วันเสาร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2557

TNA SPECIAL : มือปืนป๊อบคอร์น เหยื่อเกมการเมือง

วันเสาร์, มีนาคม 22, 2557

ชมสไลด์ภาพการเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ หลังศาลรธน.วินิจฉัยเลือกตั้ง 2 ก.พ. เป็นโมฆะ

 
https://www.blogger.com/blogger.g?blogID=35830859#editor/target=post;postID=3925867596429050052

ที่มา มติชนออนไลน์

ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 6 ต่อ 3 ตัดสินว่าการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. เป็นโมฆะ ก็เกิดการเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ที่น่าสนใจขึ้น 2 จุด

จุดแรก มีกลุ่มนักศึกษา-นักกิจกรรม นำผ้าดำไปคลุมอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อไว้อาลัยต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนจะมีคนอีกกลุ่มหนึ่ง มาดึงผ้าดำผืนดังกล่าวออก

จุดที่สอง ต่อมา นักศึกษา-นักกิจกรรมกลุ่มเดิม และเพื่อนร่วมเครือข่ายอีกจำนวนหนึ่ง เดินทางไปจุดเทียนและผูกผ้าดำ ที่อาคารศาลรัฐธรรมนูญแห่งเก่า ถ.พาหุรัด

ทีมงานมติชนออนไลน์ ขอประมวลภาพการเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์จากทั้ง 2 จุด มานำเสนอเป็นสไลด์สั้นๆ ซึ่งอาจบ่งชี้ว่า ความขัดแย้งทางการเมืองไทยยังคงต้องดำเนินไปอย่างยืดเยื้อเรื้อรังอีกยาวนาน


ooo











ณ อนุสาวรีย์ ประชาธิปไตย เวลาประมาณ 16.20น. กลุ่มนักกิจกรรมจากหลายองค์กร รวมตัวกันจัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์เพื่อคัดค้านอำนาจนอกระบบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญประกาศโมฆะเสียงของประชาชนยี่สิบกว่าล้านเสียงที่ออกมาเลือกตั้งตามกฎกติกาประชาธิปไตย โดยใช้ผ้าดำขนาด 6 * 20 เมตร ซึ่งเย็บโดยกรรมกร"ธรายอาร์ม" มาขึงขึ้นสู่ด้านบนของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

ด้วยจำนวนคนไม่ถึงสิบคน ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง โดยประกอบด้วยองค์กรทางการเมืองหลากหลาย เช่น สนนท. LLTD กลุ่มวันใหม่ กลุ่มRespect My Future และอดีตนักกิจกรรมรุ่นเก่าอีกหลายคน ท่ามกลางกองทัพสื่อมวลชนที่คอยลุ้นว่าจะทำสำเร็จหรือไม่ และก็สำเร็จลงในที่สุด พร้อมพ่อนสเปรย์ข้อความ 20ล้าน + 3 < 6 RIP

ในช่วงท้ายกิจกรรม ขณะที่สื่อมวลชนกำลังสัมภาษณ์ผู้มาร่วมทำกิจกรรมอยู่นั้น ได้มีกลุ่มมวลชนกปปส.ราวๆ 40-50 คน เดินเข้ามาเพื่อจะเอาเรื่อง ทางกลุ่มจึงได้ล่าถอยออกจากพื้นที่โดยเร่งด่วน โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายท่านช่วยควบคุมสถานการณ์ ทำให้ไม่เกิดการปะทะหรือมีผู้ใดบาดเจ็บ

หลังจากนั้นมวลชนกปปส.จึงได้ร่วมกันฉีกผ้าดำและดึงออกไปจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีบางช่วงก็ลมลุกคลุกคลานกันนิดหน่อย แต่จบลงด้วยการแยกย้ายและไม่มีเหตุรุนแรงใดๆเกิดขึ้น

ขอขอบคุณพี่ๆตำรวจและสื่อมวลชน รวมถึงผู้ร่วมปฏิบัติการทุกท่านมา ณ ที่นี้ครับ

ภาพ 

Nithiwat Wannasiri


Panumas Khodchadat

ooo





เมื่อเวลาประมาณ 12.00 น. 21 มีนาคม ที่สวนเบญจสิริ ถ.สุขุมวิท ได้มีกลุ่มประชาชนนัดรวมตัวกันใส่เสื้อดำและเป่านกหวีดต่อต้านคำวินิจฉัยขององค์กรอิสระ และการมีนายกรัฐมนตรี มาตรา 7 ก่อนหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวิินิจฉัยให้การเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. เป็นโมฆะในเวลาต่อมา

ทั้งนี้ นายเอก อัตถากร ผู้เคยชูป้าย Respect My Vote ใส่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้มาร่วมกิจกรรมดังกล่าวด้วย

สื่อนอกชี้ เลือกตั้งโมฆะบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของศาล


ที่มา Voice TV

สื่อต่างชาติทั่วโลกจับตามองการประกาศให้การเลือกตั้งในเมืองไทยเป็นโมฆะอย่างใกล้ชิด โดยส่วนใหญ่มองว่าความเคลื่อนไหวครั้งนี้เป็นการบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของศาล และทำให้ไทยติดอยู่ในภาวะเงื่อนตายทางการเมืองมากขึ้น

สำนักข่าวชื่อดังระดับโลกอย่างบีบีซีของอังกฤษ อัลจาซีราของกาตาร์ วอลสตรีทเจอร์นัลของสหรัฐฯ รวมถึงแชนแนลนิวส์เอเชียของสิงคโปร์ ล้วนพาดหัวข่าวหน้าหนึ่งคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่ให้การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเป็นโมฆะ สื่อเกือบทุกสำนักรายงานว่านี่คือการถอยหลังครั้งใหญ่ของรัฐบาล ซึ่งได้รับการคาดหมายว่าจะชนะเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังเป็นการผลักประเทศไทยให้ก้าวเข้าไปสู่เงื่อนตายทางการเมือง และทำให้สถานการณ์ในขณะนี้มีความไม่แน่นอนสูงยิ่งขึ้นไปอีก

ผู้สื่อข่าวของอัลจาซีราตั้งข้อสังเกตว่าการตัดสินของศาล อาจนำไปสู่ความรุนแรงทางการเมืองรอบใหม่ ส่วนบีบีซีมองว่าการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญครั้งล่าสุดนี้ เป็นเกมสืบเนื่องระหว่างฝ่ายรัฐบาลที่นำโดยเครือข่ายของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กับกลุ่มอนุรักษ์นิยมอำนาจเก่า ซึ่งยืดเยื้อมาตั้งแต่หลังการรัฐประหารเมื่อปี 2549 เช่นเดียวกับเอเอฟพี ที่กล่าวว่าคำตัดสินครั้งนี้ มีเรื่องราวเบื้องหลังคือการต่อสู้ระหว่างเครือข่ายกลุ่มนิยมกษัตริย์ นำโดยตุลาการและทหาร กับเครือข่ายของตระกูลชินวัตร ที่มีประชาชนในภาคเหนือและอีสานให้การสนับสนุน

สำนักข่าวเอเอฟพี ยังรายงานอีกด้วยว่าคำตัดสินดังกล่าวทำให้นักวิเคราะห์จำนวนมากประหลาดใจ และมองว่านี่คือการบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของศาลเอง โดยอ้างอิงการให้สัมภาษณ์ของเดวิด สเตรกฟัส นักเขียนและนักวิชาการชื่อดัง ซึ่งกล่าวว่าศาลมีท่าทีโน้มเอียงไปในทิศทางที่สนับสนุนกลุ่มต่อต้านรัฐบาลอย่างเปิดเผยเกินไป จนทำให้ชื่อเสียงและความชอบธรรมของศาลตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับความเชื่อถือจากประชาชน

อย่างไรก็ตาม เอเอฟพีมองว่าการตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ อาจจะไม่ได้หมายถึงการเข้าสู่เงื่อนตายทางการเมืองที่รัดแน่นยิ่งขึ้น แต่เป็นการหาทางออกจากวิกฤติการเมือง เนื่องจากการเลือกตั้งครั้งใหม่จะเป็นการเปิดทางให้พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งคว่ำบาตรการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ได้โอกาสลงสมัครรับเลือกตั้ง เข้าสู่สนามการเมืองอีกครั้ง ในขณะนี้ทุกฝ่ายจึงจับตามองไปที่ประชาธิปัตย์ ว่าจะเข้าร่วมการเลือกตั้งหรือไม่ โดยเฉพาะหลังจาก กปปส. ประกาศชัดเจนแล้วว่าจะขัดขวางการเลือกตั้งครั้งต่อไปให้เป็นโมฆะเหมือนที่เกิดขึ้นกับการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์
ooo


Thailand's Constitutional Court has ruled the 2 February general election invalid, officials say.


The snap poll was called by Prime Minister Yingluck Shinawatra amid major anti-government protests in Bangkok.

The ruling party was expected to win, but the opposition boycotted it and protesters disrupted voting, meaning the election has not been completed.

The vote was unconstitutional because it did not take place on the same day across the country, the court said.

Polls were not held in a number of constituencies because protesters had blocked candidate registration.

The court, which ruled to void the election by six votes to three, was responding to a motion by a law lecturer who had challenged the election on a number of points.

It is not clear when a new election will be held.

But protest leader Suthep Thaugsuban said another election would face similar problems.

"If a new election date is declared, then we'll take care of every province and the election won't be successful again," he said late on Thursday.

A spokesman for the ruling Pheu Thai party, Prompong Nopparit, said the party would play by the rules "no matter how much we are bullied".

"The reason this election is nullified is because the polls were blocked by the protesters, weren't they? We've played by the rules all along, but what about the other side?" the Associated Press quoted him as saying.

'People's council'

The anti-government protests began in November 2013. At the height of the demonstrations, protesters shut down key road junctions in Bangkok and blockaded government ministries.

Numbers have fallen in recent weeks, however, and the protesters are now mainly occupying a city-centre park.

At least 23 people have died and hundreds have been injured in the course of the demonstrations.

The protesters, who are mainly urban and middle class, want Ms Yingluck's government replaced by an unelected "people's council".

They allege her brother, ousted leader Thaksin Shinawatra, controls her administration and say Shinawatra family money has corrupted Thai politics.

Ms Yingluck and Pheu Thai remain very popular in rural areas, however, leaving Thailand deeply polarised.

These are the worst protests to hit Thailand since 2010 when "red-shirts" - those who supported Mr Thaksin and opposed the then opposition-led government - shut down parts of Bangkok for several weeks.

About 90 people were killed over the course of those protests, which were ended by a military crackdown.


The South East Asian nation has been embroiled in a cycle of political unrest since the military removed Mr Thaksin from office in a 2006 coup.

เอ๋ สุวินันท์ ไชยปราโมทย์" เจ้าของฉายาสาวปีนรั้วเลือกตั้ง โวย "คำวินิจฉัย โมฆะเลือกตั้ง เสมือนถูกปล้นสิทธิไป"


" เสียความรู้สึกมากกับคำตัดสินที่ให้เลือกตั้งเป็นโมฆะ ดิฉันเคยโดนปล้นสิทธิ์หน้าคูหาเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อวันที่26มกราที่ผ่านมาจากกลุ่มนกหวีด แต่ดิฉันก็ต่อสู้จนได้ใช้สิทธิ์

แต่มาวันนี้ดิฉันต้องมาเสมือนโดนปล้นสิทธิอีกครั้ง โดยคำวินิฉัยของตลก.รัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุผลคือ28 เขตจัดการเลือกตั้งไม่ได้ แล้วทำไมเขาไม่คิดบ้างค่ะว่า28เขตที่มีปัญหา เกิดขึ้นเพราะใครและ กกต.เคยคิดแก้ปัญหาบ้างมั้ยและคิดเป็นกี่%ของผู้มีสิทธิ์. คุณไม่เห็นหัวคน20ล้านคนที่ออกมาใช้สิทธิ์ด้วยตัวและหัวใจของผู้รักประชาธิปไตยเต็มร้อย. แม้จะถูกขัดขวาง คุณคิดหรือค่ะว่าการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะไม่มีการขัดขวาง เพราะตัวอย่างที่ทำแล้วไม่ผิด มันพร้อมที่จะมีคนทำตามและในอนาคต หากเป็นไปได้ดิฉันขอให้องค์การอิสระทุกองค์กรมาจากการเลือกตั้งก่อนน่ะค่ะ และย้ำว่าต้องมาจากการเลือกตั้งจากเสียงของประชาชน


เพราะนาทีนี้แม้แต่ศาล(ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง)ยังไม่สามารถคุ้มครองสิทธิและเสียงของประชาชนที่ไปใช้สิทธิตามกฎหมายแล้วจะไปหาความยุติธรรมกับใครได้ล่ะค่ะ " เอ๋ สุวินันท์ฯ กล่าว

ooo


ความหมายทางการเมืองของการที่ศาลรธน.ตัดสินให้การเลือกตั้ง 2กพ.เป็นโมฆะ



1.เป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้งหนึ่งมีผลเป็นการเพิ่มอำนาจให้แก่ผู้ตรวจฯและศาลรัฐธรรมนูญเองในการล้มการเลือกตั้ง

2.ฝ่ายที่ไม่เชื่อถือการเลือกตั้งมีกลไกมากขึ้นที่จะกำหนดว่าการเลือกตั้งจะไม่มีวันจบตราบเท่าที่ไม่มีหลักประกันว่า ปชป.จะต้องชนะและได้เป็นรัฐบาลเท่านั้น

3.เมื่อกปปส.ขัดขวางการเลือกตั้งอย่างที่ผ่านมา การเลือกตั้งจะไม่เกิดขึ้นตามกำหนดแต่จะต้องเลื่อนไปเรื่อยๆด้วยข้ออ้างว่าต้องเลือกตั้งในวันเดียวกันเท่านั้น มิฉะนั้นเลือกไปก็ต้องเป็นโมฆะอีก

4.เพิ่มทางเลือกให้แก่ปชป.ว่าจะลงสมัครหรือไม่ ซึ่งปชป.จะลงสมัครต่อเมื่อแน่ใจว่าจะชนะการเลือกตั้งเช่นนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลถูกจัดการจนราบคาบหมดแล้ว แต่แนวโนัมปชป.จะไม่ลงสมัครอยู่ดีเพราะเห็นว่าจะไม่ชนะและยังกลัวจะขัดแย้งกับสุเทพและพวก

5.เมื่อปชป.ไม่ลงสมัคร การเลือกตั้งนี้ก็จะไม่มีวันจบ องค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญก็จะจัดการกับรัฐบาลและนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลต่อไปเพื่อให้เกิดสภาพสุญญากาศทางการเมืองจะได้นำไปสู่การใช้มาตรา 3 และมาตรา 7 ตั้งรัฐบาลคนนอกและปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง
6.เป็นโอกาสที่พรรคการเมืองที่ลงสมัครรับเลือกตั้งทั้งหลายจะตัดสินใจว่าจะกำหนดท่าทีและนโยบายอย่างไรในการเลือกตั้งครั้งใหม่นี้ เพื่อให้มีผู้สนับสนุนการเลือกตั้งมากขึ้นและนำไปสู่การปฏิรูปตามครรลองประชาธิปไตย

7.หากสังคมไทยไม่สามารถใช้การเลือกตั้งเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองครั้งนี้ การฉีกรัฐธรรมนูญจะเกิดขึ้น นำไปสู่ความขัดแย้ง ความรุนแรงซึ่งในที่สุดก็จะเกิดการรัฐประหาร


8.การรัฐประหารที่เกิดขึ้นไม่ใช่ทางออกหรือจุดจบของความขัดแย้ง แต่จะเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง ความรุนแรงและความสูญเสียครั้งใหญ่ของสังคมไทย

ooo

อีกหนึ่งความเห็น...



เมื่อวันที่ 21 มี.ค.

นายเอกชัย ไชยนุวัติ รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.สยาม และโฆษกสมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) กล่าวว่า เหตุผลที่ศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่าการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ.โมฆะเนื่องจาก 28 เขตในพื้นที่ภาคใต้ยังไม่สามารถเลือกตั้งได้ 

จึงถือว่าการเลือกตั้งไม่เป็นวันเดียวกันทั่วไปเทศนั้น ถือว่าผิด เพราะวันเลือกตั้งนั้นถูกกำหนดจากพ.ร.ฎ.ยุบสภาเมื่อวันที่ 9 ธ.ค.2556แต่วันลงคะแนน รัฐธรรมนูญได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการใช้สิทธิเลือกตั้งสามารถลงคะแนนในวันอื่นได้ 

อย่างกรณีการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร หรือการเลือกตั้งล่วงหน้า วันลงคะแนนเสียงจึงเป็นวันอื่นได้ ส่วนปัญหาใน 28 เขตภาคใต้ ถือเป็นปัญหาในกระบวนการรับสมัครที่ยังทำไม่ได้เท่านั้น

นายเอกชัย กล่าวว่า หากปล่อยให้วินิจฉัยในลักษณะนี้ต่อไป ในอนาคตหากมีใครไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้ง ก็เพียงแค่ไปปิดหน่วยเลือกตั้ง 1 หน่วย ศาลก็ชี้ว่าการเลือกตั้งโมฆะได้แล้ว 

ดังนั้น ประชาชนและนักการเมืองต้องออกมาร่วมแสดงออกคัดค้านคำวินิจฉัยในครั้งนี้ โดยเฉพาะนักการเมืองจะทิ้งประชาชนไม่ได้ 

พรรคการเมืองทุกพรรคต้องสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งเพราะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตยที่ทุกคนพึงมี 

ถ้าหากพรรคการเมืองไม่สนับสนุนการเลือกตั้ง ประชาชนก็จะเบื่อหน่าย รู้สึกเฉยชาต่อการเมือง ในที่สุดเขาก็จะยอมให้ระบอบอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยมาปกครอง

"นี่คือการทำรัฐประหารเงียบด้วยการทำลายสิทธิขั้นพื้นฐานของ 20 ล้านเสียงที่ไปลงคะแนนเลือกตั้ง 

ยกตัวอย่างเช่นในห้องเรียนหนึ่งมีนักเรียน 20 คน มี 1 คน โกงข้อสอบ แล้วอาจารย์บอกให้ยกเลิกการสอบทั้งหมด 

ถามว่า 19 คนที่ไม่ได้โกงนั้นมีความผิดอย่างไร"นายเอกชัยกล่าว



เสวนา 'แช่แข็งประชาธิปไตยไทย' ม.ราชภัฏสวนสุนันทา 21-03-2014

ภาพ Anan Krudphet FB


'แช่แข็งประชาธิปไตยไทย' : เกษม เพ็ญภินันท์

 
https://www.youtube.com/watch?v=xnSuLf4ZGng

จอน อึ๊งภากรณ์ เสวนา แช่แข็งประชาธิปไตยไทย 21 3 57

 
https://www.youtube.com/watch?v=CfmMWbmGUrk

สดศรี สัตยธรรม เสวนา แช่แข็งประชาธิปไตยไทย 21 3 57

 
https://www.youtube.com/watch?v=RZEGcFK1_Yk

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ เสวนาแช่แข็งประชาธิปไตยไทย 21 3 57

  
https://www.youtube.com/watch?v=SHQFl0fTZXE

ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ เสวนาแช๋แข็งประชาธิปไตยไทย 21 3 57

  
https://www.youtube.com/watch?v=mpzjaWd2e_M

บก.ลายจุด เสวนา แช่แข็งประชาธิปไตยไทย 21 3 57

https://www.youtube.com/watch?v=PIHL8FutAIg

เสวนา "แข่แข็งประชาธิปไตยไทย"
ณ ห้องประชุมหลักสูตรโครงการปรัชญาดุษฏีบัณฑิต
อาคาร 31 ชั้น 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม 2557

วันศุกร์, มีนาคม 21, 2557

"ประชาธิปไตยตายไปแล้ว ...ผมเห็นมากับตา"



จากรายการ 'ทันสถานการณ์บ้านเมืองทางสถานีทีพีบีเอส ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๗

หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแถลงด้วยวาจาลงมติเลือกตั้ง ก.พ.โมฆะชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ระบุว่า

"ประชาธิปไตยตายไปแล้ว ชาตะ 2475 มรณะ 2557"

"ผมเคาะโต๊ะว่า ประชาธิปัตย์ไม่ลงเลือกตั้ง"

"นายกฯ คนกลาง เดี๋ยวก็ดู พวกสว. ก็เข้ามา เดี๋ยวก็ซ้อนกันมา เดี่ยวก็ทำได้ ลองดู เลยยกเลิกสส. จำไว้ว่าผมพูด"

"ต่อไปผมว่าไม่มี สส. เพราะ มีแต่สภาวิชาชีพ คุณลองดู เอาคำพูดผมแปะข้างฝาดูได้"

"ที่ผมพูดประชด เพราะตอนนี้บ้านเมืองเสียหาย คนกว่า 20 ล้านคนก็รู้สึกเหมือนผม"

"ผมเชื่อแล้วว่ามีแผนล้มล้างระบอบประชาธิปไตย ที่ผ่านมาผมเชื่อแล้ว เพิ่งเชื่อ"

"ต่อไปคนไปล้อมหน่วยเลือกตั้ง ก็ทำให้เลือกตั้งโมฆะได้"

"ทหารไม่ออกมายึดอำนาจหลอกครับ องค์กรอิสระยึดเอง"

"ประชาธิปไตยไทยตายไปแล้ววันนี้ ผมเห็นมากับตา"

"พระจีวรปลิวแถวแจ้งวัฒนะ ข้าราชการทำงานไม่ได้ สภาก็ไม่มี นี่คือระบบที่คุณต้องการเพื่อให้เกิดทางตัน"

"ทุกคนเท่ากัน แต่ทุกวันนี้มันไม่เท่ากัน รู้สึกว่าบ้านเมืองไม่มีกฏกติกา ต่อไปคนไม่เชื่อถือ"

"ต่อไปจะเกิดการแตกแยก มองเห็นว่าไม่มีกฏกติกาให้ยึด สังคมจะแตกแยกหนักขึ้น"

"การเลือกตั้งครั้งนี้ เราสูญเสียไม่เฉพาะเงิน แต่ประชาชนเสียชีวิต แต่เราก็ต้องยอม"

"กปปส. ถ้าดีจริง เอาคน 15 คน ไปหา กกต. แล้วสมัครเป็นพรรคการเมือง ชื่อ กปปส. แล้วดูว่าประชาชนจะเลือกไหม?"

"ต้องดูว่าประชาธิปัตย์จะทำอะไร เพราะแม่นจริงๆ รู้ล่วงหน้าไปหมด ถ้าเป็นอาจารย์ใบ้หวยคนตามแน่นแน่นอน"

จรัล ดิษฐาอภิชัย นปช.แถลงข่าว ในนามผู้รักประชาธิปไตยในอเมริกา ยื่น จม. สถานทูต ไม่ให้รับรองนายก. และรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง 21-3-2014

 
https://www.youtube.com/watch?v=rJ--uzK6Hms

คนเสื้อแดงในสหรัฐอเมริกา และผู้รักประชาธิปไตยในไทย ยื่น จม.สถานทูต เรียกร้องไม่ให้รับรองรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ต่อต้านการปฏิวัติทุกรูปแบบ และขอให้สนับสนุนประชาธิปไตย

รายละเอียดของจม. ดุ links

  ภาษาไทย


ภาษาอังกฤษ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น