วันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2557

ขอเชิญ ฟังสัมมนาวิชาการ เรื่อง "แช่แข็งประชาธิปไตยไทย" วันศุกร์ 21 มีนาคม 2557 มรภ.สวนสุนันทา ห้องประชุมโครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิต อาคาร 31 ชั้น 3 เวลา 13.00- 15.00 น.

วันพุธ, มีนาคม 19, 2557

เงื่อนไขในสังคมที่ทำให้องค์กรอิสระไม่เป็นประชาธิปไตย


ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ 18 มีนาคม 2557

ความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่หลังรัฐประหาร19กันยายน2549นำไปสู่การตั้งคำถามเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรอิสระกับประชาธิปไตยในสังคมไทย และถึงแม้องค์กรอิสระจะมีพัวพันกับความขัดแย้งทางการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้การตั้งคำถามเรื่องนี้มีมากขึ้นตามลำดับ


แต่ข้อถกเถียงส่วนใหญ่ก็รวมศูนย์อยู่ที่การอธิบายว่าองค์กรอิสระมีอำนาจมากตามที่กำหนดโดยรัฐธรรมนูญหลังรัฐประหาร 2549 จึงต้องแก้รัฐธรรมนูญเพื่อไม่ให้องค์กรอิสระมีบทบาทแบบที่ผ่านมา

แน่นอนว่าไม่มีอะไรให้โต้แย้งได้ว่าข้อถกเถียงนี้ผิด เพราะทั้งผู้สนับสนุนองค์กรอิสระและผู้วิพากษ์วิจารณ์นั้นเห็นเหมือนกันหมดว่าองค์กรอิสระมีอำนาจมากจริง ข้อแตกต่างมีอยู่เพียงว่าองค์กรอิสระควรมีอำนาจมากแบบนี้หรือไม่เท่านั้นเอง

ปัญหาก็คือถ้าองค์กรกรอิสระมีอำนาจมากจริง และการใช้อำนาจนั้นก็เป็นไปในแบบที่ไปกันไมได้กับประชาธิปไตยมากขึ้นเรื่อยๆ ทำไมคนจำนวนหนึ่งถึงยอมรับได้กับการที่องค์กรอิสระมีบทบาทอย่างที่ทำไป ยกเว้นแต่คนเสื้อแดง?

หนึ่งในทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการอธิบายองค์กรอิสระของไทยมากที่สุดคือทฤษฎีการเมืองเครือข่าย ทฤษฎีนี้ยอมรับตั้งแต่ต้นว่าองค์กรอิสระเป็นสมญานามรวมหมู่เฉย ๆ ซึ่งไม่ได้แสดงว่าองค์กรเหล่านี้เป็นอิสระหรือปราศจากจากฝักฝ่ายทางการเมืองในแง่ไหนทั้งนั้น ในทางตรงกันข้าม องค์กรและกรรมการองค์กรเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการเมืองแบบต้านประชาธิปไตยด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งเสมอ จะเป็นความสัมพันธ์ฉันศิษย์ ลูกน้องเก่า หรืออคติทางการเมืองก็ตาม

แม้ทฤษฎีการเมืองเรื่องเครือข่ายจะมีจุดแข็งตรงทำให้เห็นภาพว่าองค์กรอิสระมีบทบาทตามความเคลื่อนไหวของเครือข่ายการเมืองฝ่ายต่อต้านประชาธิปไตย และถึงแม้จะเป็นความจริงว่าตัวบุคคลในองค์กรอิสระหลายคนก็มีสายสัมพันธ์ส่วนตัวจริงกับคนที่ว่ากันว่าอยู่ในเครือข่ายดังกล่าว แต่ก็อธิบายพฤติกรรมของพวกกองเชียร์ที่คอยยุยงหรือสนับสนุนให้องค์กรอิสระไล่ล่าประชาธิปไตยไม่ได้ และตอบไม่ได้เหมือนกันว่าพวกกองเชียร์อยู่ตรงไหนในเครือข่ายต่อต้านประชาธิปไตย

หากมองเรื่ององค์กรอิสระด้วยเลนส์ที่เลยจากเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองไทยออกไป แม้จะยอมรับได้ยากที่คนกลุ่มน้อยแบบองค์กรอิสระมีอำนาจเหนือคนส่วนใหญ่ แต่ปรากฏการณ์นี้ก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ  อันที่จริงทุกสังคมก็มีคนกลุ่มน้อยที่พยายามมีอำนาจเหนือคนส่วนใหญ่ในทางใดทางหนึ่งทั้งนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจเงื่อนไขทางสังคมที่เอื้อให้คนกลุ่มน้อยมีอิทธิพลในสังคมประชาธิปไตยตลอดเวลา มากบ้างน้อยบ้างตามแต่กรณี

หนึ่งในเงื่อนไขที่เปิดโอกาสให้คนกลุ่มน้อยมีอิทธิพลเหนือคนส่วนใหญ่ในสังคมประชาธิปไตยคือสภาพอันสลับซับซ้อนของภาคสังคม (the social)

หนึ่งในข้อถกเถียงที่สุดเหลวไหลในสังคมไทยคือการเลือกตั้งไม่เท่ากับประชาธิปไตย แต่ถ้าตัดการบิดเบือนตรรกะเพื่อลากไปสู่การต่อต้านการเลือกตั้งทิ้งไป ข้อถกเถียงนี้ก็มีด้านที่พอฟังได้อยู่บ้าง นั่นก็คือการเลือกตั้งเป็นรูปแบบพื้นฐานของประชาธิปไตย การเลือกตั้งอย่างเดียวจึงไม่ได้นำไปสู่ประชาธิปไตย แต่ระบบการเมืองที่ไม่มีการเลือกตั้งก็ไม่ใช่ประชาธิปไตยด้วยแน่ๆ หัวใจของคำถามนี้จึงอยู่ที่การไปสำรวจว่าอะไรขวางกั้นระหว่างการเลือกตั้งกับประชาธิปไตย

ต้องเข้าใจก่อนว่าประชาธิปไตยหมายถึงภาวะที่พลเมืองปกครองและสร้างกติการะดับชีวิตส่วนรวมด้วยตัวเอง  รากฐานของความชอบธรรมแบบประชาธิปไตยจึงอยู่ที่ความเท่ากันทางการเมืองระหว่างเอกบุคคลเสมอ หนึ่งในเหตุที่การเลือกตั้งเป็นพื้นฐานของประชาธิปไตยก็เพราะการเลือกตั้งทำให้พลเมืองมีโอกาสสร้างกติกาส่วนรวมอย่างเท่ากันตามนัยนี้ แม้ความเท่ากันทางการเมืองจะไม่ใช่หลักประกันของความเท่าเทียมด้านอื่นแต่อย่างใด

เมื่อเป็นเช่นนี้ โจทย์ของการเมืองแบบประชาธิปไตยคือการแปลการสร้างกติการะดับชีวิตส่วนรวมของพลเมืองให้เป็นสถาบันการเมืองให้ได้มากที่สุด แต่การสร้างการเมืองเชิงปฏิบัติจากหลักการนามธรรมแบบนี้ไม่ง่าย ยิ่งในสภาพสังคมสมัยใหม่ที่คนแต่ละกลุ่มแต่ละชนชั้นมีความเหมือนและความแตกต่างเหลื่อมทับกันหลายระดับ แค่จะกำหนดว่าอะไรคือ “กติกาส่วนรวม” ก็ยากมหาศาล ไม่ต้องพูดถึงการสร้างกติกาจากการให้ทุกคนมีส่วนร่วมเท่ากัน   
   
ความซับซ้อนของสังคมแบบนี้ทำให้คนส่วนน้อยที่สถาปนาตัวเองหรือถูกอุปโลกน์เป็น “ผู้รู้” และ “ผู้เชี่ยวชาญ” มีอิทธิพลเหนือสังคมจนน่าวิตก ตัวอย่างเช่นเมื่อพูดเรื่องเศรษฐกิจ ผู้บริหารนโยบายเศรษฐกิจและนักเศรษฐศาสตร์จะถูกถือว่าเป็น “ผู้รู้” และ “ผู้เชี่ยวชาญ” ซึ่งต้องถูกเสมอในการวินิจฉัยว่านโยบายเศรษฐกิจแบบไหนดีต่อส่วนรวม ทั้งที่คนเหล่านี้มีอวิชชาและผลประโยชน์ทางชนชั้นเป็นเพดานการคิด จนไม่แน่ว่าจะรู้ว่าส่วนรวมคืออะไรเสมอไป

โปรดระลึกว่านักเศรษฐศาสตร์คัดค้านการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทุกครั้งด้วยข้ออ้างซ้ำซากเรื่องอัตราความเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่วนการจัดตั้งกองทุนประกันสังคมก็ถูกต่อต้านด้วยวาทกรรมวินัยการคลัง ขณะที่นโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค ก็ถูกตั้งข้อหาประชานิยมและจะทำให้ระบบสาธารณสุขแห่งชาติล่มสลาย ทำนองเดียวกับที่นโยบายจำนำข้าวโดนในช่วงที่ผ่านมา ทั้งที่ทุกตัวอย่างล้วนเป็นเรื่องที่รัฐบาลทำตามความต้องการของประชาชนที่แสดงออกในการเลือกตั้งทั่วไป

ยิ่งในการจัดสรรงบประมาณสาธารณะซึ่งเต็มไปด้วยรายละเอียดที่ซับซ้อน คนที่สถาปนาตัวเองหรือถูกอุปโลกน์ว่าเป็น “ผู้รู้” และ “ผู้เชี่ยวชาญ” ก็ยิ่งมีโอกาสใช้ความชำนาญเฉพาะทางไปมีอิทธิพลต่อการจัดสรรงบประมาณได้เสมอ อำนาจในการวินิจฉัยว่างบประมาณถูกหรือผิดกฎหมายการคลังทำให้คนกลุ่มน้อยพวกนี้คือผู้กำกับนโยบายสาธารณะในความเป็นจริงไปในที่สุด ต่อให้นโยบายจะมาจากมติพลเมืองตามกระบวนการประชาธิปไตยก็ตามที

การล้มล้างโครงการรถไฟความเร็วสูงผ่านการล้ม พรบ.ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ก็ดำเนินไปในลักษณะเดียวกันคืออาศัยบุคคลที่อ้างหรือถูกถือว่าเป็น “ผู้รู้” และ “ผู้เชี่ยวชาญ” สี่คนไปทำลายโครงการที่มาจากความต้องการของประชาชนซึ่งดำเนินไปผ่านกระบวนการประชาธิปไตยโดยชอบทุกประการ รัฐมนตรีคลังและรัฐมนตรีช่วยในอดีตจึงจับมือกับรองปลัดกระทรวงการคลังคนปัจจุบันล้มล้างมติของประชาชนได้อย่างเต็มภาคภูมิ

น่าสังเกตด้วยว่าในกระบวนการล้มล้างโครงการรถไฟความเร็วสูง ฝ่ายผู้ล้มล้างแทบไม่ได้รับฟังเสียงของประชาชนกลุ่มอื่นนอกจากผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญทั้งสี่คนเลย  พูดให้เป็นรูปธรรมคือไม่มีตัวแทนประชาชนตามแนวเส้นทางรถไฟรายไหนถูกเชิญไปให้การในฐานะผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการนี้ ผลก็คือคำว่า “ผู้เกี่ยวข้อง” ถูกทำให้มีความหมายจำกัดอยู่แค่ผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญด้านการคลัง เหตุผลด้านการคลังและกฎหมายการคลังจึงกลายเป็นเกณฑ์พิจารณาโครงการนี้อยู่แค่มิติเดียว

การตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญก็เป็นอีกตัวอย่างที่สถานะความเป็น “ผู้รู้” และ “ผู้เชี่ยวชาญ” ทำให้คนส่วนน้อยมีอิทธิพลเหนือคนส่วนใหญ่จนสามารถล้มความต้องการแก้รัฐธรรมนูญซึ่งประชาชนแสดงในวันเลือกตั้งและแปรเป็นกฎหมายโดยชอบด้วยกระบวนการประชาธิปไตย  แต่ในขณะที่บทบาทของผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญกรณีจำนำข้าวหรือรถไฟความเร็วสูงเป็นการให้ข้อมูลประกอบการวินิจฉัยของผู้มีอำนาจ  คนกลุ่มนี้กลับมีบทบาทกรณีรัฐธรรมนูญในฐานะผู้วินิจฉัยเองโดยตรง

ในแง่นี้แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญเป็นวิวัฒนาการขั้นสูงสุดของระบอบที่ใช้ผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญไม่กี่คนหักล้างทำลายเจตจำนงร่วมของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที่ไปไกลถึงขั้นยอมรับให้คนกลุ่มน้อยตัดสินล้มล้างการเลือกตั้งทั่วไปของคนส่วนใหญ่ได้ง่าย ๆ ราวเป็นเรื่องปกติ และเพราะลักษณะเฉพาะของศาลรัฐธรรมนูญไทยที่ขณะนี้แทบไม่มีผู้รู้ด้านรัฐธรรมนูญและสาขาอื่นเลย การตีความรัฐธรรมนูญแบบคับแคบและไม่คงเส้นคงวาจึงแทบจะเป็นวิธีพิจารณารัฐธรรมนูญอยู่มิติเดียว

น่าสังเกตด้วยว่าในการพิจารณาว่าการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธุ์ เป็นโมฆะหรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ถามความคิดเห็นอะไรเลยจากผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ที่มีจำนวนมากที่สุดในสังคมอย่างผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 20 ล้านคน

ไม่ใช่ความลับที่ทุกวันนี้ศาลรัฐธรรมนูญถูกวิจารณ์เผ็ดร้อนถึงขั้นให้ยุบศาลไปเลย แต่หากตัดคนที่ชื่นชอบความเอื้อเฟื้อของศาลรัฐธรรมนูญต่อบางฝ่ายทิ้งไป คำถามที่น่าสนใจคืออะไรทำให้คนจำนวนหนึ่งเชื่อมั่นศาลรัฐธรรมนูญอยู่้จนบัดนี้  เป็นเพราะความเชื่อมั่นต่อศาลรัฐธรรมนูญในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของศาลในความหมายทั่วไป? หรือเป็นเพราะความเชื่อมั่นว่าศาลรัฐธรรมนูญคือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เข้าใจความซับซ้อนของรัฐธรรมนูญมากที่สุดในสังคมไทย?

มองในระดับภาพรวมแล้ว คนกลุ่มน้อยสถาปนาอำนาจเหนือสังคมสมัยใหม่บนเงื่อนไขที่สังคมสมัยใหม่มีความซับซ้อนจนเปิดโอกาสให้ “ผู้รู้” และ “ผู้เชี่ยวชาญ” อ้างว่าเป็นตัวแทนของส่วนรวมมากกว่าประชาชนส่วนใหญ่จริงๆ ผลก็คือการเลือกตั้งในฐานะกระบวนการหลอมรวมความต้องการของปัจเจกให้เป็นเจตจำนงร่วมของสังคม (will formation) ก็ถูกแทนที่ด้วยการปั่นความเห็นคนกลุ่มน้อย (opinion formation) เป็นกรอบอ้างอิงในการวินิจฉัยประเด็นสาธารณะจนคนกลุ่มน้อยครอบครองอำนาจสุดท้ายเหนือคนส่วนใหญ่ในความเป็นจริง

เมื่อเป็นเช่นนี้ คนส่วนใหญ่จะลงคะแนนให้นโยบายไหนหรือแก้รัฐธรรมนูญอย่างไร คนกลุ่มน้อยก็มีโอกาสล้มได้ทุกกรณี

ด้วยข้อเท็จจริงทุกวันนี้และย้อนหลังไปหลายปี ปฏิเสธไม่ได้ว่าองค์กรอิสระมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับเครือข่ายต่อต้านประชาธิปไตย  โจทย์ซึ่งฝ่ายต้องการประชาธิปไตยพยายามทำมาพักใหญ่จึงได้แก่การคืนความเป็นการเมืองไปยังองค์กรเหล่านี้ องค์กรอิสระและกรรมการของหลายองค์กรถูกฉุดกระชากลากถูไปตีแผ่สายสัมพันธ์กับชนชั้นนำกลุ่มอื่นจนความน่าเชื่อถือของสถาบันเสื่อมในเวลาที่รวดเร็วมาก แต่ก็ไม่รวดเร็วเท่ากับการทำลายประชาธิปไตยของฝ่ายองค์กรอิสระเอง

การออกแบบกระบวนการให้องค์กรอิสระมีอำนาจน้อยลงและตรวจสอบความสมจริงของการอ้างเป็นตัวแทนส่วนรวมได้มากขึ้นคือหนึ่งในเรื่องทีต้องทำเพื่อฟื้นฟูประชาธิปไตยในสังคมไทย

5555...ขำๆอย่าคิดมาก


มีรายงานว่า บรรดาเจ้ามือหวยจะเดินทางไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้การออกสลากงวดวันที่ 16 มีนาคม 2557 เป็นโมฆะ เนื่องจากนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ใบ้หวย 

ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ขัดรัฐธรรมนูญ และขอให้คุ้มครองเจ้ามือชั่วคราวด้วยการไม่ต้องจ่ายเงิน พร้อมวอนให้พระพุทธะอิสระปิดกองสลากจนกว่าจะแสดงความรับผิดชอบ

นอกจากนี้ บรรดาเจ้ามือหวย ยังร้องให้นายกฯ รับผิดชอบกับหวยที่ออกมา ทำให้เจ้ามือสูญเสียเงินจำนวนมหาศาล อีกทั้งยังทำให้ประชาชนเสียเปรียบ 

เนื่องจากมวลมหาประชาชนไปซื้อเลข 79 ตามที่ M79 ตกใส่บ้าน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ทำให้ถูกหวยเพียงแค่ 2 ตัว 

แต่ นปช. กลับถูก 3 ตัวตรง เพราะเลขได้มาจากทะเบียนรถนายกฯ ในวันที่ยิ่งลักษณ์หกล้ม ซึ่งจะยื่นศาลขอความเป็นธรรมในเรื่องนี้ต่อไป.... 

ป๋าเหลิมอยู่ไหนไม่ต้องไปต้องตามหาให้ยากมันออกมาแล้ว เจ้ามือหวยเถื่อน


ขอเชิญ ฟังสัมมนาวิชาการ เรื่อง "แช่แข็งประชาธิปไตยไทย" วันศุกร์ 21 มีนาคม 2557 มรภ.สวนสุนันทา


ขอเชิญสัมผัสอากาศหนาววววเย็น ท่ามกลางฤดูร้อน กับการเมืองไทยปัจจุบัน

สาขาการปกครองท้องถิ่น สวนสุนันทา 
ขอเชิญ ฟังสัมมนาวิชาการ เรื่อง "แช่แข็งประชาธิปไตยไทย"
พบกับ

อ. จอน อึ้งภากรณ์ 
ผศ.ดร. ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์
ผศ.ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
อ.เอกชัย ไชยนุวัติ
อ.วฺุฒิพงศ์ พงษ์สุวรรณ
และสมบัติ บุญงามอนงค์

วันศุกร์ 21 มีนาคม 2557 นี้ 

ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ห้องประชุมโครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิต อาคาร 31 ชั้น 3 เวลา 13.00- 15.00 น.

ความในใจ "ธิดา" โบกมือลาเก้าอี้ "ปธ.นปช."- "ดิฉันไม่ใช่แดงฮาร์ดคอร์"

"..คุณจะให้คนรักทั้งหมดเหรอ คุณต้องดูสิว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นอย่างไร คุณต้องดูว่าคนที่พูดเนี่ย คือดิฉันไม่ใช่ฮาร์ดคอร์ ถ้าตนเป็นฮาร์ดคอร์ด้วยก็คงจะน้อยใจ (หัวเราะ) ดังนั้นถ้าฮาร์ดคอร์ไม่พอใจมันก็ถูกต้องอยู่แล้ว.."

เขียนโดย ศุภเดช ศักดิ์ดวง

นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงก้าวสำคัญสำหรับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)

ภายหลังนางธิดา ถาวรเศรษฐ ถอดเสื้อ “เบอร์ 1 นปช.” ส่งต่อให้นายจตุพร พรหมพันธ์ แกนนำคนสำคัญรับช่วงเป็น “ประธาน” และตั้งนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ขึ้นสู่ตำแหน่งเลขาธิการ

ซึ่งคนวงในระดับแกนนำ นปช. หลายคนเชื่อมั่นว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ “เหมาะเจาะ” และ “ตรงเป้าหมาย” ที่คนอย่าง “ตู่ – จตุพร” ขึ้นมานำเป็นหัวขบวนการสู้รบ ระหว่างสถานการณ์ที่รัฐบาลสุ่มเสี่ยงจะถูกองค์กรอิสระ “เชือด” ในอีกไม่กี่อึดใจหน้านี้

นอกจากนี้ในช่วงที่ “ธิดา” ดำรงวาระอยู่ในตำแหน่งประธาน นปช. นั้น ถูกตั้งคำถาม และมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จาก “แกนนำฮาร์ดคอร์” และแดงอิสระกลุ่มต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลาว่าเป็นผู้นำความขัดแย้งเข้ามาสู่ นปช.

“เขาคิดกันไปสิ ถ้าเขาคิดว่าเราเผด็จการจริงแล้วเขาจะอยู่ได้เหรอ ทำไมเราถึงมีแดงอิสระ หรือมีอะไรอยู่เต็มไปหมด บางคนก็เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยก็หาว่าเรากีดกัน ถ้าเรากีดกันจริงจะมีเหรอที่ออกมาทำกันเยอะแยะ แต่ว่าคนฮาร์ดคอร์จำนวนหนึ่งเขาไม่ชอบตนหรอก เพราะว่าเรานำเสนอสันติวิธี ซึ่งอาจไม่ถูกใจ”

เป็นคำยืนยันจากปากของ “ธิดา ถาวรเศรษฐ” อดีต ประธาน นปช. รุ่นที่ 2 ผู้กุมบังเหียนทัพใหญ่คนเสื้อแดงในยุคเปลี่ยนผ่าน หลังเหตุนองเลือดปี 2553 มาจนถึงใกล้สถานการณ์สู้รบอีกครั้งในปี 2557
ทำไม “ธิดา” ถึงกล่าวเช่นนั้น สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org มีคำตอบ

เชิญอ่านได้จากบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้

----

@บทบาทต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร

มันเป็นการทำงานที่มีรูปธรรมรองรับ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านประสานงานมวลชน ไม่ว่างานด้านการจัดกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นงานด้านต่างประเทศ งานประชุม งานแถลงข่าวต่าง ๆ ยังเป็นภารกิจที่ต้องทำกันอยู่

ยกตัวอย่างเช่น งานที่คิดว่าจะยกเลิกไปก็คือ การแถลงข่าว ซึ่งคณะก็อยากจะให้งานแถลงข่าวเหมือนเดิม แต่ตนก็บอกว่าไม่ถูกต้องเพราะไม่ใช่ประธาน จะมานำการแถลงข่าวไม่ได้ ก็เลยต้องมีการปรับเป็นการคล้าย ๆ แถลงเดี่ยวทีละคน ซึ่งตรงนี้หมายความว่า ตนอาจจะว่างหรือไม่ว่างก็อาจจะไม่ได้มีปัญหาอะไร

แต่ว่าก็เนื่องจากว่า เราก็มีการปรับบ้าง แต่เนื่องจากภาระหน้าที่มีอยู่มาก จึงต้องช่วยกันทำงาน เพราะว่าเราไม่ได้มีคนทำงานมากนัก ยังมีคนทำงานไม่มาก

@มีการปรับโครงสร้างแกนนำใหม่หรือยัง

ยัง ๆ ก็อยู่ระหว่างการพูดคุยกันอยู่ว่าจะปรับบ้างจำนวนหนึ่ง แต่ว่างานขณะนี้ก็เต็มอยู่แล้ว เพราะเป็นการจัดกิจกรรม เช่น การจัดชุมนุมทุกสัปดาห์ก็ต้องหนักตลอด เราต้องแบ่งกันทำงานอยู่แล้ว เช่น การประสานงานมวลชนในภูมิภาคต่าง ๆ แบบนี้ แต่ว่าตอนนี้ก็ยังช่วยกันอยู่ ยังไม่สามารถที่จะทิ้งงานไปได้

@พอใจกับผลงานที่ผ่านมาของตัวเองหรือไม่

ก็พอใจมาตลอด แต่ว่าพอใจมากที่สุดคือครั้งแรกเลยในการวาง และนำเสนอชุดความคิด และยุทธศาสตร์ นโยบายต่าง ๆ ทั้งหมด จนกระทั่งมาทำโรงเรียนคนเสื้อแดง อันนี้เป็นแนวคิดตั้งแต่ก่อนมาเป็นประธาน นปช. และนี่ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของ นปช. ที่ก้าวมาเป็นแนวร่วมที่มีรูปธรรม มีแนวทางนโยบาย ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี ทำหลักสูตรผู้ปฏิบัติงาน มีการเปิดโรงเรียนการเมือง

สิ่งนั้นเป็นผลงานชุดใหญ่ที่เกิดขึ้นก่อนจะมาเป็นประธาน จากนั้นเราก็มาเสริมทำให้มีความแข็งแรง ที่สำคัญก็คือเราวิเคราะห์ว่าประเทศไทยมันไม่มีประชาธิปไตยที่ถูกต้อง มีการต่อสู้ยืดเยื้อยาวนาน ฉะนั้นการทำหน้าที่ประชาชน ถ้าประชาชนแข็งแรงจึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่มาจับมือประท้วงเย้ว ๆ แล้วก็กลับบ้าน

ฉะนั้นนี่คือจุดสำคัญที่เป็นชุดความคิด จากนั้นก็นำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อแยกบรรลุตามชุดความคิด และเป้าหมายนี้ ฉะนั้นนี่เป็นการทำงานต่อเนื่องจากทางด้านหลักการในการสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชน

และต่อมาเมื่อเป็นประธานก็ทำงานใหญ่พอสมควร โดยเฉพาะการสร้างโรงเรียนผู้ปฏิบัติงานทั่วประเทศ บ่มเพาะคนทำงานมามากมาย บ่มเพาะแกนนำขึ้นมามากมาย และให้ทุกคนเข้าใจเป้าหมายและยุทธศาสตร์

ต้องถือว่าเรายกระดับได้ทั้งปริมาณและคุณภาพของคน ในช่วงยามเราตกต่ำ หรือในยามที่เราพีคสูงเพราะอยู่ระหว่างต่อสู้ในปี 2553 เป็นต้น หรือแม้กระทั่งเราถูกปราบหรืออะไรก็ตาม การเดินหน้าสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กร นปช. ยังเป็นเรื่องที่เราทำอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าอยู่ในฐานะอะไร ดังนั้นจึงเป็นส่วนหนึ่งที่เราคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญที่สุด

และในตอนช่วงที่มาเป็นรักษาการประธาน จนก้าวมาเป็นประธาน ก็เดินหน้าในเรื่องการจัดตั้งองค์กรและแกนนำทั่วประเทศ อันนั้นก็เป็นเรื่องสำคัญแต่มันยังได้ไม่ดี (หัวเราะ)

@แดงอิสระ และแดงฮาร์ดคอร์ มองว่าคุณเป็นคนสร้างความขัดแย้ง

เขาคิดกันไปสิ ถ้าเขาคิดว่าเราเผด็จการจริงแล้วเขาจะอยู่ได้เหรอ ทำไมเราถึงมีแดงอิสระ หรือมีอะไรอยู่เต็มไปหมด บางคนก็เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยก็หาว่าเรากีดกัน ถ้าเรากีดกันจริงจะมีเหรอที่ออกมาทำกันเยอะแยะ แต่ว่าคนฮาร์ดคอร์จำนวนหนึ่งเขาไม่ชอบตนหรอก เพราะว่าเรานำเสนอสันติวิธี ซึ่งอาจไม่ถูกใจ

และขบวนการประชาชนผู้ปฏิบัติงานอาจต้องพึ่งผ่านการยอมรับของประชาชน อันนี้เป็นแนวร่วมที่มีรูปการณ์ มีแนวทางนโยบาย มีผู้ปฏิบัติงาน บางคนเขาไม่ชอบ เขาอยากเป็นอิสระ แล้วเขาก็พบว่าการเป็นแดงอิสระนั้น ก็ไม่ง่าย เพราะคนส่วนใหญ่นั้น มุ่งสู่เส้นทาง นปช. มากกว่า ฉะนั้นคนที่จะต้องถูกโทษก็คือตน (หัวเราะ)

เพราะว่า นปช. นำโดยหลักการ ตนไม่ได้เป็นนักพูด หรือนักปราศรัย ไม่ใช่ซูเปอร์แบบคุณจตุพร หรือคุณณัฐวุฒิ แต่เราใช้หลักการและทฤษฎีเป็นหลัก

ฉะนั้นที่คนอยากเป็นอิสระเขาก็ไม่ชอบก็ไม่เป็นไร แต่เวลามันพิสูจน์เดี๋ยวนี้ว่า คนที่เป็นอิสระก็ไม่สามารถที่จะทำอะไรได้มากนัก แต่ถามว่าตนไปขัดขวางหรือไปกีดกันหรือไม่ ไม่มีแน่นอน เพราะโดยหลักการของเรา เขารู้อยู่ว่าเราทำแบบไหน

ต้องเข้าใจว่านี่เป็นองค์กรเปิดและเป็นเสรีชน ใครจะทำอะไรก็ได้ ใครจะด่าก็ได้ ใครจะว่าก็ได้ ไม่สามารถไปบังคับ และเวลาการปฏิบัติงานเขาก็ทำกันโดยความสะดวกใจ นี่ไม่ใช่องค์กรจัดตั้งที่มีเงินเป็นตัวบังคับ นี่ไม่ใช่องค์กรจัดตั้งที่มีตำแหน่งหน้าที่ให้คุณให้โทษ มันเป็นเรื่องของความเต็มใจ และอุดมการณ์

ฉะนั้นมันเป็นเสรีภาพว่า ใครจะจัดตั้งกลุ่มอะไรก็ได้ มิฉะนั้นจะมีกลุ่มต่าง ๆ ตั้งเยอะแยะเกิดขึ้นได้อย่างไร เราไม่ได้มีการส่งสารด้านลบ แม้กระทั่งบางกลุ่มทำให้เราลำบากไปด้วย เพราะคนคิดว่าเป็นพวกเดียวกัน (หัวเราะ)

คุณดูอย่างกลุ่ม โกตี๋ เล่นเอาคุณจตุพรลำบาก ดังนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าเราทำแล้วเขาจะชอบเราหรือไม่ เขาก็คงไม่ชอบ แต่เขาจะทำเราก็ไปห้ามเขาได้อย่างไร ก็เรื่องของเขา แต่ถามว่ามันก็ทำให้คนแยกไม่ออก คนเข้าใจผิดว่าเป็น นปช. ยังมีตั้งเยอะแยะที่เขาไปอ้างกลุ่มนู้นกลุ่มนี้

แต่ปกติเราจะถือมารยาทกันนะ ถ้าคุณไม่ใช่ นปช. เราก็จะไม่ไปยุ่มย่ามกับเขา คุณจะไปบังคับเขาไม่ได้ เพียงแต่เตือน ๆ กันว่าขอร้อง สำหรับคนที่ขอร้องกันได้เราก็ส่งสารกันไปว่าให้ระมัดระวัง แต่ถ้าเขาไม่ชอบ เขาเอาไปโจมตี ไปด่า เราก็ไม่รู้จะว่าอย่างไร

แต่เราก็เชื่อว่าพี่น้องส่วนใหญ่ มีตาและเข้าใจ ไม่อย่างนั้นตนจะผ่านมา 3 ปีกว่า และก็สามารถกำหนดได้แน่นอนว่าในการชุมนุมแต่ละครั้งจะมีมวลชนเท่าไหร่เหรอ

@น้อยใจบ้างหรือไม่ ที่แดงอิสระ หรือแดงฮาร์ดคอร์บางกลุ่ม เขาเชื่อคุณจตุพร – คุณณัฐวุฒิ มากกว่า

ไม่ได้น้อยใจหรอก คุณจะไปน้อยใจทำไม คุณจะให้คนรักทั้งหมดเหรอ คุณต้องดูสิว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นอย่างไร คุณต้องดูว่าคนที่พูดเนี่ย คือดิฉันไม่ใช่ฮาร์ดคอร์ ถ้าตนเป็นฮาร์ดคอร์ด้วยก็คงจะน้อยใจ (หัวเราะ) ดังนั้นถ้าฮาร์ดคอร์ไม่พอใจมันก็ถูกต้องอยู่แล้ว

เราต้องดูว่าเขาพูดถูกหรือผิด เราจะไปห้ามคนวิจารณ์ได้อย่างไร คุณจะให้คนทั้งหมดมาถูกใจคุณเป็นไปไม่ได้ คำถามคือ คุณอย่าผิดกันก็แล้วกัน เอาคนที่ทำไม่ถูกแล้วมาชมเรา แล้วคนที่ทำถูกมาด่าเรา อย่างนี้มันกลับกันแล้ว

@รัฐบาลมีท่าทีอย่างไร หลัง นปช. เปลี่ยนประธานคนใหม่

ไม่ทราบเหมือนกัน ไม่ได้คุยกับคนในรัฐบาลเลย เพราะนี่เป็นเรื่องของ นปช. ไม่มีใครรู้เรื่อง และในหมู่ของพวกเราตนก็ต้องเก็บเป็นความลับ เพราะเป็นการประชุมต่อเนื่องจากการประชุมรอบก่อน เพราะเดี๋ยวจะมีการพูดกันไปแบบผิด ๆ

คือตนเป็นคนเสนอเองให้มีการปรับเปลี่ยน และคุณจตุพรเขาก็ผัดผ่อนไว้ก่อน และตอนนี้คิดว่าจังหวะเหมาะสม

@มีหลายคนกังวลว่าพอคุณจตุพรขึ้นมาเป็นประธานแล้วท่าทีของ นปช. จะแข็งกร้าวขึ้น

ตอนที่เขาไม่ได้เป็นเขาก็ปราศรัยแบบนี้ และตอนที่เขาเป็นเขาก็ระมัดระวัง พูดเรื่องสันติวิธีมากด้วยซ้ำ เขายังออกมาพูดในประเด็นว่าเราไม่มีกองกำลัง ปฏิเสธเรื่องที่คุณสภรณ์ อัตถาวงศ์ (แรมโบ้อีสาน) ทำ เขาก็ปฏิเสธหนักหน่วง เต็มที่ ปฏิเสธมากกว่าตนอีก แต่คนก็ยังมองเขาว่าเป็นฮาร์ดคอร์ (หัวเราะ)

@ภาพรวม นปช. ในปัจจุบัน เป็นอย่างไรบ้าง

ยังไม่มีอะไรเปลี่ยน ก็เหมือนเดิม แนวทางนโยบายก็ไม่ได้เปลี่ยน เพราะว่ารับรองกันโดยที่ประชุม และการพูดคุยปรึกษาหารือเราก็มีกันมาตลอด ไม่ว่าใครมีตำแหน่งอะไร

คุณอย่าลืมว่าคุณจตุพร ก็เหมือนกับไม่มีตำแหน่งอะไรมาตั้ง 2 – 3 ปี ก่อนที่ตนเป็นประธาน คุณจตุพรก็ไม่ได้มีตำแหน่งอะไร ก็ทำงานอยู่ด้วยกันมาตลอด ตนไม่ได้รู้สึกว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลง เพียงแต่เราให้บทบาทคุณจตุพรเด่นขึ้นในฐานะประธาน และเขาจะได้ขึ้นมาเป็นผู้นำอย่างเต็มภาคภูมิ แต่ว่าเรื่องอื่นมันก็ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลง เพราะว่าตนยังต้องช่วยอยู่ ยังต้องทำงานอยู่

@เมื่อถึงจุดหนึ่งที่แกนนำยุคคุณจตุพรเข้มแข็งแล้ว จะลดบทบาทตัวเองลงใช่หรือไม่

ก็เป็นไปได้ เพราะตนก็แก่แล้ว เรื่องอะไรจะไปทำงานมาก แต่ว่าเรื่องนี้เป็นภารกิจส่วนรวม เลยจำเป็นต้องทำ ไม่ได้ทำเพราะว่าเราต้องทำงาน ไม่ใช่ว่าจะต้องอยู่ตรงไหน อย่างที่บอกว่าแม้ไม่มีตำแหน่งก็ทำงานได้ และก็ทำได้เป็นเรื่องสำคัญมากด้วย

ฉะนั้นมันไม่จำเป็นว่าต้องอยู่ตรงไหน เพราะปกติก็ทำงานเงียบ ๆ อยู่ข้างหลัง และถูกดันมาอยู่ข้างหน้าเอง ดังนั้นจึงไม่รู้สึกเดือดร้อนอะไร และตนอายุมากแล้ว ก็ต้องผลัดเปลี่ยนให้คนหนุ่มขึ้นมาทำ คนสูงอายุจะไปว่องไวอะไร เดี๋ยวก็เสื่อมนู่น เสื่อมนี่ (หัวเราะ) ก็ใช้ประสบการณ์ช่วยดีกว่า นี่ก็ยังเหนื่อยอยู่เลยนะเนี่ย ต้องไปอัดรายการสารพัด ต้องไปพูดแถลงข่าว ต้องขึ้นเวทีปราศรัย ก็ยังต้องทำเหมือนเดิม งานมันบังคับเราว่าต้องทำ ถามว่าออกโทรทัศน์พูดกับคนเสื้อแดง พูดกับคนทั่วไปดีหรือไม่ ถ้าดีก็ต้องทำ

@ภายใต้การนำของคุณจตุพร นปช. ชุดใหม่นี้จะเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด

ก็คิดว่าการปรึกษาหารือเราก็คงยังเหมือนเดิม เพราะเราพยายามจะวางรากฐานของการประชุม และการนำโดยคณะมันก็ยังอยู่ เพราะสมัยตนเป็นประธาน ก็ปรึกษาเขาทุกเรื่อง ตอนเขาเป็นตนก็หวังว่ามันก็ต้องปรึกษากันคล้าย ๆ เดิม เพียงแต่ในบางเรื่องเขาก็อาจจะสามารถเจรจาได้อย่างในฐานะประธานได้เต็มที่มากกว่าเดิม คิดว่าจะเป็นอย่างนั้น

@คุณจตุพรจะรวมพล นปช. ได้แข็งแกร่งเหมือนเดิมหรือไม่ เพราะช่วงหลัง นปช. ดูเคลื่อนไหวน้อยลงไปมาก

ไม่ใช่หรอก ก็เพราะพวกเดียวกันเป็นรัฐบาล จะทำอะไรได้ที่ไหน ในความเป็นจริงเราก็ดีขึ้นด้วยซ้ำ เพราะว่าเราปรับเปลี่ยนแกนนำทุกระดับมามากขึ้น เรามีคุณภาพมากขึ้น มีความเข้าใจมากขึ้น แรก ๆ เป็นการต่อสู้ในช่วงแรกเป้าหมายยังไม่ชัดเจนเหมือนตอนนี้ แต่ตอนนี้มันชัดเจนว่าเราต่อสู้เพื่อหลักการประชาธิปไตยมากขึ้น

@นปช. ดูไม่เข้มแข็งเหมือนแต่ก่อน

ดูเวลาไปชุมนุมแต่ละที่ คนเยอะขนาดไหน มวลชน นปช. ตอนนี้ยังเยอะเหมือนเดิม แต่คุณภาพในแง่อุดมการณ์มีมากขึ้นไปอีก แต่ก่อนนั้นคุณภาพทางอุดมการณ์ยังไม่ค่อยชัดเจน ตอนนี้คุณภาพทางอุดมการณ์ชัดเจนขึ้น เขารู้ว่าเขาสู้เพื่ออะไร นี่ไม่ใช่เรื่องบุคคล มีบางส่วนอาจเป็นบุคคล แต่ส่วนใหญ่เน้นเรื่องประชาธิปไตย กับความยุติธรรมเป็นหลัก และนี่คือสิ่งที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน และเป็นความภาคภูมิใจของตน

ในด้านปริมาณก็ไม่ได้หายไป ก็เพิ่มขึ้น ถ้าอยากรู้ก็ดูตอนคนลุยมาเลือกตั้ง 20 ล้านคนสิ ถึงแม้เขาไม่เลือกพรรคเพื่อไทยก็ช่างปะไร จะโหวตโนก็ช่างปะไร แต่ออกมาเลือกตั้งแล้วกัน ตนถือว่าเป็นพวกมีแนวคิดเดียวกัน ข้างเดียวกัน 20 ล้านคน แล้วคิดว่ามากขึ้นหรือไม่ มากขึ้นในสถานการณ์นี้ที่ถูกขัดขวาง แต่เขายังเดินออกมา

เราต้องมองอย่างนี้ ถึงแม้เขาไม่ใส่เสื้อแดงก็ไม่เป็นไร ต้องมองหลักการเดียวกัน เขามีอุดมการณ์ประชาธิปไตย ดังนั้นตนก็พอใจว่า เป้าหมายเราในการขยายผู้รักประชาธิปไตยนั้นถูกต้อง แต่เราไม่ได้ขยายเป้าหมายรักคุณทักษิณ (ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี) หรือคุณยิ่งลักษณ์ (ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม) นะ แต่เป้าหมายเราคือขยายผู้รักประชาธิปไตย

แต่คนที่รักคุณทักษิณ คุณยิ่งลักษณ์ในขบวนการนี้มาก ซึ่งมันก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่ว่ามันจะดีกว่าถ้าเราได้ผู้รักประชาธิปไตยเพิ่มขึ้น

@หลายฝ่ายก็ยังคิดว่าสู้เพื่อคุณทักษิณ – คุณยิ่งลักษณ์ อยากให้ช่วยย้ำจุดยืนอีกครั้งว่า นปช. สู้เพื่ออะไร

ตอนคุณทักษิณโดนตัดสินยึดทรัพย์ ดูสิว่ามี นปช. ออกมาประท้วงหรือไม่ ตอนถูกลงโทษมีหรือไม่ กระทั่งยุบพรรคก็ยังไม่มีเลย แล้วตอนที่เรามาประท้วงในปี 2552 – 2553 เราก็มาประท้วงให้ยุบสภา ถูกหรือไม่ ฉะนั้นก็ดูสิว่า การออกมาแต่ละครั้งเป็นเรื่องหลักการทั้งนั้น

คือเอาแต่จะโจมตีโดยไม่ได้ใช่ความคิดไง ไม่ได้มองหาข้อดีของอีกข้างหนึ่งเลย ถ้าเราไม่ได้คิดอย่างนี้ ก็พังกันไปข้างหนึ่งแล้ว

@จะสลายมายาคติตรงนี้อย่างไร

ตนว่าคนเข้าใจมากขึ้นแล้ว มีความเข้าใจมากขึ้น โดยเฉพาะชัดเจนคือ ตอนเห็นคุณเป็นคนไม่เท่ากันนั่นแหละ ถ้าคนไม่ตกอยู่ในมายาคตินี้มากเกินไป มันต้องคิดกลับตัวได้แล้วว่า จะอยู่กันได้อย่างไรเห็นคนไม่เท่ากัน เห็นคนชนบทโง่เง่า แล้วคุณไม่ยอมแม้กระทั่งให้เขามีสิทธิในการเลือกตั้งเท่ากัน และคุณมาขัดขวางการเลือกตั้ง และคุณไม่เอาระบอบประชาธิปไตย

ตนคิดว่าคนตื่นตัวขึ้นมาเป็นจำนวนมากเพราะเหตุดังกล่าว ถ้าไม่มีเรื่องนี้มันก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง และอีกตัวอย่างคือ อ.เกษียร เตชะพีระ เขาเป็นคนผลิตคำพูด “ระบอบทักษิณ” แต่ว่ามาตอนนี้เขาคิดอย่างไร หรือคนอย่าง อ.นิธิ เอียวศรีวงษ์ เขาก็ไม่ได้เป็นคนเสื้อแดง เขาก็ไม่ได้ชอบคุณทักษิณ แล้วเดี๋ยวนี้เขาเป็นอย่างไร

เพราะเขาเข้าใจแล้วว่า เราสู้เพื่อความเป็นคนเท่ากัน ตนเชื่อว่าคนจะเข้าใจมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้านหนึ่งเป็นเพราะอีกฝั่งทำเองด้วย ทำเกินเลยไป และขณะนี้คนทั่วโลกค่อนข้างจะตอบได้ว่าเกือบทั้งหมดอยู่ข้างเรา เพราะเขาไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้ที่มาขัดขวางการเลือกตั้ง ในโลกนี้ไม่เคยมี มีการประท้วงที่ไหนไม่ให้มีการเลือกตั้ง เราถือแค่เพียงประชาธิปไตย

ในทัศนะของตนขณะนี้ ประชาธิปไตยเป็นกระบวนการเมืองการปกครองที่ก้าวหน้าที่สุดในปัจจุบัน ที่เหมาะกับยุคสมัยแล้ว ฉะนั้นความชอบธรรม และเหตุผลในการต่อสู้ของเรานั้นได้รับการยอมรับ เพราะเราไม่ใช่ขบวนการล้าหลัง

@ถ้าหากคุณยิ่งลักษณ์ มีเหตุเพลี้ยงพล้ำให้พ้นตำแหน่งรักษาการนายกฯ นปช. จะทำอย่างไร

เราไม่ได้อยู่ที่คน เราอยู่ที่หลักการ ถ้าหลักการของการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยเราไม่เอา เราไม่เอารัฐบาล ม.7 เราไม่เอาสภาประชาชน พวกนั้นเราไม่เอา ถ้าคุณยิ่งลักษณ์เกิดมีอันเป็นไป แล้วกระบวนการประชาธิปไตยยังดำเนินอยู่ได้ เราก็ไม่ว่าอะไร แต่ถ้ากระบวนการประชาธิปไตยไม่ดำเนินไปได้ เราก็ต้องคัดค้านต่อต้านกันอยู่ดี

ทั้งหมดนี้คือ “ความในใจ” ของ “ธิดา” ประธาน นปช. ในยุคเปลี่ยนผ่านของ นปช. ก่อนจะผลัดใบส่งไม้ต่อให้ “จตุพร” ก้าวขึ้นมาเป็น “แม่ทัพ” คนใหม่ซึ่งเตรียมพร้อมในสถานการณ์สู้รบอย่างเต็มตัว

หมายเหตุ : ภาพประกอบจาก wefinn.com


จดหมายเปิดผนึกถึงศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง คัดค้านคำร้องให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ


ร่วมกัน SHARE จดหมายถึงเปิดผนึกของ กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย (LLTD)และกลุ่มจับตาองค์กร(ไม่)อิสระฉบับนี้ บอกกับศาลรัฐธรรมนูญว่าอย่าละเมิดสิทธิและเสียงของประชาชนส่วนใหญ่กว่า 20 ล้านคนที่ออกไปเลือกตั้งอย่างสุจริตใจ
--------------

จดหมายเปิดผนึกถึงศาลรัฐธรรมนูญ

เรียน ศาลรัฐธรรมนูญ

เรื่อง คัดค้านคำร้องให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ

ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การเลือกตั้งนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับกันในสากลประเทศว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้โดยเป็นกระบวนการคัดสรรบุคคลที่จะเข้าไปทำหน้าที่แทนประชาชนในสถาบันนิติบัญญัติ และสถาบันบริหาร การเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยจะต้องประกอบไปด้วยหลักการสำคัญที่ยึดถือกันทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก อันได้แก่ เป็นการเลือกตั้งที่มีลักษณะทั่วไป กล่าวคือบุคคลที่อายุเข้าเกณฑ์มีสิทธิออกเสียงได้ทุกคนอย่างเสมอภาค เป็นการเลือกตั้งที่เป็นอิสระ ไม่มีการบังคับขู่เข็ญ กดดันหรือชักจูงใดๆ เป็นการเลือกตั้งที่มีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน เป็นการเลือกตั้งแบบลงคะแนนลับ เป็นการเลือกตั้งแบบหนึ่งคนหนึ่งเสียง และเป็นการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม

รัฐบาลรักษาการณ์ของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาและกำหนดการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 แม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะเต็มไปด้วยอุปสรรค และปัญหาต่างๆในตลอดช่วงเวลาของการเลือกตั้ง แต่คณะกรรมการการเลือกตั้งก็สามารถดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งที่สำเร็จลุล่วงลงด้วยดี เป็นไปตามหลักการว่าด้วยการเลือกตั้งที่ได้กำหนดไว้ จากคำแถลงของประธานกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้สรุปว่า จากจำนวนหน่วยเลือกตั้งทั้งหมด 93,952 หน่วย สามารถเปิดลงคะแนนได้ 83,813 หน่วย คิดเป็น 89.2% จาก 77 จังหวัด งดลงคะแนน 18 จังหวัด รวม 69 เขต โดยมีจำนวนผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจำนวน 20,468,686 คน หรือคิดเป็น 45.84% ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ ซึ่งหากพิจารณาจากค่าเฉลี่ยของจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งในประเทศในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของการเลือกตั้งในประเทศไทย ถือได้ว่าจำนวนคะแนนเสียงดังกล่าวเป็นสัดส่วนที่สำคัญที่สามารถเป็นตัวแทนของเสียงส่วนใหญ่ของคนทั้งประเทศ

การเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จึงถือว่าเป็นการแสดงออกถึงเจตจำนงของประชาชนทั่วประเทศตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย ภายใต้รัฐธรรมนูญของประเทศ ในการเลือกตัวแทนเพื่อทำหน้าที่แทนตนในรัฐสภา กลุ่มจับตาองค์กร (ไม่) อิสระ และกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย ในฐานะตัวแทนของประชาชน 20 ล้านเสียง จึงขอคัดค้านคำร้องของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินที่ได้ยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ เพราะนอกจากจะเป็นคำร้องที่ขัดต่ออำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 244 และ 245 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แล้ว ยังเป็นการไม่เคารพต่อเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนกว่า 20 ล้านเสียงที่ได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างสุจริตใจ ทั้งยังเป็นสร้างเงื่อนไขให้สังคมไทยต้องตกอยู่ในภาวะของวิกฤตทางการเมืองและความขัดแย้งรุนแรงอันไม่สิ้นสุดต่อไป กลุ่มฯขอเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญได้ธำรงไว้ซึ่งความเที่ยงธรรม เป็นกลาง และเห็นแก่ประโยชน์สุขของสังคมโดยรวม ทำหน้าที่ในการจรรโลงระบอบเลือกตั้ง อันเป็นรากฐานสำคัญของประชาธิปไตยของประเทศไทยอย่างบริสุทธิ์และยุติธรรม

ขอแสดงความนับถือ

กลุ่มจับตาองค์กร (ไม่) อิสระ 
กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย

ooo

Credit

สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย

เรื่องเกี่ยวข้อง...


https://www.youtube.com/watch?v=hjyDItjk6KQ

พรรคเพื่อไทย ออกแถลงการณ์ คัดค้านศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีอำนาจรับวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง ส.ส. 2 กุมภาพันธ์เป็นโมฆะ และไม่ยอมรับบทบาทของ 6 องค์กรตามรัฐธรรมนูญที่อาสาหาคนกลาง เพราะที่ผ่านมาไม่ได้ทำหน้าที่อย่างเป็นกลางและเที่ยงธรรม

ภายหลังการประชุมแกนนำ พรรคเพื่อไทยได้ออกแถลงการณ์ คัดค้านการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 2กุมภาพันธ์ ว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้แถลงการณ์ระบุว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยเรื่องเลือกตั้ง โดยไม่มีอำนาจรับคำร้อง เป็นการไม่เคารพรัฐธรรมนูญและหลักนิติธรรม แต่ยังขยายเขตอำนาจของศาลเอง จึงเป็นการล้มเลือกตั้งด้วยกระบวนการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ


หากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เป็นโมฆะ จะถือเป็นบรรทัดฐานที่เลวร้ายของประเทศไทย และต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย 

Voice TV
...

มติชนออนไลน์ ได้ตีพิมพ์รายละเอียดแถลงกาณ์ 8 ข้อ ของพรรคเพื่อไทย ค้านการใช้อำนาจศาล รธน. วินิจฉัยเลือกตั้ง2ก.พ. ดังต่อไปนี้...

1.พรรคขอคัดค้านผู้ตรวจการแผ่นดินว่า ไม่มีอำนาจที่จะส่งเรื่องดังกล่าวไปให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ เพราะอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดินที่จะส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 245 (1) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ.2552 มาตรา 14 (1) นั้น เฉพาะเมื่อเห็นว่าบทบัญญัติใดของกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่ตามคำร้องแม้จะอ้างว่าพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2556 มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550  แต่คำร้องเป็นเรื่องขอให้วินิจฉัยการกระทำของ กกต.ในการจัดการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ไม่มีประเด็นใดๆ เลยที่ชี้ให้เห็นว่าพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงไม่อยู่ในอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดินที่จะเสนอเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้

2.พิจารณาพฤติกรรมขององค์กรตามรัฐธรรมนูญหลายองค์กร ชี้ให้เห็นว่าการใช้ทฤษฎีสมคบคิด (Conspiracy Theory) เพื่อมุ่งล้มการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ตั้งแต่แรก เริ่มจากการที่กลุ่ม กปปส.ประกาศไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้ง และขัดขวางกระบวนการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ทั้งที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นหน้าที่ กกต.มีหน้าที่จัดการเลือกตั้งกลับเสนอให้เลื่อนการเลือกตั้งออกไป แต่ในที่สุดก็จัดการเลือกตั้งแบบไม่เต็มใจทำ ปล่อยให้เกิดปัญหาการเลือกตั้งหลายประการ อันเป็นเหตุให้มีการนำมาเป็นประเด็นยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ 

แต่เมื่อมีกระแสเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งให้ครบถ้วน แทนที่ กกต.จะดำเนินการ กลับส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ผู้ตรวจการแผ่นดินรู้ว่าตนเองไม่มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญแต่ก็ยื่นคำร้องไป ส่วนศาลรัฐธรรมนูญก็รับคำร้องที่ไม่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญที่จะรับไว้ได้  กระบวนการทั้งหมดเป็นการทำงานสอดรับกันเพื่อล้มการเลือกตั้ง ส.ส.ตามพระราชกฤษฎีกาที่กำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ให้ได้ 

3.พรรคเห็นว่าการล้มการเลือกตั้งด้วยกระบวนการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จะส่งผลให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกของคนในสังคมมากขึ้น เป็นการทำลายหลักการสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย= เป็นการล้มล้างสิทธิของผู้ใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญของประชาชน

4.การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยเรื่องการเลือกตั้งโดยไม่มีอำนาจ นอกจากจะเป็นการไม่เคารพรัฐธรรมนูญและหลักนิติธรรมแล้ว ยังเป็นการขยายเขตอำนาจของตนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยคิดแต่เพียงว่า คำวินิจฉัยจะออกมาอย่างไรก็ถือว่าเป็นที่สุด และผูกพันองค์กรอื่น นับเป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวงต่อระบบนิติรัฐ และจะเกิดวิกฤตศรัทธาต่อระบบยุติธรรมของประเทศอย่างร้ายแรง 

5.พท.ยอมรับต่อการกระทำขององค์กรตามรัฐธรรมนูญเฉพาะที่อยู่ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายเท่านั้น พรรคจะไม่ยินยอมต่อการกระทำใดอันเป็นการนอกเหนือรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยเฉพาะการกระทำที่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือโดยไม่สุจริตเพื่อทำลายล้างกันทางการเมือง หรือการใช้กฎหมายแบบฉ้อฉล กลลวง เพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วงชิงอำนาจทางการเมืองของบุคคลบางกลุ่ม 

6. พรรคจะยืนหยัดเคียงข้างประชาชนในการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจอธิปไตยที่เป็นของประชาชน ไม่ใช่อำนาจอธิปไตยที่เป็นของศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ พรรคพร้อมเสมอสำหรับการเลือกตั้ง เพื่อให้ประชาชนได้ตัดสินอนาคตทางการเมืองของตนเอง โดยจะไม่ยินยอมให้อำนาจการตัดสินใจนี้ไปอยู่ในมือของศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระใดเป็นการเฉพาะ

7.การเลือกตั้งที่มีปัญหาเกิดจากการขัดขวางของกลุ่ม กปปส.และคนของพรรคประชาธิปัตย์ รวมถึงการละเลยต่อหน้าที่ของ กกต. ดังนั้น หากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นโมฆะ จะถือเป็นบรรทัดฐานที่เลวร้ายของประเทศไทย และต่อระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย เพราะหากพรรคการเมืองใดรู้ว่าตนจะพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งก็จะออกมาขัดขวางการเลือกตั้ง เพื่อทำให้การเลือกตั้งมีปัญหา แล้วให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ 

8.เหตุผลที่ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ไม่ว่าเรื่องการรับสมัคร 28 เขตเลือกตั้ง ที่ยังไม่สามารถทำได้ การเปิดรับสมัคร ส.ส.ไม่เที่ยงธรรม  การเปลี่ยนสถานที่รับสมัครโดยไม่แจ้งให้ทราบ หรือข้ออ้างที่ว่าการนับคะแนนเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ให้รอไปก่อน โดยที่ยังมีการเลือกตั้งไม่ครบถ้วนนั้น พรรคเห็นว่าปัญหาต่าง ๆดังกล่าว มีกฎหมายรองรับในการแก้ปัญหาได้ กล่าวคือ
           
นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า กรณี 28 เขตเลือกตั้ง ยังไม่สามารถสมัครได้ ถือว่ายังไม่สามารถลงคะแนนเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นได้ กกต.ก็สามารถออกประกาศเพื่อให้มีการรับสมัคร และลงคะแนนเลือกตั้งในเขตนั้นได้ จะอ้างว่าไม่มีการเลือกตั้งในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักรตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 มิได้ เพราะพ.ร.ฎ.ยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2556 ได้กำหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.วันเดียวกันอยู่แล้ว คือ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 

ส่วนข้ออ้างว่า มีการเปลี่ยนสถานที่รับสมัครโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้านั้น ทุกฝ่ายก็ทราบปัญหาดีว่า มีการขัดขวางการสมัคร ผู้อำนวยการเขตเลือกตั้งมีอำนาจตามกฎหมายในการประกาศเปลี่ยนสถานที่รับสมัครได้ และพรรคการเมืองทุกพรรคก็ทราบ และไม่มีพรรคใดคัดค้าน ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ประกาศไม่ส่งผู้สมัครอยู่แล้ว 

นอกจากนี้ข้ออ้าง เรื่องการนับคะแนนนั้น ตามกฎหมายกำหนดให้มีการนับคะแนนเมื่อการลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งนั้นเสร็จสิ้น การนับคะแนนจึงเป็นการปฏิบัติไปตามกฎหมายทุกประการ ดังนั้น จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะอ้างว่าการเลือกตั้งเป็นโมฆะได้
          
"ด้วยเหตุนี้พท.จึงเห็นว่า ทั้งผู้ตรวจการแผ่นดิน และศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจพิจารณาเรื่องดังกล่าว และถือเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ และนอกเหนืออำนาจ เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย พรรคจึงขอคัดค้านการกระทำดังกล่าว โดยขอให้ กกต.ได้จัดการเลือกตั้ง ส.ส.ให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์โดยเร็วต่อไป" นายพร้อมพงศ์ กล่าว
  

วันอังคาร, มีนาคม 18, 2557

"เคลื่อนพล คนประชาธิปไตย" 22 มีนาคม 2557 เมืองพัทยา จ.ชลบุรี


ขอเชิญพี่น้องผู้รักประชาธิปไตยชาวภาคตะวันออก และใกล้เคียง
มาร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ในหน้าประวัติศาสตร์การปกป้องประชาธิปไตย ในงาน.....

"เคลื่อนพล คนประชาธิปไตย"
วันเสาร์ที่ 22 มีนาคา 2557 16:00 น. เป็นต้นไป 
ณ.เขาตะโล พัทยา จ.ชลบุรี....

อย่าพลาด !!!

 

จักรภพ เพ็ญแข เสนอแนวคิดเบาๆ นปช.


March 18, 2014

นปช. ชั้นเชิงใหม่

ผมขอร่วมแสดงความยินดีกับ คุณจตุพร พรหมพันธุ์ ที่ได้ขึ้นตำแหน่งเป็นประธานคนใหม่ของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ความจริงการขึ้นตำแหน่งของคุณจตุพรฯ คงไม่มีใครแปลกใจอะไรนัก เพราะเป็นเพียงทำสิ่งที่ไม่เป็นทางการให้เป็นทางการขึ้นเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม ในยามนี้เรายึดประโยชน์ร่วมของปวงชนชาวไทยเป็นหลัก อะไรที่ช่วยได้แม้เพียงเล็กน้อยก็นับว่าดีทั้งนั้น ผมจึงขอแสดงความยินดีกับท่านประธานจตุพรฯ และท่านเลขาธิการณัฐวุฒิฯ ไปจากนอกพื้นที่อำนาจของระบอบอำมาตย์ศักดินาในรัฐไทยและปวารณาตัวว่าจะช่วยให้งานมวลชนในประเทศมีความเพียบพร้อมสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่ผมจะทำได้ ก่อนถึงเวลาทวงอำนาจอธิปไตยอันเป็นของเราแท้ๆ คืนอย่างเป็นเรื่องเป็นราวต่อไป

เปลี่ยนประธานทั้งที ผมจึงขอถือโอกาสเสนอแนวคิดต่อผู้บริหารคณะปัจจุบันของ นปช. ดังๆ ไว้ตรงนี้เสียเลย บางเรื่องจะไม่พูดมากนัก เพราะเราเป็นฝ่ายเดียวกัน ผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์การต่อสู้ทางการเมืองอย่าง ดร.จรัล ดิษฐาอภิชัย ก็คอยพร่ำเตือนว่าเราต้องใช้ท่าที “ถนอมรัก” เพื่อให้งานที่ใหญ่หลวงกว่าตัวเราประสบความสำเร็จได้ตามเป้าประสงค์ และไม่ให้ตัวตน หรืออัตตาของแต่ละคนใหญ่โตเกินกว่าผลประโยชน์โดยรวมไปได้เป็นอันขาด ผมจึงขอเสนอแนวคิดเบาๆ ไว้ในโอกาสนี้:

๑. นปช.ควรพัฒนาฐานข้อมูลด้านคุณภาพของมวลชนที่ประกาศตัวว่าเป็นสมาชิก นปช. ขณะนี้เรารู้ว่ามวลชนแต่ละสาขาทั่วประเทศ มีจำนวนประมาณเท่าไหร่ เชิญชุมนุมแต่ละครั้งจะกรุณามาร่วมกับ นปช. ขนาดไหนอย่างไร แต่เรายังไม่มีความรู้เท่าที่ควรว่ามวลชนของเราคือใคร แต่ละคนๆ มีความสามารถเฉพาะตัวและในการทำงานอย่างไร ระบบเขียนข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ขณะนี้ก้าวหน้านักหนา จะเขียนโปรแกรมมารองรับกระบวนการรวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูล ใช้ข้อมูลแบบประยุกต์ไปในทิศทางต่างๆ อย่างไรได้ทั้งนั้น ข้อมูลที่เริ่มต้นจากข้อมูลดิบ (data) จะพัฒนาตัวเองไปสู่ข้อมูลสุกหรือข้อมูลข่าวสาร (information) และอาจกลายเป็นความรู้ (knowledge) หรือภูมิปัญญา (wisdom) ไปได้โดยไม่ยากนัก ผมคิดว่าเริ่มตอนนี้ก็ยังไม่สายเกินไป ปราชญ์ยุทธศาสตร์สงครามอย่างซุนหวู่สอนมานักเรื่องรู้เขารู้เรา เราก็เอามาประยุกต์เรื่องรู้เราเสียหน่อย คงไม่เสียหายอะไร มีแต่จะยังประโยชน์ในระบบบริหารจัดการมากขึ้น

๒. นปช. ควรจัดประชุม “แนวร่วมประชาธิปไตย” เป็นครั้งคราว เพราะขณะนี้ขบวนประชาธิปไตยเรามีแนวร่วมที่หลากหลายกว่าเมื่อแถวๆ ปี พ.ศ.๒๕๔๙ มาก บางส่วนเขาก็ไม่ใช่ นปช. แต่เขาก็ร่วมชุมนุมกับ นปช. ทุกครั้ง เพราะถือว่าเป็นหน่วยระดมกำลังพลในฝ่ายเดียวกัน เราต้องการพลังเหล่านี้ทั้งหมดเพื่อชี้นำการเปลี่ยนแปลงรัฐไทย โปรดอย่าตั้งเงื่อนไขใดๆ ให้ร่วมมือกันยาก หรือมีความรังเกียจเดียดฉันท์กันอย่างใดเลย ให้ถือว่า ไม่ใช่ครอบครัวก็เหมือนญาติ ไม่ใช่ญาติก็เหมือนเพื่อนฝูงพี่น้อง การนัดพบกันแต่ละครั้ง ถือเป็นการเหลาขบวนการของเราให้แหลมคมขึ้นตลอดเวลา ความเห็นที่หลากหลายเป็นพลวัตรที่นำมาใช้เป็นพลังได้ ไม่ใช่ความวุ่นวายที่ทำให้เสียพลัง


๓. นปช. ควรคำนึงถึงความใหญ่ยิ่งของตนเอง หากทำให้ถูกวิธี จะเป็นทางออกที่สำคัญกว่าความเป็นพรรคการเมืองเพื่อการเลือกตั้ง หรือแม้แต่ตัวรัฐบาลเองเสียอีก ตำแหน่งรัฐมนตรีควรเล็กกว่าฐานะนำใน นปช. และต้องไม่ลดมูลค่าของ นปช. เพื่อตำแหน่งแห่งหนใดๆ ถ้าฝ่ายประชาธิปไตยไม่มีอำนาจรัฐโดยสมบูรณ์อย่างที่เป็นอยู่นี้ จะเป็นรัฐมนตรีไปทำอะไรกัน ก็ขนาดตำแหน่งนายกรัฐมนตรียังต้องหลบหลีกกองโจรของเจ้าของประเทศเป็นพัลวัน อำนาจรัฐบาลก็ถูกริดรอนลงไปทุกวันๆ เหมือนถูกริดกิ่งไม้ แถมปวงชนชาวไทยก็ถูกถ่มถุยดูถูกว่าไม่มีปัญญาจะคัดง้างกับอำนาจอันล้นพ้นของเขา เราหันมาช่วยกันฟื้นสภาพนิเวศของระบอบประชาธิปไตย กันเสียก่อนไม่ดีกว่าหรือ ภารกิจนี้แหละที่ นปช. มีโอกาสมากกว่าใครทั้งหมดในปัจจุบัน เพราะมีต้นทุนสูงสุดอย่างน้อยก็ในทางภาพลักษณ์.

เปิดใจประธาน นปช. จตุพร ลั่นปกป้องประชาธิปไตย

 
https://www.youtube.com/watch?v=9JWsYBPxs6I

Published on Mar 17, 2014
หลังรับตำแหน่งประธาน นปช. คนใหม่ นายจตุพร ยืนยันนำ นปช. ปกป้องประชาธิปไตย พร้อมปฏิเสธนายกรัฐมนตรีมาตรา 7 เพราะผิดหลักประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ

นายจตุพร พรหมพันธุ์ เปิดใจกับวอยซ์ ทีวี หลังขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกลุ่มแนวร่วมประ­ชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. โดยระบุว่า นปช. พร้อมต่อสู้เพื่อปกป้องประชาธิปไตย เพราะสถานการณ์เริ่มสุกงอม หลังฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเดินเกมส์ตามสิ่งที่­เรียกว่า ปฏิทินล้มรัฐบาล

ทั้งนี้ นายจตุพร ยืนยันการต่อสู้ครั้งนี้จะทำด้วยหลักสันติ­อหิงสา มุ่งหวังชนะทางการเมืองไม่ใช่การทหาร และไม่กังวลกรณีศาลอาจสั่งเพิกถอนประกันตั­ว เพราะเคลื่อนไหวด้วยสิทธิตามรัฐธรรมนูญ

16 มีนาคม 2557

รองเลขาฯนายกฯ พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง เปิดแผน"นายกฯสำรอง" สู้"นายกฯม.7"


หมายเหตุ - พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์พิเศษระหว่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเดินทางลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ และเชียงใหม่ที่ผ่านมาถึงแรงกดดันต่างๆ ที่มีต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตั้งแต่ประกาศยุบสภาจนถึงสถานการณ์การเมืองในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อถึงท่าทีและแผนสำรองของ น.ส.ยิ่งลักษณ์


สัมภาษณ์พิเศษ โดย ปิยะ สารสุวรรณ

@ ตั้งแต่นายกฯประกาศยุบสภาจนถึงวันนี้ถูกกดดันอะไรบ้าง

ตั้งแต่ประกาศยุบสภามาสิ่งแรกที่ถูกกดดัน คือ การเลือกตั้งเพราะหลังจากที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เข้ามาปฏิบัติหน้าที่จัดการเลือกตั้งแล้ว ทุกคนก็หวังว่า กกต.ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็งเพื่อมุ่งมั่นให้จัดการเลือกตั้งได้สำเร็จ แต่ปรากฏว่ามี กกต.บางคนนำเสนอในลักษณะเป็นการขัดขวางการเลือกตั้งแต่ท่านนายกฯเองก็นิ่ง เพราะต้องการให้การจัดการเลือกตั้งเป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ และเดินหน้าขับเคลื่อนการเลือกตั้ง เพราะท่านนายกฯถือว่าเมื่อประกาศยุบสภาแล้ว การรักษากติกาประชาธิปไตยก็คือการเลือกตั้ง

แต่สิ่งที่ได้รับการตอบรับจาก กกต.บางคนที่คิดว่าการเลือกตั้งจะมีปัญหา ถ้ามีคนขัดขวางการเลือกตั้งตามที่กลุ่ม กปปส. และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.ต้องการ รวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ที่แอนตี้การเลือกตั้งจากการบอยคอตการเลือกตั้ง ซึ่งท่านนายกฯก็ยืนยันว่าต้องการการเลือกตั้งเพื่อแก้ปัญหาประเทศ แม้กระทั่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่พยายามเร่งรัดตรวจสอบการทุจริตโครงการรับจำนำข้าวก็ตาม

การที่มีผู้ชุมนุมต่างๆ ออกมาประท้วงเรื่องการออกกฎหมายนิรโทษกรรมและสุดท้ายก็ต้องการให้นายกฯลาออกซึ่งมันไม่มีทาง ไม่มีโอกาส เพราะการที่นายกฯประกาศยุบสภาถือว่าเป็นการถอยที่สุดซอยแล้ว เมื่อถอยมาสุดซอยแล้วก็ต้องให้การเลือกตั้งไปสู่ความสำเร็จและเมื่อได้รัฐบาลใหม่มาเมื่อไร นายกฯก็พร้อมที่จะออก ถอยทันทีตามกฎหมายรัฐธรรมนูญเพราะต้องรักษาการนายกฯจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่

@ แรงกดดันที่กล่าวมามองว่าถึงขั้นต้องการล้มรัฐบาลหรือไม่

แน่นอน เพราะมี กกต.บางคนที่ไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้งเพราะต้องการที่จะล้มกระดาน จึงเป็นฝ่ายค้านและองค์กรอิสระกับกลุ่มที่ไม่ต้องการให้รัฐบาลนี้บริหารประเทศ

@ มองว่าเป็นการปฏิวัติรูปแบบหนึ่ง

แน่นอน เป็นลักษณะการปฏิวัติ เพราะการที่กลุ่ม กปปส. ลดพื้นที่ชุมนุมเข้าไปอยู่ในสวนลุมพินีรอให้ตุลาการภิวัฒน์มาจัดการกับรัฐบาลนี้

@ ได้สัมผัสขบวนการที่กล่าวมามองว่าต้องการล้มรัฐบาลด้วยตัวเองบ้างหรือไม่

4-5 เดือนที่ผ่านมาเห็นได้ว่ามีกระบวนการที่จะทำลายรัฐบาลโดยนำระบอบทักษิณเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยกล่าวหาว่ามีการทุจริตแต่ความจริงแล้วเป็นเพราะมีกลุ่มธุรกิจบางกลุ่มซึ่งเป็นกลุ่มเดิมที่เสียผลประโยชน์อย่างมากมายมหาศาลและไม่พอใจต่อระบอบทักษิณจากนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนรากหญ้าจึงเกิดการรวมตัวเพื่อประท้วงอย่างที่เป็นอยู่อย่างนี้

@ มองว่ารัฐบาลนี้กำลังสู้อยู่กับมือที่มองไม่เห็นอยู่หรือไม่

คำที่ว่ามือที่มองไม่เห็นหรือคนที่บงการอยู่ข้างหลังแม้กระทั่งอำนาจนอกระบบก็ตาม สิ่งพวกนี้จะเป็นคำตอบในตัวเอง โดยดูได้จากระบบกระบวนการยุติธรรมหรือจากการตัดสินคดีทั้งหลายทั้งปวงในกรณีที่อะไรที่จะเกิดขึ้นกับรัฐบาลนี้พยายามจะไม่ให้เกิดแต่อะไรที่ผ่านมาแล้วทั้งๆ ที่ไม่เกิดประโยชน์ก็เกิดแล้วไม่เป็นไร เสียหายก็ไม่มีการติดตาม ถ้าวันนี้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านไม่ให้ผ่านก็ต้องยกเลิกไปเลยแต่เมื่อย้อนเปรียบเทียบรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ในโครงการไทยเข้มแข็ง 4 แสนกว่าล้านก็แบบเดียวกันแต่ไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลย

@ได้ย้อนกลับไปวิเคราะห์หรือไม่อะไรเป็นสาเหตุให้นำไปสู่วิกฤตทางการเมืองขณะนี้

เกิดจากการแข่งขันทางการเมืองที่ฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถชนะหรือแข่งขันกับรัฐบาลได้ เพราะที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์ลงเลือกตั้งกี่ครั้งก็แพ้มาตลอด ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้เพราะฉะนั้นจึงเลิกวิธีการเลือกตั้งและกลับมาใช้วิธีการพิเศษที่เคยได้รับอานิสงส์มา

@ วิธีการพิเศษที่ว่าคืออะไร

คือการตั้งรัฐบาลในค่ายทหารอย่างที่ผ่านมา พอมาเที่ยวนี้ก็อย่างที่ชาวบ้านเขาพูดกันว่ารอส้มหล่นแต่ถ้ากล้าที่จะไปเก็บส้มเองก็คงยาก เพราะนายสุเทพยังไม่สามารถชี้อนาคตตัวเองได้เลยว่าต่อไปนี้จะอยู่อย่างไรและจะเดินต่อไปอย่างไรในทางการเมือง

@ ขณะนี้นายกฯสู้หลังพิงฝาพอสมควร

ใช่ เพราะถอยไม่ได้แล้ว ถอยกว่านี้ก็ตกหน้าผา โดยหลังจากนี้นายกฯก็จะพูดในหลักการประชาธิปไตยตามที่ท่านเคยพูดไว้ว่าท่านขอตายในสนามประชาธิปไตย จึงเป็นสิ่งที่ท่านถอยไม่ได้เพราะท่านตัดสินใจเด็ดขาดแล้วว่าไม่มีทางออกไหนที่ดีที่สุดของประเทศกว่าการเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้ง

@ ประเมินหรือไม่ว่าถ้านายกฯถอยอีกก้าวจะเจอกับอะไร

นายกฯก็คงอยู่ในประเทศนี้ไม่ได้ เพราะนายสุเทพประกาศชัดเจนว่าต้องการให้ยุติบทบาทโดยการลาออกจากนายกฯรักษาการเสีย เพราะเขาต้องการนายกฯที่มาจากคนกลางซึ่งมันเป็นไปไม่ได้เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญ บอกไว้ว่านายกฯต้องมาจาก ส.ส. ถ้าต้องการให้นายกฯมาจากคนกลางก็ต้องฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งไปแล้วค่อยมาว่ากันใหม่

@ การนำคำว่าอำมาตย์มาเกี่ยวข้องกับขบวนการที่ต้องการล้มรัฐบาลนั้นมีความเป็นไปได้แค่ไหนหรือว่าเป็นเพียงวาทกรรมไพร่อำมาตย์

ผมไม่อยากรวบว่าอำมาตย์ก็แล้วกัน แต่ผมจะใช้คำว่าอดีตข้าราชการเก่าที่เป็นทหาร โดยต้องการให้ทหารมาดำเนินการปฏิวัติ เขาต้องการให้ทหารยึดอำนาจ พอยึดอำนาจเสร็จคนที่เป็นทหารบ้าง ไม่ใช่ทหารบ้าง ก็จะเข้ามาเป็นรัฐบาลเองแต่ถามว่าทหารเขาคิดหรือไม่ เขาก็คงคิด เขาก็อยากทำ แต่ถ้าเขาคิดบวกลบแล้วเขาก็คงหยุดคิดเรื่องการรัฐประหาร เพราะเขาคิดว่าปฏิวัติไปแล้วก็ไม่เกิดผลดีต่อบ้านเมืองและบทเรียนจากการปฏิวัติที่ผ่านมา รวมทั้งกระแสประชาชนในประเทศที่ไม่เอาปฏิวัติมีมากน้อยแค่ไหน ดังนั้น เมื่อเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์เขาก็ไม่ปฏิวัติ จึงทำให้ต้องกลับมาใช้กระบวนการตุลาการมาปฏิวัติประเทศยึดอำนาจที่เขารอกันอยู่ในขณะนี้

คำว่าอดีตข้าราชการทหารเก่ามีหลายคน ทั้งเก่ามากเก่าน้อยหรือเก่าป้ายแดงก็ยังมีเลย หมายถึงเกษียณเมื่อปีที่แล้วก็ใช่ โดยการเสนอเงื่อนไขให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก แต่ก็คงจะคิดหนักเพราะถ้าไม่ปฏิวัติก็อยู่กันอย่างนี้แต่เงื่อนไขที่เสนอมาให้ พล.อ.ประยุทธ์เขาคงไม่รับ ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพกับรัฐบาลในขณะนี้ก็ยังเป็นไปตามครรลองของการบังคับบัญชาจึงคิดว่าไม่มีปัญหา

@ แต่ พล.อ.ประยุทธ์ก็ไม่ได้สัญญาว่าจะไม่ใช้วิธีพิเศษ

ทุกคนก็ต้องตอบในลักษณะนี้ เป็นการเปิดประตูไว้ในส่วนหนึ่ง เขาจะไม่ตอบว่าเยสหรือโน เขาจะตอบกลางๆ เมย์บี เพราะมีเงื่อนไขเข้ามาเกี่ยวข้อง

@ นายกฯได้วางแนวทางการต่อสู้ครั้งนี้ไว้อย่างไร

การฮึดสู้ทางการเมืองก็คือการสู้ไปในระบอบประชาธิปไตยที่ นายกฯพูดอยู่ตลอด สู้ตามกติกา ท่านไม่ถอยเพราะท่านก็เคยยกตัวอย่างให้ฟังว่าการที่ท่านเป็นผู้นำประเทศก็เหมือนเป็นนักมวย เมื่อท่านได้ขึ้นชกบนเวทีแล้วท่านต้องชกครบยก ถ้ามี 5 ยกก็ชกครบ 5 ยก จะไม่มีทางลงจากเวทีก่อนครบยก ถ้าท่านสู้ไม่ได้ ท่านขอยอมตายบนเวที เพื่อเดินหน้าในการเลือกตั้งต่อให้ได้

@ แนวทางการจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นเป็นแนวทางการต่อสู้ต่อไปของรัฐบาล

ผมว่าเป็นความคิดที่ไกลเกินไป ซึ่งท่านนายกฯคงไม่คิดถึงขนาดนั้นซึ่งการตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นมันต้องมีการปฏิวัติโดยกองกำลังแล้วคนที่ถูกปฏิวัติ สังคมในประเทศและสังคมโลกเขามองว่าเป็นผู้ถูกรังแก ถูกกลั่นแกล้ง แต่ในขณะนี้ที่เรายังยืนอยู่ในระบบการเลือกตั้ง ก็ต้องขับเคลื่อนต่อไป ส่วนองค์กรอิสระ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะตีหรือวินิจฉัยอย่างไรก็เป็นสิทธิ ตอนนี้ยังไม่มีการตัดสิน การแข่งกีฬายังไม่จบ เกมก็ยังอยู่ในการเล่นอยู่ก็ต้องเล่นต่อไป เขาเป่านกหวีดจบเกมเมื่อไรก็ค่อยมาว่ากัน

@ถึงแม้จะมีผู้เล่นบางคนถูกใบเหลืองหรือใบแดง

เกมก็ต้องเดินต่อไป ถูกใบเหลืองสองครั้งจนเป็นใบแดงก็ต้องไล่ออกจากสนาม ถ้าเป็นฟุตบอลก็ต้องสู้ไปทั้ง 10 ต่อ 11 คนนี่แหละ สู้ไปตามกติกา

@ แม้ว่าคนที่โดนไล่ออกจากสนามจะเป็นกัปตันทีม

ถูกต้องครับ กัปตันทีมถูกปลดแขนออกก็เอาคนอื่นมาเป็นกัปตันทีมแทนต่อ ไม่ได้ห้ามว่าไม่ให้คนอื่นเป็นกัปตันทีม เพราะหากเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองใดก็ตามต่อนายกฯ ผู้ที่จะมาทำหน้าที่แทนก็คือ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ปฏิบัติหน้าที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็น สร.2 เพราะมีลำดับความอาวุโสรองจากท่านนายกฯ 

@ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีส่วนที่ทำให้นายกฯเดินหน้าต่อสู้หรือไม่

ในฐานะเป็นพี่น้องกันด้วยสายโลหิต เมื่อมีการปฏิบัติหน้าที่การงานก็มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันบ้าง แต่นายกฯก็ไม่ได้ไปฟัง พ.ต.ท.ทักษิณทั้งหมด ซึ่งฝ่ายตรงข้ามประเมินท่านนายกฯต่ำไป ทำให้สามารถยืนหยัดสู้ด้วยยุทธวิธีต่างๆ

@ เปรียบ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นโค้ชได้หรือไม่

คงไม่ถึงเป็นโค้ช เพียงพูดคุยกันประสาพี่น้องเท่านั้น 

@ การถอยไม่ได้แล้วของนายกฯถ้าเปรียบเทียบเมื่อครั้ง พ.ต.ท.ทักษิณในช่วงก่อนที่จะถูกปฏิวัติปี 49 ก็เคยบอกว่าถอยไม่ได้แล้วเหมือนกัน

สถานการณ์แต่ละสถานการณ์และเวลาไม่เหมือนกันทั้งหมดทุกอย่าง เพราะบทเรียนที่ผ่านมาถือเป็นข้อมูลและประโยชน์ที่ดีในการตัดสินใจเพื่อเดินต่อไปเพื่อวางยุทธวิธีและยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหา เพราะสถานการณ์ยุคของท่านนายกฯทักษิณก็อีกแบบหนึ่ง ยุคท่านนายกฯสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก็อีกแบบหนึ่ง ยุคของท่านนายกฯสมัคร สุนทรเวช ก็อีกแบบหนึ่ง มันเป็นบทเรียนให้ท่าน

นายกฯยิ่งลักษณ์ยืนอยู่เพื่อรักษาประชาธิปไตยไว้ให้ได้ โดยเอาประโยชน์จากบทเรียนจากในอดีตมาใช้ประโยชน์ในสถานการณ์ปัจจุบัน

@ มั่นใจว่าชะตากรรมของนายกฯจะไม่ซ้ำรอยเหมือน

กับนายกฯคนที่ผ่านๆ มาไม่อยากใช้คำว่าชะตากรรม แต่เหตุการณ์ในอนาคตหรือประสบการณ์ที่ผ่านมามันคนละเรื่อง คนละองค์ประกอบถึงแม้ว่าตัวละครน่าจะอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ทำให้คุณสมบัติในการตั้งรับของท่านนายกฯ ต่างกันกับอดีตท่านนายกฯที่เคยประสบกับสถานการณ์คล้ายกัน

@ แรงต้านรัฐบาลขณะนี้ทำให้โอกาสของ พ.ต.ท.ทักษิณได้กลับบ้านหรือไม่ภายใต้เงื่อนไขใด

ยังเข้ามาไม่ได้หรอก จนถึงวันนี้ก็ยัง ซึ่งต้องใช้เวลา เพราะบ้านเมืองยังคิดและทำกันอยู่อย่างนี้ ส่วนจะสามารถกลับบ้านได้ภายใต้เงื่อนไขใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าเมื่อไรการเลือกตั้งเข้าสู่การเมืองเรียบร้อย เพราะขณะนี้ยังไม่รู้เลยว่าจะเลือกตั้งจะสามารถไปได้ถึงจุดใด เวลานี้ยังตอบไม่ได้เลย รัฐบาลจะตั้งขึ้นใหม่ได้เมื่อไรยังตอบไม่ได้

(ที่มา:มติชนรายวัน 18 มีนาคม 2557)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น