม กล่าวหาว่าโครงการณ์เศรษฐกิจของนายปรีดีเหมือนกับโครงการของสตาลินแห่งรัสเซียทุกประการ เป็นแผนเศรษฐกิจของพวกคอมมิวนิสต์ ควรเลิกล้มความคิดเพราะจะนำความเดือดร้อนจนสร้างความหายนะแก่ประเทศชาติ นายปรีดีจึงขอลาออกจากรัฐมนตรีแต่พระยาพหลให้ระงับการลาออกไว้ก่อน โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ลงมติรับเอาแนวทางเศรษฐกิจของพระยามโนปกรณ์เป็นนโยบายของรัฐบาลแทน
  

อนุสาวรีย์กรรมกร-ชาวนา มอสโคว์
แต่ความขัดแย้งทางการเมืองก็รุนแรงขึ้นโดยพระยามโปกรณ์ได้ทำการยึดอำนาจโดยการงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ด้วยการประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาและตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ในวันที่ เมษายน2476 และได้รีบออก พรบ. ว่าด้วยคอมมิวนิสต์ 2476ในเช้าวันถัดมา พระยามโนปกรณ์ได้เขียนโคลงโจมตีนายปรีดีลงหนังสือพิมพ์ มีการเผยแพร่พระบรมราชวินิจฉัยสู่สาธารณะโดยรัชกาลที่ 7ทรงออกเงินทุนให้พิมพ์เผยแพร่โหมการโจมตีว่านายปรีดีเป็นคอมมิวนิสต์ ถึง 3000 ฉบับ  มีความยาว 50 หน้ากระดาษ แสดงว่ารัชกาลที่ ไม่ได้เขียนเองเพราะพระองค์เขียนบทความภาษาไทยยาวๆไม่ได้ เนื่องจากพระองค์ใช้ชีวิตที่เมืองนอกตั้งแต่เด็กนานเกือบสิบปี จึงทรงเขียนเรื่องขนาดยาวด้วยภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่การเผยแพร่คำชี้แจงเค้าโครงการณ์เศรษฐกิจฯของนายปรีดีออกแจกจ่ายแค่ในหมู่คณะรัฐมนตรี สมาชิกคณะราษฎรและอาจรวมถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น นายปรีดีจึงต้องรีบลี้ภัยออกนอกประเทศ 

สี่ปรมาจารย์นักลัทธิมาร์กซ
รัฐบาลพระยามโนปกรณ์ได้สั่งควบคุมการเสนอข่าวและความคิดเห็นเรื่องเค้าโครงการณ์เศรษฐกิจ โดยห้ามพิมพ์เอกสารซึ่งแสดงไปในทางการเมืองหรือนโยบายรัฐบาลหรือเหลื่อมไปในทางลัทธิคอม มิวนิสม์หากมีข้อสงสัยในเอกสารใดให้นำเสนอต่อทางการพิจารณาก่อน มิฉะนั้นอาจสั่งปิดโรงพิมพ์ทันที
วันรุ่งขึ้นหลังจากนายปรีดีออกนอกประเทศไปแล้ว พระยามโนปกรณ์ได้เรียกบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เข้าพบ โดยตำหนิหนังสือพิมพ์บางฉบับว่าพูดจาว่าร้ายตนเอง เสียดสีรัฐบาลและสนับสนุนนายปรีดี พร้อมทั้งประกาศห้ามสนับสนุนโครงการเศรษฐกิจอีก มิฉะนั้นจะจัดการอย่างเด็ดขาด 

พ.อ.พระยาพหลฯประกาศใชัรัฐธรรมนูญ
10 ธค. 2475 ณ ลานพระรูปทรงม้า
ต่อมารัฐบาลได้สั่งปิดหนังสือ พิมพ์ หลักเมืองในข้อหาแสดงความ นิยมต่อเค้าโครง เศรษฐกิจ ของนายปรีดีโดยได้ตีพิมพ์บทความว่าเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดีไม่ใช่เรื่องที่จะนำความเสียหายมาสู่ประเทศชาติ และประชาชนไทยยังคงหวังที่จะได้เห็นเศรษฐกิจและอุตสาหรรมที่นายปรีดีจักได้เลือกเฟ้นเอามาใช้ให้เหมาะกับประเทศชาติต่อไป การตีพิมพ์บทความของหนังสือพิมพ์หลักเมืองดังกล่าวเป็นการขัดหลักการของรัฐบาลและเป็นความผิดตามพรบ.คอมมิวนิสต์

ขบวนเชิญรัฐธรรมนูญ 9 ธค. 2477
รัชกาลที่ 
7ได้มีหนังสือต่อว่าพระยามโนปกรณ์ที่ไม่จัดการคณะราษฎรให้เด็ดขาด โดยที่พระองค์เคยลงพระปรมาภิไธยในพระบรมราชโองการไว้ล่วงหน้าให้ประหารชีวิตคณะราษฎรในวันที่24 มิถุนายน 2476 โทษฐานก่อการกบฏต่อราชวงศ์จักรี โค่นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จากนั้นให้นำหัวของพวกกบฏเสียบประจานแก่ประชาชน เพื่อมิให้เอาเป็นเยี่ยงอย่างที่ท้องสนามหลวง แต่ทว่าแผนการประหารหมู่ตามพระราชประสงค์นั้นต้องประสบความล้มเหลว เนื่องจากพระยาพหลฯได้ทำการยึดอำนาจคืนเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2476และได้เรียกตัวนายปรีดีกลับประเทศ สภาผู้แทนได้ดำเนินการไต่สวนและลงความเห็นว่านายปรีดีมิได้เป็นคอมมิวนิสต์ตามที่ถูกกล่าวหา
  

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
พระยาพหลฯได้ขอร้องมิให้หนังสือพิมพ์รื้อฟื้นเรื่องความขัดแย้งโดยย้ำว่ารัฐบาลอยากให้ลืมเรื่องเค้าโครงการเศรษฐกิจและพระบรมราชวินิจฉัย เพื่อเห็นแก่ความสงบสุขของบ้านเมือง บรรยากาศทางการเมืองจึงเริ่มผ่อนคลาย แทบไม่มีการนำความขัดแย้งในประเด็นนี้ขึ้นมาโต้แย้งกันอีกเลย
 แต่การเคลื่อนไหวต่อต้านปฏิวัติก็ยังคงดำเนินต่อไปถึงขั้นมีการยกทัพเข้ามาจากเมืองโคราช ราชบุรีและเพชรบุรี ภายใต้การนำของพระองค์เจ้าบวรเดช หมายจะปราบปรามคณะราษฎรในวันที่
11 ตุลาคมปีเดียวกัน 

ม.จ.หญิง พูนพิศมัย ดิศกุล
จากบันทึกของม.จ.พูนพิศสมัย ดิศกุล ได้เล่าว่าในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน2476 ก่อนเกิดกบฏบวรเดชนั้นสภาพการณ์ที่วังไกลกังวลหัวหินมีคนมาพลุกพล่านมากขึ้นและบ่อยขึ้น ส่วนใหญ่เป็นพวกคณะชาติที่เป็นการรวมตัวของฝ่ายนิยมระบอบกษัตริย์ที่ได้ยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสมาคมการเมืองเมื่อเดือนมกราคม 2476 เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งแข่งกับคณะราษฎร มีพระยาโทณวณิกมนตรี (พี่น้องต้นสกุลโทณะวณิก) เป็นนายกสมาคม และหลวงวิจิตรวาทการเป็นเลขาธิการ รวมทั้งพระยาเสนาสงคราม อดีตผู้บัญชาการกองพลที่ ซึ่งได้รับบาดเจ็บจากการถูกยิงขณะคณะราษฎรควบคุมตัวในวันปฏิวัติ 

กนนำของกองทัพสีน้ำเงินคนสำคัญได้แก่พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์  ม.จ.วงศ์นิรชร และ พระองค์เจ้าบวรเดชได้เข้าเฝ้ารัชกาลที่ 7เป็นการส่วนพระองค์ที่หัวหิน โดยขอพระบรมราชานุญาตเพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงใหม่ มีการเซ็นเช็คจ่ายเงินสองแสนบาทจากพระคลังข้างที่ให้พระองค์เจ้าบวรเดชซึ่งต่อมาไม่นานได้นำกองทัพจากทางเหนือลงมา โดยเรียกตนเองว่าคณะกู้บ้านกู้เมือง เพื่อฟื้นฟูเกียรติยศของกษัตริย์และปราบคณะราษฎรที่พวกเขาเห็นว่าเป็นกบฎและทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเมื่อครั้งปฏิวัติ 2475 และอ้างว่าต้องการสร้างประชาธิปไตยและแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เหมาะสมและถวายอำนาจคืนให้แก่กษัตริย์ 

พิธีอัญเชิญรัฐธรรมนูญ 10 ธ.ค. 2475
โดยมีการกล่าวหาว่านายปรีดีและพรรคพวกได้อาศัยรัฐธรรมนูญเป็นข้ออ้างในการเปลี่ยน แปลง นโยบาย ทางเศรษฐกิจให้เป็นไปในทางลัทธิคอมมิวนิสต์ และปล่อยให้พรรคพวกเผยแพร่ข้อความดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพื่อให้เกิดความเกลียดชังและทำลายล้างความเลื่อมใสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บีบคั้นพระเจ้าอยู่หัวมิให้มีความสำราญพระราชหฤทัยตลอดเวลา เพราะมุ่งหมายจะตั้งตนเองเป็นใหญ่เพื่อดำเนินการปกครองแบบไม่มีพระเจ้าแผ่นดิน เพื่อความสำเร็จในทางคอมมิวนิสต์
  

รัฐบาลขนทหารจากบางซื่อปราบกบฏบวรเดช
โดยพวกคณะกู้บ้านกู้เมืองได้พร้อมใจกันจับอาวุธและยื่นคำขาดต่อรัฐบาลให้ยอมตามความมุ่งหมายของตน ให้ทหารในพระนครหันปากกระบอกปืนเข้าหารัฐบาลเพื่อกู้ชาติบ้านเมืองให้รัฐบาลใหม่ต้องจัดการให้ประเทศมีพระมหากษัตริย์ปกครองชั่วกัลปาวสานต์และการเลือกผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ต้องถวายให้พระเจ้าอยู่หัวทรงเลือก โดยกล่าวหารัฐบาลว่าปล่อยให้มีการดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ รัฐบาลเป็นพวกคอมมิวนิสต์เพราะได้เรียกตัวนายปรีดีผู้ซึ่งรัชกาลที่วิจารณ์ว่าเป็นคอมมิวนิสต์ให้กลับมาประเทศไทยอีก และเสนอให้รัฐบาลลาออกภายใน ชั่วโมง มิฉะนั้นจะใช้กำลังบังคับ


รัชกาลที่ 7 หรือพระปกเกล้าฯ
รัชกาลที่ ซึ่งประทับที่วังไกลกังวลหัวหินเกือบตลอดเวลาหลังการปฏิวัติ 2475 ก็ได้สั่งให้ราชสำนักในกรุงเทพลอบส่งทหารรักษาวังและปืนกลให้กับวังไกลกังวลเพิ่มเติม รวมทั้งสั่งให้สะสมเสบียงอาหาร เตรียมแผนการเสด็จอย่างฉุกเฉินเมื่อใกล้เวลาเคลื่อนกำลังของกองทัพสีน้ำเงินเพื่อเข้าปราบปรามกวาดล้างคณะราษฎร ส่วนพวกคณะชาติ ก็ทำหน้าที่โหมกระแสโจมตีคณะราษฎรว่าไม่มีความชอบธรรมและเป็นพวกเผด็จการ
คณะกู้บ้านกู้เมืองได้เตรียมปราบปรามคณะราษฎรทั้งจากภายภายนอกและภายในพระนคร สายลับของรัชกาลที่ 
7 ที่ใช้รหัส พ. 27 หรือพโยม โรจนวิภาตได้เขียนบันทึกไว้ว่า คณะผู้ก่อการภายในพระนครได้ส่งพระยาศรีสิทธิสงคราม หรือ ดิ่น ท่าราบ อดีตเสนาธิการกองทัพที่ ก่อนการปฏิวัติ2475 เป็นตัวแทนนำทัพจากโคราช มาถึงสถานีจิตรลดา 

วังปารุสกวันของเจ้าฟ้าจักรพงศ์โอรสรัชกาลที่ 5
พวกเขาจะลุกขึ้นจัดการกับรัฐบาลตามแผนหลั่งเลือดในวังปารุสก์ เพื่อบุกเข้าสังหารคนสำคัญของฝ่ายรัฐบาล ป้องกันมิให้มีโอกาสสั่งการตอบโต้ โดยกองหน้าส่วนหนึ่งบุกเข้าไปในวังปารุสก์ซึ่งเป็นตึกบัญชาการของรัฐบาล เมื่อมีสัญญาณบอกเหตุร้ายดังขึ้นจะทำให้ผู้นำรัฐบาลซึ่งพักอยู่ในวังปารุสก์พรวดพราดออกมาจากห้องนอน จากนั้นมือปืนชั้นยอดที่พวกเขาจ้างมาจากต่างจังหวัดก็จะกำจัดบุคคลคนนั้นเสีย เมื่อทำงานสำเร็จแล้ว มือปืนชุดแรกต้องวิ่งหนีไปตามเส้นทางที่กำหนดไว้ และมือปืนชุดที่สองจะยิงมือปืนชุดแรกทิ้งเพื่อเป็นการปิดปากทันทีโดยให้ พ. 27 ทำหน้าที่เป็นมือปืนสำรองในกรณีที่มือปืนชุดที่สองทำงานพลาด โดยมีการพูดปลุกเร้ากันว่า ถ้าจะมีความผิดก็ผิดเพราะความจงรักภักดี และเพื่อไม่ให้เมืองไทยเป็นคอมมิวนิสต์  แต่แผนการลอบสังหารคณะราษฎรก็ไม่ได้ถูกนำไปปฏิบัติเนื่องจากกองทัพของพระองค์เจ้าบวรเดชเคลื่อนกำลังล่าช้าไปหนึ่งวัน ไม่เป็นไปตามแผนและต่อมาไม่สามารถฝ่าแนวทหารของรัฐบาลเข้ามาในพระนครได้

รัฐบาลลำเลียงป.ต.อ.ถล่มทีมั่นกบฏบวรเดช
ในวัดเทวสุนทร หลักสี่ จนแตกพ่าย
แม้คณะกู้บ้านกู้เมืองจะกระทำการต่อต้านรัฐบาลด้วยกำลังอาวุธภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุด แต่พวกเขาไม่เคยยอมรับว่าตนเองเป็นกบฏ ในความหมายที่คิดร้ายทรยศไม่จงรักภักดีต่อกษัตริย์หรือแย่งชิงพระราชอำนาจ พวกเขากลับคิดว่าพวกเขากำลังยกกำลังทหารมาปราบพวกกบฏผู้เป็นเสี้ยนหนามของแผ่นดินเพื่อกู้ชาติบ้านเมืองให้รอดพ้นจากความหายนะ จากพวกกบฏที่หมิ่นหยามและอกตัญญูต่อพระมหากษัตริย์ 

สอ เสถบุตร-หลวงมหาสิทธิโวหาร
นักโทษตลอดชีวิตชาวสีน้ำเงินแท้
การต่อต้านการปฏิวัติของกบฏบวรเดชประสบความพ่ายแพ้ พระองค์เจ้าบวรเดชและแกนนำคนอื่นๆได้ลี้ภัยไปสิงคโปร์และเวียตนาม แนวร่วมจำนวนมากถูกจับขึ้นศาล มีผู้เกี่ยวข้องถูกจับกุมราว 600 คน ถูกส่งฟ้องศาล 346 คน ถูกตัดสินลงโทษ 250 คน ถูกปลดออกจากราชการ 117คน  ต่อมาเมื่อถูกคุมขังพวกเขาได้รวมตัวกันอีกครั้งในเรือนจำและเรียกกลุ่มของตนเองโดยเอาสีของกษัตริย์เป็นธงชัยแห่งความหวังว่าชาวน้ำเงินแท้โดยพวกเขาออกหนังสือพิมพ์น้ำเงินแท้อย่างลับๆในเรือนจำและลักลอบเผยแพร่สู่เครือข่ายภายนอกเรือนจำผ่านทางญาติพี่น้องที่มาเยียม

แม้ว่ารัฐบาลจะได้ออกพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษและพ.ร.ก.นิรโทษกรรมให้นักโทษแล้วก็ตามแต่พวกนิยมระบอบกษัตริย์ก็ยังคงมีความเชื่อมั่นในอุดมการณ์ของพวกตนไม่เปลี่ยนแปลง

พระยาศราภัยพิพัฒน์
หลวงพิบูลและหลวงศุภชลาศัยก็เคยทำหนังสือเตือนพระยาศราภัยพิพัฒน์ ( นาวาเอกเลื่อน ศราภัยวานิช )   ว่ามีรายงานสืบสวนทางลับว่าหลังจากการยึดอำนาจสองครั้งในปี 
2475 และ2476 พระยาศราภัยฯ ได้จัดการประชุมและคิดอยู่เสมอในการก่อการไม่สงบ จึงขอเตือนให้สงบจิตสงบใจเสีย สองวันหลังจากนั้นพระยาศราภัยฯได้ตอบปฏิเสธข้อกล่าวหาไปว่าไม่เคยเกี่ยวข้องสมคบคิดก่อความไม่สงบ หากเคยไปประชุมทางใดที่ก่อความไม่สงบแล้ว ขอให้นำตัวเขาไปยิงทิ้งเสีย

 

พล.ต.อ.อดุล อดุลเดชจรัส
แต่การเคลื่อนไหวต่อต้านการปฏิวัติก็ยังคงดำเนินต่อไป ทั้งในรูปของการลอบสังหารผู้นำคณะราษฎร 
การพยายามวางยาพิษพระยาพหลฯผู้นำคณะราษฎรและนายกรัฐมนตรีในปี 2477และการพยายามลอบสังหารหมู่คณะรัฐมนตรีที่สถานีรถไฟหัวลำโพงขณะเดินทางไปส่งผู้แทนของรัฐบาลเพื่อเชิญรัชกาลที่ ให้เสด็จกลับจากยุโรป
  

ขุนปลดปรปักษ์ผบ.พล 1 ร.อ.
โดยมุ่งเป้าหมายที่หลวงพิบูลสงคราม หลวงอดุลเดชจรัส และขุนปลดปรปักษ์แต่แผนการไม่สำเร็จ จากนั้นยังมีการพยายามลอบสังหารซ้ำในวันที่ ธันวาคม2477 หมายสังหารหลวงพิบูลฯและหลวงอดุลฯแต่แผนไม่สำเร็จเช่นกัน  ส่วนการลอบสังหารวันที่23 กุมภาพันธ์ 2478 สามารถลอบยิงหลวงพิบูลฯได้รับบาดเจ็บที่สนามหลวง ต่อมาในปี 2481ยังมีความพยายามลอบวางยาพิษและลอบยิงหลวงพิบูลฯอีก แต่แผนการไม่สำเร็จ



จุดจบของรัชกาลที่ 
กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ความพ่ายแพ้อย่างต่อเนื่องของพวกนิยมกษัตริย์ ทำให้รัชกาลที่ 
ต้องเดินทางออกนอกประเทศ โดยอ้างว่าต้องการรักษาพระเนตร สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติแต่งตั้งเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการ แต่รัชกาลที่ 7 ก็ยังพยายามขัดขวางการเปลี่ยนแปลง ด้วยไม่ยอมลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติที่ริดรอนอำนาจและผลประโยชน์ไปจากพระองค์ เช่น ทรงใช้พระราชอำนาจคัดค้านหรือวีโต้กฎหมายจัดการทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ที่ต้องการแยกทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ออกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์ที่จะต้องถูกจัดเก็บภาษีมรดก  พระองค์ยังคัดค้านการแก้กฎหมายที่จะกำหนดเวลาในการพิจารณาฏีกาพระราชทานอภ้ยโทษแก่นักโทษประหาร

ร. 7 พบฮิตเลอร์ 2479
รัชกาลที่ 
ได้ยื่นข้อเรียกร้องมากขึ้นพร้อมทั้งโจมตีว่ารัฐบาลเป็นเผด็จการ ทั้งที่รัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม2475 ร่างขึ้นโดยฝ่ายนิยมกษัตริย์ ที่บังคับขู่เข็ญให้พวกคณะราษฎรต้องให้ความยินยอม ในที่สุดเมื่อคณะราษฎรไม่สามารถทำตามข้อเรียกร้องของรัชกาลทื่ พระองค์จึงขนพระราชทรัพย์หนีไปยังอังกฤษ ทรงโอนย้ายทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จากธนาคารในต่างประเทศเข้าบัญชีของพระองค์จำนวน ล้านบาท จนกระทั่งสละราชสมบัติในต้นเดือนมีนาคม 2478
ในคำพิพากษาศาลพิเศษ 
2482 ได้สรุปบทบาทของรัชกาลที่ 7 ที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการปฏิวัติที่ผ่านมาหลายครั้งว่า รัชกาลที่ ได้ร่วมมือกับนายกรัฐมนตรีมโนปกรณ์ที่เป็นพวกนิยมกษัตริย์ ขัดขวางการปกครองตามรัฐธรรมนูญเพื่อฟื้นฟูให้กษัตริย์กลับมามีอำนาจตามเดิม แม้ว่าคณะราษฎรจะได้ขับไล่นายกรัฐมนตรีที่สมคบคิดกับกษัตริย์ออกไปได้ ซึ่งเป็นการทำลายแผนการณ์ที่จะถอยหลังเข้าคลอง แต่รัชกาลที่ ก็ยังคงไม่หมดความพยายามโดยยังคงเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วยการสนับสนุนกบฏบวรเดช โดยการร่วมมือหรือรู้เห็นเป็นใจและให้เงินสนับสนุนการกบฏ 

จอมพล ป. ปราศรัยผ่านทางวิทยุ 11 กย. 2484
ภายหลังจอมพล ป. ในฐานะนายกรัฐมนตรีได้แถลงถึงความจำเป็นในการปราบปรามขบวนการต่อต้านการปฏิวัติผ่านทางวิทยุกระจายเสียงว่า...
การเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น ใช่ว่าจะเปลี่ยนแปลงแต่ระบอบแล้วย่อมเป็นการเพียงพอ... ยังต้องคอยควบคุมดูแลมิให้ถอยหลังกลับเข้าสู่ที่เดิมอีก.. ผู้เปลี่ยนการปกครองและประชาชนส่วนมากได้คอยควบคุมดูแลระบอบการปกครองใหม่ไว้อย่างดีแล้วก็ตาม ก็ยังไม่วายมีบุคคุลหรือคณะบุคคลคอยพลิกแพลงให้กลับเข้าสู่ระบอบเดิม
พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์
การรวมตัวระดมพลและการตระเตรียมกำลังทางทหารของพวกปฏิปักษ์ปฏิวัติ โดยมีบุคคลที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือกรมขุนชัยนาทนเรนทรพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงที่ถูกจับกุมในปลายเดือนมกราคม 
2482 ฐานสมคบกันเป็นกบฏคิดล้มล้างรัฐบาลโดยได้ติดต่อกับกลุ่มของพระยาทรงสุรเดชรวมทั้งทหารและพลเรือนทั้งในและนอกราชการจำนวนมาก ในปี 2478พระองค์เจ้ารังสิตได้เดินทางไปเฝ้าเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์และพวกเจ้านายที่เมืองบันดุงประเทศอินโดนีเซีย เพื่อจัดการเรื่องเงินทุนที่จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แล้วก็เดินทางไปแจ้งให้รัชกาลที่ ทราบแผนการ พระองค์เจ้ารังสิตถูกตัดสินประหารชีวิตแต่ได้รับการลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิตและถูกถอดฐานนันดรลงเป็นนักโทษชายรังสิตประยูรศักดิ์ 


อาทิตย์ทิพย์อาภา, อนุวัตรจาตุรนต์( ประธาน), เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
รัฐบาลและสภาผู้แทนได้เชิญพระองค์เจ้าอานันทมหิดลขึ้นเป็นรัชกาลที่ เมื่อมีอายุเพียง ปีเศษขณะกำลังศึกษาอยู่ที่ประเทศสวิสโดยได้ตั้งผู้สำเร็จราชการสามคน คือ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์  พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาและเจ้าพระยายมราช ( ปั้น สุขุม )
ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์ในสมัยรัชกาลที่ 
โดยผ่านทางคณะผู้สำเร็จราชการได้ดำเนินไปด้วยดี คือ กษัตริย์ยอมอยู่ใตรัฐธรรมนูญ แม้ว่ารัฐบาลได้ออกพ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ 2479 คณะผู้สำเร็จราชการก็ยอมลงนามด้วยดี  อย่างไรก็ตามกรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ประธานคณะผู้สำเร็จราชการได้รับความกดดันจากเจ้านายชั้นสูงจากการที่รัชกาลทื่ 7 ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ทำให้กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ฆ่าตัวตาย สภาผู้แทนได้ลงมติแต่งตั้งเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน ( อุ่ม อินทรโยธิน ) ขึ้นแทน และให้พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาเป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการ ซึ่งได้ทำหน้าที่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลด้วยดี

นายพลโตโจและผู้แทนไทยในโตเกียว 2485
เมื่อญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกในประเทศ ไทยในวันที่
ธันวา คม2484  เพื่อผ่านไปพม่าและอินเดียในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลจอมพล ป. ยอมให้กองทัพญี่ปุ่นผ่านและได้เป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น จอมพล ป. ลดอำนาจของนายปรีดีโดยเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งนายปรีดีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนสองท่านที่ถึงแก่กรรม ต่อมาพระองค์เจ้าอาทิตย์ก็ลาออกจึงเหลือนายปรีดีคนเดียว 

แกนนำเสรีไทย ปรีดี, เสนีย์, ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท,  อดุลเดชจรัส
 ป๋วย,ควง, ทวี บุณยเกต, ดิเรก ชัยนาม
นายปรีดีได้ก่อตั้งขบวนการเสรีไทยเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามและจอมพล ป. ตกเป็นจำเลยข้อหาอาชญากรสงคราม นายปรีดีพยายามปรองดองกับฝ่ายเจ้าโดยได้เสนอให้นายควงเป็นนายกรัฐมนตรี ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง  ได้เกิดความร่วมมือระหว่างขบวนการของนายปรีดีกับพวกนิยมระบอบกษัตริย์ เพื่อต่อต้านรัฐบาลจอมพล ป.และญี่ปุ่น โดยได้ก่อตัวเป็นขบวนการเสรีไทยที่มีนายปรีดีเป็นแกนนำ และต่อมาสามารถล้มรัฐบาล จอมพล ป. และทำให้ไทยรอดพ้นจากการเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม



โดยได้มีข้อตกลงที่เสนอโดยหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ว่าหากต่อต้านญี่ปุ่นได้สำเร็จรัฐบาลจะต้องนิรโทษกรรมความผิดให้แก่นักโทษการเมืองหลังการปฏิวัติ 2475 ซึ่งเป็นพวกนิยมระบอบกษัตริย์ รัฐบาลหลังสงครามที่นายปรีดีสนับสนุนได้ทำตามสัญญา ด้วยการปล่อยตัวนักโทษการเมืองฝ่ายเจ้าและคืนฐานันดรศักดิ์ให้  ผู้ที่เคยเข้าร่วมการเคลื่อนไหวต่อต้านการปฏิวัติ 2475 และคณะราษฎรในหลายกรณีได้ทยอยกลับจากต่างประเทศ พวกนิยมระบอบกษัตริย์และนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามคณะราษฎรได้เข้าสู่วงการเมืองและวงการนักเขียนนักหนังสือพิมพ์อีกครั้ง

ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส
หลังสงครามโลกสิ้นสุดลงไม่นาน รัชกาลที่ ได้แต่งตั้งนายปรีดีเป็นรัฐบุรุษอาวุโสทำหน้าที่ให้คำปรึกษาราชการแผ่นดินโดยพระองค์พร้อมที่จะเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย ต่อมาพวกปฏิปักษ์ปฏิวัติกลับหันมาต่อต้านกลุ่มนายปรีดีโดยร่วมมือกับกลุ่มทหารที่ไม่พอใจนายปรีดีโดยอาศัยกรณีสวรรคตเมื่อวันที่ 9มิถุนายน 2489 พวกปฏิปักษ์ปฏิวัติที่ชิงชังระบอบประชาธิปไตยก็ฉวยโอกาสนำเรื่องสวรรคตมาใช้กล่าวหารัฐบาลฝ่ายประชาธิปไตย และด้วยความหวาดหวั่นของพวกนิยมเจ้าต่อความมุ่งมั่นในการเร่งคลี่คลายคดีสวรรคตของรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ 

หลวงธำรง หลวงกาจ พระยาพหลและนายปรีดี
ทำให้พวกจอมพล ป. รีบเข้ายึดอำนาจ ในวันที่ 8พฤศจิกายน2490 โดยการรับรองของพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์หนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการแต่เพียงผู้เดียว นับเป็นต้นแบบของการรัฐประหารที่ได้รับการรับรองจากสถาบันกษัตริย์และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2490 และ2492 เปลี่ยนจากระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญมาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ในมาตรา  และบัญญัติให้ผู้ใดจะกล่าวหาฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆมิได้ ในมาตรา  เปลี่ยนเป็นระบอบที่ประชาชนมีอำนาจการเมืองลดลงแต่ให้สถาบันกษัตริย์มีอำนาจทางการเมืองมากขึ้น 

พล.อ.ผิน ชุณหะวันหัวหน้าคณะรัฐประหาร 2490
รับคทายศจอมพล 4 เม.ย.2496
เป็นรัฐธรรมนูญแบบถอยหลังเข้าคลองที่ให้อำนาจสิทธิ์ขาดไปอยู่ที่พระมหากษัตริย์ เช่น ให้มีการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาและองคมนตรีตามพระราชอัธยาศรัยโดยไม่มีการควบคุมจากสถาบันการเมืองอื่นซึ่งตั้งอยู่บนหลักการอำนาจอธิปไตยที่เป็นของประชาชน เช่น รัฐบาล หรือรัฐสภา เป็นการขัดต่อหลักการที่ให้กษัตริย์อยู่ในฐานะที่ละเมิดมิได้ เพราะองคมนตรีไม่ต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา กษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยนั้นจะต้องไม่มีที่ปรึกษาอื่นใดเป็นของตนเองนอกจากคณะรัฐมนตรีเท่านั้นเพราะคณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา โดยถือว่าการวินิจฉัยเด็ดขาดขั้นสุดท้ายสำหรับประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยต้องอยู่ที่ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งซึ่งเป็นที่มาของอำนาจอธิปไตย 

โปรดเกล้าฯให้สฤษดิ์เป็นผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร
โดยไม่มีผู้รับสนอง เมื่อ 16 ก.ย. 2500

กษัตริย์จะต้องมีอำนาจน้อยกว่าสภาผู้แทนราษฎร เพราะกษัตริย์มีอำนาจหน้าที่เพื่อทำให้งานของรัฐเป็นไปตามเจตน์จำนงค์ของประชาชนเสียงข้างมากเท่านั้น การที่กษัตริย์จะกระทำการใดๆหรือทรงแนะนำให้กระทำการใดๆทางการเมืองด้วยพระองค์เองย่อมขัดต่อหลักการในระบอบประชาธิปไตย ถ้าจะกระทำก็ต้องไม่ทำอย่างเปิดเผยเพราะจะเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ได้ ตามหลักที่ว่าเมื่อมีอำนาจก็ต้องรับผิดชอบในการใช้อำนาจ จึงกลายเป็นรัฐธรรมนูญที่มีลักษณะแบบเดียวกับที่รัชกาลที่ เตรียมร่างไว้ให้ประชาชนก่อนเกิดการปฏิวัติ 2475

คึกฤทธิ์นั่งหน้า พระองค์เจ้าคำรบ-หม่อมแดง
ในช่วงปี 
2491 ได้มีการรวบรวมบทความของมรว.เสนีย์ ปราโมชที่ใช้นามปากกาว่าแมงหวี่ อธิบายว่าประชาธิปไตยต้องเป็นเสียงข้างมากที่ต้องมีคุณภาพ มีวิชาความรู้และมีความจงรักภักดีต่อชาติบ้านเมือง ส่วนมรว.คึกฤทธิ์ก็ใช้นิยายเรื่องสี่แผ่นดินเพื่อยกย่องสถาบันกษัตริย์ ถวิลหาอดีต และชี้ให้เห็นถึงความเสื่อมของสังคมหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยเริ่มเขียนเป็นตอนๆ ลงในหนังสือพิมพ์สยามรัฐของเขาในช่วงปี 2494 – 2495 เพื่อกล่าวหาให้ร้ายการปฏิวัติ 2475 โดยมองข้ามบทบาททางการเมืองของสถาบันกษัตริย์พวกนิยมกษัตริย์

ร. 5 ตรา พ.ร.บ.เลิกทาส รศ. 124 หรือ 2449
พวกนิยมกษัตริย์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิวัติได้พยายามพร่ำพรรณาถึงคุณงามความดีของสถาบันกษัตริย์ที่ทำให้ประเทศไทยสามารถรักษาเอกราชทั้งๆที่ต้องเสียดินแดนไปมากกว่าครึ่งประเทศรวมทั้งพระมหากรุณาธิคุณของรัชกาลที่
5 ที่ประกาศเลิกทาสเพื่อต้องการตัดกำลังของพวกขุนนางและอำมาตย์ทั้งหลาย 

ร.6 สร้างดุสิตธานี หรือเมืองจำลองประชาธิปไตย
บนเนื้อที่ 2 ไร่ครึ่งในพระราชวังดุสิต
อ้างถึงสายพระเนตรอันยาวไกลของรัชกาลที่ 6ที่ทำการทดลองสอน ประชา ธิปไตยโดยใช้แบบจำลองของดุสิตธานี ทั้งๆที่ไม่ได้มีสาระที่จริงจังอะไร พร้อมทั้งโจมตีการปฏิวัติของคณะราษฎรว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์และไม่มีเหตุผล อีกทั้งการบริหารราชการในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็ไม่มีการทุจริตซึ่งแตกต่างจากในสมัยปฏิวัติของคณะราษฎร ที่เป็นแค่ประชาธิปไตยจอมปลอมที่มีแต่เสรีภาพจอมปลอมที่ฟุ้งเฟ้อและความเสื่อมโทรมทางศีลธรรม


ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษฺ์ (เหล็ง ศรีจันทร์)
หัวหน้ากบฏ รศ.130 หรือ 2455
พวกเขาโจมตีว่าประชาชนยังไม่พร้อมเพราะประชาชนยังคงเลือกคนเถื่อนคนถ่อยมาเป็นผู้แทน ดังนั้นจึงควรจะถวายคืนพระราชอำนาจให้แก่พระมหากษัตริย์อย่างมากมายมหาศาล พวกนิยมกษัตริย์จะอ้างความไม่พร้อมของประชาชน จึงต้องใช้การเมืองหรือประชาธิปไตยแบบไทยๆโดยมุ่งจำกัดอำนาจและลดทอนความสำคัญของสถาบันการเมืองที่มาจากประชาชนพร้อมกับพยายามเพิ่มอำนาจให้แก่สถาบันการเมืองอื่นที่มิได้มาจากการเลือกตั้งโดยอ้างว่าเป็นสิ่งที่ดีกว่าและเหมาะสมกว่า พวกเขาพยายามให้ร้ายว่าคณะราษฎรกลายเป็นบรรพบุรุษของเผด็จการทหารที่ต้องโค่นล้มและกษัตริย์กลายเป็นตัวแทนของความเป็นประชาธิปไตย 

นักศึกษาชูรูปกษัตริย์ต่อต้านเผด็จการทหารเมื่อ 14 ตค.2516

จนกลายเป็นพลังในการโค่นล้มรัฐบาลทหารในเหตุการณ์14 ตุลาที่ชูสถาบันกษัตริย์ต่อสู้กับเผด็จการถนอม-ประภาส ทั้งยังพยายามลบความทรงจำเกี่ยวกับการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 ให้เหลือแต่เพียงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ไม่มีความหมาย


หมุด 24 มิถุนา บนพื้นถนนลานพระรูปทรงม้า

หมุด 24มิถุนา ของคณะ ราษฎรบนลาน พระรูป ทรงม้าก็เป็นแค่ฝาท่อระบายน้ำที่ไม่ได้รับการเหลียวแลจากรัฐบาล วันที่ 24มิถุนา ก็มิได้เป็นวันชาติอีกต่อไป แต่กลับไปเอาวันเกิดของกษัตริย์มาเป็นวันชาติแทน 
อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ปราบกบฏบวรเดช




อนุสาวรีย์ พิทักษ์ รัฐธรรมนูญ
ที่หลักสี่เมื่อครั้งปราบกบฏบวรเดชก็ไม่ได้มีการเหลียวแล รวมทั้งการพยายามสร้างวาทกรรมหลอกลวงว่ารัชกาลที่ 
เป็นพระบิดาแห่งประชาธิปไตย 




อนุสาวรีย์ ร.7 หน้าอาคารรัฐสภา
ถึงกับตั้งสถาบันพระปกเกล้า รวมทั้งอนุสารีย์รัชกาลที่ ที่หน้าอาคารรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ
2492 ที่รัฐบาลนายควงจากการรัฐประหาร2490 ร่างขึ้น ทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างมากระหว่างรัฐบาลชุดต่อมาของจอมพล ป.กับวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งของกษัตริย์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเชื้อพระวงศ์ อดีตขุนนางในระบอบเก่าและอดีตนักโทษการเมืองที่นิยมกษัตริย์ จอมพล ป. จึงต้องทำการรัฐประหารเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2494เพื่อยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับกษัตริย์นิยมก่อนที่รัชกาลที่ จะเสด็จนิวัติถึงพระนครไม่กี่วัน โดยจอมพล ป. ได้นำเอารัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม 2475 กลับมาใช้อีกเป็นช่วงเวลาสั้นๆเพื่อลดอำนาจของกษัตริย์ทำให้รัชกาลที่ โกรธมากถึงกับพูดว่าฉันไม่พอใจมากที่คุณหลวงทำเช่นนี้

เมื่อจอมพล ป.และคณะรัฐประหารได้เข้าเฝ้ากษัตริย์ภูมิพล พระองค์ได้ต่อรองให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่โดยให้มีวุฒิสภาจากการแต่งตั้งของกษัตริย์อีกครั้งเพื่อเป็นหลักประกันให้พระองค์ แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับ 
2495 รัฐบาลยอมให้มีแค่องคมนตรี แต่ไม่มีการให้แต่งตั้งวุฒิสมาชิกโดยกษัตริย์ พระองค์เจ้าธานีนิวัติในฐานะผู้สำเร็จราชการถึงกับบันทึกไว้ว่าจอมพล ป.มีพิษร้ายกว่านายปรีดีมาก

รัชกาลที่ 9 
ใต้เงามหานกอินทรี

ประธานาธบดีรูสเวลท์ Roosevelt
ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐเคยช่วยเหลือกลุ่มของนายปรีดีและเสรีไทยในการต่อต้านกลุ่มจอมพล ป. และญี่ปุ่น อีกทั้งได้ช่วยเหลือมิให้ไทยตกเป็นผู้แพ้สงคราม แต่สหรัฐที่เคยสนับสนุนขบวนการสู้เพื่อเอกราชในอินโดจีนในสมัยประธานาธิบดีรูสเวลท์ในช่วงปลายสงครามโลกได้เปลี่ยนไป เพราะประธานาธิบดีทรูแมนสนับสนุนให้ฝรั่งเศสกลับมาครองอินโดจีนอีกครั้ง ทำให้ไทยต้องส่งคืนดินแดนบางส่วนในอินโดจีนที่ได้มาในช่วงสงครามกลับไปให้ฝรั่งเศส ในเวลาเดียวกันนายปรีดีได้สนับสนุนอาวุธของเสรีไทยให้แก่กองทัพเวียตมินห์อย่างลับๆเพื่อใช้ในการต่อสู้ปลดแอก และเมื่อเกิดข้อพิพาทเรื่องดินแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส 

โฮจีมินห์และโวเหวียนเกี๊ยบวางแผนตีเดียนเบียนฟู 2497
นายปรีดีจึงเห็นด้วยกับแนวคิดเรื่องการจัดตั้งสันนิบาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามข้อเสนอของเวียดมินห์ โดยรัฐบาลของกลุ่มนายปรีดีรับอาสาเป็นแกนนำในการจัดตั้งองค์กรนี้ขึ้นในประเทศไทย เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองกับมหาอำนาจในภูมิภาคโดยมีไทยเป็นแกนนำโดยที่สหรัฐไม่เห็นด้วย แต่รัฐบาลของพวกนายปรีดีก็ยังดำเนินการจัดตั้งสันนิบาตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไปจนจัดตั้งได้สำเร็จในเดือนกันยายน2490 ท่ามกลางความไม่พอใจของสหรัฐ  ต่อมาในต้นเดือนพฤศจิกายน 2490 ก่อนการรัฐประหารไม่กี่วัน 

โฮจีมินห์ ปี2464 ในวัย 31 ปี
ซีไอเอได้รายงานไปยังวอชิงตันวิจารณ์ว่ากลุ่มนายปรีดีเห็นว่าโฮจิมินห์เป็นพวกรักชาติบ้านเมืองและหวังว่าโฮจิมินห์ ( Ho Chi Minh ) จะนำการปลดแอกอินโดจีนได้สำเร็จ โดยมองไม่เห็นว่าว่าโฮจิมินห์คือคอมมิวนิสต์ที่สหรัฐกลัวมาก สหรัฐจึงหันไปสนับสนุนกลุ่มของจอมพล ป. แทน ทำให้กลุ่มจอม ป. มีความแข็งแกร่งมากขึ้นในเวลาต่อมา สหรัฐจึงนิ่งเฉยไม่ให้ความช่วยเหลือเมื่อรัฐบาลกลุ่มของนายปรีดีถูกรัฐประหารเพราะการดำเนินนโยบายต่างประเทศของกลุ่มนายปรีดีไม่สอดคล้องกับความต้องการของสหรัฐอีกต่อไปแล้ว 
รัฐบาลจอมพล ป.ก็ต้องพยายามผูกมิตรกับมหาอำนาจทั้งอังกฤษและสหรัฐเพื่อมิให้ถูกมองว่าเป็นศัตรูอีก ขณะที่กลุ่มพวกของนายปรีดีก็ยังมีอาวุธทันสมัยที่เคยได้รับในสมัยเป็นเสรีไทยที่ใช้ต่อต้านญี่ปุ่น ทำให้รัฐบาลจอมพล ป. ต้องตัดสินใจสร้างความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับสหรัฐมากขึ้น รวมถึงขอความช่วยเหลือทางทหารในปี 
2493 เพื่อต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ หลังจากนั้นสหรัฐก็เข้ามามีบทบาททั้งในทางการเมือง การทหาร เศรษฐกิจและสงครามจิตวิทยาเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์

ประธานาธิบดีทรูแมน Truman
ในช่วงต้นทศวรรษที่2490 เมื่อกองทัพจีนคณะชาติหรือก๊กมินตั๋งต้องล่าถอยจากการรุกรบของกองทัพปลดแอกประชาชนจีน สหรัฐในสมัยประธานาธิบดีทรูแมนวิตกต่อการขยายตัวของคอมมิวนิสต์เป็นอย่างมากจึงได้เริ่มแผนปฏิบัติการลับเริ่มต้นโครงการค้นคว้าการควบคุมจิตใจมนุษย์โดยหน่วยข่าวกรองกลางหรือซีไอเอ ใช้เงินทุนหลายพันล้านดอลลาร์ในการระดมนักจิตวิทยาทำการวิจัยลับเพื่อควบคุมจิตสำนึกของคน เป็นที่มาของสังคมศาสตร์เชิงพฤติกรรมศาสตร์ ทั้งซีไอเอ กระทรวงกลาโหมและสำนักข่าวสารอเมริกันหรือยูซิส ได้ร่วมกันทำสงครามจิตวิทยา เช่น ให้ทุนสนับสนุนการผลิตวรรณกรรมโฆษณาชวนเชื่อทางอุดมการณ์นิยมกษัตริย์

เหมาเจ๋อตงแถลงปลดแอกที่เทียนอันเหมิน 1 ตค. 2492
เมื่อกองทัพแดงเข้ายึด ครองประเทศ จีนในวันที่ 
1ตุลา คม2492ประธานา ธิบดี ทรูแมนได้ตัดสินใจทำสงครามต่อต้าน คอม มิวนิสต์ในรูปแบบใหม่ด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านจิตวิทยาขึ้นในปี 2494 ภายใต้การดูแลของผู้อำนวยการซีไอเอเพื่อวางแผนงานโฆษณาชวนเชื่อให้แก่รัฐบาล โดยได้จัดอบรมนักจิตวิทยา 200 คนและส่งออกไปปฏิบัติการในประเทศต่างๆทั่วโลก เพื่อสร้างความหวาดกลัวต่อภัยคอมมิวนิสต์ โดยอาศัยสื่อทุกชนิด รวมทั้งหนังสือ ภาพยนต์ แผ่นพับ ใบปลิว

จิตร ภูมิศักดิ์และผู้ต้องหาคอมมิวนิสต์ในคุกลาดยาว
สหรัฐเริ่มการเคลื่อนไหวต่อต้านคอมมิวนิสต์ในไทยอย่างเงียบๆในปี 
2491 โดยส่งผู้ช่วยทูตทหารชื่อบูลล์วิท ( Bullwit ) สวมรอยเป็นคอมมิวนิสต์นำหนังสือภาษาอังกฤษบางเล่มเข้ามาในประเทศไทย พอปลายปี 2492 ซีไอเอก็รายงานความเคลื่อนไหวในทางลับของพวกคอมมิวนิสต์ในไทย ต่อมาได้รายงานรายชื่อคนไทยที่เกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์จำนวนมากกลับไปยังวอชิงตัน รัฐบาลจอมพล ป. ดำเนินการต่อต้านคอมมิวนิสต์ตามนโยบายของสหรัฐในแบบชาตินิยม
แต่ก็มีความขัดแย้งในการช่วงชิงอำนาจในประเทศไทยจนจอมพล ป.ต้องทำรัฐประหารในปี 
2494 ซึ่งทำให้รัฐบาลมีความเข้มแข็งเหนือกษัตริย์และพวกนิยมเจ้า รัฐบาลจอมพล ป.ได้หันมาใช้นโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์มากขึ้นเพื่อเอาใจสหรัฐ

ไอเซนฮาวรับเสด็จที่วอชิงตัน 2503
เมื่อสงครามเกาหลียุติลงในปี 
2496ประธานา ธิบดี ไอ เซนฮาวร์ ( Eisenhower ) ได้จัดตั้งคณะกรรมการประสานการปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานโฆษณาชวนเชื่อ โดยอนุมัติแผนทำลายความน่าเชื่อถือของคอมมิวนิสต์กว่า 50 แผนทั้งในยุโรปและประเทศโลกที่สามเพื่อควบคุมความคิดของมนุษย์ สถานการณ์ที่กองทัพเวียดมินห์เข้าประชิดชายแดนไทยในปี 2496 ทำให้สหรัฐวิตกมากเพราะเห็นว่าไทยเป็นป้อมปราการฐานที่มั่นสำคัญในการสกัดกั้นการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงทุ่มเทให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่ไทย 


วิลเลียม โดโนแวนหัวหน้า
หน่วยสืบราชการลับOSS หรือ CIA
นายวิลเลียม โดโนแวน ( William J. Donovan ) ได้เสนอต่อประธานาธิบดีสหรัฐให้ทุ่มงบประมาณ 150 ล้านเหรียญสหรัฐ ชูประเด็นคอมมิวนิสต์เป็นภัยคุกคามสถาบันกษัตริย์ จารีตประเพณีและเอกราชที่ไทยเคยมีมาอย่างยาวนาน เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างองค์ความรู้แบบจักรวรรดินิยมอเมริกา จัดการอบรมเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย เพื่อดำเนินการอบรมข้าราชการและประชาชนทั่วประเทศ ตามวัด มหาวิทยาลัย กลุ่มเยาวชน กลุ่มวัฒนธรรม ข้าราชการ และกองทัพ รวมทั้งการกระจายเสียงทางวิทยุ สิ่งพิมพ์ และภาพยนต์ที่แสดงความโหดร้ายของคอมมิวนิสต์ เพื่อทำสงครามล้างสมองข้าราชการและครูทั่วประเทศ

น.ต.มนัส จารุภา จี้จอมพล ป.จากเรือแมนฮัตตัน 29 มิย. 2494
สถาบันกษัตริย์และพวกนิยมเจ้าได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองและมีส่วนร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2490 และ 2492 แต่ก็ถูกกลุ่มจอมพล ป. ไล่ลงจากอำนาจ พวกนิยมเจ้าพยายามยึดอำนาจด้วยการก่อกบฏแมนฮัตตันในเดือนมิถุนายน 2494 แต่ล้มเหลวและถูกจอมพล ป.โต้กลับด้วยการทำรัฐประหารในปลายปี 2494และนำรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม 2475 กลับมาใช้เพื่อลดอำนาจของกษัตริย์ ทำให้พวกเจ้าต้องหันมาใช้วิธีการต่อสู้แบบใหม่ หลังจากกษัตริย์ภูมิพลเสด็จนิวัติพระนครในปลายปี 2494 ก็ได้แสดงบทบาทเป็นแกนนำในการต่อสู้กับรัฐบาล เช่น ไม่รับรองการประกาศใช้รัฐธรรมนูญหลังการรัฐประหาร 2494  ไม่เสด็จเข้าร่วมการเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญฉบับ 2495 ในเดือนมีนาคม  ไม่ยอมลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้ พรบ. ปฏิรูปที่ดิน 2496 เพราะพวกเจ้าถือครองที่ดินจำนวนมาก

เสด็จเยี่ยมร.พ.Mount Auburn แมสสาจูเสตส์
สถานที่ประสูติ 7 กค.2503
พวกเจ้าได้หันมาสร้างความสัมพันธ์กับสหรัฐ โดโนแวนอดีตหัวหน้าหน่วยสืบราชการลับของสหรัฐที่ได้รับแต่งตั้งเป็นทูตได้มีโอกาสเข้าพบกษัตริย์ภูมิพลถึง 
ครั้งในช่วงเวลาที่เขาดำรงตำแหน่งเพียงปีเดียวระหว่างเดือนสิงหาคม 2496 -สิงหาคม 2497 โดยกษัตริย์ภูมิพลได้แสดงความกระตือรือร้นที่จะมีบทบาททางการเมืองและการต่อต้านคอมมิวนิสต์ โดยได้เสนอให้สหรัฐชูประเด็นว่าพวกคอมมิวนิสต์เป็นภัยคุกคามสถาบันกษัตริย์ สร้างอุดมการณ์เทิดทูนสถาบันกษัตริย์ให้ตำรวจตระเวณชายแดนและตำรวจพลร่มที่สหรัฐสนับสนุนโดยให้ตั้งกองบัญชาการที่หัวหินใกล้วังไกลกังวลเพื่อให้ใกล้ชิดกษัตริย์ 

พ.อ.พระยาศรีวิสารวาจา ( เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล )
โปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อต่อต้านคอมมิวนิสม์
กษัตริย์ภูมิพลยังได้ส่งองค มนตรีคือ พระยา ศรีวิสาร วาจาไปพบประธานาธิบดีไอเซ็นฮาวร์ในกลางเดือนพฤษภาคม2497 โดยที่รัฐบาลจอมพล ป. ไม่ได้รับรู้
เมื่อฝรั่งเศสพ่ายแพ้ต่อพวกเวียตมินห์ในยุทธการเดียนเบียนฟู ในเดือนพฤษภาคม2497 นำไปสู่การเจรจาที่เจนีวาโดยแบ่งเวียตนามออกเป็นสองส่วน ทำให้สหรัฐต้องหันมาเร่งสนับสนุนกษัตริย์ไทยเพราะกษัตริย์ไทยมีความกระตือรือร้นมาก 

สหรัฐจึงต้องอาศัยความเชื่อของประชาชน เพื่อชักนำให้ช่วยกันต่อต้านคอมมิวนิสต์ให้เห็นว่าคอมมิวนิสต์เป็นปีศาจที่น่ากลัว โดโนแวนสั่งปรับปรุงยูซิสในกรุงเทพทำสงครามจิตวิทยาเชิงรุก ขยายเครือข่ายออกสู่ส่วนภูมิภาค พร้อมกับมีหน่วยโฆษณาชวนเชื่อย่อยๆเข้าไปในเขตชนบทโดยเฉพาะทางภาคอีสานและภาคเหนือ โดยรัฐบาลจอมพล ป.เสนอตั้งหน่วยงานของกรมประชาสัมพันธ์และให้ยูซิสเข้าร่วม 

เอกสารและภาพยนต์เรื่องไฟเย็น ต่อต้านคอมมิวนิสต์
มีคณะผู้เชี่ยวชาญด้านสงครามจิตวิทยาของยูซิสออกเดินทางไปทั่วเขตชนบทของไทยด้วยกองคาราวานรถจิ๊ปเพื่อปฏิบัติการล้างสมองคนไทย โดยการแจกโปสเตอร์และคู่มือต่อต้านคอมมิวนิสต์แก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและประชาชนในเวลากลางวัน และฉายภาพยนต์ล้างสองให้ประชาชนชมในเวลากลางคืน ทั้งยังทำงานโฆษณาชวนเชื่อผ่านการกระจายเสียงทางวิทยุในส่วนภูมิภาคซึ่งประสบความสำเร็จมาก ต่อมารัฐบาลได้อนุมัติให้นำวิชาสงครามจิตวิทยาเข้าสอนในระดับมหาวิทยาลัยโดยมีกรมประมวลราชการแผ่นดินเป็นผู้รับผิดชอบ

เสด็จอิสาน พฤศจิกายน 2498
กลุ่มนิยมกษัตริย์มีแผนจะสร้างความนิยมในตัวกษัตริย์ด้วยโครงการเสด็จเยี่ยมประชาชนแต่รัฐบาลจอมพล ป. ไม่สนับสนุน พอปีต่อมาในช่วงกลางปี 2498 รัฐบาลจอมพล ป. ก็ยอมให้เสด็จเยี่ยมราษฎรซึ่งเป็นแผนการโฆษณาที่ได้ผลมาก การเสด็จครั้งสำคัญคือ การเสด็จภาคอีสานในช่วงเดือนพฤศจิกายน2498 กษัตริย์ภูมิพลก็เริ่มกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นชาติ และมีแผนจะเสด็จเยี่ยมประชาชนทุกภาคเพื่อสนับสนุนการต่อต้านคอมมิวนิสต์ตามความต้องการของสหรัฐ

จอมพล ป.เข้าพบประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์
ในขณะที่สหรัฐกำลังให้ความสำคัญต่อบทบาทของกษัตริย์ในการร่วมต่อต้านคอมมิวนิสต์ แต่รัฐบาลจอมพล ป. กลับเริ่มถอยห่างจากสหรัฐด้วยการเริ่มนโยบายต่างประเทศที่เป็นกลางนับตั้งแต่ปี 2498 และการสร้างกระบวนการประชาธิปไตยเพื่อสร้างฐานการเมืองมวลชนที่มีการแข่งขันทางการเมืองที่นำไปสู่การวิจารณ์บทบาทของสหรัฐและรัฐบาลจอมพล ป. อย่างหนัก 

นอกจากนี้รัฐบาลจอมพล ป. ยังได้หันไปประนีประนอมกับกลุ่มการเมืองต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มของนายปรีดีและกลุ่มฝ่ายซ้ายในไทยเพื่อให้ชนะเลือกตั้ง ทำให้สหรัฐไม่พอใจบทบาทของรัฐบาลจอมพล ป. ที่เคยเป็นพันธมิตรในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ 

สังข์ พัธโนทัยที่ปรึกษาจอมพล ป.
ผู้ดำเนินความสัมพันธ์กับจีนในทางลับ
นอกจากนี้รัฐบาลจอมพล ป. ยังพยายามสร้างไมตรีและทำการค้ากับจีนและยังนำเข้าวัฒนธรรมจากจีนโดยให้ภาพยนต์จากจีนหลายเรื่องเข้ามาฉายในกรุงเทพ ทำให้สหรัฐเกิดความวิตกว่ารัฐบาลจอมพล ป. กำลังจะหันไปคบกับจีน สถานทูตสหรัฐได้แจ้งเรื่องประท้วงรัฐบาลจอมพล ป.หลายครั้ง

ปรีดีร่วมงานสถาปนาสาธราณรัฐประชาชนจีน1ตค.2492
ขณะที่จอมพล ป.ได้บอกเจ้าหน้าที่ทูตสหรัฐหลายครั้งว่าเขาไม่พอใจกลุ่มนิยมกษัตริย์เป็นอย่างมากและตั้งใจจะแก้เผ็ดด้วยการอนุญาตให้นายปรีดีกลับมาไทยเพื่อฟื้นฟูคดีสวรรคตขึ้นมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง จากการที่จอมพล ป. เริ่มรู้สึกว่ารัฐบาลของตนกำลังไปไม่รอดเพราะกลุ่มทหารของจอมพลสฤษดิ์มีแนวโน้มที่จะร่วมมือกับกษัตริย์และพวกนิยมกษัตริย์
แต่สถานทูตสหรัฐเห็นว่าหากแผนแก้เผ็ดนี้สำเร็จจะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นสาธารณรัฐโดยมีจอมพล ป. เป็นประธานาธิบดี ส่วนตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจะมาจากการเลือกตั้งโดยตรง แต่สถานทูตสหรัฐเห็นว่าแผนดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมืองของไทยและจะทำให้คอมมิวนิสต์เข้าแทรกแซงได้ง่ายขึ้น การกลับประเทศไทยของนายปรีดีย่อมไม่เป็นผลดีต่อสหรัฐ

นักศึกษาประท้วงเลือกตั้งสกปรกปี 2500 สะพานผ่าฟ้า
แต่รัฐบาลจอมพล ป. ก็ยังเดินหน้าจะนำนายปรีดีกลับไทย ทั้งๆที่สหรัฐเห็นว่านายปรีดีเป็นตัวแทนของจีนที่จะส่งเสริมกิจกรรมของคอมมิวนิสต์ในไทยในจังหวะที่รัฐบาลจอมพล ป. เริ่มย่อหย่อนในการต่อต้านคอมมิวนิสต์และไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนในการเลือกตั้งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2500


ธานีนิวัต พิทยลาภพฤฒิยากร
เครือข่ายนิยมกษัตริย์และกองทัพได้เคลื่อนไหวเตรียมแผนรัฐประหารตั้งแต่กลางเดือนเมษายน2500 แกนนำสำคัญของฝ่ายกษัตริย์ เช่นพระองค์เจ้าธานีนิวัติ มรว.เสนีย์และคึกฤทธิ์ ได้เข้าร่วมประชุมวางแผนกับกองทัพ เริ่มการโจมตีรัฐบาลผ่านทางหนังสือพิมพ์และพรรคฝ่ายค้าน มีการอภิปรายเปิดเผยในสภาว่ากษัตริย์ภูมิพลได้พระราชทานเงินสนับสนุนจำนวน 7 แสนบาทแก่ม.ร.ว.เสนีย์และพรรคประชาธิปัตย์เพื่อใช้เคลื่อนไหวทางการเมือง 

พล.ต.อ.เผ่าเตรียมลี้ภัยไปสวิส
รายงานข่าวกรองของสหรัฐระบุว่ากษัตริย์ภูมิพลเสด็จไปพบม.ร.ว.เสีนย์ในยามค่ำคืนเป็นการลับเสมอๆด้วย เกิดเป็นการเมืองสองขั้ว คือ ขั้วรัฐบาลของจอมพล ป.กับตำรวจของเผ่า และขั้วของกองทัพที่มีจอมพลสฤษดิ์เป็นผู้นำกับกลุ่มนิยมกษัตริย์ โดยในตอนเย็นวันที่ 16 กันยายน2500 ก่อนการรัฐประหารไม่กี่ชั่วโมงจอมพล ป.ได้เข้าเฝ้ากษัตริย์ภูมิพลที่วังจิตรลดาเพื่อขอปลดจอมพลสฤษดิ์ แต่กษัตริย์ภูมิพลไม่เห็นด้วย
  

จอมพล ป.ขณะลี้ภัยไปญี่ปุ่นผ่านเกาะกง กัมพูชา
จนในที่สุดจอมพลสฤษดิ์ก็ทำรัฐประหารในคืนวันนั้น กลายเป็นจุดเริ่มต้นโครงสร้างอำนาจทางการเมืองที่สำคัญระหว่างสหรัฐ สถาบันกษัตริย์และกองทัพที่ดำรงอยู่อย่างยาวนานกว่า 20 ปีในเวลาต่อมาท่ามกลางกระแสสงครามเย็นที่ขึ้นสูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสหรัฐเห็นว่าการรัฐประหารของสฤษดิ์จะทำให้สถาบันกษัตริย์มีบทบาททางการเมืองเป็นอย่างมากเพราะทรงเป็นผู้ริเริ่มแผนรัฐประหารดังกล่าว จะช่วยสร้างเอกภาพและเสถียรทางการเมืองที่เป็นประโยชน์ต่อสหรัฐ 

กษัตริย์ภูมิพลปราศรัยต่อคองเกรส 29 มิย.2503
ในท้ายที่สุดแล้วความร่วมมือระหว่างสหรัฐ สถาบันก ษัตริย์ และกองทัพ ได้นำไปสู่ระบอบเผด็จการทหารเต็มรูปแบบในยุคสฤษดิ์-ถนอม และเปิดโอกาสให้สหรัฐใช้ไทยเป็นฐานทัพที่สำคัญในปฏิบัติการรุกรานประเทศในอินโดจีน ทำให้ไทยเข้าไปเกี่ยวข้องในสงครามอินโดจีนอย่างลึกซึ้ง สร้างทั้งปัญหาให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านและสร้างปัญหาทางการเมืองในประเทศไทยพร้อมกันไป ฝ่ายอนุรักษ์มองว่าเป็นเรื่องดีที่ทำให้ไทยไม่ต้องเป็นคอมมิวนิสต์ แต่มันก็ทำให้ไทยกลายเป็นกึ่งเมืองขึ้นหรือประเทศบริวารของสหรัฐรวมทั้งได้ทิ้งมรดกตกค้างทางวัฒนธรรมที่ยังดำรงอยู่เรื่อยมา.......
สมัครสมาชิก: บทความ (Atom)