วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ

 

อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ

คดีประวัติศาสตร์ ที่ วิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลาประชาธิปัตย์ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. 

นางสาวสุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี และ นายสมชาย แสวงการ  ส.ว.สรรหา ได้ยื่นคำร้อง  

ต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คน ให้วินิจฉัยประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของ ส.ว. 

โดยการลงมติของสมาชิกรัฐสภา จำนวน 312 คน เข้าข่ายล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย 

ขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่

ในที่สุด ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 6 ต่อ 3 เสียง มีความเห็นว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจ

ในการวินิจฉัยคำร้องดังกล่าว ตามอำนาจที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ว่าด้วยที่มาของ ส.ว. เป็นการขัดกับหลักการรัฐธรรมนูญ ทั้งเรื่องของระยะเวลาในการแปรญัตติ 

การรวบรัดอำนาจ การเสียบบัตรลงคะแนนแทนกัน ไม่ได้ยึดหลักนิติธรรมกระทบกับการปกครอง

ในระบอบประชาธิปไตย และเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

โดยเฉพาะ การใช้อำนาจเสียงข้างมาก โดยไม่ยอมรับความคิดเห็นเสียงข้างน้อย  การที่จะมีการแก้ไขให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ทำให้ การทำหน้าที่ของ ส.ว.และ ส.ส.ไม่เป็นอิสระ เกิดสภาผัวเมีย ขัดกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้มีการถ่วงดุลอำนาจ ทำให้สูญเสียระบบการตรวจสอบ

รวมทั้ง การแปรญัตติในวาระ 2-3 ไม่ตรงกับร่างที่รับหลักการในวาระแรก เช่นการแก้ไขให้ ส.ว.

ที่มาจากการเลือกตั้งในปัจจุบัน สามารถที่จะลงรับสมัครเลือกตั้งได้ทันทีโดยไม่ต้องเว้นวรรค

สรุปแล้วก็คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของ ส.ว.ไม่สามารถทำได้ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ดังกล่าวมีการแก้ไข ไม่ใช่ร่างเดิม การทำหน้าที่ในการวินิจฉัยของผู้ถูกร้องต่อกรณีการแก้ไข

รัฐธรรมนูญมีการรวบรัด ไม่เป็นธรรม

ลงมติ 6 ต่อ 3 เสียง เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง

อย่างไรก็ตาม ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 5 ต่อ 4 เสียง มีความเห็นต่อกรณีสมาชิกภาพของสมาชิกรัฐสภา

ทั้ง 312 คนยังไม่สิ้นสุด และ ยังไม่ถึงกับต้องวินิจฉัย ยุบพรรคการเมือง ตามที่ผู้ร้องเสนอมา

เพราะฉะนั้น ปัญหาที่จะต้องหาทางออกกันต่อไป ก็คือ จะดำเนินการอย่างไรต่อไป สำหรับ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของ ส.ว. ที่ทูลเกล้าฯไปแล้ว

การประกาศไม่ยอมรับในคำวินิจฉัยของ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ของ  ฝ่ายนิติบัญญัติ จะหาข้อยุติอย่างไร  จะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่ฝ่ายนิติบัญญัติอ้างว่า เป็นอำนาจของรัฐสภาที่ระบุว่าในรัฐธรรมนูญหรือไม่

นี่คือต้นตอของการขัดแย้งระหว่างสถาบันหลักที่สุกงอมขึ้นเรื่อยๆ

แล้วเชื่อได้หรือไม่ว่า หลังจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ทุกอย่างจะยุติ หรือจะมีการร้องถอดถอน  สมศักดิ์  เกียรติสุรนนท์ประธานรัฐสภา  นิคม ไวยรัชพานิช ประธาน ส.ว. และสมาชิกรัฐสภาทั้ง 312 คนต่อไป โดยอ้างคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่มีการกระทำขัดกับรัฐธรรมนูญตามมาตรา 68 ล้มล้างการปกครอง

คำถามทั้งหมดนี้มาจากการใช้อำนาจวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ.

 

หมัดเหล็ก

โดย: หมัดเหล็ก

22 พฤศจิกายน 2556, 05:00 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น