วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Voice TV: ชี้ 'ปฏิวัติประชาชน' ในไทย ร้องหา 'ระบอบพ่อขุน'

 

Voice TV: ชี้ 'ปฏิวัติประชาชน' ในไทย ร้องหา 'ระบอบพ่อขุน'

by sathitm/Voice TV 
4 ธันวาคม 2556 เวลา 14:41 น

สำนักข่าวเอ็นบีซีเผยแพร่บทวิเคราะห์ ชี้ 'ปฏิวัติประชาชน' ในประเทศไทยเป็นการร้องหา 'ระบอบพ่อขุน' มุ่งริบเอาสิทธิลงคะแนนไปจากผู้คนส่วนข้างมาก เผย 'สุเทพ' เป็นแค่คนออกหน้า ตัวละครจริงล้วนเล่นหลังฉาก

ผู้สื่อข่าว Ian Williams แห่งสำนักข่าว NBC ในสหรัฐ ได้เขียนบทวิเคราะห์ เรื่อง "Thailand's 'people's revolt' is not quite as billed" (การ 'ปฏิวัติประชาชน' ของประเทศไทย ไม่ได้เป็นอย่างที่เรียกกัน)

รายงานซึ่งเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของเอ็นบีซีเมื่อวันอังคารชิ้นนี้ ระบุว่า คนที่ไปเยือนกรุงเทพจะได้เห็นความทันสมัยทุกอย่าง แต่การเมืองยังคงอยู่ในยุคกลาง ตัวละครสำคัญมักเดินบทบาทอยู่หลังฉาก


วิลเลียมส์ บอกว่า สิ่งที่เรากำลังได้เห็นในกรุงเทพในเวลานี้ ไม่ใช่ "การปฏิวัติประชาชน" อย่างที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้อธิบายในช่วงเวลาหลายวันของการก่อความไม่สงบที่ผ่านมา แรงสนับสนุนเขามาจากชนชั้นนำเก่ารอยัลลิสต์ กับชนชั้นกลางกรุงเทพ ในความเป็นจริง รัฐบาลยังคงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางนอกเมืองหลวงของประเทศออกไป และอาจชนะการเลือกตั้งครั้งใหม่อีก

ตัวนายสุเทพเองก็ไม่ใช่นักรณรงค์การเมืองใสสะอาด เขาเป็นนักเจรจาข้อตกลงลับ เคยถูกตรวจสอบในหลายกรณี แต่มักปฏิเสธว่า ตนไม่ได้ทำอะไรผิด เกือบเป็นที่แน่นอนว่า เขาเป็นเพียงคนออกหน้าในการประท้วงรอบนี้

รายงานระบุว่า เหตุประท้วงในกรุงเทพเป็นเพียงภาคต่อของความขัดแย้งที่ดำเนินมาตั้งแต่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังเป็นนายกรัฐมนตรี เขาได้รับเสียงสนับสนุนในชนบท ทำให้ชนะการเลือกตั้งตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ฝ่ายที่ต่อต้านได้โค่นทักษิณในการรัฐประหารเมื่อปี 2549 และโค่นรัฐบาลที่เป็นพันธมิตรของทักษิณโดยใช้ศาล ด้วยข้อหาทำกับข้าวออกทีวี

การต่อต้านระลอกล่าสุดนี้ เกิดจากการผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งจะเปิดทางให้พ.ต.ท.ทักษิณกลับบ้าน วุฒิสภาได้คว่ำร่างนั้นไปแล้ว และพรรคการเมืองในสภาได้ถอนร่างออกไปหลังจากถูกประท้วง กระแสต่อต้านได้บานปลายกลายเป็นการขับไล่รัฐบาล

@  ผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาล ชุมนุมที่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันพุธ
บทวิเคราะห์บอกว่า ในรอบใหม่นี้ กองทัพไม่ต้องการเข้าแทรกแซงโดยเปิดเผย แต่กองทัพยังมีบทบาทสำคัญอยู่หลังฉาก ข้อเรียกร้องที่คลุมเครือของแกนนำการประท้วง ที่จะให้แต่งตั้งคณะกรรมการของ "คนดี" เข้าบริหารประเทศ ดูคล้ายกับสิ่งที่กองทัพเคยพยายามทำมาแล้วเมื่อปี 2549 แต่ปรากฏผลลัพธ์น่าผิดหวัง

ชนชั้นนำเก่าของไทยโหยหาวันคืนแบบเดิมๆ ที่ชาวไร่ชาวนาในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงว่านอนสอนง่าย มีความสุขตามอัตภาพ ภายใต้ระบอบพ่อขุน พวกเขามองว่า ปัญหาจะแก้ได้ด้วยการริบเอาสิทธิเลือกตั้งของพวกคนโง่ไปเสีย เพราะคนพวกนี้ยังคงโหวตเลือกอย่างผิดๆซ้ำแล้วซ้ำเล่า

วิลเลียมส์ สรุปความเห็นของเขาว่า "นี่เป็นวิธีคิดที่อันตรายที่สุด"

Siam Intel: ใครเป็นใครใน กปปส. ของ สุเทพ เทือกสุบรรณ

ที่มา Siam Intelligence
วันที่: 04/12/2013

เหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน2556 จนถึงปัจจุบัน จากการคัดค้านพรบ.นิรโทษกรรมเหมาเข่ง จน สว.คว่ำร่างพรบ.ดังกล่าว โดยการชุมนุมทางการเมือง ได้ยกระดับการชุมนุมจากคัดค้าน พรบ.นิรโทษกรรมเหมาเข่ง เป็นการโค่นล้มระบอบทักษิณและจัดตั้งสภาประชาชน โดยที่การชุมนุมนั้นมีอยู่ 3กลุ่ม คือ เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ (คปท.) กลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) และเวทีราชดำเนิน
ซึ่งการชุมนุมได้ยืดเยื้อและยกระดับมาอย่างต่อเนื่องโดยมีการยึดสถานที่ราชการ สื่อต่างๆ เพื่อกดดันให้รัฐบาลทำตามข้อเสนอคือ จัดตั้ง “สภาประชาชน” โดยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมามีการเปิดตัวคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” (กปปส.)

เครือข่ายนักวิชาการ
  1. นายสมบัติ ธำรงธัญญวงศ์ อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2516  เลขาพรรคไท (พรรคการเมืองเลขที่ 50/2539 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2539 โดยมีนายธนบดินทร์ แสงสถาพรเป็นหัวหน้าพรรค) เคยร่วมกับพอ.มนูญ รูปขจร และ พอ.สนั่น ขจรประศาสตร์ ทำรัฐประหารรัฐบาลที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกฯ แต่ไม่สำเร็จจนกลายเป็นกบฎต้องหลบหนี และสามารถกลับเข้ามาเมื่อมีการอภัยโทษ
    หลังการรัฐประหาร 2549 ได้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สมัยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) เคยอยุ่ในกรรมการรัฐวิสาหกิจ เป็นอดีตอธิการบดีที่มีความใกล้ชิดกับพรรคประชาธิปัตย์ เคยได้รับการสนับสนุนให้เป็นประธานปฏิรูปการเมืองในช่วงที่ผ่านมา
  2. นายชัยวัฒน์ สุรวิชัย อดีตแกนนำนักศึกษา 1 ใน 13 กบฏเรียกร้องรัฐธรรมนูญ 14 ตุลาคม 2516 เคยเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติชุดแรก เคยขึ้นเวทีปราศรัย กองทัพประชาชน โค่นระบอบทักษิณที่สวนลุม ปัจจุบันเป็นผอ. สถาบันพัฒนาคนและคุณภาพคน
  3. รศ.ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน (นิด้า) เป็นนักเคลื่อนไหวภาคประชาสังคม เป็นผู้ผลักดันให้เกิด หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สมัยอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าฯ เริ่มต่อต้านทักษิณสมัยนาย สนธิ ลิ้มทองกุล จัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร และเข้าร่วมกับการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯมาโดยตลอด และเคยอยู่ในกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์
  4. ผศ.ดร.ทวี สุรฤทธิกุล (มสธ.) อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (12 ต.ค. 2549 – 2 มี.ค. 2551)
  5. นาย ถวรรณธรรม กาญจนสุวรรณ เคยเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง (สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี) สมัยอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
  6. ผศ.สุวิชา เบ้าอารีย์ (นิด้า)
  7. ชัยวัฒน์ ถิรพรรณ นักวิชาการอิสระ
  8. รศ.ดร.ชัยวัฒน์ บุญสม (มสธ)
เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ
  1. นายนิติธร ล้ำเหลือ    การศึกษา ปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง, ปริญญาโท ทางด้านกฎหมายพัฒนา จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง  ตั้งสำนักงานกฎหมาย KAT มีชื่อเสียงเสียงจากคดีฟ้องร้องต่อศาลปกครอง คดีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย คดีแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา กรณีเสนอปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกขัดต่อรัฐธรรมนูญ และคดีการเมือง เช่น คดีนายยงยุทธ ติยะไพรัชทุจริตการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550  เป็นทนายความให้กลุ่ม NGO มาโดยตลอด รวมทั้งเป็นทนายความของกลุ่มพันธมิตร ทั้ง36 แกนนำที่ถูกหมายเรียกในคดีปิดสนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ
  2. นายสุริยะใส กตะศิลา   อดีตเคยเข้าร่วมชุมนุมในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 และต่อมาได้เข้าเป็นเลขาธิการของคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ในช่วงที่นายพิภพ ธงไชย เป็นประธาน เคยเป็นผู้ประสานงานเครือข่ายพันธมิตรฯ และเลขาธิการของพรรคการเมืองใหม่   ปัจจุบันอยู่กลุ่มกรีน (การเมืองสีเขียว)
  3. นายอุทัย ยอดมณี   นายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง  พรรคสานแสงทอง มีความสัมพันธ์กับอดีตคนในพรรคประชาธิปัตย์  นายถาวร เสนเนียม
กลุ่มประชาคมนักธุรกิจสีลม
  1. นายสาธิต เซกัล นายกสมาคมธุรกิจอินเดีย-ไทย
  2. นายราเชน ตระกูลเวียง  ประธานกลุ่มสหพันธ์คนไทยปกป้องสถาบัน
  3. นายมหัศจักร โสดี   คณะกรรมการอำนวยการบริหารภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นของชาติ
กลุ่มเครือข่ายนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตย
  1. นายพรศักดิ์ ลิ้มบุญญประเสริฐ
กองทัพธรรม
  1. รต.แซมดิน เลิศบุศย์  อดีตเคยเป็นนายทหารเรือ ทำงานอยู่ที่กรมสรรพาวุธ กองทัพเรือ เคยเป็นเลขาพรรคเพื่อฟ้าดิน(2543)   เป็นผู้ติดตามพลตรีจำลอง ศรีเมือง มาเกือบ 20 ปี  และเข้าร่วมชุมนุมกับ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย  และ องค์การพิทักษสยาม(อพส.)
  2. นายมั่นแม่น กะการดี  อดีตกรรมการบริหารพรรคเพื่อฟ้าดินเคย เข้าร่วมกับการชุมนุมพันธมิตร และองค์การพิทักษสยาม (ม็อบ เสธ. อ้าย)
กองทัพประชาชนโค่นล้มระบอบทักษิณ
  1. พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ อดีตแกนนำกลุ่มเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ รักษาแผ่นดิน   อดีตรองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก จบโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 7(จปร.7) รุ่นเดียวกับ พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร พล.ต.จำลอง ศรีเมือง พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี และ พ.อ.ประจักษ์ สว่างจิตร ในอดีตเคยเป็นนายทหารที่อาสาไปรบในสมรภูมิต่างๆและได้สร้างวีรกรรมหลายจนบรรดาเหล่าทหารหลายคนให้การยอมรับ อีกทั้ง พล.อ.ปรีชา เคยเป็นที่ปรึกษาของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ในฐานะหัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการ สมัย พล.อ.ชาติชาย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมปี 2534 หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้มีชื่อรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในแบบสรรหา  เข้าร่วมกับการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในการชุมนุมเมื่อปี พ.ศ. 2551
  2. พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ จบเตรียมทหารรุ่นที่ 1 (ตท.1) รุ่นเดียวกับ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือ เสธ.อ้าย อดีตประธานองค์กรพิทักษ์สยาม (อพส.) และ “บิ๊กแอ๊ด” พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรีและอดีตนายกรัฐมนตรี เคยดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด (รองผบ.สส.) สมัยพล.อ.สุรยุทธ์ ถูกเด้งมานั่งเก้าอี้ผบ.สส  เคยเป็นประธานองค์การพิทักษ์สยาม(อพส.)และเสนาธิการร่วมของกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ
  3. พล.อ.ชูเกียรติ ตันสุวัมฒ์  อดีตทหารคนสนิท พล.ต.มนูญกฤต จบเตรียมทหารรุ่นที่ 4 นักเรียนนายร้อยจปร.รุ่นที่ 15 เคยไปรบในสมรภูมิลาวโดยรับตำแหน่งหัวหน้ากองทัพนิรนาม ซึ่งเป็นหน่วยที่ปฏิบัติภารกิจในทางลับ เข้าร่วมชุมนุมกับองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.)
  4. พล.อ.ท.วัชระ ฤทธาคนี อดีตนายทหารนักบินกองทัพอากาศ อดีตนักบินประจำกองกำลังสหประชาชาติ นักวิชาการวิทยากร ร.ร.เสนาธิการทหาร ร.ร.เสนาธิการทหารอากาศ ร.ร.นายเรืออากาศ ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ศูนย์การรบทางอากาศ เข้าร่วมชุมนุมกับองค์การพิทักษ์สยาม(อพส.)
  5. นายสนธิ เตชานันท์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัด สงขลา  ปี 2549 เคยเข้าร่วมชุมนุมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
  6. น.พ.ระวี มาศฉมาดล
เครือข่ายประชาชนปฏิรูปประเทศ 77 จังหวัด
  1. นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์  อดีตเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ต่อมาได้ลาออกจากราชการเพื่อลงรับเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 โดยลงเลือกตั้งในระบบสัดส่วน กลุ่ม 6 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ต่อมาหลังการยุบสภาในปี พ.ศ. 2554 จึงได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์และวางมือทางการเมือง เคยเป็นที่ปรึกษาสมัชชาคนจน และเป็น 1 ใน 5 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (รุ่น 1 )
สมาพันธ์ แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.)
  1. นายคมสัน ทองสิริ    เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ หรือ สรส. เคยเป็นรองประธานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง เคย เข้าร่วมชุมนุมกับพันมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
  2. นายสาวิทย์ แก้วหวาน  อดีตเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และต่อมาได้เข้าร่วมกลุ่มคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ซึ่งได้เข้าร่วมชุมนุมขับไล่รัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ปี พ.ศ. 2549 กับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยมีบทบาทเป็นโฆษกบนเวที และถูกแต่งตั้งให้เป็นแกนนำรุ่นที่ 2 ในการชุมนุมเมื่อปี พ.ศ. 2551แต่ต่อมา ถอนตัวออกจากการเป็นแกนนำพันธมิตรฯ เนื่องจากมีความเห็นต่างกันในเรื่องที่พรรคการเมืองใหม่ (กมม.) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นมาโดยกลุ่มพันธมิตรฯถึงเรื่องการที่จะส่งผู้สมัครของพรรคลงเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2554
  3. นายสมศักดิ์  โกศัยสุข เคยเข้าร่วมชุมนุมในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬในปี พ.ศ. 2535 โดยคู่เคียงข้าง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ต่อมา ในปี พ.ศ. 2549 ได้เป็น 1 ใน 5 แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ประกาศถอนตัวจากการเป็นแกนนำพันธมิตรฯ เนื่องจากทำตามข้อเสนอของสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) จากการลงมติกันก่อนหน้านั้นไม่นาน จากเรื่องการส่งพรรคการเมืองใหม่ลงเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2554 หรือไม่
  4. นายมานพ เกื้อรัฐ เคยเข้าร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
กลุ่มนักสู้ของประชาชน
  1. นายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม  เจ้าของสำนักข่าว t-news ที่อยู่ตรงข้ามกับพรรคเพื่อไทยมาตลอด ในวงการเคยมีข้อสงสัยว่านายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม มีความสนิทกับ  จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และรองเลขาธิการสำนักพระราชวัง
  2. นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ อดีตผู้ร่วมก่อตั้งพรรคพลังธรรม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ปัจจุบันเป็นเลขาธิการสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทยเป็นชาวจังหวัดบุรีรัมย์   ร่วมขับไล่ขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรในปี พ.ศ. 2549 และเข้าร่วมชุมนุมกับพันธมิตรในปี พ.ศ. 2551 นายไชยวัฒน์มีบทบาทเป็นผู้นำมวลชนปิดถนนที่จังหวัดนครราชสีมา
กลุ่มอดีต ส.ส.
  1. นายถาวร เสนเนียม  อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลาหลายสมัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  2. นายชุมพล จุลใส   อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุมพร เขต 1พรรคคประชาธิปัตย์ เป็นคนสนิทของสุเทพ เทือกสุบรรณ
  3. นายณัฐพล ทีปสุวรรณ  อดีต สส.พรรคประชาธิปัตย์  ผู้อำนวยการพรรคประชาธิปัตย์
  4. นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานครพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
  5. เอกนัฏ พร้อมพันธุ์  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เป็นบุตรฝั่งภรรยานายสุเทพ เทือกสุบรรณ และเคยทำหน้าที่เป็นเลขานุการส่วนตัวของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
  6. นายสกลธี ภัททิยกุล   อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 4 พรรคประชาธิปัตย์ เป็นบุตรชายของพลเอกวินัย ภัททิยกุล อดีตเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)
ข้อมูลรายชื่อจาก คมชัดลึก

Voice TV: 'วอชิงตันโพสต์' ค้าน ข้อเรียกร้อง 'สภาประชาชน'

ข่าวโดย  sathitm / VoiceTV   
4 ธันวาคม 2556 เวลา 16:42 น.

หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์เขียนบทบรรณาธิการ ชี้คนกรุงเทพไม่เรียนรู้ความผิดพลาด ไม่เสนอทางเลือกใหม่ แต่มุ่งจับมือกับกองทัพ ศาล และชนชั้นนำ โค่นรัฐบาล แนะประชาธิปัตย์หันไปสู้ให้ชนะในสนามเลือกตั้ง

วอชิงตันโพสต์ เผยแพร่บทบรรณาธิการในวันพุธ ในชื่อเรื่อง "ประเทศไทยเกิดเหตุตึงเครียดอีกแล้ว" บรรยายว่า บางครั้ง ประเทศก็ตกบ่วงประวัติศาสตร์ ก่อวิกฤตซ้ำแล้วซ้ำอีก แล้วไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย ประเทศไทยกำลังเป็นเช่นนั้น

นับสิบปีที่ผ่านมา กลุ่มพลังทางธุรกิจและการเมืองในกรุงเทพ ไม่สามารถปรองดองกับขบวนการประชาชนของทักษิณ ชินวัตรได้  เขาได้รับเสียงสนับสนุนจากชนบท และครองเสียงข้างมากในการเลือกตั้งระดับชาติ

แทนที่จะทุ่มเทเสนอทางเลือกใหม่ๆเพื่อให้ชนะเลือกตั้ง กลุ่มพลังที่ต่อต้านทักษิณ ซึ่งเป็นพันธมิตรกับกองทัพ, ศาล และชนชั้นนำตามจารีต ได้ทำรัฐประหาร, ออกคำพิพากษา และก่อกบฏบนท้องถนน เพื่อขับไล่รัฐบาลจากการเลือกตั้งถึง 3 ชุดติดต่อกันในช่วงเวลา 7 ปีที่ผ่านมา

จากนั้น เพราะเหตุที่ไม่ได้รับเสียงสนับสนุน พวกเขาจำต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ แล้วพรรคของทักษิณก็ชนะอีก


หลังจากรัฐบาลจากการเลือกตั้งชุดล่าสุด นำโดยยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดำเนินงานมาอย่างค่อนข้างสงบได้ 2 ปี กลุ่มพลังปฏิกิริยาก็หวนกลับมาใช้กลยุทธ์แบบคนขี้แพ้อีก

พวกคนเสื้อเหลืองและพันธมิตร ซึ่งนำโดยอดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้เข้ายึดกระทรวงต่างๆ และปะทะกับตำรวจ ในครั้งนี้ พวกเขาบอกว่า ไม่ได้ต้องการแค่ล้มรัฐบาล แต่ต้องการสภาประชาชน ซึ่งประชาชนไม่ได้เลือก ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งในอนาคตนั่นเอง

@  ผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาล ตัดลวดหนาม ที่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในวันพุธ
หลังใช้ความรุนแรงบนท้องถนนเมื่อสุดสัปดาห์ ความขัดแย้งได้ลดลงเมื่อตำรวจปล่อยให้ผู้ประท้วงเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล ฝ่ายต่อต้านน่าจะฉลาดพอที่จะฉวยโอกาสนี้รักษาหน้าของตน ด้วยการยุติวิกฤตนี้เสีย หากแต่สติปัญญาดูจะไม่ใช่จุดแข็งของนายสุเทพ เขาให้คำมั่นที่จะ "ต่อสู้ต่อไป" เพราะ "รัฐบาลทรราชทักษิณยังอยู่"

แน่นอน รัฐบาลมีข้อผิดพลาดแม้ไม่ถึงขั้นเป็นทรราช น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้จุดชนวนวิกฤตด้วยการพยายามออกกฎหมายนิรโทษกรรมลบล้างโทษทัณฑ์ของทักษิณ และเปิดทางให้เขากลับประเทศ ดูเหมือนว่าพ.ต.ท.ทักษิณยังคงมีบทบาทสำคัญในรัฐบาล และรัฐบาลของเขาเมื่อช่วงปี 2544-2549 ก็ได้ละเมิดสิทธิมนุษยชน และดำเนินนโยบายเศรษฐกิจผิดทิศทาง

น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้ถอนร่างกฎหมายดังกล่าว และเธอได้ผ่านการโหวตลงมติไม่ไว้วางใจ เธอเสนอให้จัดการพูดคุยกับฝ่ายต่อต้าน แต่นายสุเทพปฏิเสธ เคราะห์ดีที่รัฐบาลได้หลีกเลี่ยงเหตุปะทะรุนแรง ดังที่เคยเกิดขึ้นในวิกฤตการณ์ที่ผ่านมา วงการธุรกิจกับบางปีกในพรรคประชาธิปัตย์ก็รู้สึกหัวเสียกับความสุดโต่งของนายสุเทพ ขณะที่กองทัพยังคงปลีกตัว เพียงแต่เสนอที่จะไกล่เกลี่ย แต่ไม่เข้าแทรกแซง

พรรคฝ่ายค้านยังคงพยายามเล่นงานรัฐบาลด้วยศาล และอาจกลับสู่ท้องถนนอีก แต่ทางออกเพียงประการเดียวของความวุ่นวายไม่รู้จบของประเทศไทย คือ ทั้งสองฝ่ายต้องยึดมั่นในประชาธิปไตยและหลักนิติธรรม อีกทั้งพรรคประชาธิปัตย์ต้องเก็บความไม่พอใจของตนไว้รณรงค์หาเสียงสนับสนุนในการเลือกตั้งครั้งหน้า.

ที่มา : Washington Post
ภาพ : AFP

วันพุธ, ธันวาคม 04, 2556

บทความ: ในที่สุด ศอ.รส. ก็เจออาวุธสยบม็อบสุเทพคือ "แช่งแข็งธุรกรรมการเงิน"ผู้สนับสนุน

โดย ลูกชาวนาไทย
เว็บประชาทอล์ค
4 ธันวาคม 2556

ในที่สุด ศอ.รส. ก็พบอาวุธที่ทรงพลานุภาพที่สุดในการจัดการกับม็อบสุเทพ นั้นคือ "การแช่แข็งธุรกรรมทางการเงิน" ของบริษัท ห้างร้าน บุคคล ที่สนับสนุนม็อบสุเทพ 

เมื่อนายสุเทพ ถูกหมายจับในข้อหากบฎ ใครที่สนับสนุนทางการเงิน ย่อมมีความผิดตามกฎหมายในฐานะผู้ให้การสนับสนุนกบฏด้วย รัฐบาลสามารถสั่งให้แช่แข็งธุรกรรมทางการเงินได้ตามกฎหมายอาญา มาตรา 114
"มาตรา 114 ผู้ใดสะสมกำลังพลหรืออาวุธ ตระเตรียมการอื่นใดหรือสมคบกัน เพื่อเป็นกบฏ หรือกระทำความผิดใด ๆ อันเป็นส่วนของ แผนการ เพื่อเป็นกบฏ หรือยุยงราษฎรให้เป็นกบฎหรือรู้ว่ามีผู้จะเป็น กบฎแล้วกระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี"

เรื่องการแช่แข็งธุรกรรมทางการเงินของผู้ที่สนับสนุนนี้  ยุคนายอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ  เคยใช้จัดการกับ นปช.มาแล้ว ดีที่ นปช.ไม่ได้มีบริษัทใดๆ สนับสนุนมากนัก แต่นักการเมืองฝ่ายเสื้อแดงก็โดนแช่แข็งธุรกรรมทางการเงินไปหลายคน ซึ่งเรื่องนี้น่าจะใช้จัดการกับผู้ที่สนับสนุนทางการเมืองแก่ม็อบนายสุเทพได้

การตัดคลังเสบียง ย่อมทำให้ม็อบสุเทพไม่สามารถเดินต่อไปได้ และเป็นการปรามนายทุนฝ่ายอำมาตย์ทั้งหลายด้วย

ศอ.รส. ควรเชือดไก่ให้ลิงดู สั่งแช่แข็งธุรกรรมทางการเงิน กระทิงแดง และสหพัฒน์ ที่มีข่าวสนับสนุนทางการเงินม็อบกบฏสุเทพด้วย รวมทั้งเบียร์สิงห์ด้วย เมื่อโดน Freeze ธุรกรรมทางการเงินเช่นนี้ ก็ตายลูกเดียวครับ 

เพื่อการปกป้องประชาธิปไตยรัฐบาลต้องดำเนินการทันทีครับ อย่าให้พวกนี้ใช้อิทธิพลมาทำลายประชาธิปไตยได้ เพราะมันทำร้ายประเทศมากมาย ดังนั้น จึงไม่ควรที่จะเห็นแก่หน้าใคร ดำเนินการไปตามกฎหมายได้ทันที

อ่านเพิ่ม

ศอ.รส.เร่งสอบผู้สนับสนุนสุเทพชี้เข้าข่ายผิดกม. / INN / 4 ธ.ค. 56

เว็บฝรั่งรวมศัพท์การเมืองไทยเจ็บๆขำๆ


A mini-guide to Thai political and media Doublespeak

I have decided to put together a small guide to the Doublespeak used by Thai fascist supporters, Democrat Party stooges and the usual weak reporting produced by the Western media in Thailand.

I'm sure some people will disagree with my interpretations so please leave your own in the comments box.

Tyranny – democratically-elected government

Thaksin-regime – a democratically-elected government led by or allied with the most popular Prime Minister in Thailand’s history.

Illegitimate – not backed by the Bangkok elites

Legitimate – backed by the Bangkok elites

Populist – health care, nascent welfare state, wealth re-distribution

Vote-buying – see Populist

Peaceful – violent

People’s Council – unelected body appointed by unelected persons.

Anti-government protesters – anti-democracy rioters

Pro-government supporters – pro-democracy activists

Democrat Party  – a ultra-nationalistic and violent Thai fascist party absolutely opposed to democracy

 Good people – unelected representatives of tiny elite groups

Bad people – elected representatives of the Thai people as mandated in a free and democratic election
เว็บไซต์  Asia Provocateur ได้ทำการรวบรวมคำศัพท์ทางการเมืองไทยและที่นิยมใช้ในหมู่สื่อสารมวลชน พร้อมทั้งความหมายที่แท้จริง

ทรราชย์ ความหมายที่แท้จริงคือ รัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย

ระบอบทักษิณ ความหมายที่แท้จริงคือ รัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยที่นำหรืออิงกับนายกรัฐมนตรีที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย

ไม่มีความชอบธรรม คือ ไม่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มชนชั้นนำในกรุงเทพฯ

มีความชอบธรรม คือ ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มชนชั้นนำในกรุงเทพฯ

ประชานิยม ความหมายที่แท้จริงคือ ระบบสุขภาพ, การริเริ่มการประกันสังคม, การกระจายรายได้

การซื้อเสียง โปรดดู ประชานิยม

สันติ ความหมายที่แท้จริงคือ ความรุนแรง

สภาประชาชน ความหมายที่แท้จริงคือ กลุ่มคนที่ไม่ได้รับการเลือกตั้งที่ได้รับการแต่งตั้งจากกลุ่มคนที่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

กลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาล ความหมายที่แท้จริงคือ กลุ่มก่อความรุนแรงที่ต่อต้านประชาธิปไตย

กลุ่มผู้ประท้วงสนับสนุนรัฐบาล ความหมายที่แท้จริงคือ นักรณรงค์ที่สนับสนุนประชาธิปไตย

พรรคประชาธิปัตย์ - พรรคที่อิงกับระบอบชาตินิยมสุดโต่งนิยมความรุนแรงและการเผด็จการที่คัดค้านอย่างเต็มที่ต่อความเป็นประชาธิปไตย

คนดี - ตัวแทนที่ไม่ได้รับการเลือกตั้งที่มาจากกลุ่มพวกชนชั้นนำในสังคมอันเล็กจิ๋ว

คนเลว - ตัวแทนที่ได้รับการเลือกสรรจากคนไทยให้มาเป็นตัวแทนผ่านการเลือกตั้งที่เสรีและประชาธิปไตย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น