วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บทความ: เปิดกลเกมของปชป.หลังสั่งสมาชิกลาออกยกพรรค

 

วันอาทิตย์, ธันวาคม 08, 2556

ประนามคลิปตัดต่อเสียงทักษิณกระหึ่ม YouTube

คลิปอธิบายการตัดต่อเสียงโดยคุณอาณาจักรไบกอน
http://www.youtube.com/watch?v=jCQNhwkGozA#t=0

บทความ: เปิดกลเกมของปชป.หลังสั่งสมาชิกลาออกยกพรรค

โดย ปิยบุตร แสงกนกกุล
8 ธันวาคม 2556

พึ่งเห็นนายศิริโชค โสภา โพสว่าพรรคประชาธิปัตย์มีมติให้ สส ของพรรคลาออกทั้งหมด ตามมาด้วยข่าวประธานวุฒิสภาให้สัมภาษณ์ว่า นายอภิสิทธิ์ ผู้นำฝ่ายค้านและ ๔๐ สว ทวงถามว่าประธานวุฒิสภาได้ส่งคำร้องกรณีสมาชิกรัฐสภา ๓๑๒ คนลงมติแก้รัฐธรรมนูญ ไปให้ ปปช หรือยัง ก็พอจะเห็นโครงเรื่องของพวกเขา ดังที่ผมโพสไป ตามนี้ 

สัปดาห์นี้... เป็นไปได้ว่าเราอาจเห็น 
๑.) สส พรรคประชาธิปัตย์ลาออกทั้งหมด 
๒.) สส พรรคฝ่ายค้าน และ สว บางส่วนได้ยื่นคำร้องถอดถอนสมาชิกรัฐสภา ๓๑๒ คน (ที่ลงมติให้ความเห็นชอบแก้ รธน) แก่ประธานวุฒิสภา ซึ่งประธานวุฒิสภาต้องส่งเรื่องให้ ปปช พิจารณาต่อตามมาตรา ๒๗๒
๓.) ศาลรัฐธรรมนูญเผยแพร่คำวินิจฉัยที่อ่านไปเมื่อวันที่ ๒๐ พ.ย. ออกมา
๔.) สุเทพและพวกเดินขบวน ยึดสถานที่ ทำให้ดูเหมือนว่าบ้านเมืองชิบหายหมด...แล้ว 
๕.) อธิการบดีทั้งหลายออกแถลงการณ์เสนอทางให้รัฐบาล สารพัดมหาวิทยาลัยร่วมด้วย
๖.) ปปช นำคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญนั้นมาใช้พิจารณาคำร้อง 
๗.) ปปช พิจารณาว่าข้อกล่าวหามีมูล สมาชิกรัฐสภา ๓๑๒ คน ที่ลงมติให้ความเห็นชอบร่าง รธน แก้ไขเพิ่มเติม ต้องหยุดพักการปฏิบัติหน้าที่ (ผมไม่แน่ใจว่า นายกฯยิ่งลักษณ์ ลงมติด้วยหรือไม่) 
๘.) สภาแทบจะไม่เหลือสมาชิก และจะมีผู้ออกมาตีความอธิบายว่า สภาไม่ครบองค์ประกอบ ทำงานไม่ได้ 
๙.) หากระหว่างนั้น นายกฯถูก ปปช ชี้มูลอีกเรื่อง ส่งผลให้นายกฯต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่อีก 
ฯลฯ

เพิ่มเติม

Pavin Chachavalpongpun

ไม่ต้องการชี้นำอะไรนะครับ แต่ผมได้กลิ่นตุๆ ว่า มันจะเกิดการนองเลือดเร็วๆ นี้...

พรรคประชาธิปัตย์ลาออกยกทีม กลไกประชาธิปไตยต้องสะดุด กติกาทางกฏหมายใช้ไม่ได้กับหัวหน้าม๊อบ... ที่สำคัญ พระราชดำรัสที่ให้สามัคคีก็หมดมนต์ขลัง...

 ...ตอนนี้การเมืองเป็นเกียร์ว่าง ใครเหยียบเครื่องก่อนถึงก่อน... ใครอยู่กรุงเทพฯ โปรดระวังตัวด้วยครับ ด้วยความปรารถนาดีจริงๆ 



พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ 

การที่สส.ปชป.ลาออกทั้งพรรค ตาม "สัญญาณ" ที่ได้รับมา ก็เพื่อบีบให้นายกฯยิ่งลักษณ์ยุบสภา แล้วก็บอยคอยเลือกตั้ง มุ่งสร้างสูญญากาศทางการเมืองให้จงได้ เมื่อไม่มีสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ก็จะเหลือแต่วุฒิสภา ซึ่งตามบทบัญญัติ รธน. จะถือว่า วุฒิสภาทั้งหมดเป็นรัฐสภา จนกว่าจะมีการเลือกตั้งสภาผู้แทนชุดใหม่ (แต่ก็จะไม่มีเลือกตั้ง)

แต่เมื่อปชป.ลาออก แถมบอยคอยเลือกตั้ง ปปช.เงื้อดาบฟันนายกฯยิ่งลักษณ์และครม.ทั้งคณะในคดีต่าง ๆ ที่เตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว ไม่มีสภาผู้แทน ไม่มีรัฐบาล มีแต่วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภา ก็กลายเป็นความชอบธรรมที่วุฒิสภาจะอ้าง ม.7 เสนอให้ตั้งนายกฯ "คนกลาง" และรัฐบาลใหม่ที่ไม่เป็นไปตามรธน.50 เอง

 คราวนี้ พวกเผด็จการถึงกับลงทุน "ฉีก" รธน.50 ของตัวเอง แปรรูปเป็นเผด็จการเต็มรูป เพื่อขจัดตระกูลชินวัตร พรรคเพื่อไทย และจัดการกับคนเสื้อแดงทั่วประเทศ ในคราวเดียว โดยไม่สนใจเสียงคัดค้านจากนานาประเทศที่สนับสนุนนายกฯยิ่งลักษณ์!!!

นายกฯยิ่งลักษณ์ต้องไม่ยุบสภา ไม่ลาออก เราจะไม่เป็นฝ่ายยุบสภา แล้วเปิดเงื่อนไขให้พวกเผด็จการใช้เป็นข้ออ้างอย่างเด็ดขาด! ถ้าพวกนั้นอยากได้เผด็จการเต็มรูป ก็ต้องให้พวกนั้นลงมือยุบเลิกทั้งสภาและครม. ด้วยตัวเองโดยใช้ ปปช. ตุลาการ หรือทหาร! อยากได้ก็ต้องทำเอง เราจะไม่ใส่พานให้!

จดหมายท่านชายนายแพทย์จักรีวัชรก่อนผ่าตัดใหญ่



หมายเหตุไทยอีนิวส์:เราได้รับจดหมายทางอีเมล์ฉบับหนึ่งจากผู้ไม่ประสงค์จะให้ระบุนาม ลงนามโดยผู้อ้างตัวเองว่าเป็นนายแพทย์จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ ส่งจากฟลอริด้า สหรัฐอเมริกา ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2556 ถึงญาติผู้ใหญ่ของเขาในประเทศไทย โดยได้แนบภาพถ่ายขณะที่นายแพทย์จักรีวัชร นอนรักษาอยู่บนเตียงพยาบาล(โดยไม่ระบุสถานที่)

ความในจดหมายถึงญาติผู้ใหญ่ในประเทศไทยฉบับนี้ เล่าเรื่องเขากำลังเข้ารับการผ่าตัดใหญ่อาการโรคเกี่ยวกับเนื้องอกในสมอง และเล่าว่าเขาได้พยายามอย่างไรในการศึกษาจนสำเร็จเป็นแพทย์ในสหรัฐฯ และหวังว่าเขาจะผ่านการผ่าตัดสำเร็จและสามารถฟื้นฟูกลับมาแข็งแรง เพื่อบรรลุเจตนารมณ์ในการยังประโยชน์แก่ผู้อื่น และเป็นความภาคภูมิของครอบครัวที่เขาจงรักภักดี นอกจากนั้นได้เล่าถึงความก้าวหน้าในชีวิตการงานของพี่น้อง"ท่านชายทั้งสี่" ทั้งยังหวังที่จะได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับประเทศไทยบ้านเกิด หลังจากมานานถึง 17 ปีแล้ว

ความรายละเอียดดังต่อไปนี้ ซึ่งไทยอีนิวส์ได้เซ็นเซอร์บางข้อความที่พาดพิงกล่าวถึงบุคคลที่สามออกไปแล้ว


Chakriwat Vivacharawongse, M.D. 
P.O. Box 470339 Lake Monroe, FL 32747 United States 

December 2, 2013 

Your (เซ็นเซอร์), I sincerely hope this letter finds Your (เซ็นเซอร์) in good spirits and health. Though we never receive any response from Your (เซ็นเซอร์) or the (เซ็นเซอร์), it is our duty, as your (เซ็นเซอร์), to continue to provide you with our updates. 

I bring to Your (เซ็นเซอร์) joyous and grave news. Firstly, I have successfully passed my United States medical board exam, and I am now a licensed medical doctor. As Your (เซ็นเซอร์) is aware, when I was thirteen years old I was diagnosed with neurofibromatosis type two, which causes benign tumors to grow predominantly in my central nervous system (brain and spinal cord). My condition was the motivating force behind my choice of profession. I had to endure regular MRI scans to monitor new growths, and periodic surgeries to remove tumors, which often interfered with my studies throughout medical school. I am most proud to receive my degree despite these challenges, and I know my trials will make me a better doctor.

On a more serious note, I would like to bring to Your (เซ็นเซอร์) attention that I will be undergoing a major surgery in December of this year. Last year, during my clinical clerkship as a final year medical student, I often suffered from sudden weakness and tingling on the right side of my body. A routine MRI scan discovered that a tumor (meningioma) was growing on the lining of my brain. The pressure on my brain causes me to have episodes of simple partial seizures. Initially, I had hoped that I would undergo a minimally invasive treatment such as a Gamma Knife procedure that I have had previously. However, further tests and imaging studies made it evident that the meningioma was too large for the Gamma Knife procedure. Proceeding with the Gamma Knife would cause too much swelling, which would cause the brain to be pressed against the skull. Instead, I will undergo open tissue surgery to remove the tumor from my skull. Titanium mesh cranioplasty will replace the invading bone component. This procedure will be more invasive, and carries greater risk than my previous treatments. I will also require an extended recovery time from the procedure. 

Naturally, I have great concern for this surgery. In the past, before my procedures, I would be quite apprehensive. At times, I felt discouraged due to the uncertainly of my condition. However, now that my exams are behind me, and I have achieved my goal, I am at peace knowing that I can rest in comfort. I do not know how long I will take to recover from this surgery, but I am elated to inform Your (เซ็นเซอร์), as my (เซ็นเซอร์), that I have completed a milestone in becoming a medical doctor. Should I make a full recovery, it is my hope that with my license and my personal experience, I can soon be of use to others in need.

Your (เซ็นเซอร์), I am pleased to say that all your (เซ็นเซอร์) have grown to be gentlemen of quality. My brothers and I are very proud and supportive of each other, which we wish to share with our (เซ็นเซอร์). 

For Juthavachara, after being conferred his Juris Doctor degree, he is working in the corporate aircraft industry in a capacity that uses both his legal and engineering knowledge. 

Vacharaesom continues to practice law with a major firm in Florida. Being licensed in Florida, District of Columbia and New York, he handles both New York and Florida cases, and provides counseling to international clients. 

Vatchrawee graduated and received his Juris Doctor over the summer, and is preparing to take the Florida Bar exam. 

Regardless of the outcome that should befall me, I wish to express that all of us are instilled with a sense of pride to have Your (เซ็นเซอร์) as our (เซ็นเซอร์). After seventeen years living abroad, our love for Thailand has only grown deeper. Please know that the four of us remain your loving (เซ็นเซอร์), and are forever at your, and the (เซ็นเซอร์), service. 

We hope that one day we will be permitted to return to our homeland so that we may pay respect to our (เซ็นเซอร์) in person. With continuing loyalty and highest respect,

Chakriwat




นายแพทย์จักรีวัชร วิวัชรวงศ์
ตู้ไปรษณีย์ ๔๗๐๓๓๙
เลคมอนโร ฟลอริดา ๓๒๗๔๗
สหรัฐ

วันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๖

......................................................

ข้าพ....เจ้ามีความปรารถนาอย่างสุดซึ้งให้........มีพระพลานามัยอันสมบูรณ์ และ....เกษมสำราญ.......เป็นอย่างยิ่ง แม้ว่าเราจะมิเคยได้รับกระแส....ปฏิสัณฐานตอบกลับมา...........หรือจาก............แต่ก็เป็นหน้าที่ของพวกเราในฐานะที่เป็น...บุตร.......จะต้อง........รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับพวกเราให้.....ทราบโดยมิได้ขาด

เรามีรายงาน.......ให้ได้...ทั้งปีรติโสมนัส และห่อเหี่ยว ประการแรกที่เดียวข้าพ..เจ้าได้สอบผ่านการขอรับใบอนุญาตแพทย์ผู้ประกอบโรคศิลป์ของสหรัฐ และขณะนี้ข้าพ..เจ้าได้เป็นนายแพทย์สมบูรณ์แล้ว ดังที่........ทราบแล้วว่าเมื่อข้าพ...เจ้าอายุ ๑๓ ปี ได้รับการตรวจพบว่าร่างกายมีโรคเนื้องอกในสมองประเภทสอง ซึ่งเกิดเนื้องอกก้อนโตภายในระบบควบคุมประสาทส่วนกลาง (โครงกระดูกสันหลัง และสมอง) อาการป่วยนี้เป็นแรงผลักดันให้ข้าพ...เจ้าเลือกศึกษาวิชาชีพปัจจุบัน ข้าพ...เจ้าจำต้องตรากตรำกับการตรวจร่างกายด้วยเครื่องสะท้อนสนามแม่เหล็กเอ็มอาร์ และรับการผ่าตัดเนื้องอกออกเพื่อมิให้เกิดใหม่อยู่เสมอ อันเป็นกระบวนการที่ทำให้การศึกษาของข้าพ..เจ้าติดขัดขณะอยู่โรงเรียนแพทย์ ข้าพ..เจ้าภูมิใจอย่างยิ่งที่สามารถสำเร็จปริญญาได้ทั้งๆ ที่ต้องเผชิญกับอุปสรรคเช่นนี้ และทราบดีว่าความลำบากทำให้ข้าพ..เจ้าเป็นหมอที่ดีขึ้น

อีกเรื่องที่สำคัญต้องรายงานต่อ......ทราบ ข้าพ..เจ้าต้องเข้ารับการผ่าตัดใหญ่ในเดือนธันวาคมปีนี้ เมื่อปีที่แล้วระหว่างข้าพ..เจ้าเข้าเป็นแพทย์ฝึกหัดในปีการศึกษาสุดท้าย ข้าพ..เจ้ามักประสบกับความอ่อนเปลี้ยกระทันหัน และมีอาการเสียดแปลบตามบริเวณซีกซ้ายของร่างกาย จากการตรวจด้วยกรรมวิธีเอ็มอาร์ไอพบว่าข้าพ..เจ้ามีเนื้องอกเติบโตบนเยื่อหุ้มตามรอยหยักสมอง ไปกดดันสมองจนทำให้ข้าพ..เจ้ามีการชักแข็งเป็นครั้งคราว แรกทีเดียวข้าพ..เจ้าหวังว่าการผ่าตัดจะเป็นเพียงการใช้แสงแกมม่าตัดเนื้อร้ายที่ไม่ยุ่งยากและเล็กน้อยเช่นที่เคยทำมา อย่างไรก็ดี จากการตรวจเพิ่มเติมพบว่าก้อนเนื้องอกมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะใช้แสงแกมม่าตัดออกได้ ถ้าขืนใช้แสงแกมม่าจะก่อเกิดการฟกช้ำและไปกดสมองให้อัดติดผนังกะโหลก การผ่าตัดจึงใช้วิธีเปิดกะโหลกแล้วผ่าตัดเนื้อเยื่อหุ้มสมองแทนที่ โดยใส่สารผสมไทแทเนี่ยมเข้าไปทดแทนกระดูกที่กร่อนไป การผ่าตัดนี้จะยุ่งยากมากกว่า และเสี่ยงยิ่งว่าครั้งก่อนๆ ที่ข้าพ..เจ้าเคยรับการผ่าตัดมา แล้วยังต้องใช้เวลาพักฟื้นเนิ่นนานกว่าด้วย

เป็นธรรมดา ข้าพ..เจ้าเป็นกังวลต่อการผ่าตัดครั้งนี้อย่างยิ่ง ในอดีตข้าพ..เจ้าจะประหวั่นกลัวก่อนการผ่าตัดเสมอ แต่ละครั้งข้าพ..เจ้ามักหมดกำลังใจกับความไม่แน่นอนในโรคร้ายของข้าพ..เจ้า ครั้งนี้เมื่อได้ผ่านการสอบไปแล้ว ข้าพ..เจ้าบรรลุเป้าหมายแล้ว ข้าพ..เจ้าปลอดโปร่งด้วยรู้ว่าจะได้พักผ่อนอย่างสบายใจ ข้าพ...เจ้าไม่ทราบว่าจะต้องใช้เวลานานเท่าใดกว่าจะหายดีหลังการผ่าตัด แต่ข้าพ..เจ้าก็เบิกบานที่จะ....รายงานต่อ......ในฐานะที่...เป็น.......บิดาว่าข้าพ..เจ้าได้ผ่านพ้นหลักชัยในการเป็นนายแพทย์แล้ว เมื่อข้าพ..เจ้าคืนสู่สภาพปกติหลังพักฟื้น ด้วยใบประกอบโรคศิลป์ และประสบการณ์ที่ได้รับมาจะก่อประโยชน์แก่ผู้ต้องการความช่วยเหลือทั้งหลาย

ขอ............โปรดทราบว่า...บุตรทุกคนของ......ได้เติบใหญ่พร้อมด้วยคุณสมบัติอันเปี่ยมด้วยคุณค่า พวกพี่ๆ และข้าพ..เจ้าล้วนมีความภาคภูมิ และช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างดียิ่ง เราจึงอยาก..........ให้...บิดาของเรา...ทราบ

สำหรับจุฑาวัชรหลังจากที่ได้รับปริญญาเอกทางด้านนิติศาสตร์แล้ว เขาได้ทำงานกับบริษัทอุตสาหกรรมผลิตเครื่องบิน ที่ได้ใช้ความรู้ความสามารถอย่างกว้างขวางทั้งในด้านกฏหมายและด้านวิศวกรรม วัชรเรศรยังคงว่าความอยู่กับสำนักงานกฏหมายใหญ่แห่งหนึ่งในฟลอริด้า โดยที่มีใบอนุญาตว่าความทั้งในฟลอริด้า ในท้องที่โคลัมเบีย (ดีซี) และนิวยอร์ค เขารับคดีทั้งในนิวยอร์คและฟลอริด้าพร้อมทั้งให้คำปรึกษาแก่ลูกความนานาชาติ วัชรวีร์นั้นจบการศึกษาและได้ปริญญาเอกด้านกฏหมายเมื่อฤดูร้อนที่ผ่านมา และกำลังเตรียมตัวสอบเนติบัณฑิตของฟลอริด้า

ทั้งนี้โดยไม่ต้องกังวลถึงว่าอาการของข้าพ..เจ้าจะเป็นอย่างไรหลังผ่าตัด ข้าพ..เจ้าใคร่แสดงให้.........เห็นว่าเราทั้งหมดเต็มไปด้วยความภาคภูมิใจที่มี.........เป็น......บิดา หลังจากที่เราอยู่ในต่างประเทศมาสิบเจ็ดปี ความรักต่อประเทศไทยของเรายิ่งฝังลึกแน่นลงไปอีก ขอ...โปรดรับทราบว่าเราทั้งสี่ยังคงเป็นบุตรสุดรัก...... เป็นข้ารับใช้.........................และ.......ตลอดไป เราหวังว่าวันหนึ่งเราจะได้รับอนุญาตให้กลับบ้านเกิดเมืองนอน เพื่อที่เราจะได้เข้า....................ด้วยตัวของเราเองโดยตรง

ด้วยความจงรักภักดีและศรัทธาสูงส่งไม่เสื่อมคลาย



จักรีวัชร


..........
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:

ภาพชุดเกาะติดชีวิตท่านชายนายแพทย์จักรีวัชร

C.Vivacharawongse MD -นายแพทย์จักรีวัชร วิวัชรวงศ์




ภาพล่าสุดของท่านชายทั้งสี่(จากซ้่ายไปขวา) จักรีวัชร,จุฑาวัชร,วัชเรศร,วัชรวีร์ (อ่านเพิ่มเติม:

ท่านชายทั้งสี่อ้างว่าไม่ได้รับอนุญาตเดินทางกลับบ้านเกิดประเทศไทยเพื่อเคารพพระศพพระสังฆราช)

น.พ.ทศพร รองเลขาธิการนายกฯร่อนแถลงการณ์ขอทำประชามติ "เอากปปส.หรือรัฐบาลยิ่งลักษณ์?"


เพื่อเป็นการแสวงหาทางออกของประเทศ  จึงใคร่ขอเสนอแนะให้ทำประชามติ  ถามประชาชนทั้งประเทศโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 165 และพระราชบัญญัติประชามติ   เพื่อถามประชาชนว่าเห็นด้วยกับข้อเสนอจัดตั้งสภาประชาชนของนายสุเทพหรือไม่..?

ประเทศไทย
6 ธันวาคม 2556

เรื่อง   การทำประชามติ  เพื่อหาทางออกประเทศไทย
เรียน   คุณสุเทพ   เทือกสุบรรณ  คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) และมวลมหาประชาชน

กว่า 1 เดือนที่คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ กปปส.และมวลมหาประชาชน ได้จัดการชุมนุม ยึดพื้นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะฯ แล้วบีบบังคับข่มขืนใจให้คนไทยทั้งประเทศยอมรับข้อเสนอของท่านแต่ข้างเดียว ในการจัดตั้งสภาประชาชน และจะแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 7 นั้น มีข้อพึงต้องพิจารณาดังต่อไปนี้

1.คุณสุเทพมักจะอ้างอยู่เสมอ  ให้ข้าราชการฯเลือกว่า “จะอยู่ข้างประชาชนหรือข้างรัฐบาล” ต้องพิจารณาด้วยว่า ประชาชนไทยทั้งมวลไม่ได้เห็นดีเห็นงามตามคุณสุเทพ  กปปส. และมวลมหาประชาชน  ไปเสียทั้งหมด

สถานการณ์นี้ต่างไปจากความขัดแย้งทางการเมืองในกรณีเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ พฤษภาคม 2553 ที่ประชาชนไทยรวมใจเป็นเอกฉันท์ฝ่ายหนึ่ง  ในการขับไล่รัฐบาลเผด็จการทหารอีกฝ่ายหนึ่ง  แต่ความขัดแย้งครั้งนี้ไม่ได้เป็นการขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประชาชน  แต่เป็นความขัดแย้งระหว่างประชาชน 2 ฝ่าย คือฝ่ายคุณสุเทพ กปปส. และมวลมหาประชาชน กับประชาชนที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทย สนับสนุนรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งประเทศ

หากคุณสุเทพบังคับข่มขืนใจให้ประชาชนไทยที่สนับสนุนรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยทนยอมรับการบังคับกดดันของฝ่ายคุณสุเทพ  กปปส.และมวลมหาประชาชน  ก็น่าจะทำให้เกิดสถานการณ์ที่ยุ่งยากไปในภายหน้า อาจนำไปสู่สถานการณ์แตกแยกรุนแรงเป็นสงครามกลางเมืองแบบเดียวกับอียิปต์ หรือซีเรียได้ จึงพึงต้องตระหนักในข้อนี้ให้มาก

2.การอ้างจำนวนผู้ชุมนุมซึ่งคุณสุเทพ  เทือกสุบรรณ และ กปปส. ใช้คำเรียกว่า  “ มวลมหาประชาชน” นั้น  ก็ไม่อาจเป็นตัวแทนของประชาชนไทยทั้งมวลได้ ซึ่งการอ้างว่ามียอดผู้ชุมนุมออกมามากที่สุดถึง 1 ล้านคนเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา สำนักข่าวต่างประเทศที่เป็นกลาง ทั้ง     AP,REUTERS, BLOOMBERG ต่างรายงานตรงกันว่ามีผู้ชุมนุมเพียง 1 แสนคนเท่านั้น(ตัวอย่างรายงานของ Reuters

แต่ถึงแม้จะมีถึง 1 ล้านคนตามที่คุณสุเทพอ้าง  ก็มิใช่จะอ้างได้ว่าเป็นเสียงส่วนใหญ่หรือเป็นตัวแทนของประชาชนไทยทั้งประเทศ  ซึ่งมีถึง 64 ล้านคนได้

3.การเสนอตั้งรัฐบาลรักษาการ และนายกฯมาตรา 7 นั้น เป็นข้อเสนอที่ขัดต่อพระราชกระแสดำรัสที่เคยพระราชทานไว้เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 ที่ว่า 
“ ข้าพเจ้ามีความเดือดร้อนมาก   ที่เอะอะอะไรก็ขอพระราชทานนายกฯ พระราชทาน  ซึ่งไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตย  ถ้าไปอ้างมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ เป็นการอ้างที่ผิด  มันอ้างไม่ได้  มาตรา 7 มี 2 บรรทัดว่า  ไรที่ไม่มีในรัฐธรรมนูญ   ก็ให้ปฏิบัติตามประเพณี   หรือตามที่เคยทำมา  ไม่มีที่เขาอยากจะได้นายกฯ พระราชทาน  จะขอนายฯ พระราชทานไม่ใช่เป็นเรื่องการปกครองแบบประชาธิปไตย  เป็นการปกครองแบบ ขอโทษ พูดแบบมั่ว แบบไม่มีเหตุผล”  

   “ไม่ทราบใครจะทำมั่ว  แต่ว่าปกครองประเทศมั่วไม่ได้  ที่จะคิดอะไรแบบว่าทำปัดๆ ไปให้เสร็จๆ ไป  ถ้าไม่ได้  เขาก็โยนให้พระมหากษัตริย์ทำ  ซึ่งยิ่งร้ายกว่าทำมั่วอย่างอื่น  เพราะพระมหากษัตริย์ไม่มีหน้าที่ ที่จะไปมั่ว ”   

นายสุเทพ กปปส. และมวลมหาประชาชน  พึงระมัดระวังที่จะไม่กระทำการมิบังควรให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท

4.ทั้งคุณสุเทพ  กปปส.  และมวลมหาประชาชน  ฝ่ายหนึ่ง กับประชาชนที่สนับสนุนรัฐบาลอีกฝ่ายหนึ่ง   ต้องฟังมติของประชาชนชาวไทยทั้งประเทศ  64  ล้านคนที่รักประเทศชาติ  รักความสงบ ทั้ง  2  ฝ่าย  ต้องไม่แอบอ้างว่า   ฝ่ายตนเป็นเสียงข้างมาก  เป็นเสียงของประชาชนทั้งประเทศบังคับให้อีกฝ่ายทำตาม

เพื่อเป็นการแสวงหาทางออกของประเทศ  จึงใคร่ขอเสนอแนะให้ทำประชามติ  ถามประชาชนทั้งประเทศโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 165 และพระราชบัญญัติประชามติ   เพื่อถามประชาชนว่า  

- เห็นด้วยกับแนวทางของนายสุเทพ  กปปส.และมวลมหาประชาชน ที่จะให้คุณสุเทพ กปปส.และมวลมหาประชาชน  จัดตั้งสภาประชาชนแล้วแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีรวมทั้งรัฐบาล

-เห็นด้วยกับแนวทางของรัฐบาลที่จะยังคงการปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญ  2550  ที่สภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้ง  แล้วสภาผู้แทนราษฎรเลือกนายกรัฐมนตรี เพื่อจัดตั้งรัฐบาลต่อไป

ทั้งนี้ถ้าการลงประชามติฝ่ายคุณสุเทพ  กปปส.และมวลมหาประชาชนได้คะแนนเสียงมากกว่า  คุณสุเทพ กปปส. และมวลมหาประชาชน ก็จะมีความชอบธรรมที่จัดตั้งสภาประชาชน  นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลต่อไป 

แต่ถ้าผลออกมาในอีกทางหนึ่งที่ฝ่ายสนับสนุนแนวทางตามรัฐธรรมนูญที่มีสภาฯ  มาจากการเลือกตั้งของประชาชนได้คะแนนเสียงมากกว่า ก็คงเป็นเหตุผลเพียงพอที่จะให้คุณสุเทพ กปปส.และมวลมหาประชาชน  หยุดชุมนุมและคืนพื้นที่  สถานที่ราชการต่างๆที่ยึดไว้  ให้บ้านเมืองกลับสู่ความสงบอีกครั้งหนึ่ง

  จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาแนวทางการทำประชามติหาทางออกให้ประเทศไทย  อันเป็นที่รักยิ่งของเราทุกคน

.............
ยิ่งลักษณ์เสนอจัดทำประชามติผ่าทางตัน รับฟังเสียงคนไทยทั้งประเทศ

รูปภาพ : พี่น้องประชาชนที่เคารพรักคะ นับตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาร่วมเดือนเศษแล้ว                ที่มีสถานการณ์ความขัดแย้งเกิดขึ้น จนทำให้ประเทศตกอยู่ในขั้นวิกฤต รัฐบาลต้องขอแสดงความเสียใจ และขอโทษต่อเหตุการณ์ที่ทำให้พี่น้องประชาชน     ต้องเดือดร้อนกังวลใจ และไม่สบายใจในเรื่องต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลได้พยายาม    อย่างยิ่งยวด ที่จะป้องกันเหตุรุนแรงต่างๆ รวมทั้งพร้อมที่จะเปิดเวทีรับฟังข้อเสนอ ของผู้ชุมนุมอยู่ทุกเมื่อ อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของผู้ชุมนุม ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งสภาประชาชน หรือ การขอนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 7 นั้น ไม่มีบทบัญญัติใดภายใต้รัฐธรรมนูญปัจจุบันรองรับ และยังไม่มีความชัดเจน ในทางปฏิบัติว่าจะดำเนินการอย่างไร อีกทั้งยังไม่มีกฎหมายใดรองรับในการกระทำ และยังมีการถกเถียงกันทางวิชาการ จนถึงปัจจุบันก็   ยังไม่ได้ได้ข้อสรุป อันเป็นที่ยอมรับของทุกๆฝ่าย ดิฉันขอเรียนพี่น้องประชาชนว่า รัฐบาลพร้อมที่จะยุบสภา หากเป็นความต้องการของ พี่น้องประชาชนส่วนใหญ่ ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามข้อกฎหมาย กล่าวคือ เมื่อยุบสภาแล้วก็ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งภายในไม่เกิน 60 วัน ตามที่กฏหมายกำหนด และในกติกาที่เป็นธรรม แต่หากผู้ชุมนุมและพรรคการเมืองใหญ่ไม่ตอบรับ หรือไม่ยอมรับผลของการเลือกตั้ง ก็จะเป็นเพียงการยืดเวลาของความขัดแย้งออกไป เช่นเดียวกับเหตุการณ์ความวุ่นวายในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งมีพรรคการเมืองบอยคอตไม่ลงรับสมัครในการเลือกตั้ง ทำให้เกิดภาวะสูญญากาศทางการเมือง อันนำไปสู่การรัฐประหารในที่สุด ดังนั้นรัฐบาลจึงเสนอให้ตั้งเวที หารือกันในข้อเสนอของผู้ชุมนุม หากยังขัดแย้งกันจนหาข้อยุติที่ตรงกันไม่ได้ ก็ขอเสนอให้ทำประชามติ เพื่อให้เสียงส่วนใหญ่ของพี่น้องประชาชน เป็นผู้ตัดสินใจ พร้อมทั้งสรุปแนวทางการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม และเกิดฉันทามติของทุกพรรคการเมือง ผู้ชุมนุม และทุกภาคส่วน ให้ยอมรับผลการตัดสินใจของประชาชนตามกติกา เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นให้หมดสิ้นไปอย่างแท้จริง พี่น้องประชาชนที่เคารพคะ ดิฉันขอยืนยันอีกครั้งว่า ดิฉันไม่ติดยึดกับตำแหน่ง ยินดีที่จะยุบสภาฯ หรือลาออก เพียงแต่ขอให้มั่นใจว่าเป็นทางออกที่แท้จริง และสามารถทำให้ข้อขัดแย้งยุติ ประเทศชาติเดินหน้าต่อไปได้ โดยต้องมั่นใจว่า ข้อเสนอนั้นเป็นข้อเสนอของเสียงส่วนใหญ่ ของพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง ข้อเสนอของคุณสุเทพฯ ที่ยืนยันมาโดยตลอดว่า ยุบสภาก็ไม่เอา นายกฯลาออกก็ไม่เอา แต่ต้องการให้คืนอำนาจให้กับพี่น้องประชาชน โดยไม่ต้องมีการเลือกตั้งนั้น ถือเป็นสิ่งใหม่ที่ยังไม่มีข้อยุติว่า เป็นไปตามครรลองในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ รัฐบาลที่จะเข้ามาบริหารประเทศ โดยที่ไม่ผ่านกระบวนการเลือกตั้ง ตามระบอบประชาธิปไตยถือเป็นเรื่องใหญ่ที่กระทบต่อภาพลักษณ์ และความเชื่อมั่นของประเทศชาติอย่างมาก หากจะเสนอให้ดำเนินการ น่าที่จะต้องถามความเห็นพี่น้องประชาชนว่า เป็นความต้องการของเสียงส่วนใหญ่ของประเทศจริงหรือไม่ ซึ่งการทำประชามติ ถือเป็นวิธีที่มี   การบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ สุดท้ายนี้ ดิฉันเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า เราทุกคนมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และรักประเทศชาติไม่แพ้กัน ดังนั้นเพื่อให้ประเทศชาติไม่ต้องบอบช้ำไปมากกว่านี้     ดิฉันอยากเห็นเราทุกคนหันหน้าเข้าหากันเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา สำหรับในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ รัฐบาลยินดีจะรับฟังข้อเสนอของผู้ชุมนุม มาพิจารณาและหาทางออกร่วมกัน ไม่มีใครแพ้แต่เราทุกคนรวมถึงประเทศชาติเป็นผู้ชนะด้วยกันทั้งหมด ขอบคุณค่ะ

นายกรัฐมนตรีได้แถลงในช่วงเวลาเที่ยงวันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม ดังต่อไปนี้

พี่น้องประชาชนที่เคารพรักคะ นับตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาร่วมเดือนเศษแล้ว 
ที่มีสถานการณ์ความขัดแย้งเกิดขึ้น จนทำให้ประเทศตกอยู่ในขั้นวิกฤต 

รัฐบาลต้องขอแสดงความเสียใจ และขอโทษต่อเหตุการณ์ที่ทำให้พี่น
้องประชาชน ต้องเดือดร้อนกังวลใจ และไม่สบายใจในเรื่องต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลได้พยายาม อย่างยิ่งยวด ที่จะป้องกันเหตุรุนแรงต่างๆ รวมทั้งพร้อมที่จะเปิดเวทีรับฟังข้อเสนอ ของผู้ชุมนุมอยู่ทุกเมื่อ 

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของผู้ชุมนุม ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งสภาประชาชน หรือ การขอนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 7 นั้น ไม่มีบทบัญญัติใดภายใต้รัฐธรรมนูญปัจจุบันรองรับ และยังไม่มีความชัดเจน ในทางปฏิบัติว่าจะดำเนินการอย่างไร อีกทั้งยังไม่มีกฎหมายใดรองรับในการกระทำ และยังมีการถกเถียงกันทางวิชาการ จนถึงปัจจุบันก็ ยังไม่ได้ได้ข้อสรุป อันเป็นที่ยอมรับของทุกๆฝ่าย 

ดิฉันขอเรียนพี่น้องประชาชนว่า รัฐบาลพร้อมที่จะยุบสภา หากเป็นความต้องการของ พี่น้องประชาชนส่วนใหญ่ ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามข้อกฎหมาย กล่าวคือ เมื่อยุบสภาแล้วก็ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งภายในไม่เกิน 60 วัน ตามที่กฏหมายกำหนด และในกติกาที่เป็นธรรม แต่หากผู้ชุมนุมและพรรคการเมืองใหญ่ไม่ตอบรับ หรือไม่ยอมรับผลของการเลือกตั้ง ก็จะเป็นเพียงการยืดเวลาของความขัดแย้งออกไป เช่นเดียวกับเหตุการณ์ความวุ่นวายในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งมีพรรคการเมืองบอยคอตไม่ลงรับสมัครในการเลือกตั้ง ทำให้เกิดภาวะสูญญากาศทางการเมือง อันนำไปสู่การรัฐประหารในที่สุด 

ดังนั้นรัฐบาลจึงเสนอให้ตั้งเวที หารือกันในข้อเสนอของผู้ชุมนุม หากยังขัดแย้งกันจนหาข้อยุติที่ตรงกันไม่ได้ ก็ขอเสนอให้ทำประชามติ เพื่อให้เสียงส่วนใหญ่ของพี่น้องประชาชน เป็นผู้ตัดสินใจ พร้อมทั้งสรุปแนวทางการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม และเกิดฉันทามติของทุกพรรคการเมือง ผู้ชุมนุม และทุกภาคส่วน ให้ยอมรับผลการตัดสินใจของประชาชนตามกติกา เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นให้หมดสิ้นไปอย่างแท้จริง 

พี่น้องประชาชนที่เคารพคะ ดิฉันขอยืนยันอีกครั้งว่า ดิฉันไม่ติดยึดกับตำแหน่ง ยินดีที่จะยุบสภาฯ หรือลาออก เพียงแต่ขอให้มั่นใจว่าเป็นทางออกที่แท้จริง และสามารถทำให้ข้อขัดแย้งยุติ ประเทศชาติเดินหน้าต่อไปได้ โดยต้องมั่นใจว่า ข้อเสนอนั้นเป็นข้อเสนอของเสียงส่วนใหญ่ ของพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง ข้อเสนอของคุณสุเทพฯ ที่ยืนยันมาโดยตลอดว่า ยุบสภาก็ไม่เอา นายกฯลาออกก็ไม่เอา แต่ต้องการให้คืนอำนาจให้กับพี่น้องประชาชน โดยไม่ต้องมีการเลือกตั้งนั้น ถือเป็นสิ่งใหม่ที่ยังไม่มีข้อยุติว่า เป็นไปตามครรลองในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ รัฐบาลที่จะเข้ามาบริหารประเทศ โดยที่ไม่ผ่านกระบวนการเลือกตั้ง ตามระบอบประชาธิปไตยถือเป็นเรื่องใหญ่ที่กระทบต่อภาพลักษณ์ และความเชื่อมั่นของประเทศชาติอย่างมาก 

หากจะเสนอให้ดำเนินการ น่าที่จะต้องถามความเห็นพี่น้องประชาชนว่า เป็นความต้องการของเสียงส่วนใหญ่ของประเทศจริงหรือไม่ ซึ่งการทำประชามติ ถือเป็นวิธีที่มี การบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ สุดท้ายนี้ ดิฉันเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า เราทุกคนมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และรักประเทศชาติไม่แพ้กัน ดังนั้นเพื่อให้ประเทศชาติไม่ต้องบอบช้ำไปมากกว่านี้

ดิฉันอยากเห็นเราทุกคนหันหน้าเข้าหากันเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา สำหรับในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ รัฐบาลยินดีจะรับฟังข้อเสนอของผู้ชุมนุม มาพิจารณาและหาทางออกร่วมกัน ไม่มีใครแพ้แต่เราทุกคนรวมถึงประเทศชาติเป็นผู้ชนะด้วยกันทั้งหมด ขอบคุณค่ะ

คลิป: เสวนา มาตรา7 ทางออกวิกฤตสังคมไทย หรือไม่?

http://www.youtube.com/watch?v=nMkkW7_SoUI#t=0

Published on Dec 6, 2013

เสวนา มาตรา7 ทางออกวิกฤตสังคมไทย หรือไม่? 

โดย วิรพัฒน์ ปริยวงค์ อ.คณิน บุญสุวรรณ ดร.กระมล ทองธรรมชาติ 

และ รศ.ยุทธพร อิสระชัย ดำเนินรายการโดย จอม เพชรประดับ 

ณ ห้อง วีนัส ชั้น 3 รร.มิราเคิลแกรนด์ หลักสี่ กรุงเทพฯ 

วันศุกร์ ที่ 6 ธันวาคม 2556 ถ่ายทอดทางช่อง NBT

 
เรื่องเกี่ยวข้อว เพิ่มเติม: มติชน - ชำแหละมาตรา7 แก้วิกฤตได้จริงหรือ?

ชำแหละมาตรา7 แก้วิกฤตได้จริงหรือ?

หมายเหตุ - สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย และเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสันติ จัดเสวนา "มาตรา 7 ทางออกวิกฤตสังคมไทย หรือไม่?" เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2556 ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ มีรายละเอียดดังนี้

ศ.ดร.กระมล ทองธรรมชาติ
อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ


สภาประชาชน ไปพ้องกับคอมมิวนิสต์ของจีน สำหรับประเทศไทยเป็นคำใหม่มากเเละไม่รู้ว่าอำนาจหน้าที่เป็นอย่างไร จะคล้ายของจีนหรือไม่หรือเป็นแบบเฉพาะของไทย ยังไม่รู้เเละไม่ทราบว่าจะมีขึ้นมาได้อย่างไร 

เรื่องมาตรา 7 นั้นได้ยินบ่อยในอดีต เเต่ไม่เห็นได้เอามาใช้เลย เพราะค่อนข้างจะผิดรัฐธรรมนูญ เเละไม่รู้จะใช้อย่างไรให้ได้ผลเพราะรัฐธรรมนูญระบุชัดว่า มาตรา 7 ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กว้างมาก เเละไม่เคยมีคำวินิจฉัยที่ยึดถือประเพณีได้ มีผู้พยายามเสนอให้มีนายกฯมาตรา 7 จริงๆ เเล้ว ตั้งไม่ได้ เเล้วใครจะเป็นคนตั้ง 

ทางออก เราต้องคุยกันว่าจะเเก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีอยู่อย่างไร ซึ่งจะต้องเเก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เเละร่างใหม่เพื่อเเก้ปัญหาที่มีอยู่ตอนนี้ เพราะการยุบสภาไม่มีประโยชน์ ยุบตอนนี้ก็เหมือนเดิมเเละคิดว่ารัฐบาลชุดนี้ก็กลับมาเป็นใหม่ เพราะฉะนั้นเเก้รัฐธรรมนูญก่อนดีกว่า เเล้วค่อยยุบสภาต่อไป 

รศ.ยุทธพร อิสรชัย
คณบดีรัฐศาสตร์ มสธ. 

เรื่องมาตรา 7 สังคมกำลังสับสนว่าเป็นการขอนายกฯพระราชทาน เเท้จริงไม่ใช่ มาตรา 7 ถูกออกเเบบเอาไว้เป็นกลไกเพื่ออุดช่องว่างของรัฐธรรมนูญ เพราะไม่มีทางจะเขียนรัฐธรรมนูญได้ครอบคลุมทุกเรื่องทุกอย่างในพฤติกรรมของมนุษย์ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อใดก็ตามรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติที่ไม่สามารถอธิบายได้ ก็ขอให้ใช้มาตรา 7 ระบุไว้ชัดเจนว่า เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไป เเละยังระบุด้วยว่าผู้มีอำนาจวินิจฉัยก็คือองค์กร เป็นผู้ใช้อำนาจในเรื่องนั้นๆ ไม่ใช่ว่าผู้ใดก็สามารถวินิจฉัยตามมาตรา 7 ได้ เพราะฉะนั้นตอนนี้ใช้มาตรา 7 ยังไม่ได้ เพราะบทบัญญัติต่างๆ ยังสามารถเคลื่อนตัวไปตามรัฐธรรมนูญได้ รัฐบาล รัฐสภาก็ยังสามารถทำหน้าที่ได้ 

ถ้าหากฟังตามข้อเสนอของ กปปส. หมายความว่านั่นต้องอยู่บนเงื่อนไขของยุบสภาก่อน เเละนายกฯก็ต้องลาออกจากการรักษาการ เเละเกิดปัญหาสุญญากาศทางการเมือง อย่างนั้นถึงจะสามารถใช้มาตรา 7 ได้ ต้องถามกลับไปว่า ยุบสภาจะเป็นทางออกหรือไม่

1.โดยทั่วไปการยุบสภาจะเกิดขึ้นในภาวะที่ฝ่ายบริหารมีความขัดเเย้งกับฝ่ายนิติบัญญัติ วันนี้ความขัดเเย้งในทางสภายังไม่มี 

2.ถามว่ายุบเเล้วสามารถเเก้ปัญหาได้หรือไม่ ถ้าเเก้ตอนที่ยังมีคนขัดเเย้งกันอยู่ ท้ายสุดเเล้วความขัดเเย้งจะถูกส่งลงไปยังพื้นที่ของคนสองกลุ่มเเละอาจเกิดการปะทะกันในระหว่างกระบวนการหาเสียงเลือกตั้ง 

สภาประชาชนถ้าจะมีได้ต้องดูว่า วันนี้กระบวนการขับเคลื่อนในทางการเมืองเดินต่อได้หรือไม่ ตอบว่าได้ ทำให้ภาวะที่ต้องมีสภาพิเศษนั้นยังไม่ถึงขั้นต้องมี

ต่อมาการบอกว่ารัฐสภาวันนี้มีปัญหา คุณต้องตอบให้ได้ว่าเเล้วสภาประชาชนดีกว่าอย่างไร 

ทั้งนี้ การเเต่งตั้งเเละเลือกตั้งล้วนเกิดกระบวนการอุปถัมภ์ได้ทั้งนั้น ปัญหาสำคัญคือว่าระบบอุปถัมภ์ยังไม่ได้เอาออกจากสังคมไทย 

เเละถ้าบอกว่าตั้งสภาประชาชน โดยอ้างมาตรา 3 เเต่มาตรา 3 บอกว่า อำนาจดังกล่าวต้องผ่านองค์กรผู้ใช้อำนาจ สรุปคือ จะต้องไม่เอาประชาธิปไตยทางตรงไปทำลายประชาธิปไตยตัวเเทน เเต่ต้องมาเพิ่มเติม คือหมายถึงเอามวลชนาธิปไตยมาล้มล้างไม่ได้

อย่างสภาสนามม้า ในอดีตก็ไม่เหมือนเเต่อาจใกล้เคียงเพราะเเต่งตั้งมาจากหลายอาชีพ เเละเลือกเข้ามานั่งด้วยกัน เเต่สังคมตอนนี้ซับซ้อนเกินว่านั้นเเล้ว ไม่ได้มีอาชีพเเค่นั้น มีอาชีพอิสระมากมาย เเล้วถามว่าจะมีโอกาสได้เข้าไปนั่งในสภาประชาชนไหม ในเรื่องความชัดเจน บทบาทหน้าที่ ความเป็นตัวเเทนประชาชนจะเกิดขึ้นได้อย่างไรใครจะเข้ามานั่งในสภา เเละจุดจบคืออะไร 

ทั้งนี้ ในเชิงกฎหมาย รัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุด เเละบทบัญญัติสภาประชาชนยังไม่มี หาก นปช.บอกว่าอยากมีสภาประชาชนบ้าง เเล้วเราจะฟังสภาประชาชนของใคร 

การเจรจาพูดคุยยังเป็นทางออกที่สำคัญ อาจจะเป็นการเลือกตัวเเทนของเเต่ละฝ่ายขึ้นมาพูดคุย หรือเทคนิควิธีอื่นๆ เเทนพูดกันระหว่างผู้ขัดเเย้งโดยตรง เเต่ถ้าพูดคุยไม่รู้เรื่องอีก ก็ให้เรื่องของการเเก้รัฐธรรมนูญเป็นทางออก มีการเลือกตั้ง ส.ส.ร. ตามหลักประชาธิปไตยเเบบมีส่วนร่วม เป็น ส.ส.ร.ที่มีหน้าที่สื่อสาร มีเครือข่ายตัวเเทนในเเต่ละจังหวัด 

อยากเเนะถึงนายกรัฐมนตรีให้เปิดเวทีไปสู่พื้นที่ต่างๆ รับฟังความคิดเห็น เเละเก็บความคิดเห็นเหล่านั้นมาสู่สภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นตัวกำหนดเเนวทางของสังคม ก่อนทำประชาพิจารณ์จากประชาชน ต้องร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากความไว้วางใจจากประชาชนขึ้นมา การทำเวทีประชาพิจารณ์ หลังจากมี ส.ส.ร.จะเป็นการเปิดพื้นที่รับฟังความคิดเห็นครั้งประวัติศาสตร์  

คณิน บุญสุวรรณ
นักวิชาการอิสระ ส.ส.ร.40

สำหรับคำว่าสภาประชาชน มองได้สองมิติ หนึ่งคือสภาผู้แทนราษฎร หลายประเทศเรียกว่าสภาประชาชน แต่ในอีกมิติหนึ่งคือ ตามที่มีผู้ที่เสนอสภาประชาชนมา แล้วไม่มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ถ้าจะให้มีบทบัญญัติ ตามที่ตั้งชื่อว่า คณะกรรมการเปลี่ยนแปลงประเทศ คือชัดว่าเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ก็ต้องล้มรัฐธรรมนูญก่อน 

ปัญหาวันนี้ การที่ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่มา ส.ว. กลายเป็นวิกฤต ลามมาจนปัจจุบัน เพราะ ส.ว.สรรหา ที่ไม่ได้มาจากการแต่งตั้งหรือเลือกตั้ง ต้องการคงอำนาจของตน ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่า การแก้ไขที่มา ส.ว. เป็นการขัด และล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยฯ เป็นที่มาของการชุมนุมและต่อต้านทุกวันนี้

ถ้าให้มีสภาประชาชน ที่มาจากการแต่งตั้ง ก็ต้องเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ เพราะฉะนั้นการเสนอให้ตั้งสภาประชาชน มองไกลไปหรือเปล่า จะเกิดขึ้นได้หลังจากที่ได้ล้มรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว ถ้าไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ต้องมาจากการแต่งตั้งของกษัตริย์ ข้อเสนอสภาประชาชน นอกจากนอกเหนือรัฐธรรมนูญแล้ว ยังถูกมองว่าท่านยึดอำนาจประเทศไปแล้วหรือเปล่า ล้มอำนาจรัฐธรรมนูญ เสนอตั้งนายกฯมาตรา 7 ยิ่งแล้วไปใหญ่ ไม่ได้เข้าใจเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญเลย

ในทางกฎหมายเป็นความพยายาม ขณะที่วิธีการคือ ยึดสถานที่ราชการ แถลงจุดยืนต่างๆ หมายความว่านึกเอาเองว่ายึดอำนาจแล้ว แต่นี่คือขั้นตอนของการพยายามยึดอำนาจ ถ้าความพยายามนี้ไม่สำเร็จแสดงว่าเป็นกบฏ ถ้าสำเร็จคือรัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกยกเลิก จะยึดอำนาจต้องล้มรัฐธรรมนูญก่อน เพราะเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

ยังไงถ้านายกฯยุบสภาลาออก ก็มีขั้นตอน ทุกสิ่งมีบทบัญญัติรองรับอยู่แล้ว แต่ข้อเรียกร้องอยู่นอกเหนือบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

การบอกว่ามวลมหาประชาชน คือคำเดียวกับปวงชนชาวไทย ต้องไม่ได้หมายความว่าคนล้านสองล้าน ต้องหมายถึงหกสิบกว่าล้าน ถ้ามวลมหาประชาชนต้องการเปลี่ยนแปลงยังไงก็ต้องกลับไปยังรัฐสภา ทุกสิ่งทุกอย่างต้องดำเนินไปตามกระบวนการที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น

รัฐธรรมนูญฉบับนี้ทราบกันดีว่าเป็นของกลุ่มรัฐประหาร เขียนเพื่อเอาเปรียบฝ่ายตรงข้าม ดึงเอาศาลเข้ามา เอาเปรียบทางการเมือง ประชาชนที่ถูกเอาเปรียบตลอดมา ก็อดทน เลือกตั้งใหม่ก็เลือก อยู่ในกรอบรัฐธรรมนูญ การตรวจสอบเป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ แม้กระทั่งการตรวจสอบโดยองค์กรอิสระ หรือผู้ตรวจการแผ่นดิน ในขณะนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ยังคงมีความชอบธรรมสูงสุดอยู่แล้ว

มาตรา 7 ไม่ใช่ทางออก นำไปสู่ทางตัน โดยเมื่อสะท้อนว่าเป็นเจตจำนงของคนที่ต้องการโค่นล้มรัฐบาลอย่างหลากหลายรูปแบบ มาตรา 7 เมื่อจุดประเด็นแล้ว ประชาชนจะสับสนต้องพูดชัดเจนเลยว่าเป็นไปไม่ได้ 

การอ้างว่าเคยมีในอดีต ในอดีตไม่เคยมี มาตรา 7 เพิ่งมีในรัฐธรรมนูญ 2540 อ้างสมัยตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกฯ ในพระบรมราชโองการ ระบุว่าจอมพลถนอมลาออกจากตำแหน่ง และนายสัญญา ธรรมศักดิ์ สมควรเป็นนายกรัฐมนตรี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 แห่งธรรมนูญปกครอง 2515 เป็นกฎหมายสูงสุดขณะนั้นการอ้างว่าเป็นนายกฯพระราชทานนั้นไม่ใช่ ชอบอ้างว่าเป็นนายกฯพระราชทาน นี่เป็นการกระทำเข้าข่ายรบกวนเบื้องพระยุคลบาท

วันนี้ในเมื่ออยากหาทางออก ต้องขอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ที่ขอแก้กันมาแล้วไม่ยอม ขอร้องให้ท่านยินยอมให้รัฐสภาสามารถลงมติวาระสาม ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ค้างอยู่ แล้วหลังจากนั้นมาตกลงกันว่าถ้ามีการผ่านวาระสามไปแล้ว มีการตั้ง ส.ส.ร. โดยให้ประชาชนเลือกตั้ง รัฐสภามีหน้าที่ตั้งกฎหมาย หลังจากนั้นตกลงกันว่านายกฯยุบสภา และการยุบสภาต้องไม่ไปผูกพันกับการร่างรัฐธรรมนูญ


วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
นักวิชาการอิสระ

คำว่า มาตรา 7 หรือสภาประชาชน คนที่อยู่เบื้องหลังคือนักวิชาการ ตอนนี้กลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่าเป็นนักวิชาการ ถือตัวเองเป็นอภิสิทธิ์ชน นี่แหละคือองค์ประกอบของสิ่งที่เรียกว่าอำนาจมืด เป็นประชาชนคนธรรมดาที่หลบอยู่ในที่มืด ออกมาแสดงความเห็น ไม่กล้าพูดตรงๆ ว่าต้องการอะไร มีอยู่ในทุกวงการ 

ถ้าคุณอ้างได้ว่าวันนี้บ้านเมืองมีปัญหา นายกฯต้องยอมลาออก แล้วมีการพระราชทานนายกฯ ถ้ามาตรา 7 ถูกเอามาใช้ง่ายๆ แล้วถ้ารัฐบาลเอาบ้าง วันนี้การเมืองวุ่นวาย เพราะฝ่ายค้านไม่ทำหน้าที่ ขอเชิญอภิสิทธิ์ลาออก แล้วขอผู้นำฝ่ายค้านจากมาตรา 7 ศาลรัฐธรรมนูญตีความพิสดาร ขอให้ลาออก แล้วขอศาลรัฐธรรมนูญพระราชทานตามมาตรา 7 เป็นไปไม่ได้

ระบบกติกาบ้านเมืองมีอยู่ในรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องของเด็กเล็กเอาแต่ใจ

คนที่เรียกตัวเองว่านักวิชาการ หรืออำนาจมืด ไม่รู้จะหาทางใดมาสู้กับรัฐบาล ขณะนี้คือการกลายพันธุ์ของเชื้อรัฐประหารหลัง 2475 ยึดอำนาจกันในกองทัพ 2549 พัฒนาขึ้นหน่อย ยึดอำนาจแต่รีบคืนอำนาจให้ประชาชน แต่แฝงอำนาจไว้ในองค์กรอิสระ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น