วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

มีแววว่าจะดราม่าก่อหวอดต้านสมเด็จฯปากน้ำขึ้นเป็นพระสังฆราชองค์ใหม่ อ้างเป็นนอมินีวัดพระธรรมกาย

วันศุกร์, ตุลาคม 25, 2556

มีแววว่าจะดราม่าก่อหวอดต้านสมเด็จฯปากน้ำขึ้นเป็นพระสังฆราชองค์ใหม่ อ้างเป็นนอมินีวัดพระธรรมกาย



สุดแสนจะอาลัยกับการจากไปของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช 
อาลัยยิ่งกว่า ถ้าสังฆราชองค์ต่อไปมาจากธรรมกาย
หน้าเพจ กรณี ธรรมกาย ออกมาคัดค้านสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) วัดปากน้ำภาษีเจริญ พ.ศ. 2538 (มหานิกาย) ซึ่งเป็นอุปัชฌาย์ของ "ธัมชโย" วัดพระธรรมกาย โดยอ้างว่าเป็นนอมินีของวัดธรรมกาย โดยหน้าเพจดังกล่าวได้นำเสนอว่า
ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชนั้น พระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 กล่าวว่า

พระมหากษัตริย์ ทรงสถาปนา สมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนา เป็นสมเด็จพระสังฆราช 

ในกรณีที่สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้นายก รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นผู้มีอาวุโสโดย สมณศักดิ์รองลงมาตามลำดับ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็น สมเด็จพระสังฆราช

สมเด็จพระราชาคณะในปัจจุบัน เรียงตามอาวุโสโดยสมณศักดิ์สูงสุด ตาม พ.ศ.การสถาปนา

1. สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) วัดปากน้ำภาษีเจริญ พ.ศ. 2538 (มหานิกาย) เป็นอุปัชฌาย์ของ "ธัมชโย" วัดพระธรรมกาย

2. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) วัดสัมพันธวงศาราม พ.ศ. 2544 (ธรรมยุตนิกาย)

3. สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พ.ศ. 2552 (ธรรมยุตนิกาย)

4. สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ. 2552 (ธรรมยุตนิกาย)

5. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี) วัดสุทัศน์เทพวราราม พ.ศ. 2553 (มหานิกาย)

6. สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย) วัดเทพศิรินทราวาส พ.ศ. 2553 (ธรรมยุตนิกาย)

7. สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) วัดพิชยญาติการาม พ.ศ. 2554 (มหานิกาย)

ทางออกเพียงทางเดียว คือ พระบารมีของพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น
..........

ทางด้านนายพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล นักศึกษานิติศาสตร์โพสต์ลงในfacebookยืนยันว่า เมื่อพิจารณาจากข้อกฎหมายแล้วสมเด็จฯปากน้ำสถานเดียวเท่านั้นที่จะมีสิทธิในตำแหน่งพระสังฆราชองค์ใหม่

บุคคลที่จะถูกเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง "สมเด็จพระสังฆราช" บุคคลนั้นต้องมีอาวุโสสูงสุด "โดยสมณศักดิ์" มิใช่ "โดยพรรษา"

กล่าวคือ นับว่าใครได้ตำแหน่ง "สมเด็จพระราชาคณะ" ก่อนหลังนั่นเอง
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ).jpg
สมเด็จวัดปากน้ำ (บวชปี ๒๔๘๘) ได้สมณศักดิ์ "สมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ" เมื่อปี ๒๕๓๘
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ถาวโร มานิต ป.ธ. ๙).jpg
ส่วนสมเด็จวัดสัมพันธวงศ์ (บวชปี ๒๔๘๐)ได้สมณศักดิ์ "สมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ" เมื่อปี ๒๕๔๔ ครับ

แม้สมเด็จวัดสัมพันธวงศ์ จะมีอายุพรรษาสูงกว่า แต่เมื่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯ มาตรา ๗ บัญญัติว่า "...ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนา เป็นสมเด็จพระสังฆราช"

กรณีจึงไม่ต้องตีความอื่นใดอีก ว่าบุคคลที่อยู่ในคุณสมบัติจึงมีบุคคลเดียวคือ สมเด็จฯวัดปากน้ำ สถานเดียว เพราะมีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ครับ.

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: ชัยชนะด้านวาทกรรม 14 ตุลา ของขบวนประชาธิปไตย

รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
ตีพิมพ์ครั้งแรกใน "โลกวันนี้วันสุข"
ฉบับวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2556

 การจัดงานรำลึกครบรอบ 40 ปีเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ในปีนี้ ได้แยกจัดเป็นสองงานคือ งานดั้งเดิมที่จัดโดยมูลนิธิ 14 ตุลา และงานใหม่ที่จัดเป็นครั้งแรกโดยคณะกรรมการ 14 ตุลา เพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์ ที่มีนายจรัล ดิษฐาอภิชัยเป็นประธาน นี่เป็นศึกต่อสู้ช่วงชิงสัญลักษณ์เหตุการณ์ 14 ตุลา ระหว่างคนเดือนตุลาฯกลุ่มที่รับใช้เผด็จการ กับคนเดือนตุลาฯที่อยู่ฝ่ายประชาธิปไตยในปัจจุบัน

 งานรำลึกเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ในแต่ละปีจะจัดโดยมูลนิธิ 14 ตุลา และมีคณะญาติวีรชน 14 ตุลา เข้าร่วม แต่ในหลายปีมานี้ บุคคลหลายคนในมูลนิธิ 14 ตุลา มีบทบาทอย่างสำคัญในการสนับสนุนเผด็จการอย่างคงเส้นคงวา ตั้งแต่สนับสนุนการเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในการโค่นล้มรัฐบาลพรรคไทยรักไทย สนับสนุนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เข้าร่วมสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่แต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร เข้ามาเป็นสมาชิกวุฒิสภาแต่งตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ 2550 และสนับสนุนพันธมิตรเสื้อเหลืองในการโค่นล้มรัฐบาลพรรคพลังประชาชน จนทุกวันนี้ก็ยังเคลื่อนไหวอย่างแข็งขันเพื่อโค่นล้มรัฐบาลพรรคเพื่อไทย คนพวกนี้อยู่กับมูลนิธิ 14 ตุลามายาวนาน ผูกขาดการจัดงานรำลึกเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ใช้สถานะไปแสวงหาผลประโยชน์และตำแหน่งทางการเมืองที่พวกเผด็จการโยนให้ เป็นกาฝากที่เกาะกินญาติวีรชนมานานหลายปี

จึงไม่น่าแปลกใจว่า ในหลายปีมานี้ งานรำลึก 14 ตุลาที่จัดโดยมูลนิธิ 14 ตุลา จึงแทบไม่มีคนเดือนตุลาฯที่ต่อต้านรัฐประหาร 2549 เข้าร่วมเลย รวมทั้งมวลชนคนเสื้อแดงก็ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมและไม่ให้ความสนใจแต่อย่างใด จนทำให้งานรำลึกในแต่ละปีซบเซาลงไปเรื่อย ๆ และเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 กลับกลายเป็นสัญลักษณ์ของการทรยศต่อประชาธิปไตย หันไปรับใช้เผด็จการและสนับสนุนรัฐประหาร

 แต่ในปี 2556 นี้ ฝ่ายประชาธิปไตยมีความเข้มแข็งขึ้นจนสามารถเข้ามาช่วงชิงงานรำลึกเหตุการณ์ 14 ตุลา โดยจัดแยกต่างหาก คณะญาติวีรชนตัดสินใจปลดแอกตนเอง หันมาเข้าร่วม ปรากฏว่า การจัดงานประสบความสำเร็จอย่างสูง มีผู้คนเข้าร่วมมากกว่าทุกปี มวลชนคนเสื้อแดงให้ความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปาฐกถาของเสกสรรค์ ประเสริฐกุลและจาตุรนต์ ฉายแสง ที่สามารถช่วงชิงพื้นที่ความสนใจในสื่อมวลชนกระแสหลักได้แทบทั้งหมด

 คำปาฐกถาของเสกสรรค์ ประเสริฐกุลครั้งนี้ นับเป็นปาฐกถาประวัติศาสตร์ ซึ่งมาล่าช้ามาก จนเกือบจะสายเกินไปในการกอบกู้สัญลักษณ์ 14 ตุลาปาฐกถานี้ก็คือคุณูปการสุดท้ายที่เสกสรรค์มอบให้แก่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และเหล่าบรรดาผู้ที่บาดเจ็บและเสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนั้น กอบกู้มิให้เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ต้องจมหายไปในกระแสธารประวัติศาสตร์ของฝ่ายเผด็จการด้วยน้ำมือของคนเดือนตุลาที่สนับสนุนรัฐประหารในปัจจุบัน

แน่นอนว่า เรายังอาจวิจารณ์บทบาทและท่าทีของเสกสรรค์ในหลายปีที่ผ่านมานี้ได้ว่า เอื้อต่อการต่อต้านรัฐประหารและการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยสักเพียงใด รวมทั้งเนื้อหาของปาฐกถาหลายประเด็นก็สามารถนำมาถกเถียงกันได้ เช่น การนำเอาเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 มาเชื่อมต่อโดยตรงกับขบวน

ประชาธิปไตยของ "คนชั้นกลางใหม่" ในปัจจุบัน การเน้นประเด็น "ความเหลื่อมล้ำทางสังคม" มาเป็นส่วนหนึ่งโดยตรงภายในวาทกรรม 14 ตุลา เป็นต้น แต่โดยภาพรวมแล้ว ปาฐกถาของเสกสรรค์ในครั้งนี้ ได้สร้างผลสะเทือนอย่างสำคัญในหมู่คนเดือนตุลาทั้งสองฝ่าย ต่อประชาชนที่เข้าร่วมเหตุการณ์ในครั้งนั้น ต่อความรับรู้ของประชาชนทั่วไป ต่อวิกฤตการเมืองปัจจุบัน และเป็นบทสรุปสำคัญเกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ตุลา ที่จะตกทอดไปสู่ชนรุ่นต่อ ๆ ไป ปาฐกถาครั้งนี้ของเสกสรรค์ ประเสริฐกุลจึงเป็นคุณต่อประชาธิปไตย แต่เป็นโทษต่อเผด็จการ

นี่เป็นชัยชนะเด็ดขาดด้านวาทกรรม 14 ตุลา โดยฝ่ายประชาธิปไตย และทำให้คนเดือนตุลากลุ่มที่รับใช้เผด็จการไม่สามารถผูกขาดสัญลักษณ์ 14 ตุลาแต่ฝ่ายเดียวได้อีกต่อไป อีกทั้งยังเป็นหลักหมายสำคัญถึงชัยชนะของฝ่ายประชาธิปไตยในการต่อสู้ทางวาทกรรมทั้งหมดอีกด้วย

ขบวนประชาธิปไตยเสื้อแดงสามารถช่วงชิงสัญลักษณ์วันที่ 24 มิถุนา มาได้ไม่ยากนัก เพราะฝ่ายจารีตนิยมไม่ต้องการให้มีการจดจำวันดังกล่าว ขณะที่คนเดือนตุลาที่รับใช้เผด็จการและพวกพันธมิตรเสื้อเหลืองซึ่งเป็นพวกนิยมกษัตริย์ก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสัญลักษณ์ 24 มิถุนาได้

ขบวนประชาธิปไตยเสื้อแดงช่วงชิงสัญลักษณ์เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 มาได้ตั้งแต่ปีแรก ๆ หลังรัฐประหาร 2549 เพราะมวลชนคนเสื้อแดงมีอารมณ์ความรู้สึกร่วมกับเหตุการณ์นั้นมากเป็นพิเศษ ทั้งในแง่เหยื่อนิสิตนักศึกษาที่ถูกเข่นฆ่าในวันนั้นเหมือนที่คนเสื้อแดงประสบในวันนี้ แต่ยังรวมไปถึงผู้วางแผนก่อการสังหารหมู่ในครั้งนั้นก็คือคนกลุ่มเดียวกับที่วางแผนรัฐประหาร 2549 นั่นเอง ซึ่งประเด็นหลังก็เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้คนเดือนตุลาที่รับใช้เผด็จการและพันธมิตรเสื้อเหลืองไม่เต็มใจที่จะจดจำเหตุการณ์นี้และพยายามทำเป็นลืม

ชัยชนะของฝ่ายประชาธิปไตยในการช่วงชิงสัญลักษณ์ 14 ตุลา ในปีนี้จึงมีความหมายพิเศษเป็นชัยชนะของฝ่ายประชาธิปไตยในด้านวาทกรรมทั้งหมดอีกด้วย ธงแดงที่อยู่ในมือของฝ่ายประชาชนในวันนี้คือธงประชาธิปไตย ที่รวมเอากระแสประชาธิปไตยนับแต่ 2475 จนถึงปัจจุบันไว้ด้วยกัน เป็นธงแดงแห่งประชาธิปไตยที่ถูกชูให้สูงเด่น เป็นสัญลักษณ์หนึ่งเดียวของการต่อสู้เพื่อเอาชนะเผด็จการ

ฝ่ายเผด็จการจึงประสบความพ่ายแพ้ทางวาทกรรมไปแล้วอย่างเด็ดขาด พวกเขาไม่อาจที่จะอ้างเอา "ประชาธิปไตย" มาเคลือบคลุมจุดมุ่งหมายที่แท้จริงและสร้างความชอบธรรมให้กับการเคลื่อนไหวของพวกเขาได้อีกต่อไป พวกเขาเหลือไว้แต่เนื้อในที่เป็นเผด็จการ ต่อต้านประชาธิปไตยเสรีนิยม ได้แต่ท่องซ้ำวาทกรรม "นักการเมืองโกง" "เผด็จการรัฐสภา" "คุณธรรมจริยธรรมและคนดี" สิ่งที่พวกเขาเรียกร้องอย่างเปิดเผยไม่มียางอายอีกต่อไปคือ ให้ตุลาการและทหารทำการโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ยกเลิกระบอบรัฐสภาและการเลือกตั้ง แทนที่ด้วยระบอบเผด็จการเต็มรูป

แต่การเคลื่อนไหวของคนพวกนี้ก็อยู่ในสภาพกระเสือกกระสนรอวันล่มสลาย เพราะการพ่ายแพ้ทางวาทกรรมคือจุดเริ่มต้นของความพ่ายแพ้ทางการเมืองที่จะตามมานั่นเอง
http://thaienews.blogspot.sg/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น