วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

รัฐบาลสหรัฐวิตกสถานการณ์การเมืองไทย เรียกร้องทุกฝ่ายเคารพกฎหมาย ชี้ยึดสถานที่แก้ปัญหาไม่ได้

 

วันอังคาร, พฤศจิกายน 26, 2556

รัฐบาลสหรัฐวิตกสถานการณ์การเมืองไทย 

เรียกร้องทุกฝ่ายเคารพกฎหมาย ชี้ยึดสถานที่แก้ปัญหาไม่ได้


ที่่มา ข่าวสด

 น.ส.เจน ซากี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา

 เมื่อวันที่ 25 พ.ย. สำนักข่าวเอเอฟพีและรอยเตอร์ รายงานว่า น.ส.เจน ซากี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา แถลงที่กรุงวอชิงตัน ว่ารัฐบาลสหรัฐวิตกกังวลต่อสถานการณ์ตึงเครียดทางการเมืองของไทยและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายอดกลั้น หลีกเลี่ยงความรุนแรง และเคารพกฎหมาย

 “ความรุนแรงและการยึดอาคารสถานที่ของราชการและเอกชนเป็นวิธีที่ไม่อาจยอมรับได้ว่าจะแก้ไขความแตกต่างทางการเมืองได้”โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกล่าวและว่า ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นพันธมิตรยาวนานของสหรัฐ สหรัฐขอเป็นกำลังใจอย่างยิ่งต่อประเทศและประชาชนชาวไทยในช่วงเวลานี้ สำหรับรัฐบาล สหรัฐขอให้รักษาการให้เสรีภาพสื่อมวลชนและรับประกันความปลอดภัยของนักข่าวสื่อมวลชน

 สำหรับเนื้อหาการแถลง มีดังนี้ U.S. says concerned with Thailand tensions, urges restraint.
 WASHINGTON Mon Nov 25, 2013 11:16am EST

 (Reuters) - The United States expressed concern on Monday over rising political tensions in Thailand, and urged the government and protesters to resolve differences through peaceful dialogue.

 Thousands of protesters have occupied government buildings and called for the overthrow of Prime Minister Yingluck Shinawatra.

 "We urge all sides to refrain from violence, exercise restraint, and respect the rule of law," State Department spokeswoman Jen Psaki said in a statement. "Violence and the seizure of public or private property are not acceptable means of resolving political differences," she added.
 

ไม่หนวกหู ไม่ต้องดาวกระจาย ไอลอว์แนะทางออก :

บัตรประชาชนหมื่นคนเสนอกฏหมายได้โดยตรง

เข้าสู่ยุคใหม่ของการเสนอกฎหมายโดยประชาชน

 เมื่อ 22 พ.ย. 2556

 กว่าหกปีของการรอคอย และกว่าสามปีเต็มของการดิ้นรนในรัฐสภา “พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย” ฉบับใหม่ก็ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา เหลือเพียงขั้นตอนการลงพระปรมาภิไธยและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเท่านั้น สังคมไทยก็จะเข้าสู่ยุคใหม่ของการเสนอกฎหมายโดยประชาชน

 
รัฐธรรมนูญปี 2540 กำหนดว่า ประชาชนจะเสนอกฎหมายได้โดยเข้าชื่อกัน 50,000 คน และพ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542 ก็กำหนดรายละเอียดต่างๆ ตามมา เช่น ต้องใช้หลักฐานเป็นสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของคนทั้ง 50,000 ประธานรัฐสภามีอำนาจสั่งไม่รับร่างกฎหมายของประชาชนได้หากเป็นกฎหมายที่ไม่เข้าหมวด 3 หรือหมวด 5 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งกว่า 15 ปีภายใต้ระบบนี้ สิทธิการมีส่วนร่วมโดยตรงของประชาชนแทบไม่เกิดขึ้นได้จริง จึงนำมาสู่การผลักดันเพื่อแก้ไขเสียใหม่
 
รัฐธรรมนูญปี 2550 กำหนดใหม่ว่า ประชาชนจะเสนอกฎหมายได้โดยเข้าชื่อกัน 10,000 คน ด้านภาคประชาชนอย่างมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติและสถาบันพระปกเกล้า ต่างจัดทำร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายแล้วรวบรวมรายชื่อประชาชนเสนอเพื่อวางระบบการเข้าชื่อเสนอกฎหมายแบบใหม่ ส่งเสริมการใช้สิทธิของประชาชนให้มีความหวังมากขึ้น
 
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายของภาคประชาชนถูกนำมาพิจารณารวมกับร่างฉบับของรัฐบาล และแก้ไขกันในชั้นพิจารณา จนเมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2556 รัฐสภาลงมติผ่านร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายเป็นที่เรียบร้อย ร่างฉบับที่ผ่านการพิจารณานี้แม้จะแก้ไขปัญหาเดิมๆ ไปแล้วหลายอย่าง แต่ก็เพิ่มขั้นตอนใหม่ๆ ขึ้นมาที่อาจมีนัยยะสำคัญต่อการใช้สิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายของประชาชนในอนาคตได้ 
 
ยกเลิกสำเนาทะเบียนบ้านเหลือแค่บัตรประชาชน ลดจำนวนรายชื่อเหลือ 10,000 คน
รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 กำหนดให้ลดจำนวนผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายจาก 50,000 คนเหลือ 10,000 คน ซึ่งระหว่างที่พระราชบัญญัติเข้าชื่อเสนอกฎหมายฉบับปี 2542 ยังใช้บังคับอยู่แต่ทางปฏิบัติก็ยอมรับกันที่จำนวน 10,000 คนตามรัฐธรรมนูญแล้ว ตามกฎหมายใหม่ได้แก้ไขให้ชัดเจนแล้วว่า ต้องการรายชื่อเพียง 10,000 คนจริงๆ
 
"หลักฐานประกอบ" สำหรับการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย เป็นอุปสรรคที่สร้างภาระให้กับภาคประชาชนอย่างมาก เพราะกฎหมายเดิมกำหนดให้ใช้ทั้งสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน ทั้งที่ปกติคนจะไม่พกทะเบียนบ้านติดตัวหรืออาจจะทิ้งไว้ที่บ้านในต่างจังหวัด ทำให้หลายครั้งคนที่ต้องการสนับสนุนกฎหมายก็ไม่สะดวกที่จะใช้สิทธิของตัวเองได้ ตามกฎหมายใหม่จึงกำหนดให้ใช้เพียงสำเนาบัตรประชาชนอย่างเดียว ถือเป็นอันปิดฉากข้อวิจารณ์ที่มีมายาวนานได้อย่างลงตัว
 
ประกาศรายชื่อผ่านอินเทอร์เน็ต และส่งจดหมายแจ้งไปยังผู้เข้าชื่อทุกคน เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
กระบวนการตามกฎหมายเดิมคือ หลังจากตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของรายชื่อแล้ว รัฐสภาจะส่งรายชื่อไปปิดประกาศไว้ตามองค์กรปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นต่างๆ เพื่อให้ประชาชนมาตรวจสอบว่ามีชื่อของตัวเองอยู่หรือไม่ ถ้าหากพบว่ามีชื่อของตนอยู่ทั้งที่ไม่เคยไปเข้าชื่อฉบับนั้นๆ ก็ให้มาทำเรื่องคัดค้าน ซึ่งที่ผ่านมากระบวนการนี้มีปัญหาว่าตามปกติไม่มีใครเดินทางไปยังหน่วยงานต่างๆ เพื่อตรวจสอบรายชื่อของตัวเอง แถมยังเคยปรากฏว่าผู้มีอำนาจในท้องถิ่นเองเป็นคนตรวจสอบรายชื่อ และมีการใช้อำนาจข่มขู่คนที่เคยเข้าชื่อเสนอกฎหมายให้ไปถอนชื่อออกด้วย
 
กระบวนการตามกฎหมายใหม่กำหนดให้รัฐสภามีหน้าที่ประกาศรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายทาง “สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ” ซึ่งตีความได้ว่าจะต้องใช้ช่องทางอินเทอร์เน็ตให้เป็นประโยชน์ และต้องจัดเอกสารไว้ให้ประชาชนตรวจสอบรายชื่อได้ที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยไม่ได้กำหนดให้ปิดประกาศตามที่ต่างๆ ในท้องถิ่น
 
กระบวนการที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ รัฐสภาต้องส่งหนังสือแจ้งไปยังผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมายทุกคนด้วย ว่าเป็นผู้มีรายชื่อปรากฏอยู่เพื่อให้ผู้มีรายชื่อทราบ และหากมีการปลอมแปลงรายชื่อมาก็จะได้ใช้สิทธิของตนคัดค้านได้
 
ต้องมีผู้ริเริ่ม 20 คน แจ้งต่อประธานสภาให้พิจารณาเรื่อง “หมวด 3 หมวด 5” ก่อน
ตามกฎหมายเดิมไม่มีระบบการ “แจ้งก่อน” ถ้าใครหรือคนกลุ่มใดต้องการจะรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อเสนอกฎหมายใด ก็สามารถเริ่มดำเนินการเองได้เลยไม่ต้องแจ้งต่อหน่วยงานใดก่อน ซึ่งมีข้อดีคือ ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพริเริ่มได้โดยอิสระ แต่ขณะเดียวกันก็มีข้อเสียคือ ร่างกฎหมายหลายฉบับหลังจากที่ประชาชนลงทุนไปมากมายกับกิจกรรมล่ารายชื่อ เมื่อนำไปยื่นเสนอต่อรัฐสภากลับถูกประธานรัฐสภาวินิจฉัยว่าเป็นร่างกฎหมายที่ไม่เกี่ยวข้องกับหมวด 3 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย หรือหมวด 5 ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ประชาชนไม่มีสิทธิเสนอ จึงไม่รับร่างกฎหมายไว้พิจารณา ทำให้ความพยายามทุ่มเทในการรวบรวมรายชื่อนั้นเป็นอันสูญเปล่าไป
 
กระบวนการตามกฎหมายใหม่จึงกำหนดให้ ก่อนเริ่มทำกิจกรรมรวบรวมรายชื่อเพื่อเสนอกฎหมายใด ต้องมี “ผู้ริเริ่ม” ไม่น้อยกว่า 20 คน เสนอเรื่องและร่างกฎหมายให้ประธานรัฐสภาพิจารณาก่อน หากประธานรัฐสภาเห็นว่าเป็นร่างกฎหมายที่ไม่เกี่ยวข้องกับหมวด 3 หรือหมวด 5 ของรัฐธรรมนูญก็ให้ส่งเรื่องคืน เพื่อจะได้ไม่ต้องไปล่ารายชื่อให้เสียเปล่าแล้วมาถูกปัดตกภายหลัง
 
กระบวนการนี้อาจลดปัญหาความขัดแย้งว่าร่างกฎหมายฉบับไหนเกี่ยวข้องกับหมวด 3 หรือ หมวด 5 ลงได้บ้าง แต่ขณะเดียวกันก็เพิ่มภาระและขั้นตอนให้กับการใช้สิทธิของประชาชน จึงต้องรอดูทางปฏิบัติกันต่อไปว่าระบบใหม่นี้จะช่วยแก้ปัญหาหรือเพิ่มอุปสรรคกันแน่
 
กกต. หายไป สภาพัฒนาการเมือง, สำนักงานเลขาฯ, คปก. เพิ่มเข้ามา
ตามกฎหมายเดิม ประชาชนอาจขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ช่วยดำเนินการในขั้นตอนการรวบรวมรายชื่อได้ แต่ตามกฎหมายใหม่ตัดบทบาทส่วนนี้ของกกต.ออกไปทั้งหมด ทำให้ประชาชนไม่อาจขอให้หน่วยงานใดช่วยเหลือในการรวบรวมรายชื่อให้ครบ 10,000 ชื่อได้แล้ว ต้องทำเองทั้งหมด
 
ขณะที่ตามกฎหมายใหม่กำหนดให้ประชาชนมีสิทธิขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการล่ารายชื่อจากกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองของสภาพัฒนาการเมืองได้ และสามารถขอให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรหรือสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือในการจัดทำร่างกฎหมายได้
 
รัฐสภาต้องตรวจสอบรายชื่อภายใน 45 วัน
ตามกฎหมายเดิมไม่มีกำหนดกรอบเวลาให้รัฐสภาสำหรับการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของหลักฐานและรายชื่อผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย ทำให้กฎหมายหลายฉบับถูกดองไว้ในกระบวนการตรวจสอบรายชื่อนานเกินจำเป็น ตามกฎหมายใหม่จึงกำหนดหน้าที่ของรัฐสภาให้ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของเอกสารให้เสร็จภายใน 45 วัน
 
กำหนดโทษการหลอกให้คนลงชื่อ และการปลอมลายมือชื่อ โทษสูงสุดสิบปี
ตามกฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดโทษและความผิดฐานนี้ แต่การปลอมลายมือชื่อย่อมเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264 อยู่แล้ว ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมายฉบับใหม่กำหนดให้ผู้ที่ปลอมลายมือชื่อในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายมีโทษจำคุกไม่เกินสิบปี
 
นอกจากนี้กฎหมายใหม่ยังกำหนดว่า ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด หรือหลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ หรือใช้อิทธิพลคุกคามเพื่อให้ร่วมลงชื่อหรือไม่ลงชื่อ เป็นความผิดมีโทษจำคุกไม่เกินห้าปีซึ่งการกำหนดเช่นนี้ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าหากมีการโฆษณาให้ประชาชนมาเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยรับรองว่าถ้ากฎหมายฉบับนั้นๆ ผ่านจะเป็นประโยชน์กับประชาชน เช่นนี้จะเป็นความผิดด้วยหรือไม่
 
บทความเกี่ยวเนื่อง จากไอลอว์
 
 

วันจันทร์, พฤศจิกายน 25, 2556

มุมเพลง: Scorpions - Wind Of Change

เพลง Wind of Change ของวง Scorpions
http://www.youtube.com/watch?v=n4RjJKxsamQ



ในมุมมองหนึ่งต่อสังคมไทย ซึ่งอยู่ในภาวะไม่เสถียร และมีความง่ายต่อการเร้าซึ่งสะสมมานานตั้งแต่ปี 2475 เรามีความคิดเห็นที่คิดว่าน่าจะเปรียบเทียบได้กับปฏิกริยานิวเคลียร์ประเภทหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เฉกเช่นเดียวกับธาตุกัมมันตรังสี ความกดดันในการเปลี่ยนแปลงจะก่อให้เกิดการระเบิดขึ้น

ในอีกมุมมองหนึ่งในวงการนิวเคลียร์เพื่อสันติภาพ ในเตาปฏิกรณ์ปรมาณูจะอาศัยแท่งกราไฟต์ เพื่อการยับยั้งความเร็วและจำนวนการแตกตัวของอนุภาค ทำให้พลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นได้รับการปลดปล่อยภายใต้การควบคุม การเปลี่ยนแปลงก็กลับดำเนินการไปด้วยสันติ

การแตกตัวของอนุภาค หรือการกระเพื่อมของการเมืองไทย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ด้วยความปราถนาดีในเชิงสากลที่มีต่อกันและกัน ก็ทำให้อะไรๆไม่ได้ระเบิดออกมาจนควบคุมไม่ได้ อนึ่งเช่นเดียวกับแท่งกราไฟต์ที่ใช้ควบคุมปฏิกิริยานิวเคลียร์ในเตาปฏิกรณ์ปรมาณู

http://www.youtube.com/watch?v=ueainTAy7G0


ปล. เนื่องจากสมาชิกหลักท่านหนึ่งของทีมข่าวติดภาระกิจ การอัพเดตเว็บอาจจะมีความเปลี่ยนแปลงในแง่ความถี่ของข่าวสารเว็บ จึงเรียนมาให้ท่านผู้อ่านทุกท่านทราบ ท่านสามารถติดตามข่าวสารโดยอาศัยลิงก์ต่างๆที่เรารวบรวมไว้ด้านข้างของเว็บ รวมถึง Social network media ที่ได้รับความนิยมเช่น facebook หรือ twitter.

เล่าด้วยภาพ การชุมนุมของ นปช. รัฐ ถูกประหาร โดย ศาลรัฐธรรมนูญ 24/11/56 @ราชมังคลาฯ

โดย JPLSoft
25 พฤศจิกายน 2556

สวัสดีครับพบกันอีกครั้ง  นปช. ได้เรียกรวมพลเพียงหนึ่งวัน และนัดกันวันนี้ 
ที่สนามราชมังคลาฯ เวลา18.00 น. เป็นต้นไป  ผลปรากฏว่า พี่น้องคนเสื้อแดงของเรามามากกว่า 
วันที่ 19,20 พ.ย. ที่ผ่านมา ผมคาดว่าวันพรุ่งนี้คงจะมากันเยอะกว่านี้

ขอเรียนเชิญคนเสื้อแดงทุกท่าน ตอนนี้ เวลานี้ถือว่า เราต้องมาช่วยกันปกป้องรัฐบาล
ที่มาจากการเลือกตั้ง ขอให้เดินทางมาร่วมชุมนุมที่สนามราชมังคลาฯ หัวหมาก หรือ
ช่วยกันเผยแพร่กิจกรรมของการชุมนุมของเรา ทั้งเรื่องเนื้อหาและภาพถ่าย ออกไปทุกๆ สื่อ ครับ  
เราต้องรวมพลังเป็นหนึ่งเดียว โดยมีแกนนำ นปช. เป็นหัวขบวน ครับ ตอนนี้คุณขวัญชัย 
ก็ได้นำพาพี่น้องคนอุดรฯ และพี่น้องภาคอิสาน เดินทางมาร่วมชุมนุมเป็นจำนวนมาก

แถลงการณ์แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ

1. ยืนยันการเมืองการปกครองต้องเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
2. ยืนยันการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจรัฐสภา
3. นปช. ยืนยันการต่อสู้สันติวิธีในฐานะพลังประชาธิปไตย เพื่อปกป้องระบอบประชาธิปไตย
4. ต่อต้านรัฐประหารทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นรัฐประหารโดยการใช้กฏหมายที่มิใช่นิติธรรม หรือ 
    รัฐประหารโดยกองทัพ

24 พฤศจิกายน 2556

ปล.บางท่านอาจจะยังไม่ได้ชมภาพชุดวันที่ 19-20 พ.ย. นี้ ก็ขอแนะนำตาม link นี้ครับเล่าด้วยภาพ แก้รัฐธรรมนูญ เป็นอำนาจ รัฐสภา 19-20 พ.ย. 56 @รัชมังคลาฯ
http://www.dangdd.com/threads/เล่าด้วยภาพ-แก้รัฐธรรมนูญ-เป็นอำนาจ-รัฐสภา-19-20-พ-ย-56-รัชมังคลาฯ.163220/

ชมภาพชุดปัจจุบันครับ 


รอยเตอร์-APชี้ม็อบระบอบเทือกแค่1แสนไม่ทะลุล้าน

A Thai opposition protester waves a national flag during a rally at Democracy Monument in Bangkok, on November 24, 2013
ภาพ-AFP
Anti-government protesters wave clapping tools in Bangkok, Thailand, Sunday, Nov. 24, 2013, calling for Thai Prime Minister Yingluck Shinawatra to step down.(AP Photo/Sakchai Lalit)

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
25 พฤศจิกายน  2556

ขณะที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้นำการประท้วงขับไล่รัฐบาลอ้างว่ามีผู้ร่วมชุมนุมเกินเป้า 1 ล้านคนในวันที่ 24 พฤศจิกายน แต่สำนักข่าวต่างประเทศที่เชื่อถือได้คือ สำนักข่าวAPรายงานข่าวว่า มีผู้ร่วมชุมนุมเพียง 1 แสนคน( About 100,000 anti-government demonstrators )

AP รายงานว่าตำรวจคาดการณ์มีผู้ร่วมชุมนุม 75,000 คนในตอนบ่าย และเพิ่มเป็น 100,000 คนในช่วงเย็น
Copy of Thailand Politics~3

สำนักข่าวที่เชื่อถือได้อีกรายคือ Reuters รายงานว่านี่เป็นการชุมนุมที่มียอดสูงสุดนับตั้งแต่ปี2553ของไทย คือมีราว 1 แสนคน 
(About 100 000 anti-government protesters ) ขณะที่กลุ่มคนเสื้อแดงก็จัดชุมนุมสนับสนุนรัฐบาลราว 40,000 คนThai pro-government "Red Shirts" wave national flag
สำนักข่าวABC รายงานยอดจำนวน 1 แสนคนเช่นกัน (
Bangkok  tense as 100,000 protesters rally against Yingluck Shinawatra's administration) ขณะที่คนเสื้อแดงมี 40,000 คน
สำนักข่าวBloomberg รายงานยอดผู้ร่วมชุมนุม 100,000 คนเช่นกัน ขณะที่ผบ.ตร.ของไทยบอกว่า80,000 คน ( 
Thai anti-government groups pledged to spread their protest to military bases, government offices and television stations today after more than 100,000 people joined rallies )

ส่วนสำนักข่าวภาษาต่างประเทศในไทยคือTHE NATION ซึ่งมีความเห็นอกเห็นใจและสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์อย่างต่อเนื่อง รายงานเช่นกันว่า ยอดผู้ชุมนุมอยู่ที่ 1 แสนคน แต่ผู้นำการประท้วงอ้างว่ามีมากกว่า 1 ล้านคน (
The number of the protesters varied on estimates by several accounts, with security sources saying that it may be around 100,000 while the protest leaders put it at nearby a million)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น