วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประชาไท: กลุ่มนักวิชาการ เสนอทางออก รบ.ประชามติแก้รธน.ทั้งฉบับ พร้อมยุบสภา

 

วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 28, 2556

ประชาไท: กลุ่มนักวิชาการ เสนอทางออก รบ.ประชามติแก้รธน.ทั้งฉบับ พร้อมยุบสภา

ประชาไท
Thu, 2013-11-28 13:41

28 พ.ย.2556 กลุ่มนักวิชาการ ประกอบด้วย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, นิธิ เอียวศรีวงศ์, พวงทอง ภวัครพันธุ์, สมฤทธิ์ ลือชัย, ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์, ยุกติ มุกดาวิจิตร, ประจักษ์ ก้องกีรติ, สมชาย ปรีชาศิลปกุล,  ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, อัครพงษ์ ค่ำคูน และ ทวีศิลป์ สืบวัฒนา ออกแถลงการณ์เสนอทางออกจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ต่อ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี 2 ข้อ ประกอบด้วย 1.เพื่อแก้ไขวิกฤตที่เกิดจากรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2550 ต้องจัดการลงประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ  2. หลังจากนั้น รัฐบาลต้องประกาศยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยจะดำเนินการควบคู่ไปกับการออกเสียงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ พร้อมระบุว่า  ในภาวะวิกฤตเช่นนี้ รัฐบาลจำเป็นต้องคืนอำนาจในการตัดสินใจทางการเมืองให้กับประชาชน และยืนยันในความสำคัญของรักษาประชาธิปไตยตามวิถีทางรัฐสภา

พวงทอง ภวัครพันธุ์ รองศาสตราจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ อธิบายเพิ่มเติมว่า ข้อเสนอตามที่แถลงไปนั้น ต้องการให้ประกาศลงประชามติซึ่งตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้ใช้เวลาเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน ซึ่งยาวนานกว่าช่วงเวลากำหนดเรื่องการยุบสภา ดังนั้นรัฐบาลจึงอาจจะประกาศเรื่องลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน และให้คำมั่นว่าจะยุบสภา ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้ประกาศล่วงหน้า 45 วัน

ทั้งนี้ กลุ่มของนักวิชาการที่ร่วมลงชื่อเห็นว่า ถ้าจะให้ประชาชนลงคะแนนเลือกตั้งแล้วก็น่าจะให้ลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับไปด้วย เพราะวิกฤตการเมืองส่วนหนึ่งที่สำคัญก็เกิดมาจากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2550 และตัวอย่างล่าสุดที่ทำให้เกิดความขัดแย้งก็คือเรื่องการแก้ไขที่มาของ ส.ว.

สำหรับท่าทีของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่ไม่เอาการยุบสภา และต้องการตั้งสภาประชาชนนั้น ศ.นิธิ เอียวศรีวงศ์กล่าวว่าแม้ฝ่ายต่อต้านจะไม่เอาการยุบสภาแต่เห็นว่า รัฐบาลมีสิทธิที่จะยื่นข้อเสนอที่ดีที่สุดให้ประชาชน จะไม่ตอบรับก็ได้ แต่รัฐบาลมีสิทธิที่จะมอบอำนาจให้ประชาชนซึ่งถือเป็นทางออกที่ดีที่สุด “ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่มีเหตุผล ถ้าเสนอทางออกที่ไม่ใช้ความรุนแรง เชื่อว่าคนจะรอจังหวะเวลาในการลงประชามติ และรอการเลือกตั้ง” นิธิกล่าวพร้อมย้ำว่าตราบเท่าที่เป็นข้อเสนอที่คนส่วนใหญ่เห็นว่ามีเหตุผล ก็น่าจะเป็นทางออกได้

ส่วนคำถามว่าพรรคฝ่ายค้านอย่างประชาธิปัตย์อาจจะใช้วิธีบอยคอตการเลือกตั้ง นิธิตอบว่าคนส่วนใหญ่ก็คงเลือกเท่าที่มี และคิดว่าประชาชนต้องการฝ่ายค้านที่ดี มีเหตุผลและมีพลัง

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มธ. กล่าวว่า ตัวเขานั้นผ่านเหตุการณ์ทางการเมืองมาหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็น 14 ตุลา 6 ตุลา พฤษภา 2535 และพฤษภา 53 ประวัติศาสตร์บอกว่าลักษณะของการชุมนุมประท้วงที่มีคนเข้าร่วมมากขณะนี้อาจจะหลีกเลี่ยงการนองเลือดและจลาจลไม่ได้ นักวิชาการที่ได้ปรึกษาหารือกัน ณ ที่นี้ จึงเสนอทางออกสองข้อ คือแก้ไขรธน. ทั้งฉบับ และยุบสภา ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดแล้ว สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ถ้าไม่สามารถหาทางลงกันได้ การเสียชีวิตอาจจะมีมากกว่าที่ผ่านๆ มา

เขาชี้ว่าหากไม่ต้องการให้สังคมไปถึงจุดนั้น ข้อเสนอที่กล่าวมาก็เป็นสิ่งที่นักวิชาการพอจะทำได้ในการเสนอทางออกที่สันติสุขให้สังคม จากนี้เป็นเรื่องของรัฐบาลที่จะตัดสินใจ แต่ถ้าไม่มีทางออก รัฐประหารก็จะตามมา แล้วการมีนายกพระราชทานก็จะตามมา ดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว

พวงทองย้ำในตอนท้ายของการแถลงข่าวว่า สำหรับข้อเสนอของนักวิชาการครั้งนี้ ขอให้สังคมอย่ามองแค่มันเป็นไปได้หรือไม่ได้ แต่นี่เป็นเสียงที่พยายามหาทางออกให้สังคม ซึ่งขณะนี้มีคนที่ต้องการให้เกิดความรุนแรงเพื่อให้เกิดการใช้อำนาจนอกระบบเข้ามา โดยนักวิชาการจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาทิ้งท้ายว่าอยากเตือนมวลชนทุกฝ่ายว่าอย่าตกเป็นเครื่องมือของแกนนำฝ่ายใดๆ เพราะขณะนี้ก็ยังคงมีนักโทษการเมืองอยู่ในคุก

0000

แถลงการณ์ รัฐบาลต้องประกาศจัดออกเสียงประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และยุบสภา

เรียน  นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่นับถือ


ด้วยวิกฤตทางการเมืองที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ ได้สร้างความวิตกกังวลแก่ประชาชนโดยทั่วหน้าว่าสังคมไทยกำลังเดินเข้าสู่ภาวะกลียุค ที่กฎระเบียบทั้งทางกฎหมายและสังคมต่างๆ ถูกละเมิดอย่างไร้ขอบเขตและความรับผิดชอบ จนอาจนำไปสู่การใช้ความรุนแรงระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน และระหว่างประชาชนกลุ่มต่างๆ พวกข้าพเจ้าดังมีรายนามด้านท้ายของหนังสือนี้ ขอเรียนให้ท่านนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้พิจารณาดำเนินการดังต่อไปนี้

1. เพื่อแก้ไขวิกฤตที่เกิดจากรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2550 รัฐบาลต้องจัดให้มีการลงประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ

ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญกำหนดว่าวันลงประชามติจะต้องมีกำหนดไม่น้อยกว่า 90 วันหลังรัฐบาลประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา

2. หลังจากนั้น รัฐบาลต้องประกาศยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยจะดำเนินการควบคู่ไปกับการออกเสียงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ

ทั้งนี้ การยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 45 วันแต่ไม่เกิน 60 วันนับแต่วันยุบสภาผู้แทนราษฎร

พวกข้าพเจ้าเห็นว่า ในภาวะวิกฤตเช่นนี้ รัฐบาลจำเป็นต้องคืนอำนาจในการตัดสินใจทางการเมืองให้กับประชาชน และยืนยันในความสำคัญของรักษาประชาธิปไตยตามวิถีทางรัฐสภา

ขอแสดงความนับถือ

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: บทความเกี่ยวกับข้อเสนอการยุบสภา

โดย พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ 
28 พฤศจิกายน 2556

คนที่เสนอให้ยุบสภาในเวลานี้มีสองกลุ่ม

 กลุ่มแรกเป็นพวกอธิการบดี ผู้บริหารมหาวิทยาลัย นักวิชาการแอ๊บเหลือง และเป็นข้อเสนอ "ภายใน" ของพรรคประชาธิปัตย์ คนพวกนี้เสนอยุบสภา ไม่ใช่เพราะอยากมีเลือกตั้ง ไม่ใช่เพราะเชื่อว่า พรรคประชาธิปัตย์จะชนะเลือกตั้งได้ แต่เพราะเป็น "ธง" ที่รับมาอีกที สร้างเป็นกระแสกดดันให้รัฐบาลหลงเชื่อว่า ถ้ายุบสภาแล้ว ก็จะยอมหยุดไล่รัฐบาล เลิกม็อบ แล้วไปตัดสินกันด้วยการเลือกตั้ง

 ถ้ารัฐบาลยุบสภาจริง ม็อบปชป. ที่ยึดสถานที่ราชการก็จะไม่ยอมหยุด พรรคประชาธิปัตย์จะบอยคอยการเลือกตั้ง วิกฤตการเมืองไม่มีทางออก เป็นข้ออ้างให้นำเอา "ระบอบคนดี" เข้ามาปกครองแทน พร้อมกับกวาดล้าง "คนเลว" ให้หมดสิ้น

 กลุ่มที่สองเป็นพวกที่ "หวังดี" เป็นนักวิชาการก็มี เสนอให้ยุบสภาโดยอ้างว่า "เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียเลือดเนื้อของประชาชนอีก" และเป็นการแสดงความรับผิดโดยพรรคเพื่อไทยที่หักหลังประชาชนด้วยการผลักดันนิรโทษกรรมเหมาเข่ง

 คนกลุ่มนี้เอาแต่ "ส่องแว่น" อยู่ที่พรรคเพื่อไทย โทษว่า วิกฤตทั้งหมดขณะนี้เป็นความผิดของพรรคเพื่อไทยฝ่ายเดียวล้วน ๆ พรรคเพื่อไทยต้องถูกลงโทษ คนกลุ่มนี้ไม่เห็นภาพรวมทั้งหมด เชื่ออย่างไร้เดียงสาว่า ยุบสภา ลงโทษรัฐบาลแล้วฝ่ายต่อต้านพอใจ เรื่องจะจบ เชื่อว่า ถึงยังไง ก็ต้องมีเลือกตั้ง ข้อเรียกร้อง "สภาประชาชนและปฏิรูปประเทศไทย" ของม็อบเทือกเป็นแค่วาทะเล่น ๆ เชื่อว่า พรรคประชาธิปัตย์และ "เส้นใหญ่" ที่หนุนม็อบเทือกยังต้องการให้มีการเลือกตั้งอยู่ 

 ประสบการณ์เจ็ดปีมานี้ไม่ได้สอนอะไรแก่คนกลุ่มนี้ให้เข้าใจถึงจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของพวกเผด็จการเลย การยุบสภานี่แหละที่จะนำไปสู่การนองเลือดครั้งใหญ่ของประชาชน เมื่อม็อบเทือกไม่ยอมหยุด ทั้งม็อบและพรรคประชาธิปัตย์บวกตุลาการ ประสานกันรุกไล่รัฐบาลรักษาการณ์ที่ไม่มีสภาคอยคุ้มกันและไม่มีอำนาจบริหารจนตกขอบในที่สุด

 ถึงเวลานั้น ไม่ใช่แค่นายกฯยิ่งลักษณ์ รัฐบาล พรรคเพื่อไทย และตระกูลชินวัตรเท่านั้นที่อยู่ไม่ได่้ แม้แต่แกนนำ นปช. แกนนำเสื้อแดงทั่วประเทศ มวลชนอีกมายมาย และนักวิชาการที่เห็นใจฝ่ายประชาธิปไตยก็จะไม่มีที่ยืนอีกด้วย!!

บทความ: ผมรู้ว่า พวกเราอึดอัด แต่เราต้องอดทน เพื่อให้เห็นความต่าง

โดย สายลมรัก
เมื่อ พุธ, 27/11/2013 - 20:47

หากมีกระสุนนัดแรกจากเจ้าหน้าที่ลั่นเข้าใส่ฝูงชนบ้าคลั่งเมื่อไหร่ ข้อหา"นางทรราชย์"จะประเคนเข้าหา ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทันที

มือเปื้อนเลือด เข่นฆ่าประชาชน จะมาจากทุกสารทิศจาก สลิ่มประจำประเทศไทย

มันเป็นห้วงถวิลหาและความต้องการสงสุดของนายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ และพรรคประชาธิปัตย์ทุกคน เนื่องจากพวกเขาล้างคราบทรราชย์ไม่ออก แม้นจะพยายามบิดเบือน หลอกลวงตัวเอง และดื้อด้านกับชาวโลกอย่างไร พวกมันก็ไม่เคยจะลืมเลือนคำสาปแช่ง คำก่นด่า คำตราหน้า เป็นตราบาปที่สักไว้กลางหน้าผาก นายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ จากประชาชนที่มอบให้เป็นเอกฉันท์ว่า ไอ้ฆาตกร

เมื่อเขารู้แน่ชัดว่าจุดบอดที่เขาพยายามจะลืมเลือนมัน ไม่เคยห่างหายไปจากความทรงจำของปวงชนชาวไทย เขาจึงเหลือทางเลือกเพียงทางเดียวคือ ดึงยิ่งลักษณ์ให้ลงมา ...เท่ามัน

แปลเป็นไทยว่า หากกูเป็นฆาตกร ก็ต้องพยายามให้มึงเป็นฆาตกรเหมือนกูให้ได้

ยุทธการยียวนกวนส้นตรีนทั่วเมืองจึงถูกหยิบยกขึ้นมาใช้ตลอดระยะเวลาสามสี่วันที่ผ่านมา แต่ยิ่งลักษณ์ไม่เคยมองเห็นคนที่ก่นด่าตัวเองและตระกูลของตนเป็นอริราชศัตรู แต่เป็นคนชาติเดียวกัน เป็นคนในชาติที่เห็นต่าง แต่เป็นพี่น้องคนไทยเหมือนกัน 

คำสั่งให้ดูแลคนไทยที่เห็นต่างอย่างละมุนละม่อม จึงเป็นปกาศิตที่แสบซึ้งทรวงในไปถึงขั้วหัวใจของประชาชนคนขวาตกขอบในประเทศนี้ยิ่งกว่าโดนตบหน้า 

ช๊อค ละอายใจ ผิดหวัง ทำไมไม่ยิง ทำไมไม่เอารถเกราะ ทำไมไม่เอาด้ามเอฺ็มสิบหกกระแทก ทำไมนางยิ่งลักษณ์มันไม่ทำ นี่คือสิ่งที่ในหัวใจของพวกเขาร่ำร้องมาตลอดเวลา นี่คือรุกในการถอย อย่างมีนัยสำคัญ เป็นชัยชนะที่หมดจรด เบ็ดเสร็จเด็ดขาด 

มันยึด ปูขอร้อง มันทำร้ายข้าราชการ ปูร้องขอ มันเถื่อนเหมือนหมูหมา ปูขอให้ตำรวจอดทน นี่คือการช่วงชิงหัวใจที่สำคัญที่สุด

ผมรู้ว่าพวกเราอึดอัด แต่ผมรู้ว่าพวกมันอึดอัดกว่า แรงกดดันจากสายตา ส่ายหน้า เบือนหน้าหลบ จนกระทั่งส่ายศรีษะจากคนที่ค่อนข้างกลาง เป็นแรงกดดันอย่างมหาศาล ชนิดสลิ่มตัวพ่อและสลิ่มตัวแม่ ต้องรีบเดินก้มหน้างุดๆ ออกจากวงสนทนา เวลาเขาคุยกันว่า แม่มไปยึดที่ไหนกันอีกว๊ะ

และที่สำคัญ สลิ่มตัวเอ้ ณ ที่ทำงานผม ไม่มีใครกล้าหยุดงานไปร่วมยึดสถานที่ราชการซักตัว เอ๊ย ซักคน พวกเราทุกคนต้องสุขุม คิดอย่างฉลาด ตอบโต้ด้วยความจริง พวกมันจะไม่สุภาพย่อมตายตามกันไปในไม่ช้านี้

ตอนนี้นักยุทธศาสตร์พิจารณากันรอบคอบแล้วว่า ท้ายสุดแกนนำม๊อบของนายสุเทพคงเข้าไปยึดแดน ๑ แดน ๒ แดน ๓ กันในบางขวางแบบถาวรในไม่ช้านี้

อาวุธสำคัญของเราคือ ประจาน ๆ ๆ ผ่าน การถ่ายทอดสด จากทีวี หรือภาพนิ่ง อันเป็นอาวุธที่ทรงพลานุภาพที่สุด

หากอึดอัดสุดจะทน ผมจะให้แม่ทัพน้อยด้านพลาธิการ (คณนายท้ายซอย) รับไปเป็นลูกมือ ทำนุบำรุงดูแลหัวใจของตำรวจ ในกระทู้ปักหมุดhttp://forum.banrasdr.com/showthread.php?tid=29298 จะได้ดีขึ้น

ด้วยความปารถนาดีต่อทุกท่านอย่างจริงใจครับ
พี่ดำ

"ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย?"


โดย เกษียร เตชะพีระ
ที่มา ประะชาไท



ด้วยเงื่อนไขเวลา สถานที่ แกนนำและประเด็นชนวนที่ต่างออกไปบ้าง ม็อบเทพเทือกปัจจุบันกับม็อบพันธมิตรฯเมื่อปี 2549 + 2551 ละม้ายเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียวทั้งในแง่.... 

-วาทกรรม (ราชาชาตินิยม) 

-ยุทธศาสตร์ (ปฏิรูประบอบการเมืองไปในทิศทางลดอำนาจที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนลง เพิ่มอำนาจของบรรดาสถาบันที่ไม่ได้มาจากเสียงข้างมาก) 

-ยุทธวิธี (ก่่อม็อบอนาธิปไตย ยึดสถานที่ราชการ ให้รัฐเป็นอัมพาตทำงานไม่ได้) 

-เป้าหมายเฉพาะหน้า (ล้มรัฐบาล) 

-และวิสัยทัศน์ทางการเมือง (ระบอบกึ่งประชาธิปไตยใต้การกำกับของทหารและคณะตุลาการคุณธรรม)   

จะเรียกว่าคุณสุเทพ เทือกสุบรรณกับพรรคประชาธิปัตย์กำลังผลิตซ้ำ/ทำซ้ำแบบแผนการชุมนุมของคุณสนธิ ลิ้มทองกุลกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อปี 2549 + 2551 ก็ย่อมได้   

ในแง่หนึ่งมันสะท้อนว่าแนวทางการนำพรรคประชาธิปัตย์ของคุณอภิสิทธิ์-สุเทพในรอบ ๒ ปีที่ผ่านมาได้บรรลุถึงบทสรุปตามตรรกะของมันแล้ว    

คือแปรพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นพรรคฝ่ายค้านอนุรักษ์นิยม-กษัตริย์นิยมในสภาจากการเลือกตั้ง ให้กลายเป็น --> ขบวนการมวลชนและกองโฆษณาชวนเชื่อราชาชาตินิยม-ปฏิกิริยา-อนาธิปไตยบนท้องถนนที่ถล่มโจมตีเข้ายึดสถานที่ราชการเพื่อโค่นอำนาจรัฐบาลจากการเลือกตั้งและต่อต้านระบอบประชาธิปไตย   

พูดอีกอย่างก็ได้ว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ถูก ASTV-Manager/PADization (เอเอสทีวี-ผู้จัดการ/พันธมิตรานุวัตร) ไปแล้วเรียบร้อย   

ทว่าลึกกว่านั้น มันยังสะท้อนบางอย่างที่น่าสนใจเกี่ยวกับระบบการเมืองการปกครองของไทยเราในเชิงโครงสร้าง   

ลองจินตนาการดูว่าสมมุติคณะแกนนำการประท้วงม็อบเทพเทือก-กปท.-คปท.ขณะนี้ ไปจุติในภพภูมิเสรีประชาธิปไตยเต็มใบที่ไหนสักแห่ง และมีความขุ่นแค้นขัดเคืองไม่พอใจรัฐบาลดังกล่าวทางการเมือง ต้องการล้มรัฐบาล พวกเขาจะทำอะไรอย่างไร?   

ชุมนุมยืดเยื้อกลางถนนหรือ? กดดันกองทัพให้แทรกแซงทางการเมืองหรือ? ขออำนาจพิเศษนอกเหนือรัฐธรรมนูญให้ช่วยเปลี่ยนตัวนายกฯ ตั้งสภาประชาชนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ปฏิรูปการเมืองให้ทีหรือ? ฎีกาประมุขรัฐหรือ? บุกยึดสถานที่ราชการไม่ยอมออกและระดมมวลชนให้ช่วยมาปกป้องตัวเองทีกระนั้นหรือ?   

ถ้าทำแบบนี้ที่โน่น จะชนะหรือ? จะ make sense หรือ?    

ก็คงไม่ ใช่ไหมครับ เรียกว่า crazy & go berserk ชิบเป๋งเลย ชาวบ้านชาวเมืองที่นั่นคงพากันงงเป็นไก่ตาแตกและหัวเราะท้องคัดท้องแข็งว่ากำลังเล่นตลกอะไรกันหว่า...   

ถ้าอยากชนะที่นั่นก็ต้องสู้ในสภาและสนามเลือกตั้ง สร้าง/ปรับพรรคใหม่ สร้าง/ปรับแนวทางนโยบายใหม่ สร้าง/ปรับองค์การจัดตั้ง หัวคะแนนผู้ปฏิบัติงาน เครือข่ายพันธมิตรใหม่ เพื่อสะสมกำลังรอกระโดดเข้าต่อสู้ในเวทีเลือกตั้งรอบหน้ากับพรรครัฐบาลให้ชนะ   

แต่การที่เขาไม่ทำแบบนั้น แต่กลับเลือกทำแบบนี้ที่นี่ เป็นชุดเป็นแบบแผนอันเดิมอันเดียว ซ้ำรอยที่พันธมิตรฯทำเมื่อปี 2549 + 2551 และ "เชื่อมั่น" ว่ามีทางจะชนะ ล้มรัฐบาล/รัฐสภาและฉีกรัฐธรรมนูญได้สำเร็จ จนยอมเอาตัวเองเข้าไปเสี่ยงติดคุกติดตะรางหรือกระทั่งเสี่ยงชีวิตนั้น สะท้อนว่าเขาเห็นและมันมีอะไรบางอย่างในโครงสร้างการเมืองการปกครอง "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ของเราที่เปิดช่องทางโอกาสให้พวกเขาคาดหวังอย่างนั้นได้   

"โครงสร้างโอกาสทางการเมือง" (political opportunity structure) ภายในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขดังกล่าว ที่เปิดช่องให้ล้มรัฐบาล/รัฐสภาและฉีกรัฐธรรมนูญได้แบบที่พันธมิตรฯได้เคยทำและม็อบเทพเทือกกำลังพยายามทำ คืออะไร? อยู่ตรงไหน? จะปิดช่องทางดังกล่าวเพื่อผลักดันความขัดแย้งทางการเมืองให้กลับเข้าไปในกติการะบบระเบียบของระบอบประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งปกติได้อย่างไร?   

น่าคิดนะครับ   

อย่างไรก็ตาม มีคำเตือนของคาร์ล มาร์กซ เกี่ยวกับเรื่องประวัติศาสตร์ซ้ำรอยน่าฟัง สำหรับผู้กำลังคิดผลิตซ้ำ/ทำซ้ำประวัติศาสตร์ใหม่ได้ลองนำไปพินิจพิจารณาเป็นอนุสติดังภาพประกอบด้านล่างนี้

เรื่องเกี่ยวข้อง

จักรภพ เพ็ญแข: Replay พ.ศ.๒๕๔๙



บทความ: ยุคดิจิตอลม็อบบ้าไล่งับเงาไปทั่ว แต่ก็ไม่เกิดภาวะ Failed State สักที

โดย ลูกชาวนาไทย 
27 พฤศจิกายน 2556 

ยุค Digital World ข้อมูลสำคัญคือรหัสฐานสอง สามารถ Back up ไปทำงานที่ไหนก็ได้ ม็อบเลยวิ่งไล่จับเงา ไม่รู้ว่า จริงๆ แล้ว กระทรวงต่างๆ ตัวตนมันอยู่ที่ไหน ยึดตึกไปแล้วเขาก็ยังทำงานกันได้

วันนี้เห็นข่าวนายกฯปู เรียกประชุมปลัดกระทรวง สั่งการให้จัดเก็บสำรองข้อมูลต่างให้พร้อม และเก็บไว้ในที่ปลอดภัย หาที่ทำงานสำรองไว้

555 สรุปยุทธศาสตร์ปูคือ "อ่อนหยุ่นสยบแกร่งกร้าว" กล้านักมักบิ่น อ่อนแปรสภาพไปตามสถานการณ์ได้ไม่มีสะดุด

คนใต้ 2-3 หมื่นคน จึงวิ่งวุ่นไปมากลางกรุงเทพ หาแก่นสารอะไรไม่ได้ เหมือนหมาบ้าหอบแดดลิ้นห้อยไปทั่ว ยึดได้ตึกโน่นนี่ก็ไร้ความหมาย โลกยุคใหม่ เขาทำงานที่ไหนก็ได้ เชื่อมโยงสื่อสารกันได้
ภาวะ Failed State จึงไม่เกิดขึ้น และห่างไกลกับภาวะเช่นนี้ยิ่งนัก

ทฤษฎีรัฐประหารแบบทรอตสกี้ ที่มุ่งสร้างความโกลาหล ให้เกิดภาวะ Failed State ก็ล้มเหลวในศตวรรษที่ 21 อย่างไม่เป็นท่า

มีคุณ Hikaru Sai แสดงความเห็นเพิ่มเติมใน FB ผมว่า
“การทำงานแบบระบบออนไลน์ สื่อสารส่งข้อมูล+ เงินได้ไม่ต้องเดินทางจับต้องของจริง การเงินของระบบราชการถูกกำหนดให้เข้าระบบ GFMIS โอนย้ายผ่านระหว่างกระทรวงได้เลย โดยถังใหญ่อยู่ที่กรมบัญชีกลาง หน่วยงานย่อยไม่ต้องจับต้องด้วยตัวเอง แจ้งหลักฐานผ่านระบบเท่านั้น..เอกสารสแกนเก็บในระบบได้ ไม่มีปัญหาค่ะ//.. ขอแค่มีไฟฟ้า มีอินเตอเนท มีพาสเวิด ยูสเซอร์เนมของผู้รับผิดชอบทำงานที่ไหนก็ได้ค่ะ


อีกคนหนึ่งคือคุณ Orr Sri
“เมื่อหลังน้ำท่วม ...ได้มีการเตรียมแผนการสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินไว้แล้วทุกหน่่วยงาน ..ว่าต้องทำอะไร ตามลำดับชัน 1 2 3 4 ... smiley จัดทำเป็นตัวชี้วัดไว้หมดแล้ว ไม่มีหรอก Failed State ..อิอิ มิใช่การบริหารงานแบบรัฐโบราณ

หมายเหตุ:
A failed state is a state perceived as having failed at some of the basic conditions and responsibilities of a sovereign government. There is no general consensus on the definition of a failed state. The definition of a failed state according to the Fund for Peace is often used to characterize a state with the following characteristics :
  • loss of control of its territory, or of the monopoly on the legitimate use of physical force therein
  • erosion of legitimate authority to make collective decisions
  • an inability to provide public services
  • an inability to interact with other states as a full member of the international community

วันพุธ, พฤศจิกายน 27, 2556

แดง อินเตอร์ รวมตัวประณามเทพเทือก + กลุ่มนิยมเผด็จการโบราณ




ประกาศ แดง Chicago ชมรมผู้รักประชาธิปไตยไทยแห่งรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา

นัด ประชุม วัน เสาร ท่ี 30 พฤศจิกายน ประณามการ กระทำ ของ
ผู้ ทำลายชาติ ทำลาย ระบอบประชาธิปไตย โดย พวก กบฏ ยึด
สถานที่ราชการ ก่อความวุ่นวาย ให้ ชาติไทย เสียหาย



พบกันท่ี เดิม  Cicero Illinois
1100 AM Sat November 2013




Thai Red Japan ขอเรียนเชิญพี่น้องแดงญี่ปุ่นทุกท่านร่วมปกป้องประชาธิปไตยและรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ประชาชนเลือกมาเร็วๆนี้ติดต่อ090-7900-8025เจี๊ยบ



สหราชอาณาจักรไทย




สหราชอาณาจักรอังกฤษ



โดย เป็นประชารัฐฯ

27 พฤศจิกายน 2556

เห็นพี่น้องปักษ์ใต้ยึดศาลากลางจังหวัดแล้วก็ เห็นใจครับ

ยึดศาลากลางครัง 26 พ.ย. 56

อยากให้พี่น้องได้สมปรารถนามีรัฐบาลเป็นของตัวเอง เลยขอเสนอครับให้แยกกันอยู่ 
ภายใต้หลังคาบ้านเดียวกันดีไหม

ไม่ได้ชวนทำผิดคิดร้ายสลายประเทศแบบแยกกันอยู่กูVSมึงครับ...ก็อยู่ๆด้วยกันนี่แหละ 
แต่แยกกันอยู่ ต่างคนต่างอยู่ เป็นสหราชอาณาจักรไทย(อันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข)

ก็แบบสหราชอาณาจักรอังกฤษนั่นแหละครับ

เราจะเป็นสหราชอาณาจักรไทยได้ไหม? แบ่บเดียวกับสหราชอาณาจักรอังกฤษ..

เห็นรัฐธรรมนูญทุกฉบับเขียนไว้ว่าเมืองไทยต้องเป็นราชอาณาจักรเดียว จะแบ่งแยกมิได้

ทีนี้เห็นสหราชอาณาจักรอังกฤษ เขาเป็นสห แปลว่ามีหลายอาณาจักรรวมๆไว้

คือมีเกาะบริเตนใหญ่ สก็อตซ์ ไอร์แลนด์อะไรงี้มารวมกัน แล้วก็มีอิสระในการปกครองตัวเองตามสมควร

ไหนๆคนเหนือ คนอีสานเขาชอบเหลี่ยม ก็ให้เขาเป็นอาณาจักรพุงขาว พุงดำแบบแต่ก่อน ให้เสด็จพ่อมูลเมืองปกครองไป

ทางใต้นี่คลั่งไคล้นายชวนมาก กราบเก้าอี้บนจอมปลวกกันไปแล้ว (คืออาการน่าจะหนักกว่าพวกพุงขาวพุงดำคลั่งเจ้าพ่อมูลเมือง) ก็ยกปักษ์ใต้ให้เสด็จพ่อชวนไปปกครอง

สามสี่จว.ใต้ก็ให้รายาปาตานี หรือสุลต่านเด่น โต๊ะมีนาปกครองไป หรือชอบใจบีอาร์เอ็น ก็ตามอัธยาศัย

ทางภาคกลางก็ยกให้เสือเตี้ยบรรหาร ภาคตะวันออกก็ยกให้ลูกกำนันเป๊าะนั่งเมือง

กรุงเทพฯชอบยี่เกก็ให้พวกหล่อๆไปตกลงกันเอา หรือให้คนกรุงเต้บโหวตก็ได้ใครหล่อที่สุด สะตอบอรี่สุดก็เอาไป

หรือชอบแนวBad Boyก็เลือกเสี่ยอ่างชูวิทย์ เชิญ

ทั้งหมดนี้แยกกันเป็นอิสระ มีรัฐบาลดูแลรับผิดชอบกันไป ใครรักใครชอบอะไรก็จะได้ตามนั้น แต่มีรัฐบาลกลางร่วมกัน

ไม่ต้องถามนะว่าแล้วจะเอา"ท่าน"ไปไว้ไหน ก็ไว้ที่เดิมนั่นแหละ เพราะสหราชอาณาจักรเขาก็ยังมีสถาบันกษัตริย์เป็นประมุขได้ ตัวอย่างมีเห็นๆอย่างสหราชอาณาจักรอังกฤษ

คนไทยก็จะได้พ้นอาการอยากวักน้ำแต่เห็นปลิง อยากมีประชาธิปไตยที่รังเกียจเหลี่ยม(ของคนกรุง คนใต้) อยากเลือกตั้งแต่ยี้ปชป.(ของคนอีสาน คนเหนือ) คนกรุงก็จะได้พวกหล่อๆสะตอบอรี่ตัวพ่อ หรือBad Boyชูวิทย์ปกครอง

ทั้งนี้เมื่อเป็นสหราชอาณาจักรไทยก็ต้องมีพระเจ้าแผ่นดินเป็นพระประมุขกันต่อไป โดยยังมีรัฐบาลกลางร่วมกัน ดูแลกำกับกิจการด้านความมั่นคง และกิจการด้านต่างประเทศ

ส่วนรัฐเหนือ รัฐอีสาน รัฐปักษ์ใต้ รัฐปาตานี รัฐกำนันเป๊าะ รัฐบรรหารบุรี รัฐกรุงเทพฯและดัดจริตชนแลนด์ ก็มีรัฐบาลของรัฐกำกับบริหารแบบเป็นอิสระต่อกัน เก็บภาษีรายได้มาก็บริหารกัน

ด้วยวิธีนี้บ้านเมืองก็จะไปกันต่อได้...ไม่ต้องมารวมกันแสร้งเหมือนว่าเรายังรักกันอยู่ แต่ลำบากอึดอัดใจกัน เที่ยวชี้หน้าด่าคนเหนืออีสานโง่ รู้ไม่เท่าทันแม้ว โดนทักษิณหลอก ไม่ฉลาดปราดเปรื่องเลือกปชป.พ่อทูนหัวแบบคนใต้ หรือดัดจริตชนแลนด์กำลังพล่ามในเวลานี้

พอเอาชนะไม่ได้ ก็มาไล่ แล้วบอกจะปฏิรูป...ปฏิรูปบิดาคุณสิ คุณไล่รัฐบาลนี้ออกไปได้ เดี๋ยวคุณก็โดนพวกเสื้อแดงไล่ส่งเหมือนกัน มันไม่จบหรอก

แยกกันอยู่ใต้หลังคาเดียวกัน เป็นรัฐอิสระ มีรัฐบาลกลางรวมกันในนามสหราชอาณาจักรไทย จึงเป็นทางออกที่ควรพินิจพิจารณากัน

ท้ายสุดประเทศไทยก็ยังอยู่ ความอึดอัดคับข้องใจกันก็จะปราสนาการไป มีความสุขสมหวังกันทุกฝ่ายทุกภาคส่วน ชาวบ้านร้านช่องก็จะได้ทำมาหากินกันเป็นปกติสุขสืบไป

Andrew: จับตา ปปช. 48 ช.ม.

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
27 พฤศจิกายน 2556

อดีตนักข่าวรอยเตอร์โพสต์สเตตัสของตนเอง ชี้ว่า เราจะต้องจับตาดูผลการตัดสินของ ปปช. ต่อชะตากรรมของ ส.ส.เพื่อไทยจำนวน 312 คน ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ท่ามการการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้าน แอนดรูว์ชี้ว่า หาก ปปช.ฟันส.ส.ทั้งหมด จะทำให้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายอภิสิทธิ์จะสามารถเอาชนะโหวตไม่ไว้วางใจรัฐบาลทันที และทำให้สามารถเสนอชื่อตนเองขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทันที ข้อวิเคราะห์ดังกล่าวซ้ำกับข้อวิเคราะห์ของธนาคาร CIMB ซึ่งมีความเห็นคล้ายคลึงกัน เพียงแต่ CIMB ชี้ว่า กรณีการตัดสิทธิ์ส.ส.เพื่อไทยดังกล่าวจะทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสงครามกลางเมืองในทันที เพราะเชื่อว่าเสื้อแดงคงจะไม่ยอมให้เกิดกรณีดังกล่าวขึ้น

วันอังคาร, พฤศจิกายน 26, 2556

มุมกลอน: จำรัส เศวตาภรณ์

http://www.youtube.com/watch?v=NEsHCszKP-k#t=0

น้ำเซาะทราย จำรัส เศวตาภรณ์ hugmit6

Published on Jul 10, 2012

ชื่นฉ่ำเย็น อยากเป็นน้ำเซาะทราย 
โลกของฉันมีแต่เธอ เฝ้าฝันละเมอไม่วาย 
อยากบอกทรายกับสายน้ำ จำนรรจา




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น