วันเสาร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2557

ถึงจรัล:สอนกันมายังไงวะ มันถึงได้ตัดสินกันอย่างนี้

วันเสาร์, เมษายน 12, 2557

เคารพธงชาติ !?!?!?



คนรักชาติ เขาทำกันเเบบนี้เหรอ ???
ต่อไปนี้ถ้ารูปธงชาติ มีรูปไอ้เทือกอยู่ เเล้วใครจะเคารพธงชาติ ว่ะ

Danger for Monarchy and the Monarch in Thailand...

ภาพ asiapacific.anu.edu.au
การนำกษัตริย์ และ สถาบันกษัตริย์ 
มาอ้าง มาอิง มาโหน มาอวย มาต่อสู้กันทางการเมือง 
ในระยะยาว เป็นอันตราย และ เป็นภัยต่อทั้งกษัตริย์ และสถาบันฯ เอง

ใน ปวศ ของทุกประเทศ/ชาติในโลกใบนี้ 
หากนำ สถาบันกษัตริย์ มาชน/ปะทะกับ สถาบันประชาธิปไตย/ประชาชน 
ฝ่ายหลังเป็น ผู้ชนะ ในทุกๆ ประเทศ/ชาติ

ปัจจุบัน สหประชาชาติUN ที่เป็นที่รวมของ ทุกประเทศชาติ ในโลก
มีสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ

เป็นประเทศที่มีกษัตย์ 27 ประเทศ = 13 % คือเป็น minority

เป็นประเทศที่มีประธานาธิบดี 166 ประเทศ = 87 % คือเป็น majority

ประเทศที่รักษาสถาบันฯ ไว้ได้ 
ต้องประนีประนอม เกี้ยเซี้ย กับ ประชาธิปไตย/ประชาชน

ไม่ใช้ กม หมิ่นฯ พร่ำเพรื่อ อ้าง อิง โหน อวย ซ้ำๆ ซากๆ
เช่น สหราชอาณาจักร ยุโรปตะวันตก กับ ญี่ปุ่น

ดังนั้น ถ้าต้องการรักษากษัตริย์ และสถาบันฯ 
นอกจากจะต้อง ปฏิรูป กม หมิ่นฯ แล้ว 

ยังต้องคิดใหม่ สร้างวัตรปฏิบัติใหม่ 
ต่อทั้งกษัตริย์ และสถาบันฯ ครับ


cK@LeseMajesteLawReform

"พิลึกพิลั่น"


"พิลึกพิลั่น"
"พิลึกพิลั่น" แม่พลอยยืนพูดกับตัวเอง
อยู่นั่นแล้วเป็นสี่ซ้าห้าหน ก็จะอะไรเสียอีกเล่า!

ก็ไอ้ที่เขาเรียกกันว่า "สนามบิน" ที่แม่พลอยยืนเคว้งอยู่นี่เอง! ผู้คนทั้งหัวดำ หัวทอง มันมากมาย
ก่ายกองนัก นี่เขาจะไปไหนกัน แล้วนี่แม่ช้อยไปอยู่เสียข้างไหนนะ

"แม่พลอย แม่พลอย" นั่น แม่ช้อยยืนกวักมือหวอยๆ อยู่ข้างนู้น ข้างตัวแม่ช้อยมีกระเป๋าเสื่อจันทบูร ใบน้อยใบเขื่องกองแทบท่วมหัว 

พลอยรีบสาวเท้าเข้าไปหา

"อู้ย ช้อย นี่มันอะไรกัน ผู้คนวุ่นวายราวกับรับซารเรวิช"

"เขาเรียกสนามบิน พลอย ที่มีเรือบินไปต่างบ้านต่างเมืองไงล่ะ พลอย"

"เอ้า พี่ลึกแท้ ทางลูกรังบ้านเรายังออกถม ไงศาลเขาถึงยอมให้มีเรือยนต์ เรือบินอะไรนี้เล่า"

ช้อยหัวเราะลั่นกับคำพูดของแม่พลอย

"พลอยนี่ นับวันจะเจ้าคารี้สีคารมกว่าพวกครูกฏหมายฝ่ายคณะราษฎรอีกนะ"

"แล้วนี่ ช้อยจะไปไหนรึ" พลอยถามพลางหยิบยาดมส้มมือออกมาจากชายพก

"ก็ไปมันเรื่อยแหละพลอย" ช้อยพูดแล้วนิ่งไปชั่วขณะ "บ้านเมืองเราตอนนี้ราวมิคสัญญี ขอฉันหนีไปสงบอารมณ์หน่อยเถิด" ช้อยบีบแขนพลอยแน่น
ก่อนจะชี้มือขึ้นไปข้างบน พลางว่า

" ก็ในเมื่อต้องสู้กับข้างบน พลอยรู้ใช่ไหม" ช้อยยังชี้มืออยู่อย่างนั้น แล้วพูดต่อ "ขอดูหน่อยเถิดว่า
เมืองบนมันจะซะแค่ไหนกันเชียว"

ทันใดนั้น ก็มีเสียงดังก้องไปทั่วโถงนั้น

ช้อยหันมาบอกพลอย ระหว่างหอบกระเป๋าเต็มสองแขน

"นั่น เขาประกาศเรียกแล้ว ไปก่อนนะพลอย 
ฝากข้างนี้ด้วย วันที่ 18 นี้ พวกกระลาการคงหักด้ามพร้าด้วยเข่าอีก ทำใจนะพลอย"

"จ๊ะ ช้อย เจอใครข้างบนนั่น ฝากบอกด้วยนะ

ว่า ลงมาได้แล้ว" พลอยพูดติดตลก ช้อยหันมายิ้มให้ก่อนจะเดินหายเข้าไปด้านในของสนามบิน

“ผู้ช่วย"สำคัญที่ทำให้พรรคการเมืองของคุณทักษิณได้รับความนิยมจากประชาชนยั่งยืนยาวนาน

ภาพ ประชาไท

ใครคือ“ผู้ช่วย"ตัวสำคัญที่ทำให้พรรคการเมืองของคุณทักษิณได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างยั่งยืนยาวนาน?

1.คมช.ที่ก่อรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน2549เพื่อล้มกระดานในช่วงที่รัฐบาลทักษิณมีคะแนนนิยมตกต่ำ

ผลคือคุณทักษิณกลายเป็นวีรบุรุษผู้พิทักษ์ระบอบประชาธิปไตย!

2.พรรคประชาธิปัตย์ที่ไม่เคยมีนโยบายที่สามารถจับใจกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคมไทยและไม่รู้จักเล่นตามกติกาประชาธิปไตย

3.อนุพงษ์ เผ่าจินดาที่เล่นบทบาทต่อรองจัดการให้คุณเนวินแยกตัวจากคุณทักษิณไปช่วยพรรคประชาธิปัตย์ตั้งรัฐบาลตัดหน้าพรรคเพื่อไทยเมื่อปี2551

4.รัฐบาลอภิสิทธิ์ที่มีคุณสุเทพเป็นผู้คุมอำนาจที่ได้ปราบผู้ชุมนุมเสื้อแดงอย่างโหดเหี้ยมและขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนเมื่อปี2553

5. กปปส. คณะกรรมการการเลือกตั้ง และศาลรัฐธรรมนูญโดยการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยที่กระทำอยู่ในปัจจุบัน


หากไม่มี“ผู้ช่วย"ที่มากมายและทรงอำนาจอย่างนี้ ป่านนี้คุณทักษิณและพรรคการเมืองของเขาอาจเป็นเพียงความทรงจำที่เลือนลางก็ได้!

ถึงจรัล:สอนกันมายังไงวะ มันถึงได้ตัดสินกันอย่างนี้

รูปภาพ : การเผชิญหน้า  ระหว่างตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ชื่อ จรัล ภักดีธนากุล กับ กรรมการกฤษฎีกา ชื่อ ปิยะพันธ์ จัมปาสุต ผู้เขียนบทกวี "ศาลเจ้า" "คำถามของฉัน" "คำตัดสิน" และ ฯลฯ  อยากทราบมั้ยครับเจอกันได้อย่างไร ใครเข้าไปทักใคร และคุยกันเรื่องอะไร   โปรดติดตามตอนต่อไป.....
ผมคิดถึงพี่ชายที่ตุลาการจรัลว่าเคยแนะนำสั่งสอน
พร้อมกับคิดว่า:"สอนกันมายังไงวะ มันถึงได้ตัดสินกันอย่างนี้"

โดย ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
ที่ีมา เฟซบุ๊ค Piyapan Champasut

เห็นภาพแล้วอย่าเพิ่งร้องว่ามวยล้มต้มคนดูนะครับ 

เมื่อคืนวันศุกร์ที่ 4 เมษายนที่ผ่านมา ผมในฐานะประธานคณะผู้เข้าอบรมหลักสูตร
"นักบริหารการยุติธรรมทางปกครองระดับสูง" รุ่นที่ 5 หรือ บยป.5 ของศาลปกครอง 
ได้ไปเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรมศพบิดาคุณเชาวนะ ไตรมาศ 
เลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญเพื่อนร่วมรุ่น ณ ศาลา 12 วัดพระศรีมหาธาตุ 
โดยได้รับทราบว่าทางศาลรัฐธรรมนูญเองก็เป็นเจ้าภาพร่วมด้วย
ในคืนดังกล่าวเช่นกัน ผมรู้ทันทีว่าจะต้องเจอกับบรรดาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแน่ 
และก็เกิดวิตกว่าผมอาจถูกเชิญให้ไปนั่งอยู่ด้วยกันกับตุลาการเหล่านั้น
ในฐานะเจ้าภาพร่วมซึ่งผมไม่ต้องการเสวนากับุคคลเหล่านี้ก็เลยแกล้งไปให้ถึง
ช้ากว่ากำหนดเล็กน้อย ซึ่งก็เป็นไปตามแผน ผมไปถึงเมื่อเริ่มสวดแล้ว
จึงเดินอ้อมเข้าไปในศาลาจากด้านหลังและนั่งถัดไปสองแถวจากโซฟาด้านหน้า
ซึ่งเห็นมีตุลาการนั่งฟังสวดกันอยู่ 5 คน 

เมื่อพระสงฆ์สวดเสร็จได้มีการเชิญประธานศาลรัฐธรรมนูญกับตุลาการอีก 3 คน
ออกไปถวายปัจจัย หลังจากนั้นก็เชิญตุลาการที่เหลืออยู่อีกหนึ่งคน คือจรัล ภักดีธนากุล 
ผม และอีกสองท่านออกไปทอดผ้า ผมเดินออกไปโดยมิได้มองหน้านตุลาการจรัลหรือแม้แต่ชำเลืองมองเลยแม้แต่น้อย ทั้งๆ ที่รู้จักกันดีเนื่องจากเป็นรุ่นน้องนิติศาสตร์ จุฬาฯ

เมื่อเสร็จพิธีแขกเริ่มทยอยกลับผมก็เอาเงินทำบุญไปมอบให้คุณเชาวนะ เจ้าภาพ
พร้อมจะลากลับ แต่คุณเชาวนะขอให้อยู่ถ่ายภาพเป็นที่ระลีก ก็เลยต้องอยู่ 
ช่วงนั้นเห็นตุลาการทั้ง 5 เดินออกจากศาลาไปก็นึกว่ากลับไปหมดแล้ว 
แต่จู่ๆ จรัลก็เดินเข้ามาหาพร้อมกับยกมือไหว้อย่างนอบน้อม 

"สวัสดีครับพี่ แหมไม่ได้เจอพี่ตั้งไม่ต่ำกว่า 5-6 ปีมาแล้วสบายดีนะครับ 
ผมจำได้ว่าว่าเจอพี่ครั้งสุดท้ายที่สภา" แล้วจะให้ผมว่ายังไงล่ะครับ

ต่อหน้าศพ ต่อหน้าเจ้าภาพ และต่อหน้าแขกที่ยังรอถ่ายรูปบ้าง คุยอยู่กับเจ้าภาพบ้าง
ผมไม่สามารถเสียมารยาทที่จะพูดหรือถามข้อข้องใจอะไรหลายอย่างเกี่ยวกับคำตัดสิน
ของศาลรัฐธรรมนูญที่ผมเห็นว่าไม่ยุติธรรมและไม่เป็นไปตามหลักกฎหมายได้ 
เพราะหากเกิดการโต้แย้งทางความคิดกันขึ้นก็จะกลายเป็นว่าไม่ให้เกียรติกับเจ้าภาพ
และผู้ถึงแก่กรรม ผมก็จะเสียหายถูกตำหนิว่าไม่รู้จักกาละเทศะ 

และตุลาการจรัลแกก็ช่างอ่อนน้อมถ่อมตนเหลือเกินยังคุยถึงพี่ชายผม
ที่เคยผู้พิพากษารุ่นพี่ว่า 

"ผมเคยเป็นลูกศิษย์พี่ชายของพี่ ตอนผมเป็นผู้พิพากษาใหม่ๆ 
ท่านก็ให้คำแนะนำสั่งสอนต่างๆ" ผมก็เลยต้องยิ้มแย้มแจ่มใสคุยไปตามมารยาท
ก่อนที่เขาจะลาไปด้วยการไหว้แล้วไหว้อีก

ผมคิดถึงพี่ชายที่ตุลาการจรัลว่าเคยแนะนำสั่งสอนพร้อมกับคิดว่า


"สอนกันมายังไงวะ มันถึงได้ตัดสินกันอย่างนี้"


แต่ที่เจ็บใจมากที่สุดก็คือ


"นี่พวกตุลาการศาลเจ้ามันไม่เคยอ่านกลอน'ศาลเจ้า'กันมั่งเลยเหรอวะเนี่ย"


ไม่เป็นไร ถึงพวกศาลเจ้ามันจะไม่อ่านกลอนของเรา แต่ตราบใดที่
ศาลเจ้ายังไร้ความยุติธรรม ก็จะเขียนกลอนด่าศาลเจ้าต่อไป!

........

ศาลเจ้า

กราบเรียน ศาลเจ้าที่เคารพ
เมื่อท่านจบซึ่งคำพิพากษา
จุดจบความยุติธรรมก็ตามมา
พร้อมกับความศรัทธาก็เสื่อมคลาย


การคุ้มครองคนที่กระทำผิด
นั่นคือการละเมิดสิทธิ์คนทั้งหลาย
นิติธรรมนิติศาสตร์ขาดกระจาย
ขัดแย้งหลักกฎหมายทุกตำรา


ประวัติศาสตร์ยุติธรรมจะจำจด
ความอัปยศให้อับอายและขายหน้า
ไม่มีวันเลือนลับกับเวลา
จะตรึงตราติดตนไปจนตาย


การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์
ท่านอาจรักหรือโกรธกับบางฝ่าย
แต่หลักความยุติธรรมอย่าทำลาย
ยึดตัวบทกฎหมายโดยเคร่งครัด


อำนาจแห่งอธิปไตยทั้งสามฐาน
บริหาร ตุลาการ นิติบัญญัติ
กำหนดหน้าที่แบ่งอย่างแจ้งชัด
อย่าก้าวก่ายอำนาจรัฐิขัดหลักการ


โปรดทราบว่าที่พึ่งที่สุดท้าย
ซึ่งทุกฝ่ายหวังพึ่งก็คือศาล
หากตาชั่งเอียงเอนเหมือนเป็นพาล
จะใหัคลานไปกราบเท้าขอพึ่งใคร?


หากบ้านนี้เมืองนี้กลียุค
จนไฟลุกลามเผาศาลเจ้าไหม้
ก็จงอย่าได้โกรธโทษผู้ใด
ที่เกิดไฟไหม้ศาลเจ้า..เพราะเผาเอง!


ปิยะพันธ์ จัมปาสุต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น