วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย : คำถามถึงกสม.

 

วันอังคาร, มกราคม 28, 2557

พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย : คำถามถึงกสม.

ภาพ โซเชียลมีเดีย

พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย
21 มกราคม 2557

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน หรือ กสม. ถือเป็นองค์กรหนึ่งที่รัฐธรรมนูญมีการบัญญัติรับรองและกำหนดพันธกิจไว้อย่างชัดเจน นั่นคือ การเข้าไปดูแลสอดส่องการกระทำใดๆ อันมีลักษณะเป็นการเข้าไปล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน (ม.๒๕๖ และ ๒๕๗) ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการกระทำอันที่เป็นการล่วงล้ำสิทธิเสรีภาพของประชาชนอันจะกระทบต่อประเทศและระบอบประชาธิปไตยที่ถือ "ประชาชนเป็นสรณะ" (Supremacy of People) 

จากที่ผมได้ติดตามบทบาทของ กสม. ที่ผ่านมานับตั้งแต่มีการชุมนุมของกลุ่ม กปปส. กสม. ได้มีการออกแถลงการณ์เพื่อเตือนภาครัฐให้ดูแลความปลอดภัยให้กับผู้ชุมนุมบ้าง เตือนภาพรวมของการชุมนุมบ้างว่าต้องเป็นไปโดยสงบ สันติ ปราศจากอาวุธ ซึ่งผมเห็นว่าก็ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว แต่เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในการจัดตั้ง กสม. มิได้มีลักษณะให้มีบทบาทในเชิงรับ (Passive) เช่นนี้เท่านั้น หากแต่มีการกำหนดบทบาทในเชิงรุก (Active) ด้วย

เช่น นอกจากพันธกิจในลักษณะของการส่งเสริมให้การเคารพและปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนแล้ว รัฐธรรมนูญ ม.๒๕๗ และ พรบ.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ม.๑๕ กำหนดอำนาจหน้าที่โดยให้ กสม. ทำการตรวจสอบและรายงานการกระทำใดๆ ที่ถือได้ว่ามีลักษณะเป็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษชนและเสนอมาตรการการแก้ไข โดยการเข้าไปตรวจสอบของ กสม. ข้างต้นนั้นหาใช่เพียงแค่เข้าไปตรวจสอบเฉพาะแต่ภาครัฐเท่านั้น หากแต่รวมไปถึงการเข้าไปตรวจสอบบุคคลใดๆ (เอกชน - โดยจะเห็นได้จากถ้อยคำของ พรบ.คณะกรรมการสิทธิฯ ในมาตราต่างๆ) ด้วยว่ามีการกระทำใดที่เข้าลักษณะของการล่วงละเมิดต่อสิทธิมนุษยชนของบุคคลอื่นหรือไม่อย่างไรด้วย 

คำถามคือ กสม. ได้แสดงบทบาทในเชิงรุกนี้กับการชุมนุมทางการเมือง ณ ปัจจุบันแล้วหรือไม่? หากถามผมแล้ว ผมเห็นว่ายังไม่ได้แสดงบทบาทในเชิงรุกนี้อย่างชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการกระทำของผู้ชุมนุม กล่าวอีกนัยหนึ่ง กสม. อาจมีการใช้บทบาทในเชิงรุกแล้วในการตรวจสอบภาครัฐแล้วว่ารัฐกระทำการละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้ชุมนุมแล้วหรือไม่อย่างไร แต่ กสม. ยังไม่เคยชี้ หรือตรวจสอบการชุมนุมของกลุ่ม กปปส. อย่างชัดอย่างชัดเจนเลยว่า การชุมนุมที่มีการบุกยึดสถานที่ราชการบ้าง ข่มขู่เจ้าหน้าที่ของรัฐบ้าง การขัดขวางการให้บริการสารธารณะอย่างต่อเนื่องของรัฐบ้าง การใช้เสรีภาพของตนเองเข้าไปกระทบสิทธิเสรีภาพต่างๆ ของบุคคลอื่นบ้าง (ซึ่งทั้งหมดรัฐธรรมนูญก็มีการบัญญัติรับรองและคุ้มครองไว้เช่นเดีวกัน) ตรงนี้ถือเป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธตามที่รัฐธรรมนูญรับรองและคุ้มครองตาม ม.๖๓ แล้วหรือไม่? 

หากคำตอบของ กสม. ตอบว่าเป็นการชุมนุมโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญโดยหลักการชุมนุมก็จะไม่เสี่ยงกับ หรือนำไปสู่ความรุนแรง แต่หากเป็นการชุมนุมโดยมิชอบก็จะมีผลในทางกลับกัน ทั้งนี้เนื่องจากในสายตาของระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้การใช้เสรีภาพในการชุมนุมต้อง "สงบและปราศจากอาวุธ" ก็เพื่อป้องกันมิให้มีลักษณะของการใช้เสรีภาพเข้าไปกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลใดๆ อันจะนำไปสู่การก่อให้เกิดความเกลียดชังของผู้ถูกกระทบสิทธิเสรีภาพอันนำไปสู่ความรุนแรงในสังคมทั้งหมดในองค์รวมต่อไปนั่นเอง

ขอย้ำนะครับว่า ตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญแล้ว กสม. จะไปมุ่งโฟกัสเฉพาะการตรวจสอบเฉพาะการใช้อำนาจของภาครัฐว่าจะมีการใช้อำนาจเข้าไปล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพของประชาชนด้านเดียวเท่านั้นมิได้ หากแต่ต้องไปกระทำการตรวจสอบการใช้่สิทธิเสรีภาพของบุคคลใดๆ ที่มีลักษณะเข้าไปกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่นด้วย ทั้งนี้เนื่องจาก กสม. อันถือได้ว่าเป็นหนึ่งในหน่วยงานของรัฐนั้นต้องกระทำหน้าที่บน "หลักประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) ซึ่งเป็นหลักการทางกฎหมายมหาชนที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจนที่เรียกร้องให้ กสม. ต้องคำนึงสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่นๆ ด้วยตาม ม.๒๘ ประกอบ ม.๒๕๗ 

ผมขอรอฟังคำตอบและคำชี้แจงจากผู้ทรงคุณวุฒิของ กสม. ทุกท่านสำหรับคำถามที่ผมถามไปนะครับ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชั

21 มกราคม 2557

คลิป : เจาะข่าวเด่น 27 มกราคม 2557


 

Published on Jan 27, 2014
กดสมัครสมาชิก http://goo.gl/7GgHzv เพื่อรับข้อมูลใหม่แบบสดๆ ทุกวัน !!
สรยุทธ เรื่องเด่น เย็นนี้

คลิป : นายกฯปู VS 5เสือ กกต. จะเดินต่ออย่างไร?

 

Published on Jan 26, 2014
เจาะลึกทั่วไทย เจาะลึกประเด็น นายกฯปู VS 5เสือ กกต. จะเดินต่ออย่างไร?
ooo

สัมภาษณ์ สมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. 27 มค. 57

ดนัย : ศาล รธน. สิ่งที่ออกมาวันศุกร์เป็นแค่คำแนะนำ ไม่ใช่คำวินิจฉัย มองอย่างไรครับ (สุรพงษ์ ให้สัมภาษณ์ก่อนสมชัย บอกว่า ศาล รธน.แค่แนะนำ)

สมชัย : เป็นคำวินิจฉัยครับ แต่ว่าไม่ได้วินิจฉัยเรื่องการเลื่อนการเลือกตั้ง แต่วินิจฉัยข้อกฎหมายว่าเลื่อนได้ หรือกำหนดใหม่ได้ (วันเลือกตั้ง)

อมรรัตน์ : แต่มีคนตีความว่าเป็นคำแนะนำ ถ้าทำไปแล้วจะมีผลต่อคนที่ทำ?

สมชัย : ก็แล้วแต่ ...ก็แล้วแต่

ดนัย : ในมุมมองกกต. มองว่า นั่นคือคำวินิจฉัย ส่วนนายกกับ ปธ.กกต.คุยกันซะ นั่นคือคำแนะนำนะฮะ?

สมชัย : ใช่ครับ ๆ

ดนัย : ประเด็นที่สอง การนัดหมายวันที่ 28 มค. พรุ่งนี้ ถ้ารัฐบาลถามว่าเลื่อนแล้วแก้ปัญหาได้หรือไม่ กกต.จะตอบอย่างไรครับ?

สมชัย : ปัญหา ไม่ใช่ กกต.แก้คนเดียว ทุกคนทุกฝ่ายต้องช่วยกันแก้ ...ในการเลือกตั้ง เราก็แก้ปัญหาบางส่วนทำให้เลือกตั้งไปแล้วมีผล ไม่ใช่เลือกไปแล้วไม่มีผล 


สมมติเรามีปัญหาก้อนนึง เราดึงออกมาแก้ทีละส่วนๆ ก็ดีกว่าใช่ไหม...อะไรที่อยู่ในวิสัยที่กกต.ทำได้นะ เช่น ถ้าเลื่อนแล้ว กกต.บอกให้ม็อบหยุด โหมันใหญ่เกินไปนะ 


เราไม่มีอำนาจขนาดนั้น...ท่าน(รัฐบาล)ขอพื้นที่คืน ทำได้รึยังล่ะ? ต้องช่วยกันทำให้ปัญหาคลี่คลายดีกว่าไม่ทำอะไรเลย

อมรรัตน์ : บางฝ่ายมองว่า แม้จะเลื่อนการเลือกตั้งไป แต่ฝ่ายคุณสุเทพไม่สนใจ จะให้นายกลาออก ...ทำให้ไม่แก้ปัญหารึเปล่า?

สมชัย : แก้บางส่วนได้ ทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นเงื่อนไขของการ...ทำให้เลือกตั้งไปแล้วมีผล ที่เป็นผลสำเร็จอย่างแท้จริงไม่ใช่เลือกไปแล้วไม่รู้อีกกี่เดือนจะเปิดสภา

ได้...แต่ถ้าไม่เลื่อนก็ไม่ว่ากัน ผมก็จัดเลือกตั้งให้ 

ประเด็นอยู่ที่นาที 4.05 

ดนัย : ชุดความคิด กกต. ที่พรุ่งนี้จะเสนอนายก เลื่อนการเลือกตั้ง 2 กพ.ออกไป

สมชัย กำหนดการเลือกตั้งใหม่เลย ไม่ใช่เลื่อน?

เริ่มต้นใหม่หมายถึงเลือกตั้งใหม่หรือว่าเลื่อนฮะ

สมชัย : ไม่ใช่เลื่อนฮะ เริ่มกระบวนการรับสมัครใหม่หมดเลย

ดนัย : เปิดรับสมัครใหม่เลย?

สมชัย :ใช่ครับ

ดนัย : ถ้าอย่างงั้น ประชาธิปัตย์ก็กลับมาเข้าร่วมการเลือกตั้งได้?

สมชัย : คงไม่ได้มองพรรคประชาธิปัตย์ฝ่ายเดียว แต่ผู้สมัครพรรคต่างๆ ที่ถูกขัดขวางจะได้เข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งได้โดยไม่มีการขัดขวาง

ดนัย : คำถามก็คือคนที่เค้ามาใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้า ทั้งนอกราชอาณาจักร แล้วก็นอกเขตล่ะครับ?

สมชัย : เป็นโมฆะไปครับ 

ดนัย : โมฆะโดยอำนาจใครฮะ?

สมชัย : โดยการประกาศกฤษฎีกายกเลิกเลือกตั้งคราวนี้ครับ

ดนัย : ทำได้เหรอฮะ !?!?!

สมชัย : ก็...ในเชิงกฎหมายค่อยตามมาทีหลังดีกว่านะคุณดนัย ให้ในเชิงของการตัดสินใจร่วมกันระหว่าง กกต.กับ รัฐบาลยุติก่อน ยุติว่าอยากเป็นแบบนี้แล้ว เดี๋ยวกฎหมายผมหาคนทำให้...ครึ่งชั่วโมงเสร็จ

ดนัย : โอ้โห...นี่มันรัฐศาสตร์แล้วนะอาจารย์ ไม่ใช่นิติศาสตร์แล้ว !!!

สมชัย : ครับผม ครึ่งชั่วโมงเสร็จจริงๆ ฮะ

ดนัย : คือจะเอาอย่างไร ก็ตีความกฎหมายให้ตามนั้นนั่นแหละ พูดกันตรงๆ ผมพูดถูกมั้ยอาจารย์?

สมชัย : เอางี้ละกัน มีศาสตราจารย์อีกหลายคน มีนักกฎหมายมีชื่ออีกหลายคนช่วยเราในการทำ ดังนั้นประเด็นข้อกฎหมายเป็นประเด็นรองมากๆ ครับ

ดนัย : อาจารย์มีชัย ฤทธิชุพันธ์?

สมชัย : อย่าไปเอ่ยชื่อท่านเลย เพราะยังไม่รู้ว่าคือใครบ้าง

ดนัย : แหม่...ในสภานการณ์พิเศษเนี่ย ชอบใช้อาจารย์มีชัย กันจังนะอาจารย์

สมชัย : อ๋อ ไม่ๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับท่าน (หัวเราะ)

ดนัย : หมายความว่าชุดความคิดที่จะเสนอนายกคือ ทำให้การเลือกตั้งล่วงหน้าที่ผ่านมานั้นเป็นโมฆะ แล้วก็มานับหนึ่งกันใหม่ จัดการเลือกตั้งใหม่ เปิดรับสมัครใหม่?

สมชัย : ใช่ครับ

ดนัย : จากนี้จะทอดระยะเวลาไปประมาณกี่เดือนครับ

สมชัย : คือ จะไม่ยาวเกินไปเพราะเราก็ไม่อยากให้รัฐบาลรักษาการณ์อยู่นานเกินไป เพราะทำอะไรไม่ได้หลายๆ อย่าง ทำให้ประเทศเดินหน้าไม่ได้

อมรรัตน์ : กี่เดือนดีคะ

สมชัย : ก็ไม่สั้นเกินไป

ดนัย : เดือนพฤษภาคม?

สมชัย : ถ้าเป็นความเห็นส่วนตัวนะ 120-150 วัน ประมาณ 4 เดือนน่าจะดีกว่า

ดนัย : ต้องทำกติกาใหม่อะไรมั้ยครับ

สมชัย : ต้องปฏิรูปเล็กๆ ปฏิรูปเกี่ยวกับการเลือกตั้งอะไรบ้าง ซึ่งจริงๆ แล้ว กกต.ก็มีประเด็นจะเสนออยู่แล้วพอสมควรแต่คงจะต้องให้ขอถามความเห็นจากภาคส่วนต่างๆ

ดนัย : ขอบคุณครับ สวัสดีครับ

---------------------


วันจันทร์, มกราคม 27, 2557

พันธมิตร PAD คนไทย ตาสว่าง - กปปส ชาวโลก ตาสว่าง



พื้นที่สีฟ้าคือที่เลือกตั้งล่วงหน้าได้ลุล่วงดี ส่วนสีแดง.คือที่ไม่ลุล่วง.!!
เห็นชัดยังไอ้พวก...กบฏทั้งหลาย..ว่าคนส่วนใหญ่เค้าเลือกอะไร??

ภาพข่าวที่พวกมึงทำร้ายและขัดขวางผู้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง แพร่ออกไปทั่วโลกแล้วตามสื่อต่างๆ.. จากนี้ไป เอาตีนตรองดูแทนสมองก็ได้ว่า ชาวโลกเต้าจะยอมรับมึงหรือไม่ในอนาคต???

สำหรับใครก็ตาม ที่สนับสนุหรืออยู่เบื้องหลังม๊อปกบฏนี้ ไม่ว่าสูงส่งมาแต่ไหน ก็โปรดรับรู้เอาไว้ด้วยนะครับว่า คุณและพวกกำลังถดถอยลงทุกวัน มิใช่จากนายกฯหญิงที่คุณเกลียดชังหรืออิจฉาเค้าหรอก..

แต่มันเป็นเพราะคุณทำตัวเองทั้งนั้น..!!!

เรื่องขี้ปะติ๋ว เสียงของชายหนุ่มที่ถูกบีบคอหน้าคูหาเลือกตั้ง



าพของชายหนุ่มถูกบีบคอจนหน้าเหยเกเพียงเพราะต้องการเลือกตั้งล่วงหน้า ที่หน่วยเลือกตั้ง โรงเรียนเซนต์จอห์นโปลีเทคนิค ซอยวิภาวดี 32 เขตจตุจักร ถูกแชร์ว่อนโซเชียล มีเดีย เมื่อวานนี้ (26 ม.ค.) ภาพนี้นอกจากจะกลายเป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่ยืนหยัดในหลักการของระบอบประชาธิปไตยแล้ว ยังถูกสำนักข่าวต่างประเทศอย่าง The Wall street Journal. นำไปเผยแพร่ถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นอีกด้วย 

กิตติ เอกแสงกุล คือ ชื่อและนามสกุลจริงของชายหนุ่มผู้นั้น 

กิตติ ในวัย 40 ปี จบการศึกษาปริญญาตรีวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(บางมด) ปริญญาโท วิศวกรรม อุตสาหการ ธรรมศาสตร์ ปัจจุบันทำธุรกิจส่วนตัว ให้สัมภาษณ์กับทีมงานประชาชาติธุรกิจออนไลน์ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเองถือเป็นเรื่องเล็กน้อยเมื่อเทียบกับประวัติศาสตร์การเมืองในอดีตอย่าง 14 ตุลา 16 หรือ 6 ตุลา 19 ที่คนไทยต้องตระหนักถึงความยากลำบากกว่าจะได้มาซึ่งระบอบประชาธิปไตย 

"ที่ผ่านมามีแต่เผด็จการทหาร คนที่จะมาปกครองประเทศนี้ต้องมาด้วยกระสุนปืน ด้วยกำลังทหาร บรรพบุรุษเราเสียชีวิตทั้ง 14 ตุลา และ 6 ตุลา ทั้งนักศึกษาที่ตายไป เขาอยากได้ระบอบการปกครองที่มาจากการเลือกตั้ง มีคนตายเรื่องนี้มากมาย แล้ววันนี้คุณเห็นคนบ้าๆ บอๆ มายืนกั้นไม่ให้คุณเข้าไป แล้วคุณจะยอมแล้วเดินกลับบ้านนอนเฉยๆ แล้วบอกว่าทำเพื่อประเทศไทยเหรอ ผมอยากจะเห็นความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับจิตสำนึกของสังคมไทยเกี่ยวกับประชาธิปไตยและการลงคะแนนเสียงมากกว่า คือ ผมอยากบอกกับทุกคนว่าผมตระหนักในสิทธิของผมในการปกครองประเทศนี้" 

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  กิตติ เล่าว่า ต้องเดินฝ่ากลุ่มผู้ชุมนุมกลุ่มใหญ่ ต้องเดินผ่านการ์ด และผู้ชุมนุม ที่เข้ามาถามว่าจะไปไหน เมื่อตอบว่าจะไปเลือกตั้งก็กันไม่ให้เข้าไป จึงได้พยายามพูดจาว่านี่คือสิทธิ แต่กลุ่มผู้ชุมนุมไม่ยอม พร้อมกับยกเหตุผลมากมายมาอธิบายว่าทำไมถึงไม่ควรไปเลือกตั้ง 

"เขาก็ไหว้บอกว่า ขอร้องเถอะพี่ อย่าเลือกตั้ง อย่ามาเลือกตั้ง บอกว่าถ้าผมเลือกตั้งแผ่นดินจะลุกเป็นไฟ ผมยังจะมาเลือกอีกเหรอ ผมก็บอกว่า ผมจะใช้สิทธิของผม จะเข้าไป ผมก็ดันทุรังแล้วก็โชว์ใบเลือกตั้ง บอกว่าผมขอเลือกตั้งล่วงหน้า ผมมีธุระวันที่ 2 กุมภา ผมไม่สะดวก เขาก็กันไม่ให้ผมเข้าไป แล้วพอผมโชว์ใบเลือกตั้งล่วงหน้า ก็แห่กันมาใหญ่เลย ทีนี้เป็นป้าๆ ละ ผู้หญิงบางคนมาบอกผมว่าให้สงสารหนูเถอะ ถ้าพี่ไปเลือกตั้งหนูจะไม่ได้เงินจำนำข้าว หนูให้พี่เข้าไปไม่ได้ คือเหตุผลที่เขาพูดมันฟังดูแล้วเข้าท่าไหมล่ะ ส่วนที่โดนบีบคอน่าจะเป็นรอบสอง คือผมก็อยากจะเข้าไป จะยอมแพ้ได้ยังไง ประวัติศาสตร์มีคนตายมากแล้ว แล้วคุณโดนนิดหน่อยจะเป็นไร" 

แม้ว่าภาพโดนบีบคอจะดูรุนแรง แต่กิตติบอกว่า เป็นเรื่องขี้ปะติ๋ว 

"การที่ผมเจ็บปวดตรงนี้มันนิดเดียวเอง ผมไม่ใช่ว่าเข้าโรงพยาบาลหรือถูกเขาทำร้ายอะไรมากมาย แต่สิ่งที่ผมอยากบอกคือ เราอย่ายอมแพ้ให้กับความไม่ถูกต้อง ที่คนบางกลุ่มมาขัดขวางไม่ให้คุณมีโอกาสแสดงสิทธิในการปกครองตรงนี้ คุณยอมได้อย่างไร" 

แม้ว่าสุดท้ายแล้ว กิตติ จะไม่สามารถใช้สิทธิที่ตนมี แต่เขาย้ำว่ายังไม่หมดหวัง 

"ผมเกือบโดนกระทืบตาย แถมยังมีคนขับเบ๊นซ์มาปาดหน้ากล่าวหาว่าผมเป็นตำรวจ จะเอาตัวไปสอบสวนอีก แต่มันไม่มีหมดหวังหรอก ที่ผมให้สัมภาษณ์นี้ เพราะต้องการจะจุดประกายว่าคุณอย่ายอมแพ้กับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง สิ่งที่ผิดกฎหมาย คุณจะเดินกลับบ้านไปแล้วก็นอนอยู่บ้าน แล้วบอกว่ากูไปมาแล้ว แต่เห็นคนมากั้น แล้วกูก็เดินกลับอย่างนี้เหรอ คือคนไทยไม่ได้ตระหนักถึงประชาธิปไตย สิทธิที่เขามี เรามีอำนาจในการปกครอง ตอนนี้ทุกคนมีสิทธิในการปกครอง คุณอยากจะเลือกตั้ง คุณอยากจะเป็นผู้ปกครองประเทศนี้ คุณก็ไปเป็นส.ส.มาเลือกตั้ง นี่คือความเท่าเทียมกันในสังคมประชาธิปไตย และผมต้องการจะบอกว่า ถ้าคุณไม่ชอบรัฐบาลนี้ ไม่ชอบตระกูลนี้ คุณก็ไม่ต้องเลือกเขา คุณก็ไปกาโนโหวต ทำให้เขารู้สิ หรือ เลือกพรรคอื่นสิครับ แต่จะมาบิดกั้นไม่ให้ผมเลือกไม่ได้ คุณไม่ให้โอกาสคนอื่นพูดเลย คุณรู้ได้ยังไงว่าผมจะเลือกอะไร คือ คนไทยไม่ได้ตระหนักในอดีตของตัวเองว่ากว่าเราจะฝ่าฟันมาได้การเลือกตั้งวันนี้มันยากเย็นแสนเข็ญ"



-มองว่าสภาพปัจจุบันเป็นอย่างไรเทียบกับความขัดแย้งในอดีตอย่าง14ตุลา

ยุคนี้เป็นยุคประชาธิปไตยที่ดีนะความขัดแย้งในเชิงรัฐศาสตร์เขาก็พูดว่าสังคมที่มีความขัดแย้งว่าดีนะไปอ่านดู  มาเคียเวลลีก็บอกเลยว่า สังคมโรมันก็มีการทะเลาะเบาะแว้งตลอดเวลา สังคมที่ดีต้องมีการทะเลาะเบาะแว้ง เพราะมันต้องมีการตรวจสอบ คุณโกงก็โดนโวยวาย ด่าว่าด่าทอ คือมันเป็นสิ่งที่ดี แต่ว่าคุณต้องอยู่ในกรอบกติกาสิ คุณทำผิดกฎหมายชาวบ้านเดือดร้อนไปหมด แล้วผมบอกว่าไม่ชอบคุณจะยอมกลับไหม ก็ไม่กลับ แล้วคุณยังมาปิดล้อมไม่ให้ผมเลือกตั้งอีก 

คือยุค 14 ตุลา มันเป็นเผด็จการ รัฐบาลทหารอยู่แล้ว คุณไม่มีสิทธิบอกว่าไม่เอา ไม่ชอบ รู้จักนั่งยางไหม คือ ใครไม่ชอบก็หิ้วปีกคุณไป แล้วไม่มีกฎหมายคุ้มครองคุณ คุณต้องเงียบและปิดปากอย่างเดียว ยุคนั้นน่ะ แต่ยุคนี้มันไม่ใช่ คุณจะด่ารัฐบาลออกเคเบิ้ลทีวีอะไรก็ได้ คุณไปเดินขบวนไปบอกชาวบ้านทั่วประเทศว่ามันไม่ดี มันโกงยังไงก็ได้ถูกไหม แล้วอย่างนี้จะไม่ดีตรงไหน 

ถ้าบอกว่ายิ่งลักษณ์โกงไม่แนบเนียนคุณก็ด่าได้ คุณก็ไล่เขาได้ นี่เขาก็ยุบสภาไป เพราะคุณไปแฉว่าเขาผิดยังไงใช่ไหม นี่คือประชาธิปไตย นี่มันเป็นสิ่งสวยงาม ผมไม่ได้มองว่าความขัดแย้งเป็นสิ่งเลว ผมยอมรับได้นะที่จะมาปิดถนน แต่นี่เล่นไปกันไม่ให้คนมาเลือกตั้ง ที่เป็นสิทธิพื้นฐานการปกครอง 

แล้วได้ฟังไหมบลูสกายที่เขาจะเอาคนทุกภาคส่วนมาให้ความเห็นเกี่ยวกับปฏิรูปการเมือง แล้วแค่ผมจะมาแสดงความคิดเห็นด้วยการเลือกตั้งก็ไม่เอา คุณไม่ฟังผม แล้วปฏิรูปที่เขาบอกคุณรับกันได้เหรอ อย่างผมถ้าคนรอบข้างบอกว่าโง่ เราก็ต้องยืนหยัดบนความถูกต้อง ความชอบธรรมเราต้องยืนหยัดให้เห็น ไม่ใช่ว่าเลือกตั้งแพ้ คุณก็ไม่ลงสมัคร ไม่ไปเลือกตั้งอย่างนี้เหรอ เราต้องยืนหยัดไม่ท้อแท้ อย่าสิ้นหวัง คือ ถึงแม้ไม่มีใครเห็นด้วยกับผมที่ทำ ก็ต้องยืนหยัดความถูกต้อง อย่าเดินหนีแล้วไม่ทำอะไร 

"ลองเขียนถามคนอ่านดูสิครับว่า แค่ผู้ชายคนหนึ่งจะเดินเข้าไปคูหาเลือกตั้ง มันผิดตรงไหน?" เสียงคำถามดังก้อง ทว่า..คำตอบจะอยู่ในสายลมหรือไม่ 


"แม่ลูกจันทร์" : กำกวม


ที่มา ไทยรัฐ 
วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ.2557

ควันหลงศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ 8 ต่อ 0 ชี้ว่าในกรณีเกิดเหตุสุดวิสัย หรือเหตุจำเป็นอื่นใด สามารถเลื่อน วันเลือกตั้งออกไปได้จาก กำหนดเดิม

ส่วนปัญหาว่า อำนาจสั่งเลื่อนวันเลือกตั้งเป็นอำนาจของใคร??

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 7 ต่อ 1 ชี้ว่าเป็นอำนาจรับผิดชอบร่วมกันของนายกรัฐมนตรี และประธาน กกต. ฝ่ายละ 50 เปอร์เซ็นต์

อย่างไรก็ตาม ศาลรัฐธรรมนูญชี้แจงเพิ่มเติมว่าคำวินิจฉัยทั้ง 2 ประเด็นไม่ใช่ “คำสั่ง” ให้ต้องปฏิบัติตาม

แต่เป็นการวินิจฉัยกว้างๆ เพื่อให้ทั้ง 2 ฝ่ายไปปรึกษาหารือกันเอง

พรุ่งนี้ (28 ม.ค.) นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะนัดพบ ประธาน กกต. ศุภชัย สมเจริญ  เพื่อเจรจาหาข้อสรุปร่วมกันว่าจำเป็นต้องเลื่อน? หรือไม่เลื่อน? วันเลือกตั้งออกไป?

ถ้าจำเป็นต้องเลื่อนวันเลือกตั้ง? จะเลื่อนไปอีกกี่วัน? กี่เดือน? กี่ปี?

โปรดรอพรุ่งนี้จะมีคำตอบอย่างเป็นทางการ

“แม่ลูกจันทร์” มองว่าการที่ศาลรัฐธรรมนูญเปิดช่องให้เลื่อนวันเลือกตั้งได้ ถือว่าเข้าทาง กกต. เต็มเปา

แต่ถ้า “ยิ่งลักษณ์” ไม่ยอมเลื่อนวันเลือกตั้ง  กกต.  ก็ทำอะไรไม่ได้อยู่ดี

เพราะตราบใดที่พระราชกฤษฎีกา กำหนดวันเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ ยังมีผลบังคับใช้

กกต. ก็ต้องเดินหน้าจัดการเลือกตั้งต่อไปตามกำหนดเดิม

ถ้า กกต. บิดตะกูดไม่ปฏิบัติตามก็เจอข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ซะเอง

อย่างไรก็ตาม เหตุผลที่ กกต. เสนอให้เลื่อนวันเลือกตั้งออกไปก่อนเนื่องจาก 15 จังหวัดภาคใต้ไม่มีความพร้อมที่จะจัดเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์

“แม่ลูกจันทร์” เห็นด้วยว่าควรเลื่อนวันเลือกตั้งเฉพาะบางจังหวัด (ภาคใต้) ที่มีปัญหาจริงๆ

ส่วนอีก 62 จังหวัด ที่พร้อมจัดเลือกตั้งได้ตามปกติ  กกต. จะเลื่อนวันเลือกตั้งให้ยุ่งเป็นฝอยขัดหม้อทำไม??
ข้อสำคัญ การที่ กกต. อ้างว่า

ต้องการเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปเพื่อคลี่คลายวิกฤติการเมือง  ก็ขัดแย้งกับ ความเป็นจริง

เพราะสิ่งที่มวลมหาประชาชนของ “กำนันสุเทพ เทือกสุบรรณ” ต้องการไม่ใช่การเลื่อนวันเลือกตั้ง

แต่ต้องการไล่รัฐบาลลูกเดียว!!

ความจริงของชีวิตมันอยู่ตรงนี้ตะหากล่ะโยม

“แม่ลูกจันทร์” ย้ำว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมายังมีความกำกวมอยู่หลายประการ เช่น...

1, ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้อ้างอำนาจรัฐธรรมนูญมาตราใดที่เปิดช่องให้เลื่อนวันเลือกตั้งได้แม้แต่มาตราเดียว

2, คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญระบุให้เลื่อน “วันเลือกตั้ง” อย่างเดียว  แต่ไม่เปิดช่องให้  “ล้มกระบวนการเลือกตั้ง”แต่อย่างใด

3, ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ชี้ว่าให้เลื่อนวันเลือกตั้งยกกระบิทั้ง  77  จังหวัด หรือให้เลื่อนเฉพาะบางจังหวัดที่มีเหตุฉุกเฉินจำเป็น

4, ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุระยะเวลาการเลื่อนวันเลือกตั้งต้องไม่เกินกี่วัน?กี่เดือน?กี่ปี?

5, ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ชี้ว่า

การเลื่อนวันเลือกตั้งต้องทำอย่างไร??

แต่ถ้าจะให้ “รัฐบาลรักษาการ” ออกพระราชกฤษฎีกาเลื่อนวันเลือกตั้งใหม่ก็ทำไม่ได้เพราะขัดรัฐธรรมนูญ

6, การจะเลื่อนวันเลือกตั้ง ต้องให้พรรคการเมืองที่ลงสมัครเลือกตั้งทั้ง 53 พรรคเห็นชอบร่วมกัน ไม่ใช่ “นายกฯ” กับ “ประธาน กกต.” มุบมิบตกลงกันเอง

7, ขณะนี้เหลือเวลาก่อนถึงวันเลือกตั้งใหญ่แค่ 5 วัน

ไฟจุกตูดขนาดนี้จะเลื่อนวันเลือกตั้งทันได้ยังไง.

"แม่ลูกจันทร์"


กวี : คิตะงามจะบรรเลง พิราบขาวจะโบกบิน

รูปภาพ : รักใคร ขอบใคร ก็ไปโหวต เราทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียม ที่จะเคารพเสียงส่วนใหญ่ที่ประชาชนเลือกและรับฟังเสียงข้างน้อยทีคอยท้วงติงอย่างห่วงใย เพื่อขับเคลื่อนประเทศอันเป็นที่รักของพวกเราทุกคนก้าวข้ามความขัดแย้ง ก้าวไปข้างหน้าสู่อนาคตที่ดี :-)
ภาพ:WE VOTE



๐ ระทดท้อฤทัยหมอง ระทมตรองฤดีมาลย์ ประหนึ่งใจจะแหลกราญ ชละเนตรก็คลอตา ๐ สยามยามกลียุค ประชาทุกข์ก็ทั่วหน้า ทุรชนอธรรมา สถิตย์ทั่วพระนคร ๐ ผิวะทุกข์ก็ทนเถิด จะบังเกิดพละพร สงบจิตและสังวรณ์ มล้างโทสะจากใจ ๐ สมัครมั่นสมานแม้น ขจัดแค้นก็หมดไป เพราะความดีจะสู้ได้ มิว่าใครก็พ่ายเรา ๐ กุศลจิตจะครองคุ้ม และโอบอุ้มพิทักษ์เฝ้า กิเลสมัว ณ ใจเขา ก็อาวุธพิฆาตเอง ๐ ประชาชนจะยืนยัน บ่ มิหวั่นจะข่มเหง คิตะงามจะบรรเลง พิราบขาวจะโบกบิน


โดย ดอกไม้ในเสื้อกาวน์ ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒ ประพันธ์เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๗ ..........
ข่าวเกี่ยวเนื่อง:สหรัฐฯชี้การขัดขวางไม่ให้พลเมืองใช้สิทธิในการลงคะแนนเสียงถือเป็นการละเมิดสิทธสากลของพลเมืองเหล่านั้นและไม่สอดคล้องกับค่านิยมแห่งประชาธิไตย

เหตุการณ์ความวุ่นวายอันเกี่ยวเนื่องกับการเลือกตั้งในประเทศไทย

26 มกราคม พ.ศ. 2557
กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา
สำนักโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ
คำแถลงของ Jen Psaki โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ 
สหรัฐอเมริการู้สึกกังวลอย่างมากกับความพยายามปิดกั้นหน่วยเลือกตั้งซึ่งเป็นการขัดขวางการเลือกตั้งในประเทศไทย ตลอดจนเหตุการณ์รุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นล่าสุด สหรัฐอเมริกาไม่เข้าข้างฝ่ายใดในความขัดแย้งทางการเมืองนี้และสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นรวมทั้งสิทธิในการชุมนุมอย่างสงบ ทว่า การขัดขวางไม่ให้พลเมืองใช้สิทธิในการลงคะแนนเสียงถือเป็นการละเมิดสิทธสากลของพลเมืองเหล่านั้นและไม่สอดคล้องกับค่านิยมแห่งประชาธิไตย สหรัฐอเมริกาขอย้ำถึงข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ ให้ทุกฝ่ายระงับการใช้ความรุนแรง พยายามอดทนอดกลั้นและมุ่งมั่นที่จะเจรจาอย่างจริงใจเพื่อแก้ปัญหาความคิดต่างทางการเมืองอย่างสันติในแนวทางประชาธิไตย

ที่มา เว็บไซต์สถานทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย 

ความเหมือนในความต่าง มะกัน 1957


ooo

 

กปปส. รุมกระทืบประชาชนที่จะไปเลือกตั้ง!!



 

เลือกตั้งล่วงหน้า เขตเลือกตั้งที่ 21 แขวงประเวศ กทม. 26 January 2014

ooo

ยุกติ มุกดาวิจิตร: หนึ่งเสียงที่ถูกริบไป


ผมเข้าไปถึงหน่วยเลือกตั้ง เจ้าหน้าที่บอกว่าให้กลับบ้าน ไม่มีการเลือกตั้งแล้ว ผมโมโหมาก ถามเจ้าหน้าที่ว่าใครสั่ง เจ้าหน้าที่บอกว่า กกต. บอกให้เลื่อนเลือกตั้งแล้ว บางคนบอกผอ.เขตให้ยกเลิก ผมขอหนังสือยกเลิก ก็ไม่มีใครชี้แจงอะไรผมเดินไปถามเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าที่ สน. มีใครรับแจ้งความไหม เขาบอกมี ผมก็วิ่งไปที่สน.บางมด จะไปแจ้งความ

ไปถึงสน. ตำรวจบอกไม่ต้องแจ้งความแล้ว เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งกับเจ้ากกต.กำลังแจ้งความว่ามีผู้ชุมนุมมาปิดหน่วยเลือกตั้ง เจ้าหน้าที่จากสนง.เขตบอกให้กลับไปที่สนง.เขตเพื่อลงทะเบียนแจ้งรักษาสิทธิ์เลือกตั้ง ผมทำตามโดยดี โดยไม่ได้ทันเฉลียวใจว่า ที่จริงผมก็มีสิทธิ์แจ้งความดำเนินคดีกับคนที่มาผิดหน่วยเลือกตั้งและมีสิทธิ์แจ้งความดำเนินคดีกับการไม่พยายามปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง แต่อีกใจ ผมก็เห็นใจเจ้าหน้าที่ ว่าเขาคงถูกข่มขู่คุกคามอย่างรุนแรง ไม่อยากถือโทษว่าพวกเขาเองก็อาจสมรู้ร่วมคิดกับการปิดหน่วยเลือกตั้งด้วย เมื่อได้เห็นประกาศปิดหน่วยเลือกตั้งด้วยเหตุผลว่า "มีกลุ่มผู้ชุมนุมปิดสำนักงานเขตจอมทอง" ผมก็ลงทะเบียนรักษาสิทธิ์ไว้ทันที

พวกคุณที่เป่านกหวีดร่วมกับ กปปส. น่ะ พวกคุณคิดหรือว่าการทำแบบนี้แล้วจะช่วยให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าไปได้

แต่ที่เสียใจที่สุดคือ พวกคุณทำไมต้องมาตัดสิทธิของผม ทำไมต้องมาคิดแทนผมว่าคะแนนเสียงผมไม่มีค่า เป็นอันว่าผมไม่สามารถเลือกได้ว่าผมจะให้ใครบริหารประเทศ ผมไม่สามารถกำหนดชะตาชีวิตผมได้ แม้ว่าผมจะเลือกคนที่พวกคุณเห็นว่าชั่วร้ายขนาดไหน แต่ในเมื่อคนเหล่านั้นยังมีสิทธิ์รับเลือกตั้ง ผมก็มีสิทธิ์เลือกคนเหล่านั้นอยู่ดี

พวกคุณดีกว่าผมอย่างไรจึงมาตัดสินใจแทนผมได้ พวกคุณรู้ดีกว่าผมอย่างไรจึงจะมาตัดสิทธิ์การตัดสินใจของผม พวกคุณคือใคร ก็แค่คนเท่าผม

พวกคุณไว้ใจคนที่พวกคุณเดินตามเขาอยู่ได้อย่างไร ผมคนหนึ่งที่ไม่ไว้ใจ แต่หากพวกเขาเข้าสู่กระบวนการของการเคารพหนึ่งคนหนึ่งเสียงแล้วได้เป็นผู้บริหารประเทศ ผมก็จะยอมรับอำนาจเขา แต่ก็จะวิจารณ์เขา โต้เถียงกับพวกเขา แต่หากพวกเขาเข้ามาสู่อำนาจ มีอำนาจการบริหารโดยวิธีพิเศษแล้ว พวกคุณคิดหรือว่าพวกเขาจะฟังใคร

ตกเย็น ผมไม่รู้จะทำอย่างไรจึงจะลดความโกรธได้ ก็เลยออกไปจุดเทียน เป็นเทียนเล่มแรกที่จุดในขบวนการจุดเทียนเพื่อรักษาสิทธิ์ เป็นแสงเทียนริบหรี่ที่ไม่ส่งเสียงให้ใครได้ยินได้ เพราะเสียงของผมถูกริบไปแล้วด้วยอำนาจป่าเถื่อนในการเลือกตั้งครั้งนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น